Skip to main content

แม้ว่าการฆาตกรรมหมู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์มนุษย์ อย่างไรก็ดีน้อยมากที่ยุคโบราณจะมีการล้างบาง (wipe out) หรือ ขับไล่ประชาชนพลเมืองทั้งหมด ผู้ชนะต้องการปกครองประชาชน พวกเขาต้องการที่จะทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้ปกครองและเป็นทาสพวกเขา ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนย้ายออกไปแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามอาจมีความไม่เห็นด้วยโดยกล่าวว่าการกำจัดผู้ประชาชนโดยการฆาตกรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพอกันระหว่างยุคโบราณและสมัยใหม่ เช่น การทำลายล้างชาว Carthage ของนครรัฐกรีกและการทำลายล้างชาวโรมันของชาว Numantia และ Carthage โดย Roger W. Smith ยืนยันว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) ดำรงอยู่ตลอดช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ไม่มียุคใดที่ผูกขาดการฆาตกรรมหมู่ ในยุคก่อนอาจจะมีความโหดร้ายทารุณกว่ายุคปัจจุบัน เช่น การทรมานต่อหน้าสาธารณะและการประหารชีวิต หรือในกรณีของเหล่าทหารยุคโบราณก็มีความโหดร้ายมากกว่าทหารในยุคปัจจุบัน การเฆี่ยนและการประหารชีวิตเป็นเรื่องปกติ Roger W. Smith ยืนยันว่า การฆาตกรรมไม่ใช่เรื่องที่ต่างจากยุคสมัยใหม่แต่สิ่งที่ต่างคือ การฆาตกรรมเพื่อกำจัดอัตลักษณ์ (cleansing identity) เป็นสิ่งที่เกิดในยุคสมัยใหม่

อย่างไรก็ตามอีกทางหนึ่ง ผู้ชนะที่มีเป้าหมายตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตรในที่นั้นๆ มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจอันแรงกล้าในการย้ายถิ่นคนท้องถิ่นและอาจจะเข้าไปสัมพันธ์กับเรื่องการเนรเทศ (deportation) หรืออย่างแย่ที่สุดคือ การทำลายวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnocide) ในกรณีไม่มากที่จะเกิดกรณีการฆ่าล้างคนท้องถิ่น (local genocide) เช่น บางกรณีของการบุกรุกของชาวฮั่น มองโกล และ แองโกล-แซกซัน เป็นต้น หากการบุกรุกนี้เพื่อการปศุสัตว์อาจทำให้อัตราการตายของอาจจะสูงหากผู้ต้องการทำการปศุสัตว์ต้องการพื้นที่มากกว่าเกษตรกร ในบางกรณี เช่น ชัยชนะของ Visigothic ที่ the Garonne Valley ผู้บุกรุกอาจไม่ถูกมองเป็นผู้รุกรานแต่ถูกมองเป็นเพื่อนบ้านที่บางกรณีเป็นผู้ปกป้องดินแดนจากผู้บุกรุกด้วยซ้ำ

แต่อาจมีบางกรณี เช่น ยุคอัตติลาของฮั่น (Attila the Hun) ที่อาจจะแสดงให้เห็นถึงการทำลายล้าง ผู้ต่อต้านถูกตัดหัว ผู้หญิงถูกข่มขืนและหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยการขาดอาหารและเชื้อโรคนำมาซึ่งความตาย สำหรับอนารยชน (barbarian) พวกเขาต้องการประชาชนให้มาอยู่ภายใต้การปกครอง ให้มาทำงานและสร้างผลประโยชน์ให้แก่พวกเขา ถ้าเหล่าอนารยชนฆ่าพวกเขา พวกเขาก็จำต้องทำงานต่างๆ ด้วยตัวของพวกเขาเอง อาจจะมีบางกรณีที่แย่จริงๆ คือ พวกเขาอาจจะฆ่าหรือเนรเทศผู้นำ/ประชาชนที่มีปัญหา แต่หากผู้นำนั้นสยบยอมพวกเขาก็ยอมรับ

