Skip to main content

ความสนใจในความไม่สนใจทางการเมืองของชนชั้นกลาง(เมือง)

          ภายใต้การปกครองที่ไม่ปกติในเมืองไทย การเป็นผู้ให้ความรู้ทางการเมืองในสถาบันการศึกษามีความยากเย็นอยู่มากที่จะอธิบายต่อเยาวชนผู้ซึ่งจะก้าวเข้ามาเป็นพลเมืองที่มีความคุณภาพของสังคมในอนาคต ด้วยวิถีที่สังคมไทยเลือกที่จะเป็นโดยให้หลักการหรือฐานคิดที่นักรัฐศาสตร์ถกเถียงกันมานานคือเรื่องของ “ความดี” ไล่ตั้งแต่การตั้งคำถามที่บันลือโลกของนักปรัชญาที่สำคัญคือ โสเครติส ที่ถือว่าเป็นผู้ทำให้ก่อเกิดปรัชญาทางการเมืองซึ่งคนสมัยนั้นมองข้ามไป จนมาถึงทุกวันนี้ “ความดี” ทางการเมืองก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันต่อไปในทางรัฐศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายปกครอง

          การกล่าวถึงคำว่า “ความดี” ทุกสังคมต่างต้องการทั้งนั้นไม่ว่ารัฐขนาดเล็กที่ไร้ความมั่นคงไปจนถึงรัฐขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงสูงเพราะหากทำได้จริงสังคมก็จะมีความผาสุข สงบร่มเย็นอย่างหาที่สุดมิได้ แต่อย่างไรก็ดี หากเราพึงระลึกถึงสังคมแห่งความดีจนลืมความจริงของสังคมในการนี้อาจก็ให้เกิดปัญหาตามมาได้นั่นก็คือ การคิดไปเองว่าสิ่งที่คิดหรือคาดหวังที่จะเป็นคือพื้นฐานความจริงของสังคม กล่าวคือ การย้อนกลับมาพิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงของสังคมเป็นเรื่องสำคัญมากว่า โดยพื้นที่ฐานแล้วสังคมทุกสังคมเป็นอย่างไรระหว่าง สังคมที่ทุกคนเกิดมาปรองดองรักใคร่ หรือ สังคมที่มีแต่ความรุนแรงแก่งแย่ง

          หากคิดว่า สังคมเป็นสังคมที่ทุกคนเกิดมาปรองดองรักใคร่ แน่นอนว่าทุกคนต่างก็พึงปรารถนาและอยากให้เป็นเช่นนั้น แต่หากมองแบบพิจารณาแล้วจะพบว่า สังคมในสมันโบราณจนถึงสมัยปัจจุบันภาวะของสงครามทั้งสงครามที่ใช้อาวุธและสงครามที่ไม่ใช้อาวุธมีขึ้นตลอดเวลาบนโลกนี้ทั่วทุกภูมิภาค ดังนั้นหากคิดว่าสังคมเป็นสังคมที่ปรองดองรักใคร่ก็น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า ภาวะของสงครามหรือความขัดแย้งทั้งหมดที่เกิดขึ้นมาบนพื้นโลกมันสะท้อนให้เห็นถึงสังคมที่มีแต่ความรุนแรงมากกว่าสังคมที่มีแต่ความปรองดองรักใคร่หรือไม่

          จากสิ่งที่กล่าวไปข้างต้น เป็นความยากของนักรัฐศาสตร์ที่มีหน้าที่ให้ความรู้ต่อเยาวชนเป็นอย่างมากที่จะต้องอธิบายพื้นฐานของมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นสังคมว่าโดยเนื้อแท้แล้วมันเป็นอย่างไร ความปกติของสังคมที่เรายึดถือในปัจจุบันมันคือ การนำเอาความจริงมาเป็นความปกติ หรือ การนำเอาความคาดหวัง/ความฝันมาเป็นความปกติกันแน่

          ในสังคมไทยปัจจุบันการพยายามที่จะไปสู่ “ความสุข(อีกครั้ง)” หรือ “การคืนความสุข(อีกครั้ง)” สะท้อนให้เห็นถึงฐานความคิดที่เชื่อว่า ความปกติของสังคมไทยคือ การมีสังคมที่ทุกคนเกิดมาปรองดองรักใคร่ ดังนั้นพวกเขาเหล่านั้นจึงพยายามที่จะย้อนกลับไปหาจุดเดิม(ที่เขาเชื่อ) นั่นก็คือ สังคมที่ทุกคนมีแต่ความสุข รักใคร่ สามัคคีอย่างหาที่สุดมิได้

          การพยายามไปสู่สังคมที่ ทุกคนเกิดมาปรองดองรักใคร่ ต่างเป็นสิ่งที่ทุกคนฝันหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นกลาง(เมือง) ที่อยู่ภายสังคมทุนนิยมเสรีที่ผูกติดตนเองอยู่กับความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งเชื่อมโยงกับความมีเสถียรภาพทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สังคมทุนนิยมเสรีนำมาซึ่งสังคมของการค้าขายดังนั้นภาวะใดก็ตามที่ทำให้ไม่สามารถค้าขายได้สะดวกภาวะนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาของพวกเขาอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ อะไรก็ตามที่ทำให้สังคมปกติ(ค้าขายได้) ก็เป็นสิ่งที่พวกเขาสนับสนุนและอยากให้เป็นเสมอไม่ว่าวิธีนั้นจะเป็นวิธีใดก็ตาม

