Skip to main content
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องเรียนนักศึกษาปริญญาตรี เราได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในวันนั้นสิ่งที่เรากล่าวถึงกันในตลอดสี่ชั่วโมงกว่าๆมีสองเรื่องหลักที่น่าสนใจคือ
ประเด็นแรก เรื่องของอำนาจขุนนางที่ส่งผลทำให้มีผู้ปกครองสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งขอสงวนไว้ ณ ที่นี้
ประเด็นที่สอง การเลิกไพร่/ทาส
ในส่วนประเด็นที่สอง เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเลิกไพร/ทาส โดยนักศึกษาได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนถึง บริบทสังคมตอนนั้นมีผลต่อการปฏิรูปอย่างไร กล่าวคือ ต้องเข้าใจว่าสังคมในตอนนั้นมิได้มีการสื่อสารที่ทันสมัยอย่างปัจจุบัน ราษฎรแทบไม่มีความรู้ในเรื่องข่าวสารบ้านเมือง ชีวิตก็เป็นได้แค่ไพร่/ทาส ที่ทำงานตามสิ่งที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสังคมในสมัยนั้นก็กระทำได้ง่ายโดยเหล่าชนชั้นนำ การขับเคลื่อนจึงตกไปอยู่ที่ชนชั้นนำเป็นหลักซึ่งสิ่งนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างทางการเมืองของสังคมสยามที่เป็นลักษณะการเปลี่ยนผ่านจากเบื้องบนเป็นสำคัญ ซึ่งก็สามารถเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับระบอบการปกครองสมัยนั้นได้อีกทางหนึ่ง
อีกประการที่น่าสนใจคือ แม้ว่าการปฏิรูปเรื่องทาส/ไพร่สมัยนั้นจะอยู่ในอำนาจของชนชั้นนำ แต่ก็หาได้ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ ระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงถือว่ามากพอสมควร (ผมถามนักศึกษาว่า เขาใช้เวลากี่ปีในการปฏิรูป นักศึกษาคนหนึ่งตอบ 5 ปี อีกคนหนึ่งตอบทีเล่นทีจริงว่า 20 ปี) สามทศวรรษตั้งแต่ 2417-2448 สามสิบปีเศษที่ใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง ที่ต้องต่อสู้กับโครงสร้างอำนาจเก่าของเหล่าขุนนางที่มิพึงอยากเสียประโยชน์ของตน ไม่อยากเสียอำนาจ บารมี ที่ขึ้นอยู่กับการมีไพร่/ทาส ในครอบครอง
จากประเด็นคร่าวๆที่สรุปได้ในชั้นเรียนก็นำมาสู่การวิเคราะห์เชื่อมโยงกังสังคมไทยในปัจจุบัน
1.ในสัมคมสยามประเทศสมัยนั้นขนาดราษฎรไม่มีข้อมูลข่าวสาร อยู่ภายใต้ระบอบ absolute monarchy ยังต้องใช้เวลาเปลี่ยนแปลงนานหลายทศวรรษ แล้วกับสังคมปัจจุบันเล่า สังคมที่ทุกหัวระแหงต่างมีข้อมูลข่าวสารที่มากมาย เลือกเสพได้ตามสบาย เป็นไปได้หรือไม่ที่ชนชั้นนำจะกระทำแบบเดิมเปลี่ยนสังคม
2.ระบอบปัจจุบันของสังคมไทยคือ ประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับปวงชน เป็นไปได้หรือที่จะมีกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มเดียวจะทำการเปลี่ยนแปลงอย่างเช่นอดีต ปวงชนหาได้เป็นไพร่/ทาส ที่มีเจ้านายไม่
3.เหตุการในอดีตใช้เวลา 3 ทศวรรษในการเปลี่ยนแปลง มีการต่อสู้กันระหว่าง เจ้า กับ เจ้านาย ขุนนาง ซึ่งหากกล่าวดดยสรุปได้ว่า มีตัวละครหลักอยู่สองตัวใหญ่ๆ ยังใช้เวลานานมากขนาดนี้ แล้วปัจจุบันเล่า ตัวละครมีเพิ่มไม่รู้ต่อกี่เท่าทั้ง เจ้า ขุนนาง นักธุรกิจ ต่างประเทศ และอื่นๆอีกมากมาย การปฏิรูปโดยมัดมือชกยังสามารถทำได้อยู่หรือไม่ หากทำได้จะใช้เวลามากน้อยแค่ไหน
4.คำถามที่ผมถามนักศึกษาต่อมาคือ หากเราจะเปลี่ยนแปลงสังคมควรเริ่มจากอะไร?
ถกเถียงกันอยู่นาน จนได้คำตอบที่น่าสนใจคือ
"การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มที่วิธีคิด"
"การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มจากการตั้งคำถามต่อสังคม"
"การเปลี่ยนแปลงควรเริ่มที่ตนเอง" สรุปคร่าวๆได้ประมาณนี้
5.สุดท้ายผมถามนักศึกษาว่า แล้วเราเปลี่ยนตนเองตามข้อเสนอของตนเองหรือยัง คำตอบคือ "ยังครับ"

