Skip to main content
เราสามคน พ่อแม่ลูก กลายเป็นคนวัดไปแล้ว อ้อ บางวันมีน้านีมาจากสกลฯ ช่วยทำกับข้าวด้วย และยังผู้รู้เรื่องธรรมชาติบำบัดอีกหลายคน ที่มาช่วยแนะนำสิ่งที่ดีๆให้ แต่แม่ยังต้องเดินไปทำอาหารที่โรงครัวของวัด ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่พักของเรานัก ที่นั่นสะอาดและกว้างโล่ง มีน้ำประปาภูเขาให้ใช้อย่างสะดวกสบายเหลือเฟือ อันที่จริงก็ใช้กันทุกมุมวัดอยู่แล้ว เพราะว่าน้ำประปาที่ว่านี้ คือน้ำที่ผุดขึ้นมาเป็นน้ำพุเล็กๆ ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของภู ความสูงของพื้นที่ซึ่งสูงกว่าที่วัด หลวงพ่อจึงสร้างประปาภูเขาขึ้นมาอย่างง่ายดาย มีถังน้ำพักน้ำ ณ จุดที่มีน้ำพุหนึ่งลูก แล้วใส่ท่อให้มันวิ่งมาตามท่อน้ำ มาพักที่ถังเก็บน้ำลูกใหญ่ๆหลายสิบลูกที่หน้าศาลาใหญ่ แล้วปล่อยให้ไหลรินไปตามท่อสู่กุฏิ สู่แปลงผัก สู่โรงครัว สู่ห้องน้ำที่เป็นห้องแถวยาว เราจึงไม่เคยขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ กันเลย


ที่พิเศษกว่านั้นเกี่ยวเรื่องน้ำใช้ในวัดนี้ เพราะนักวิชาการสาธารณะสุข ได้นำน้ำไปตรวจสอบสภาพความบริสุทธิ์ พบว่าในน้ำมีแร่ธาตุที่สามารถดื่มและรักษาโรคได้ด้วย พืชผักต่างๆที่ปลูกแล้วรดด้วยน้ำนี้ จะมีสรรพคุณทางยาสูง แม่จึงคิดว่าลูกโชคดีที่สุดแล้ว ที่ได้พบหลวงพ่อและมาอาศัยที่วัดของท่าน

 

ทุกๆเช้าพ่อจะลงไปรอรับหลวงพ่อที่เชิงภู เพื่อช่วยถืออาหารทั้งหลาย ที่ได้มาจากการออกไปบิณฑบาตรที่บ้านกกตูม (หลวงพ่อต้องนั่งรถปิคอัพของวัดไปทุกวัน เพราะเป็นชุมชนเดียวที่อยู่ใกล้ที่สุด ระยะทางประมาณ 8กิโลเมตร)

พ่อแทบจะไม่ได้ออกไปทำงานอีกเลย นานๆจะไปสักครั้งในกรณีที่จำเป็นจริงๆ โชคดีอีกอย่างหนึ่งของเราก็ได้ ที่งานของพ่อไม่ใช่งานราชการ เนื้อหางานที่ผ่อนปรนให้คนอื่นทำแทนกันได้ โดยที่ไม่เสียงาน เพื่อนร่วมงานต่างเข้าใจดี ก็งานในองค์กรพัฒนาเอกชน ที่พ่อเองกลายเป็นคนในชุมชนไปแล้ว ชีวิตกับงานกลมกลืนเป็นธรรมชาติ แม่ยิ่งสบายกว่าพ่อ บทบาทสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สมัยแรกใหม่หมาด ไม่ได้ทำให้งานของส่วนรวมกระทบกระเทือน เมื่อถึงคราวประชุมแม่ก็ออกไปประชุม เสร็จงานก็กลับมาอยู่กับลูก พร้อมกับอาหารของลูก คือผักและผลไม้ที่ต้องหาบขึ้นวัด กับกระเป๋าใบใหญ่ที่เต็มไปด้วยอาหารสะพายไว้ด้านหลัง แม่มีความสุขกับการที่ได้ทำให้ลูก

 

ทั้งพ่อทั้งแม่ สามารถบอกกับใครๆได้ว่า สำหรับลูกแล้ว เราไม่เคยมีคำว่า "รอก่อนนะลูก"

ภาระการออกไปหาอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกเราต้องทำทันที เพราะผลไม้ต้องใหม่สดจริงๆ ดังนั้นเกือบทุกๆสองวันเราต้องลงไปหามา โชดดีที่พ่อได้ทำงานเครือข่ายอินแปงที่มุ่งส่งเสริมให้พี่น้องรอบป่าภูพานได้ร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูพืชผักพื้นบ้านอาหารธรรมชาติตามแนวคิดอินแปง ยกป่าภูพานมาไว้สวน คือการนำพืชผักผลไม้จากป่าภูพานมาปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูกเราจึงมีแปลงเกษตรเช่นนี้มากมาย มีอาหารเหลือเฟือให้ลูก เช่น ที่สวนของแม่ชีวทัศน์ มี บวบ มะละกอก น้อยหน่า แก้วมังกร ผักหวานบ้าน มะรุม ไข่ไก่บ้าน พ่อหวัง พ่อชาดี มีกล้วยน้ำหว้า ฟักทอง แตงโมง กินอร่อย พี่น้องกินแปงที่สกลนคร มีหมากเม่า รดชาดดี หวานตามธรรมชาติ หมากเบ็น มะพร้าว ข้าวฮาวบ้านแป้น แชมพูมะกรูดกลิ่นหอมจากสวนชาวดินของน้องก้องกับตุ่งติ่งบัญฑิตคืนถิ่น เรามีอาหารมากมายสดๆดีๆไม่มีสารเคมีให้แม่ชีได้กิน แถมพี่น้องจากภาคตะวันออก/ภาคใต้น้องปุ้ย/อาจารย์อรุศรีก็ยังกรุณาส่งมังคุดปลอดสารมากินตลอด ที่ได้ซื้อตลาดก็มีบ้างเช่น ส้มเช้ง แก้วมังกร มะพร้าวน้ำหอม ก็ต้องดูว่าปลอดภัย เปลือกหนา เราจะต้องไปในเมือง ถ้าไม่ไปที่สกลนคร ก็ต้องไปที่มุกดาหาร ซึ่งอยู่ห่างจากวัดราว 100 กิโลมเมตรทั้งสองแห่ง แถมสุดยอดไปกว่านั้นที่วัดยังมีเห็ดป่าที่ออกตามฤดูกาลมากมายเช่นเห็ดละโงก เห็ดไค เห็ดดิน เห็ดปลวกโดยเฉพาะเห็ดตาโล่เป็นเห็ดก้อนกลมๆเป็นเมือก กินแล้วเย็นมาก กินดิบๆสดๆก็ได้หรือสุกก็ดีเป็นเห็ดป่าที่มีฤทธ์เย็น ทั้งที่เห็ดป่าโดยส่วนใหญ่มีฤทธิ์ร้อน และนับว่าโชคดีของลูกที่ได้กินเห็ดตาโล่ ตุ๋นใส่ผักรสอร่อยมาก ลูกชอบกินมากกินมื้อละถ้วยทุกมื้อที่นับว่าโชคอย่างมากคือเห็ดตาโล่จะไม่เกิดทุกที่ทั่วไป ที่วัดภูไม้ฮาวถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุด ชาวบ้านญาติโยมใกล้ไกลจะมากราบหลวงพ่อและขอเก็บเห็ดเป็นประจำจนมีชื่อเสียง

 

มาถึงวันนี้ ความวิตกกังวลจากคนรอบข้างที่ว่า ไม่มีหมอ ไม่มีเครื่องมือแพทย์ ลูกจะอยู่อย่างไร ค่อยๆเลือนหายไป โดยเฉพาะคุณย่าที่มาเห็นวัดครั้งแรกแล้วตีโพยตีพายต่อว่าพ่อกับแม่เสียมากมายว่า ทำไมพาหลานมาเสี่ยงชีวิตที่นี่ ตอนนี้มีความเข้าใจและยินดีที่จะมาอยู่ข้างๆลูกบ่อยๆเท่าที่ย่าจะทำได้

 

ด้วยตัวลูกเองที่แสดงออกให้เห็นถึงความเข้มแข็ง แม้จะไม่ใช่ทุกเรื่องที่ลูกบันทึกไว้ แต่ด้วยความทรงจำของแม่ แม่จำได้ถึงคำพูดของใครหลายคนที่บอกกับแม่ว่าลูกช่างเป็นเด็กมหัศจรรย์ ทุกครั้งที่ลุงๆป้าๆขึ้นมาเยี่ยม พวกเขาบอกว่าเหมือนไม่ได้มาเยี่ยมคนป่วย แค่มาพบปะพูดคุยกับคนปกติคนหนึ่งเท่านั้น ถ้าไม่ดูที่รูปร่างซึ่งผอมบางลงทุกวัน

