Skip to main content

การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง ทำได้จริงหรือ?[1]

 

Democratization of Violence[2]

            หากกล่าวถึงสงครามและประชาธิปไตย 2 สิ่งนำพวกเราไปสู่ความจริงที่ว่า ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นเรื่องของการทำสงครามต่อต้านความกลัว ในนามของการปกป้องประชาธิปไตยและสนับสนุน ประชาธิปไตย มีการส่งกองทัพไปยังต่างประเทศ พลเมืองถูกปกครองโดยตัวแทน มีรูปแบบใหม่ในการควบคุมเกิดขึ้น อำนาจของตำรวจมีมากขึ้น มีการทรมานที่เห็นได้ทั่วไป มีเสียงจากนักการเมืองและปัญญาชนให้ปกป้องรัฐบาลและรวมทั้งมีการใช้กองกำลังในการปกป้องการคุกคามที่เลวร้ายเพื่อความอยู่รอดของพลเมือง

            ด้วยแรงกดดันเหล่านี้นักวิชาการไม่น้อยที่กล่าวว่า ประชาธิปไตยมีความโน้มเอียงไปในทางที่รุนแรง หรือกล่าวอีกแง่หนึ่งคือ ประชาธิปไตยมี “มุมมืด” หรือ dark side หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นประชาธิปไตยแห่งการฆ่า (Democracy Kills) นักวิชาการสรุปไว้อย่างชัดเจนที่สุดว่า “จุดกำเนิดและหัวใจของประชาธิปไตยคือความรุนแรง” ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเพราะจุดกำเนิดของมัน [ประชาธิปไตย] คุกคามตัวมันเอง[3]

            Democratization of Violence ต้องกล่าวว่า ประชาธิปไตยมีหัวใจสำคัญคือความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับสงครามและความรุนแรงในรูปแบบอื่นๆ ในโลกร่วมสมัยประชาธิปไตยให้อำนาจใน “กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง” แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาใช้กองกำลังกับพลเมือง Democratization of Violence คือ กระบวนการที่กระทำเพื่อปกป้องเจตจำนงของมนุษย์ แต่อย่างไรก็ดีในกระบวนการนี้ก็ส่งผลให้เกิดสงครามและความรุนแรง ประชาธิปไตยประสบกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความตายและความโหดเหี้ยมที่สงครามนำมาให้[4]

 

Empire and Democracy

            การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยสงครามและความรุนแรงมันคือแบบแผนที่ปฏิบัติมา แต่ไม่มีสิ่งใดที่จะประกันความสำเร็จ ข้อความที่ว่า “ประชาธิปไตยคือสงครามที่โดยธรรมชาติ หรือ ความรุนแรงคือหัวใจของประชาธิปไตย” ควรจะถูกตั้งข้อสงสัย ซึ่งเราควรศึกษาการเริ่มต้นที่ประชาธิปไตยของเอเธนส์

            พลเมืองเอเธนส์มีการแบ่งปันอำนาจและจำกัดอำนาจ พวกเขาพัวพันกับการแข่งขันแย่งชิง การสร้างจักรวรรดิ ส่งคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากช่วงเวลาที่เอเธนส์พยายามเป็นผู้นำในสมาพันธรัฐกรีก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า The Delian League พวกเขาสัญญาว่าจะเป็นเพื่อนกันและมีศัตรูคนเดียวกัน นั่นก็คือพวกเปอร์เชีย เป้าหมายทางการทหารของพวกเขาคือการมีอิสระจากการปกครองของเหล่าเปอร์เชีย พวกเขาก้าวไปทีละน้อยในการทำตนให้กลายเป็น “จักรวรรดิ” อย่างไรก็ตามแม้พลเมืองเอเธนส์จะมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองมากมาย แต่พวกเขาก็มีการแสดงถึงการใช้ Democratization of Violence[5] ดังนี้