          ความคาดหวังของชนชั้นกลาง(เมือง) ถูกตอบสนองโดยเหล่าคณะผู้ซึ่งต้องการให้สังคมกลับไปสู่สังคมแห่งปรองดองรักใคร่ ซึ่งเขาเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่า “มันคือความปกติของสังคม” ทำให้ได้รับการต้องรับอย่างอบอุ่นจากเหล่าชนชั้นกลาง(เมือง)ทั้งหลายและทำให้พวกเขาปล่อยมือจากความสนใจทางการเมืองกลับไปสู่โลกแห่งทุนนิยมค้าขายของพวกเขาอย่างสบายใจอีกครั้ง

          ก่อนหน้านั้นหลายท่านมีความเชื่ออย่างเดียวกันว่า สังคมไทยเปลี่ยนมาเป็นสังคมที่พลเมืองจำนวนมากหันมาสนใจการบ้านการเมืองเป็นอย่างมาก ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา เช่น การต่อต้านกฎหมายล้างผิด การต่อต้านโครงการด้านการเกษตร หรือแม้แต่การต่อต้านภาระผูกพันทางการเงินในการนำไปใช้ลงทุนในนโยบายสาธารณะ  เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้นักรัฐศาสตร์จำนวนมากแง่หนึ่งต่างชื่นชมยินดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนในสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงมิได้

          แต่มาถึงวันนี้นักรัฐศาสตร์บางท่านอาจต้องปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ก็เป็นได้ พลเมืองจำนวนมากที่เราเชื่อกันว่ามีความสนใจทางการเมืองต่างปล่อยมือจากความสนใจที่พวกเขาเคยมีและเพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมเมื่อในอดีตที่ผ่านมา การต่อต้านหรืออาจกล่าวได้ว่าการตรวจสอบที่พวกเขากระทำมาในอดีตมิได้ปรากฏขึ้นอีกต่อไปแม้ว่า เนื้อหาสาระจะคงเดิม เช่น การสร้างภาระผูกพันทางการเงินในการนำไปใช้ลงทุนในนโยบายสาธารณะ เป็นต้น ทำให้เป็นที่น่าขบคิดว่า เกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาเหล่านั้น พลังที่เขาเคยมีมลายหายไปสู่ที่ใดกันแน่ เมื่อเป็นเช่นนั้นการนำมาซึ่งข้อถกเถียงที่ว่า ชนชั้นกลาง(เมือง) สนใจทางการเมืองอย่างแท้จริงหรือไม่ก็กลับมาอีกครั้งและก็คงต้องถกเถียงกันต่อไปอีกนาน

          คำถามที่เกิดขึ้นจากการอธิบายทั้งหมดข้างต้นคงไม่สามารถตอบได้ในเร็ววันเป็นแน่ คงต้องติดตามกันต่อไปเพราะหากกล่าวไปแล้วพวกเขาเหล่านั้นอาจจะไม่สนใจทางการเมืองอย่างแท้จริงก็เป็นได้หรือพวกเขาอาจจะสนใจแต่ด้วยภาวะทางการเมืองที่ไม่ปกติพวกเขาอาจจะรอโอกาสที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นก็เป็นได้

          จากบริบทของสังคมไทยในปัจจุบันแม้ว่าคำถามเรื่องความตื่นตัวทางการเมืองเป็นสิ่งทีน่าสนใจซึ่งในที่นี้จะขอพักไว้ก่อน แต่จากภาวะของสังคมไทยในปัจจุบันมีคำตอบที่ได้จากเยาวชนต่อการเมืองไทยในปัจจุบันซึ่งผู้เขียนมีข้อมูลที่น่าสนใจจะนำมาเล่าสู่กันฟัง

          จากการที่ให้นักศึกษาลงพื้นที่ทำรายงานในรายวิชา ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ ในหัวข้อ การเมืองในชุมชนของฉัน มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งไปสำรวจความคิดเห็นของเพื่อนนักศึกษาทั้งจากคณะเดียวกันและต่างคณะ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจกล่าวคือ

          ประเด็นแรก นักศึกษาส่วนมากต่างมองว่า สังคมนั้นมีความวุ่นวายมากดังนั้นการหยุดความวุ่นวายโดยทหารเป็นสิ่งที่พวกเขาพึงปรารถนา พวกเขาเชื่อว่าการกระทำเช่นนี้จะนำไปสู่ความสงบสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน

          ประเด็นที่สอง พวกเขามองนักการเมืองว่า เป็นต้นธารของปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตคอรัปชั่น การใช้ระบบอุปถัมภ์