อย่างไรก็ตาม เมืองในประวัติศาสตร์จำนวนมากมีความตึงเครียดเรื่องศาสนาและชาติพันธุ์จนนำไปสู่ความวุ่นวาย และในกรณีที่แย่ที่สุดอาจนำไปสู่การสังหารหมู่ (pogrom) ความรุนแรงเกิดขึ้นโดยตรงกับคนกลุ่มน้อยบ่อยครั้งเป็นผลมาจากความตึงเครียดและผลจากกลยุทธ์แบ่งแยกแล้วปกครองของผู้ปกครองซึ่งจะเห็นได้จากการโจมตีชาวยิวในยุคกลางของยุโรป เป็นต้น **ผู้เขียนต้องการนำเสนอเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ The Dark Side of Democracy: Explaining Ethnic Cleansing เท่านั้น

 

 

**ที่มาของรูป http://futrlaw.org/the-unrecognized-genocide/

บล็อกของ เผ่า นวกุล

เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุลnawakulbanrai@gmail.com 
เผ่า นวกุล
แม้ว่าการฆาตกรรมหมู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์มนุษย์ อย่างไรก็ดีน้อยมากที่ยุคโบราณจะมีการล้างบาง (wipe out) หรือ ขับไล่ประชาชนพลเมืองทั้งหมด ผู้ชนะต้องการปกครองประชาชน พวกเขาต้องการที่จะทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้ปกครองและเป็นทาสพวกเขา ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนย้ายออกไปแต่อย่างใด
เผ่า นวกุล
 เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุล
การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง ทำได้จริงหรือ?[1] Democratization of Violence[2]
เผ่า นวกุล
ถ่วงดุลผู้นำประชานิยมด้วยระบอบประชาธิปไตย เผ่า นวกุล 
เผ่า นวกุล
ความสนใจในความไม่สนใจทางการเมืองของชนชั้นกลาง(เมือง)
เผ่า นวกุล
  ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าทรัพยากรเป็นของที่มีอยู่อย่างจำกัด แน่นอนว่าคำว่า “จำกัด” ก็หมายความเป็นนัยว่ามัน “มีน้อย” ไม่ใช่ปัญหาหาก “มีน้อย” แล้วความต้องการของมนุษย์มีน้อยไปด้วยเพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน แต่ประเด็นปัญหาที่สำคัญในโลกสมัยใหม่ที่จำนวนมนุษย์ในสังคมเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรมีมากมายตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรเล่าหากต่างฝ่ายต่างหมายปองทรัพยากรชิ้นนั้นกันตาเป็นประกาย
เผ่า นวกุล
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องเรียนนักศึกษาปริญญาตรี เราได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ
เผ่า นวกุล
“ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บางเขน พนักงานธนาคารฯที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ออกมายื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายนายจ้างสาระสำคัญโดยสรุปมีด้วยกัน 3 เรื่องหลักๆที่สำคัญได้แก่
เผ่า นวกุล
คงเป็นข้อถกเถียงของสมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ทางหนึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่า สุดท้ายแล้วประชาธิปไตยนั้นต้องอิงแอบแนบชิดกับประชาชนโดยประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ใดที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามถึงประเด็นดังกล่าวว่า แล้วอะไรคือข้อต่างของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาล่างหากทั้งคู่ต่างมาจากประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถึงขนาดมีสมาชิกรัฐสภาบางท่านกล่าว่า ควรเลิกระบบสองสภามาเป็นระบบสภาเดียว ให้สิ้นเรื่องไป
เผ่า นวกุล
หากกล่าวถึงความรักคงต้องบอกว่าหลายคนมักมีนิยามต่างกันไป ความรักเปรียบเสมือนยาขม ความรักเปรียบเสมือนน้ำผึ้งชโลมจิตใจ หรือแม้แต่ในซีรีย์อภินิหารของจีนก็ยังมีการกล่าวถึงความรักในทำนอง
เผ่า นวกุล
ความรักมักเป็นสิ่งหอมหวานเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยหนุ่มสาวแรกแย้ม การประสบพบเจอกับใครซักคนโดยไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้เรารู้สึกในจิตใจได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น คนนี้น่ารัก คนนี้น่าเกลียด คนนี้เป็นสิว คนนี้ตาเหล่ และคงมีอื่นๆอีกมามายเป็นแน่ และทั้งหลายทั้งปวงวัยรุ่นหนุ่มสาวก็คงเคยที่จะพบใครซักคนซึ่งเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่คุณถูกตาต้องใจเมื่อแรกเห็น หากจะกล่าวกันให้เข้าใจก็คือ นี่แหละคือ “รักแรกพบของฉัน”