            ระบอบการปกครองของเอเธนส์เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยระบอบจักรวรรดิ พวกเขาใช้ความแข็งแรงของตนเองในการต่อสู้กับคู่แข่ง ซึ่งเราจะเห็นได้จากสงคราม Peloponnesian พวกเขาครอบครองกองทัพเรือที่ยิ่งใหญ่และมีประสิทธิภาพกว่าที่อื่นๆ ประชาธิปไตยของเอเธนส์กลายเป็นสิ่งที่มีความหมายเหมือน “การต่อสู้ด้วยกำลังเพื่อเสรีภาพและอำนาจที่เหนือกว่าผู้อื่น” การต่อสู้กับศัตรูไม่ได้สร้างความคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปของพลเมืองเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งความมั่งคั่งของเงินในกระเป๋า เขาเขาพยายามรวมศูนย์ทางอำนาจเพื่อที่จะนำมาซึ่งทุนที่พวกเขาพึงได้จากการยึดครองพื้นที่ ความเคลื่อนไหวนี้สร้างโอกาสให้แก่พลเมืองเอเธนส์ในเรื่องรายได้ จักรวรรดินำมาสู่ความมั่งคั่งและประชาธิปไตย นำมาซึ่งเงินทองเพื่อใช้แก่พลเมืองซึ่งถูกจ้างเป็นทหาร[6]

            การใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจำนวนมากเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสงครามและการเตรียมตัวทำสงครามมากกว่ากิจกรรมอื่นๆ รายได้ที่ได้จากจักรวรรดิถูกใช้สงคราม พวกเขาฝึกกองทัพบกและเรือเป็นเวลากว่าสัปดาห์หรือแรมเดือน พัฒนาทักษะการใช้เรือและโจมตีด้วยอาวุธ พวกเขาเคลื่อนทัพไปยังบริเวณทะเลเมดิเตอเรเรียน เอเธนส์ไม่มีศตวรรษแห่งความสงบสุข การใช้จ่ายเกี่ยวกับการทหารช่วงปี 450bc ทำให้การสู้รบอยู่ในวิถีของชาวเอเธนส์ บริการที่มีต่อพลเมืองและการทหารเติบโตไปแนวทางเดียวกัน จิตวิญญาณและสถาบันประชาธิปไตยของเอเธนส์ตกอยู่ในห้วยอันลึกล้ำของการรบพุ่ง[7]

 

Democratic Peace?

            การฆ่าเป็นปัญหาที่มากที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เพราะเกิดจาก Democratization of Violence แต่เป็นเพราะในโลกปัจจุบันพัฒนาการเกี่ยวกับอาวุธมีมากขึ้น บางครั้งมันทำลายตัวเราเอง สำหรับประชาธิปไตยมีพัฒนาการที่สำคัญคือ สมัยของการเริ่มต้น หรือเรียกว่า ยุค Monitory Democracy ที่เกิดขึ้นกลางศตวรรษที่ 20 ผ่านประสบการณ์ของสงครามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพ่ายแพ้ของพรรคนาซีเยอรมันและญี่ปุ่น เป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศอิสรภาพของประเทศต่างๆ และเป็นยุคของการสร้างยุโรปและญี่ปุ่นใหม่ และผลจากประสบการณ์ทางสงครามผลักดันให้สังคมเข้าไปสู่จิตวิญญาณประชาธิปไตยยุคใหม่ คือ ประชาธิปไตยแบบตัวแทนซึ่งมีรัฐบาลที่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นอิสระและการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ (Deliberative Democracy) ในยุคนี้ประชาธิปไตยมีความหมายถึง ความไม่รุนแรง (non-violence) สาธารณะควบคุมการตัดสินใจของรัฐบาล[8]

            Monitory Democracy เป็นสิ่งที่มีความรู้สึกไวต่อการปะทุของสงครามและความรุนแรง มีการลดลงต่อความกระหายที่จะต่อสู้กัน พลเมืองมีความหวาดกลัวและรังเกียจต่อการทำร้ายทางกายภาพ การตัดสินใจของรัฐบาลในการเข้าร่วมสงครามถูกตั้งข้อสงสัย คำถามที่สำคัญว่า ทำไม่ประชาธิปไตยถึงมีความรู้สึกไวต่อการเกิดขึ้นของสงครามและความรุนแรง? เมื่อเปรียบเทียบกับประชาธิปไตยกรีกโบราณและประชาธิปไตยแบบตัวแทนสมัยใหม่? ทำไมความรุนแรงเป็นก้างขวางคอของประชาธิปไตยที่ใหญ่มาก? หนึ่งในคำตอบคือ ชีวิตใน Monitory Democracy ถูกสร้างโดยกลไกการตรวจสอบความรุนแรงจำนวนมาก เช่น ความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม การประชุมร่วมกันในระดับสากล ศาลอาชญากรสงคราม การรณรงค์ต่อต้านการทรมาน การเรียกร้องต่อต้านความรุนแรงที่มีต่อสตรีและเด็ก เครือข่ายสิทธิมนุษยชน[9]

