Skip to main content

 

เผ่า นวกุล

ณ ประเทศสารขัณฑ์การพยายามค้นหามุมมืดหรือข้อเสียของประชาธิปไตยเพื่อนำมาสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลนอกระบบเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทุกเมื่อเชื่อวันโดยเฉพาะจากเหล่าผู้สนับสนุนผู้มีการศึกษาที่อาศัยอยู่กลางเมืองทั้งหลาย การปฏิบัติในลักษณะเดียวกับประเทศสารขัณฑ์นี้สามารถเห็นได้บ่อยครั้งในประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาในสังคมโลกปัจจุบัน อย่างไรก็ตามหากเราทำการศึกษางานที่กล่าวถึงมุมมืดของประชาธิปไตยของนักวิชาการตะวันตกจะเห็นได้ว่ามีลักษณะที่ต่างกันคือ การกล่าวถึงมุมมืดของประชาธิปไตยของนักวิชาการตะวันตกนั้นเพื่อจะให้เห็นถึงปัญหาและหาทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นมากกว่าใช้เพื่อค้นหามุมมืดเพื่อนำมาสร้างความชอบธรรมแก่รัฐบาลอันมาจากวิธีการที่ไม่มีความชอบธรรม

ผู้เขียนสนใจอย่างยิ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงกับประชาธิปไตย ความสนใจมิได้เกิดขึ้นเพื่อนำมาสร้างความชอบธรรมแก่รัฐบาลนอกระบบแต่ศึกษาเพื่อให้มองเห็นถึงปัญหาและหาทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และดูเหมือนว่างานของ Michael Mann เรื่อง the Dark Side of Democracy คงจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่ชี้ให้เห็นถึงการพยายามสะท้อนให้เห็นภาพความรุนแรงของปัญหาที่เขาไม่อยากให้เกิดขึ้น

ศาตราจารย์ Michael Mann แห่ง University of California ให้ความสำคัญกับความอันตรายที่เกิดขึ้นจากการพยายามอ้างความเป็นเจ้าของรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในดินแดนเดียวกัน สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งนโยบายการกำจัดชาติพันธุ์ (Ethnic Cleansing) ดังจะเห็นตัวอย่างใน อาเมเนียร์ เยอรมัน กัมพูชา ยูโกสลาเวียและรวันดา เป็นต้น ซึ่งสำหรับ Mann แล้วกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็น the Dark Side of Democracy หรือ มุมมืดของประชาธิปไตย

Mann เริ่มต้นแสดงเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน หมู่บ้าน Belanica ใน Kosovo โดยกล่าวถึงครอบครัวหนึ่งซึ่งประกอบด้วยสามีคือ Izet และ ภรรยาคือ Batisha และลูกของพวกเขา วันหนึ่งในขณะที่พวกเขานั่งอยู่ในครัวมีทหารชาวเซิร์บประมาณ 5-6 คนเข้ามาในบ้านและถามว่า “Where are your children? หลังจากนั้น Batisha เล่าว่า เหล่าขุนทหารเริ่มทุบตี Izet จนตัวลงไปกองที่พื้น ในขณะที่พวกเขากำลังเตะสามีเธออีกทางหนึ่งเหล่าขุนทหารก็เรียกร้องเงินและข้อมูลเกี่ยวกับลูกของพวกเขา ในขณะที่ Izet ยังคงกองอยู่ที่พื้น เขาเงยหน้ามามองเหล่าทหารทันใดนั้นเองเขาก็ถูกยิงสามนัดเข้าที่หน้าอก ในขณะเดียวกันเหล่าทหารผู้ชั่วร้ายก็ถอดเอาแหวนแต่งงานของ Batisha ออกจากนิ้ว

Batisha ถูกเตะเพื่อไล่ให้ออกไปจากบ้านพร้อมด้วยลูกชายวัย 10 ขวบของเธอ เหล่าขุนทหารทำการเผาบ้านของเธอ ในช่วงเวลานั้นร่างกายของเธอไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ราวกับเป็นอัมพาต เธอยืนตากฝนโดยในขณะนั้นเธอไม่มีซึ่งบ้าน สามีและทรัพย์สมบัติใดๆ มีเพียงแต่เสื้อผ้าที่เธอสวมใส่เท่านั้น ท้ายที่สุดเธอถูกนำตัวขึ้นรถบรรทุกของคนแปลกหน้า หลังจากนั้นลูกสาวของ Batisha พบแม่ของเขาในค่ายผู้อพยพที่ทางตอนเหนือของแอลเบเนีย ไม่มีใครเข้าใจถึงความเจ็บปวดนี้นอกจาก “พระเจ้า”

Mann กล่าวว่า หากเปลี่ยนชื่อของคนและสถานที่จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นเกือบทั่วทุกมุมโลกตลอด 1-2 ศตวรรษที่ผ่านมาทั้งในออสเตรเลีย อินโดนีเซีย อินเดีย รัสเซีย เยอรมัน ไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา บราซิล Mann ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่เรียกว่า "การกำจัดชาติพันธุ์" ซึ่งเป็นหนึ่งในปีศาจร้ายในโลกสมัยใหม่นี้

โปรดติดตามตอนต่อไป.......