 

"ขอป้าจับมือหน่อยนะลูก ขอพลังด้วย" ป้าเฒ่ามักจะทำอย่างนั้นทุกครั้ง เพราะความเหนื่อยหอบจากการเดินขึ้นภูแล้วลูกก็ยื่นมือบางๆให้ป้าเฒ่าจับ พร้อมยิ้มอย่างมีความสุข ป้าหลานคุยกันกระหนุง

กระหนิง แม่จึงได้ออกไปทำกับข้าว ส่วนพ่อกับลุงเปี๊ยกก็คุยกันเหมือนเดิม

 

ป้าเฒ่ากับลุงเปี๊ยก กลายเป็นญาติผู้ใหญ่ของลูกที่เราขาดไม่ได้เสียแล้ว และทั้งป้ากับลุงก็ขาดลูกไม่ได้ ถ้าไม่มีงานเร่งด่วน หรือต้องเดินทางไปทำงานไกลๆ ป้าเฒ่าจะขับรถมานอนค้างกับลูกที่วัด ตื่นเช้า รีบไปทำงานที่โรงพยาบาลเขาวง ป้าเฒ่าลุงเปี๊ยก อยู่กับลูกจนกระทั่งนาทีสุดท้ายของลูกจริงๆ

 

ลูกรู้ไหม หลังจากที่ลูกไม่อยู่แล้ว ลุงเปี๊ยกบอกว่า ทั้งหมดที่ลูกฝากไว้ให้ คือเครื่องเตือนใจผู้ใหญ่อย่างลุงเปี๊ยกว่า เราที่เป็นผู้ใหญ่ ที่น่าจะเป็นฝ่ายไปก่อน ได้เตรียมตัวที่จะไปอย่างสงบสันติหรือยัง

 

บันทึกที่แม่ได้อ่าน หลังจากที่ไร้ร่างลูกแล้วนั้น ทำให้แม่เห็นความอดทนข่มใจต่อความอยากในสิ่งที่ลูกชอบ

แม่อ่านแล้วรู้สึกสงสารลูกมาก

 

11/6/51

ตื่น 05.00 . ...........(เนื้อหาส่วนนี้ เหมือนทั่วๆไป เกี่ยวกับการกิน นวด ถ่าย ฉี่)

ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไปจะไม่กินขนม แต่ขาไก่ไม่มั่นใจ

พ่อไปสกลนคร ไปเอายาธิเบต

 

หลวงพ่อมาเทศน์เรื่องจิต .....

อากาศร้อนอบอ้าว สงสัยฝนจะตก......

ลุกนั่งเอง อ่านละคร ใส่แว่นตา ดู CD ละคร....

พ่อยังไม่มาเลย บอกว่าจะซื้อหนังสือ กระเป๋าสตังค์คิดตี้มาฝาก (เรื่องกิน อาบน้ำ สระผม อื่นๆ)

ดู CD พุทธทาส บทสุดท้าย ลึกซึ้งมาก (กินข้าว กินน้ำ กินยา)

พ่อมา ซื้อ(หนังสือประกอบ)ละคร 2 เล่ม กระจก สี(วาดรูป) กระเป๋าตังค์คิดตี้

ลุงยุทธฝากบอกให้เช็คอาหารตลอด อย่ากินปลากับข้าวเหนียวมากลุงยุทธยังบวมไม่หาย

รอกินข้าว คงกินกับนึ่งปลา ต้มจืดผัก (ได้กินจริงๆ)

 

แม่รู้ว่าลูกต้องอดทนต่อความอยากในของต้องห้ามทั้งหลาย ทั้งที่เคยเป็นอาหารประจำของลูก และเรื่องความหิวที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็เป็นเรื่องน่าเห็นใจไม่น้อย

 

กินกล้วยตอนดึก กินข้าวกับปลานึ่ง ตอนตี 1

ฟังเสียงบันทึกที่หลวงพ่อเทศน์ พ่อนวดให้ ถ่ายตอนตี 3 กินมังคุด นอนหลับสบายดี ฝนตก

 