            พัฒนาการที่สำคัญของ Monitory Democracy คือ บทบาทของอเมริกาหลังปี 1945 อเมริกาหลังการล่มสลายของโซเวียตพึ่งพาความสันติสุข ระหว่างยุคสงครามเย็น ประธานาธิบดี คลินตัน แห่งอเมริกากล่าวว่า “พวกเราต่อสู้เพื่อรักษาสถาบันแห่งเสรีภาพ ในขณะนี้พวกเรากำลังแสวงหาความเจริญงอกงามของชาติที่มีชีวิตภายใต้สถาบันแห่งเสรี” นักวิชาการเรียกความปรารถนานี้ว่าเป็น กฎของประชาธิปไตยแห่งความสันติ (Law of Democratic Peace) “ประชาธิปไตยไม่มีทางที่จะเดินเข้าสู่สงคราม” “ประชาธิปไตยไม่มีทางที่จะเดินไปสู่สงครามกับผู้อื่น”[10]

            อย่างไรก็ตามก็มีสิ่งที่ผิดพลาดเกิดขึ้นจากการคาดคะเน สงครามอิสราเอลที่มีกับเลบานอนในเดือน กรกฎาคม 2006 แสดงให้เห็นว่า ภายใต้ความตึงเครียดอย่างสูงของภูมิภาค ประชาธิปไตยสามารถทำงานได้อย่างไร้สติด้วยความกังวลต่อประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กองกำลังทหาร ด้วยการพยายามทำลายความชีวิตของพลเมือง สาธารณูปโภคและสิ่งต่างๆ นำไปสู่การใช้ความรุนแรงเพื่อรักษาและสร้างความเป็นประชาธิปไตยจึงถูกนำมาใช้ แต่อย่างไรก็ตามมีความสูญเสียเกิดขึ้นเพราะพวกเขาเข้าไปสู่สงครามและการต่อสู้ บางครั้งการจัดการข้อพิพาทต่างการใช้คำหลอกลวงว่าประชาชนยอมรับก็เป็นสิ่งที่เห็นได้[11]

            Democratization of Violence ถูกตั้งคำถามถึงความสมเหตุสมผลเพราะมาตรการของอเมริกาในเวียดนาม อัฟกานิสถานและอิรักถูกมองว่าเป็นมาตรการที่น่าอับอาย และบ่อยครั้งพลเมืองภายในประเทศก็ไม่มีความอดทนต่อความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับตนเอง จนนำไปสู่การใช้ Democratization of Violence ซึ่งจากผลการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า กำลังทหารของอเมริกันที่ปฏิบัติการกว่า 228 ครั้งด้วยการบังคับเพื่อรักษาความสงบ ควบคุมดินแดนและการฝึกซ้อมทหาร พบว่ามีเพียง 28% ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าเดิม การใช้ระเบิดหรือความรุนแรงใดๆ หรือการใช้ Democratization of Violence ไม่สามารถที่จะสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นได้

            จากบทเรียนดังกล่าว John Keane สรุปได้ว่า แต่ในการสร้างประชาธิปไตยนั้นสิ่งที่สำคัญควรจะเป็นการที่มีสถาบันทางการเมืองที่ประสิทธิภาพภายในดินแดน มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กระจายรายได้ สร้างสินค้าสาธารณะ เป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันการผูกขาดอำนาจมากกว่าการใช้ความรุนแรง ดังนั้นท้ายที่สุดกลไกที่ทำให้ Monitory Democracy ประสบผลสำเร็จคือ การมีสถาบันทางการเมืองของภาคประชาสังคม และพวกเขาจำต้องออกมาเรียกรองต่อผู้ครอบครองอื่นที่ผูกขาดอำนาจให้ออกไปจากสังคม[12]



                [1] งาฯชิ้นนี้สรุปจากบทความของ John Keane เรื่อง Epilogue: Does Democracy Have a Violent Heart ? ใน Keane, J. (2010). Epilogue: does democracy have a violent heart?, in David M Pritchard (Eds.), War, Democracy and Culture in Classical Athens, (pp. 1-32). Cambridge: Cambridge University Press.