เผ่า นวกุล
24 ธันวาคม 2556

บล็อกของ เผ่า นวกุล

เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุลnawakulbanrai@gmail.com 
เผ่า นวกุล
แม้ว่าการฆาตกรรมหมู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์มนุษย์ อย่างไรก็ดีน้อยมากที่ยุคโบราณจะมีการล้างบาง (wipe out) หรือ ขับไล่ประชาชนพลเมืองทั้งหมด ผู้ชนะต้องการปกครองประชาชน พวกเขาต้องการที่จะทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้ปกครองและเป็นทาสพวกเขา ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนย้ายออกไปแต่อย่างใด
เผ่า นวกุล
 เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุล
การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง ทำได้จริงหรือ?[1] Democratization of Violence[2]
เผ่า นวกุล
ถ่วงดุลผู้นำประชานิยมด้วยระบอบประชาธิปไตย เผ่า นวกุล 
เผ่า นวกุล
ความสนใจในความไม่สนใจทางการเมืองของชนชั้นกลาง(เมือง)
เผ่า นวกุล
  ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าทรัพยากรเป็นของที่มีอยู่อย่างจำกัด แน่นอนว่าคำว่า “จำกัด” ก็หมายความเป็นนัยว่ามัน “มีน้อย” ไม่ใช่ปัญหาหาก “มีน้อย” แล้วความต้องการของมนุษย์มีน้อยไปด้วยเพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน แต่ประเด็นปัญหาที่สำคัญในโลกสมัยใหม่ที่จำนวนมนุษย์ในสังคมเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรมีมากมายตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรเล่าหากต่างฝ่ายต่างหมายปองทรัพยากรชิ้นนั้นกันตาเป็นประกาย
เผ่า นวกุล
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องเรียนนักศึกษาปริญญาตรี เราได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ
เผ่า นวกุล
“ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บางเขน พนักงานธนาคารฯที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ออกมายื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายนายจ้างสาระสำคัญโดยสรุปมีด้วยกัน 3 เรื่องหลักๆที่สำคัญได้แก่
เผ่า นวกุล
คงเป็นข้อถกเถียงของสมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ทางหนึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่า สุดท้ายแล้วประชาธิปไตยนั้นต้องอิงแอบแนบชิดกับประชาชนโดยประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ใดที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามถึงประเด็นดังกล่าวว่า แล้วอะไรคือข้อต่างของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาล่างหากทั้งคู่ต่างมาจากประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถึงขนาดมีสมาชิกรัฐสภาบางท่านกล่าว่า ควรเลิกระบบสองสภามาเป็นระบบสภาเดียว ให้สิ้นเรื่องไป
เผ่า นวกุล
หากกล่าวถึงความรักคงต้องบอกว่าหลายคนมักมีนิยามต่างกันไป ความรักเปรียบเสมือนยาขม ความรักเปรียบเสมือนน้ำผึ้งชโลมจิตใจ หรือแม้แต่ในซีรีย์อภินิหารของจีนก็ยังมีการกล่าวถึงความรักในทำนอง
เผ่า นวกุล
ความรักมักเป็นสิ่งหอมหวานเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยหนุ่มสาวแรกแย้ม การประสบพบเจอกับใครซักคนโดยไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้เรารู้สึกในจิตใจได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น คนนี้น่ารัก คนนี้น่าเกลียด คนนี้เป็นสิว คนนี้ตาเหล่ และคงมีอื่นๆอีกมามายเป็นแน่ และทั้งหลายทั้งปวงวัยรุ่นหนุ่มสาวก็คงเคยที่จะพบใครซักคนซึ่งเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่คุณถูกตาต้องใจเมื่อแรกเห็น หากจะกล่าวกันให้เข้าใจก็คือ นี่แหละคือ “รักแรกพบของฉัน”