          หากกล่าวโดยสรุปจะพบว่า พวกเขาต่างมุ่งเห็นถึงประเด็นปัญหาที่พวกเขารู้สึกและรับรู้และก็ลงท้ายด้วยการเชื่อว่า การที่มีคณะทหารมาช่วยแก้ปัญหาเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดเพื่อที่จะยุติปัญหาทุกอย่าง ซึ่งในที่นี้พวกเขาที่สนใจทางการเมืองก็เปลี่ยนตนเองมาเป็นผู้ไม่สนใจทางการเมืองโดยเฉียบพลัน โดยเชื่อว่าเมื่อทุกอย่างอยู่ในมือของเหล่าทหารพวกเขาก็ผละตนเองออกมาจากการเมืองมอบทุกสิ่งอย่างให้กับเหล่าทหารที่พวกเขาเชื่อใจอย่างมิต้องสงสัย

          มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ชัดว่า ความคิดของชนชั้นกลาง(เมือง) และเหล่านักศึกษามีความเหมือนกันในแง่ของความสนใจทางการเมืองโดยพวกเขาเข้ามาสนใจในช่วงเดียวกับที่ชนชั้นกลาง(เมือง)สนใจ และพวกเขาเลิกสนใจพร้อมกับชนชั้นกลาง(เมือง)เช่นกัน

 

ในฐานะที่เคยเป็นผู้ให้ความรู้ทางการเมืองในสถาบันการศึกษา ก็ได้แต่กลับมานั่งทบทวนว่า

“มันเกิดอะไรขึ้นกับสังคม”

บล็อกของ เผ่า นวกุล

เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุลnawakulbanrai@gmail.com 
เผ่า นวกุล
แม้ว่าการฆาตกรรมหมู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์มนุษย์ อย่างไรก็ดีน้อยมากที่ยุคโบราณจะมีการล้างบาง (wipe out) หรือ ขับไล่ประชาชนพลเมืองทั้งหมด ผู้ชนะต้องการปกครองประชาชน พวกเขาต้องการที่จะทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้ปกครองและเป็นทาสพวกเขา ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนย้ายออกไปแต่อย่างใด
เผ่า นวกุล
 เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุล
การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง ทำได้จริงหรือ?[1] Democratization of Violence[2]
เผ่า นวกุล
ถ่วงดุลผู้นำประชานิยมด้วยระบอบประชาธิปไตย เผ่า นวกุล 
เผ่า นวกุล
ความสนใจในความไม่สนใจทางการเมืองของชนชั้นกลาง(เมือง)
เผ่า นวกุล
  ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าทรัพยากรเป็นของที่มีอยู่อย่างจำกัด แน่นอนว่าคำว่า “จำกัด” ก็หมายความเป็นนัยว่ามัน “มีน้อย” ไม่ใช่ปัญหาหาก “มีน้อย” แล้วความต้องการของมนุษย์มีน้อยไปด้วยเพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน แต่ประเด็นปัญหาที่สำคัญในโลกสมัยใหม่ที่จำนวนมนุษย์ในสังคมเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรมีมากมายตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรเล่าหากต่างฝ่ายต่างหมายปองทรัพยากรชิ้นนั้นกันตาเป็นประกาย
เผ่า นวกุล
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องเรียนนักศึกษาปริญญาตรี เราได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ
เผ่า นวกุล
“ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บางเขน พนักงานธนาคารฯที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ออกมายื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายนายจ้างสาระสำคัญโดยสรุปมีด้วยกัน 3 เรื่องหลักๆที่สำคัญได้แก่
เผ่า นวกุล
คงเป็นข้อถกเถียงของสมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ทางหนึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่า สุดท้ายแล้วประชาธิปไตยนั้นต้องอิงแอบแนบชิดกับประชาชนโดยประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ใดที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามถึงประเด็นดังกล่าวว่า แล้วอะไรคือข้อต่างของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาล่างหากทั้งคู่ต่างมาจากประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถึงขนาดมีสมาชิกรัฐสภาบางท่านกล่าว่า ควรเลิกระบบสองสภามาเป็นระบบสภาเดียว ให้สิ้นเรื่องไป
เผ่า นวกุล
หากกล่าวถึงความรักคงต้องบอกว่าหลายคนมักมีนิยามต่างกันไป ความรักเปรียบเสมือนยาขม ความรักเปรียบเสมือนน้ำผึ้งชโลมจิตใจ หรือแม้แต่ในซีรีย์อภินิหารของจีนก็ยังมีการกล่าวถึงความรักในทำนอง
เผ่า นวกุล
ความรักมักเป็นสิ่งหอมหวานเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยหนุ่มสาวแรกแย้ม การประสบพบเจอกับใครซักคนโดยไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้เรารู้สึกในจิตใจได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น คนนี้น่ารัก คนนี้น่าเกลียด คนนี้เป็นสิว คนนี้ตาเหล่ และคงมีอื่นๆอีกมามายเป็นแน่ และทั้งหลายทั้งปวงวัยรุ่นหนุ่มสาวก็คงเคยที่จะพบใครซักคนซึ่งเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่คุณถูกตาต้องใจเมื่อแรกเห็น หากจะกล่าวกันให้เข้าใจก็คือ นี่แหละคือ “รักแรกพบของฉัน”