                [2] Democratization of Violence ในที่นี้ผู้เขียนแปลว่า “การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง”

                [3] Keane, J. (2010). Epilogue: does democracy have a violent heart?, p. 1-2.

                [4] p. 3-4.

                [5] p. 5-6.

                [6] p. 7.

                [7] p. 8.

                [8] p. 24-25.

                [9] p. 26.

                [10] p. 27.

                [11] Ibid.

                [12] p. 29-30.

 

บล็อกของ เผ่า นวกุล

เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุลnawakulbanrai@gmail.com 
เผ่า นวกุล
แม้ว่าการฆาตกรรมหมู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์มนุษย์ อย่างไรก็ดีน้อยมากที่ยุคโบราณจะมีการล้างบาง (wipe out) หรือ ขับไล่ประชาชนพลเมืองทั้งหมด ผู้ชนะต้องการปกครองประชาชน พวกเขาต้องการที่จะทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้ปกครองและเป็นทาสพวกเขา ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนย้ายออกไปแต่อย่างใด
เผ่า นวกุล
 เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุล
การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง ทำได้จริงหรือ?[1] Democratization of Violence[2]
เผ่า นวกุล
ถ่วงดุลผู้นำประชานิยมด้วยระบอบประชาธิปไตย เผ่า นวกุล 
เผ่า นวกุล
ความสนใจในความไม่สนใจทางการเมืองของชนชั้นกลาง(เมือง)
เผ่า นวกุล
  ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าทรัพยากรเป็นของที่มีอยู่อย่างจำกัด แน่นอนว่าคำว่า “จำกัด” ก็หมายความเป็นนัยว่ามัน “มีน้อย” ไม่ใช่ปัญหาหาก “มีน้อย” แล้วความต้องการของมนุษย์มีน้อยไปด้วยเพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน แต่ประเด็นปัญหาที่สำคัญในโลกสมัยใหม่ที่จำนวนมนุษย์ในสังคมเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรมีมากมายตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรเล่าหากต่างฝ่ายต่างหมายปองทรัพยากรชิ้นนั้นกันตาเป็นประกาย
เผ่า นวกุล
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องเรียนนักศึกษาปริญญาตรี เราได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ
เผ่า นวกุล
“ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บางเขน พนักงานธนาคารฯที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ออกมายื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายนายจ้างสาระสำคัญโดยสรุปมีด้วยกัน 3 เรื่องหลักๆที่สำคัญได้แก่
เผ่า นวกุล
คงเป็นข้อถกเถียงของสมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ทางหนึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่า สุดท้ายแล้วประชาธิปไตยนั้นต้องอิงแอบแนบชิดกับประชาชนโดยประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ใดที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามถึงประเด็นดังกล่าวว่า แล้วอะไรคือข้อต่างของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาล่างหากทั้งคู่ต่างมาจากประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถึงขนาดมีสมาชิกรัฐสภาบางท่านกล่าว่า ควรเลิกระบบสองสภามาเป็นระบบสภาเดียว ให้สิ้นเรื่องไป
เผ่า นวกุล
หากกล่าวถึงความรักคงต้องบอกว่าหลายคนมักมีนิยามต่างกันไป ความรักเปรียบเสมือนยาขม ความรักเปรียบเสมือนน้ำผึ้งชโลมจิตใจ หรือแม้แต่ในซีรีย์อภินิหารของจีนก็ยังมีการกล่าวถึงความรักในทำนอง
เผ่า นวกุล
ความรักมักเป็นสิ่งหอมหวานเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยหนุ่มสาวแรกแย้ม การประสบพบเจอกับใครซักคนโดยไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้เรารู้สึกในจิตใจได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น คนนี้น่ารัก คนนี้น่าเกลียด คนนี้เป็นสิว คนนี้ตาเหล่ และคงมีอื่นๆอีกมามายเป็นแน่ และทั้งหลายทั้งปวงวัยรุ่นหนุ่มสาวก็คงเคยที่จะพบใครซักคนซึ่งเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่คุณถูกตาต้องใจเมื่อแรกเห็น หากจะกล่าวกันให้เข้าใจก็คือ นี่แหละคือ “รักแรกพบของฉัน”