Skip to main content

คงเป็นข้อถกเถียงของสมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ทางหนึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่า สุดท้ายแล้วประชาธิปไตยนั้นต้องอิงแอบแนบชิดกับประชาชนโดยประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ใดที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามถึงประเด็นดังกล่าวว่า แล้วอะไรคือข้อต่างของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาล่างหากทั้งคู่ต่างมาจากประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถึงขนาดมีสมาชิกรัฐสภาบางท่านกล่าว่า ควรเลิกระบบสองสภามาเป็นระบบสภาเดียว ให้สิ้นเรื่องไป

หากใช้หลักของประชาธิปไตยเข้ามาสนับสนุนเห็นได้ว่าสมาชิกรัฐสภาฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการมีสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมดค่อนข้างลำบากกับการหาเหตุผลมาสนับสนุนตนเอง เพราะการที่จะกล่าวอย่างเต็มปากว่า “ไม่เห็นด้วย” กับการที่สมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดควรมาจากการเลือกตั้งก็เสมือนว่าเป็นการดูถูกประชาชน ดูถูกเจตจำนงของประชาชน ฯลฯ จนทำให้ฝ่ายคัดค้านต่างกลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่จะกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “เราต้องการให้มีสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา”

สิ่งที่สมาชิกรัฐสภาฝ่ายไม่เห็นด้วยกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะหาเหตุผลมาสนับสนุนตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักอ้างระบบรัฐสภาของอังกฤษที่สภาสูงหรือสภาขุนนาง (House of Lord) ต่างก็มาจากการแต่งตั้งทั้งสิ้น แต่การให้เหตุผลโดยหยิบระบบการเมืองต่างประเทศมาเปรียบเทียบในลักษณะนี้ชี้ให้เห็นถึงการกระทำแบบสุกเอาเผากินของสมาชิกรัฐสภาเหล่านั้น เพราะอีกแง่หนึ่งในความเป็นจริงสภาขุนนางของอังกฤษมีบทบาทน้อยมากและกำลังปรับตัวเองให้อิงกับประชาชนมากขึ้นตามลำดับ

แต่กระนั้นเองแม้ว่าการที่สมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนและถูกมองว่าเป็นประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็ดีหากพิจารณาในแง่ประวัติศาสตร์การเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคสมัยโบราณของประชาธิปไตยเอเธนส์ หากนำเอาเนื้อแท้ของประชาธิปไตยโบราณมาพิจารณาก็จะเห็นถึงจุดบกพร่องบางอย่างของกระบวนการได้มาของสมาชิกวุฒิสภาโดยการเลือกตั้งของประชาชน

Aristotle กล่าวถึงประชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจ ข้อความแสดงถึงความไม่เป็นประชาธิปไตยของการเลือกตั้งใน The Politics  กล่าวโดยสรุปคือ การเลือกตั้งมิใช่คุณสมบัติของประชาธิปไตยเพราะตอนนั้นการเลือกตั้งเป็นวิธีการคัดสรรเจ้าหน้าที่ปกครองโดยนำเอาผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาเป็นตัวเลือก ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็เป็นลักษณะของ อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) หรือ หากการเลือกตั้งโดยผู้ที่จะลงเลือกตั้งต้องมีเรื่องของทรัพย์สินเข้ามาเกี่ยวข้องในการพิจารณาก่อนรับการคัดสรรก็กลายเป็น คณาธิปไตย (Oligarchy) ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วอาจกล่าวได้ว่าการเลือกตั้งในขณะนั้นเป็นประชาธิปไตยน้อยกว่าการจับสลากเข้าสภา ของชาวเอเธนส์เพราะการจับสลากเข้าไปแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมโดยเท่าเทียมกันของประชาชน

หากเรานำหลักการของเอเธนส์มาลองใช้กับสถานการณ์ทางการเมืองของไทยก็สามารถกล่าวได้ว่า ในแง่ของ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาจากเดิมปัจจุบันที่เรามองว่าไม่สนองตอบต่อประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่งในแง่ของที่มาซึ่งมาจากการสรรหาโดยคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งและหากใช้หลักของเอเธนส์ลักษณะของสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาก็คงมีลักษณะใกล้เคียงกับ อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เพราะการให้เหตุผลหลักที่จัดให้มีสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาคือต้องการได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถจริงๆที่จะมาพิจารณากฎหมาย (มาตรา 114 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหานั้นไม่ได้ตอบสนองต่อหลักการประชาธิปไตยทั้งในแง่ของอดีต (สมัยเอเธนส์) และปัจจุบัน

ในแง่ของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง หากเราเอาเนื้อแท้ของคำว่าประชาธิปไตยตามหลักการของ Aristotle มาลองพิจารณาอาจได้ดังนี้

ในแง่ของประชาชนผู้เลือกตั้ง การที่ให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาก็ตอบสนองต่อประชาธิปไตยในแง่หนึ่งที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับใครมากเป็นพิเศษแต่ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการลงคะแนนเลือกตั้งซึ่งก็ถือว่าเป็นการสนองตอบต่อประชาธิปไตยในแง่หลัก