บล็อกของ เผ่า นวกุล

เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุลnawakulbanrai@gmail.com 
เผ่า นวกุล
แม้ว่าการฆาตกรรมหมู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์มนุษย์ อย่างไรก็ดีน้อยมากที่ยุคโบราณจะมีการล้างบาง (wipe out) หรือ ขับไล่ประชาชนพลเมืองทั้งหมด ผู้ชนะต้องการปกครองประชาชน พวกเขาต้องการที่จะทำให้ประชาชนอยู่ภายใต้ปกครองและเป็นทาสพวกเขา ไม่ได้ต้องการให้ประชาชนย้ายออกไปแต่อย่างใด
เผ่า นวกุล
 เผ่า นวกุล
เผ่า นวกุล
การทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยอาศัยความรุนแรง ทำได้จริงหรือ?[1] Democratization of Violence[2]
เผ่า นวกุล
ถ่วงดุลผู้นำประชานิยมด้วยระบอบประชาธิปไตย เผ่า นวกุล 
เผ่า นวกุล
ความสนใจในความไม่สนใจทางการเมืองของชนชั้นกลาง(เมือง)
เผ่า นวกุล
  ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าทรัพยากรเป็นของที่มีอยู่อย่างจำกัด แน่นอนว่าคำว่า “จำกัด” ก็หมายความเป็นนัยว่ามัน “มีน้อย” ไม่ใช่ปัญหาหาก “มีน้อย” แล้วความต้องการของมนุษย์มีน้อยไปด้วยเพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน แต่ประเด็นปัญหาที่สำคัญในโลกสมัยใหม่ที่จำนวนมนุษย์ในสังคมเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรมีมากมายตามไปด้วย แล้วจะทำอย่างไรเล่าหากต่างฝ่ายต่างหมายปองทรัพยากรชิ้นนั้นกันตาเป็นประกาย
เผ่า นวกุล
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ในห้องเรียนนักศึกษาปริญญาตรี เราได้แลกเปลี่ยนกันในเรื่องของการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ
เผ่า นวกุล
“ เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บางเขน พนักงานธนาคารฯที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ออกมายื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายนายจ้างสาระสำคัญโดยสรุปมีด้วยกัน 3 เรื่องหลักๆที่สำคัญได้แก่
เผ่า นวกุล
คงเป็นข้อถกเถียงของสมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติที่ร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ทางหนึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่า สุดท้ายแล้วประชาธิปไตยนั้นต้องอิงแอบแนบชิดกับประชาชนโดยประชาชนจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ใดที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่ก็มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามถึงประเด็นดังกล่าวว่า แล้วอะไรคือข้อต่างของสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นสภาสูงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสภาล่างหากทั้งคู่ต่างมาจากประชาชนกลุ่มเดียวกัน ถึงขนาดมีสมาชิกรัฐสภาบางท่านกล่าว่า ควรเลิกระบบสองสภามาเป็นระบบสภาเดียว ให้สิ้นเรื่องไป
เผ่า นวกุล
หากกล่าวถึงความรักคงต้องบอกว่าหลายคนมักมีนิยามต่างกันไป ความรักเปรียบเสมือนยาขม ความรักเปรียบเสมือนน้ำผึ้งชโลมจิตใจ หรือแม้แต่ในซีรีย์อภินิหารของจีนก็ยังมีการกล่าวถึงความรักในทำนอง
เผ่า นวกุล
ความรักมักเป็นสิ่งหอมหวานเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยหนุ่มสาวแรกแย้ม การประสบพบเจอกับใครซักคนโดยไม่ได้ตั้งใจก็ทำให้เรารู้สึกในจิตใจได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น คนนี้น่ารัก คนนี้น่าเกลียด คนนี้เป็นสิว คนนี้ตาเหล่ และคงมีอื่นๆอีกมามายเป็นแน่ และทั้งหลายทั้งปวงวัยรุ่นหนุ่มสาวก็คงเคยที่จะพบใครซักคนซึ่งเป็นเพศตรงข้ามหรือเพศเดียวกันที่คุณถูกตาต้องใจเมื่อแรกเห็น หากจะกล่าวกันให้เข้าใจก็คือ นี่แหละคือ “รักแรกพบของฉัน”