อีกแง่ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง หากเราพิจารณาให้ดีจะพบว่า สมาชิกวุฒิสภานั้นมีข้อจำกัดการลงสมัครรับเลือกตั้ง อาทิ อายุ การศึกษา หรือแม้แต่การใช้เงื่อนไขทางการเมืองก็เป็นตัวชี้ให้เห็นว่า กระบวนการพิจารณารับสมัครสมาชิกวุฒิสภาก็ไม่ตอบสนองต่อหลักของประชาธิปไตยมากนัก ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดให้ผู้ที่สมัครต้องมีอายุ 40 ปีขึ้นไป (มาตรา 114 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน) ก็เป็นตัวชี้ให้เห็นว่าเงื่อนไขนี้เป็นการจำกัดสิทธิ เสรีภาพของประชาชนหรือไม่ อะไรเป็นตัวกำหนดว่าคนอายุต่ำกว่า 40 ปีไม่สามารถที่จะเข้ารับสมัครได้ หากอาศัยการศึกษามาเป็นตัวกำหนดและพิจารณาตัวผู้สมัครก็แน่นอนว่าก็คงไม่ต่างจาก อภิชนาธิปไตย ของ Aristotle เป็นแน่เพราะสุดท้ายแล้วประเด็นเรื่องของความรู้ความสามารถของคนก็เป็นเงื่อนไขกีดกันผู้อื่นออกไปจากระบบการคัดเลือก

ดังนั้นกล่าวได้ว่า เงื่อนไขของสมาชิกวุฒิสภาที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบันก็สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาซึ่งไม่ว่าที่มาของสมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการสรรหาหรือการเลือกตั้งต่างก็มีปัญหาในตัวมันเอง การสนองตอบต่อประชาธิปไตยก็มีปัญหาด้วยกันทั้งคู่ การพิจารณาจึงอยู่ที่มุมมองของแต่ละสังคมหรืออาจจะเลือกใช้แบบที่เข้าใกล้ความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด โดยที่จุดเน้นที่สำคัญที่สุดที่ไม่ว่าจะใช้วิธีใด จงอย่าลืมว่าผู้ที่สำคัญที่สุดในระบอบประชาธิปไตยคือ “ประชาชน”

บล็อกของ เผ่า นวกุล

เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุลnawakulbanrai@gmail.com 
เผ่า นวกุล
แม้ว่าการฆาตกรรมหมู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์มนุษย์ อย่างไรก็ดีน้อยมากที่ยุคโบราณจะมีการล้างบาง (wipe out) หรือ ขับไล่ประชาชนพลเมืองทั้งหมด ผู้ชนะต้องการปกครองประชาชน พวกเขาต้องการที่จะทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้ปกครองและเป็นทาสพวกเขา ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนย้ายออกไปแต่อย่างใด
เผ่า นวกุล
 เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุล
การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง ทำได้จริงหรือ?[1] Democratization of Violence[2]
เผ่า นวกุล
ถ่วงดุลผู้นำประชานิยมด้วยระบอบประชาธิปไตย เผ่า นวกุล 
เผ่า นวกุล
ความสนใจในความไม่สนใจทางการเมืองของชนชั้นกลาง(เมือง)
เผ่า นวกุล
  ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าทรัพยากรเป็นของที่มีอยู่อย่างจำกัด แน่นอนว่าคำว่า “จำกัด” ก็หมายความเป็นนัยว่ามัน “มีน้อย” ไม่ใช่ปัญหาหาก “มีน้อย” แล้วความต้องการของมนุษย์มีน้อยไปด้วยเพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน แต่ประเด็นปัญหาที่สำคัญในโลกสมัยใหม่ที่จำนวนมนุษย์ในสังคมเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรมีมากมายตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรเล่าหากต่างฝ่ายต่างหมายปองทรัพยากรชิ้นนั้นกันตาเป็นประกาย
เผ่า นวกุล
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องเรียนนักศึกษาปริญญาตรี เราได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ
เผ่า นวกุล
“ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บางเขน พนักงานธนาคารฯที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ออกมายื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายนายจ้างสาระสำคัญโดยสรุปมีด้วยกัน 3 เรื่องหลักๆที่สำคัญได้แก่
เผ่า นวกุล
คงเป็นข้อถกเถียงของสมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ทางหนึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่า สุดท้ายแล้วประชาธิปไตยนั้นต้องอิงแอบแนบชิดกับประชาชนโดยประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ใดที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามถึงประเด็นดังกล่าวว่า แล้วอะไรคือข้อต่างของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาล่างหากทั้งคู่ต่างมาจากประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถึงขนาดมีสมาชิกรัฐสภาบางท่านกล่าว่า ควรเลิกระบบสองสภามาเป็นระบบสภาเดียว ให้สิ้นเรื่องไป
เผ่า นวกุล
หากกล่าวถึงความรักคงต้องบอกว่าหลายคนมักมีนิยามต่างกันไป ความรักเปรียบเสมือนยาขม ความรักเปรียบเสมือนน้ำผึ้งชโลมจิตใจ หรือแม้แต่ในซีรีย์อภินิหารของจีนก็ยังมีการกล่าวถึงความรักในทำนอง
เผ่า นวกุล
ความรักมักเป็นสิ่งหอมหวานเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยหนุ่มสาวแรกแย้ม การประสบพบเจอกับใครซักคนโดยไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้เรารู้สึกในจิตใจได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น คนนี้น่ารัก คนนี้น่าเกลียด คนนี้เป็นสิว คนนี้ตาเหล่ และคงมีอื่นๆอีกมามายเป็นแน่ และทั้งหลายทั้งปวงวัยรุ่นหนุ่มสาวก็คงเคยที่จะพบใครซักคนซึ่งเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่คุณถูกตาต้องใจเมื่อแรกเห็น หากจะกล่าวกันให้เข้าใจก็คือ นี่แหละคือ “รักแรกพบของฉัน”