มาถึงวันนี้ แม้ลูกกินมากแค่ไหน แต่ร่างกายของลูกก็ยังผอมบาง บางเฉียบราวกับเปลือกแตงกวาแห้ง

 

 

บล็อกของ เงาศิลป์

เงาศิลป์
ฉันสังเกตดูรอบๆ บ้านหลังน้อยของลุงลี แทบไม่มีพืชผักที่พอจะเก็บกินได้ สงสัยอยู่ครามครันว่า ทำไมไม่ปลูก ในเมื่อแกเป็นคนเก่าแก่และเป็นคนเดียวที่อยู่ในป่านี้มานานถึง 20 กว่าปี ตอนที่ฉันได้หน่อกล้วยหอมพันธุ์ดีมาจากหนองคาย แกก็ยังอุตส่าห์เอาปุ๋ยขี้ควายมาให้ตั้งสามกระสอบ แถมยังสอนวิธีปลูกให้อีกด้วย เมื่อเห็นฉันลงมือขุดหลุมห่างๆ เพราะคิดว่าในอนาคตมันต้องแตกหน่อมาชนกันเอง แกกลับบอกว่าให้ชิดๆกันหน่อยจะดีกว่า เป็นแรงดึงดูดให้กล้วยโตเร็วขึ้น ฉันก็เอาตามนั้น ก้นหลุมกว้างลึกรองด้วยปุ๋ยมูลสัตว์สลับหญ้าแห้ง ดูเป็นวิชาการมากๆ ตามคำแนะนำของแกถามแกว่าจะเอาไปปลูกเองสักต้นไหม…
เงาศิลป์
ฟืนท่อนใหญ่ถูกซุนเพิ่มเข้าไปอีกท่อน มันเป็นไม้ส้มเสี้ยวที่ถูกโค่นล้มลงเพราะขวางทางรถยนต์คันใหญ่ คนตัดบอกว่าไม้ชนิดนี้ยากที่จะแปรรูปเพราะเนื้อไม้บิดเป็นเกลียว ฉันจึงขอให้เขาตัดเป็นท่อนสั้นๆ เพื่อจะใช้ประโยชน์ตามแต่จะคิดได้ แต่พอลมหนาวทายทักแข็งขันมากขึ้น ฉันต้องตัดใจตัวเองจนเลือดซิบ ขณะที่ก้มลงลากมันมาใส่ไฟอย่างยากเย็น เพราะทั้งหนักและเสียดาย และรู้สึกผิดต่อตัวเองหมาน้อยสองตัวต้องการความอบอุ่นตลอดคืน ฉันเองก็ต้องการ แม้จะมีผ้าห่มแต่ก็ไม่เพียงพอที่จะกันหนาวได้ การใช้ฟืนดุ้นเล็กๆ คือภาระที่ต้องลุกขึ้นมาใส่ไฟเกือบตลอดเวลา ถ้าเป็นอย่างนั้นฉันคงไม่มีเรี่ยวแรงเหลือไว้ทำงานในไร่ยามกลางวันอีกเป็นแน่…
เงาศิลป์
สวัสดีค่ะ ขาดหายไปนานสำหรับเรื่องของชะตากรรมคนขาหัก ขอสารภาพว่าที่ทิ้งช่วงห่างหายไปนานขนาดนี้ เพราะว่าขาดความเชื่อมั่นที่จะเขียน (อย่างรุนแรง) เนื่องจากรู้สึกว่าท่านผู้อ่านประชาไท ค่อนข้างมีภูมิปัญญาสูง แต่คนเขียนปัญญาต่ำ ครุ่นคิดอยู่นานว่าจะจบเรื่องนี้อย่างไรดี ในท่ามกลางสภาพปัญหาการดิ้นรนรักษาตนเองและบางครั้งได้รับการดูแลอย่างไม่คาดคิด ค่ะ...ตอนนี้ขอสรุปรวบรัดเล่าให้ฟังว่า เกิดอะไรขึ้นในที่สุด.....หลายครั้งที่ได้พบและเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจากผู้รู้ แต่ครั้งที่เป็นประสบการณ์ตรงที่สุดก็คือ การฝังเข็มจากพี่อ้อย (กัลยา ใหญ่ประสาน) รุ่นพี่ที่เคารพรัก เจ้าของร้านอาหารสุขภาพโขง-สาละวิน…
เงาศิลป์
วันเวลาที่ผ่านไป ฉันค่อยๆ คลายความกังวล แม้ว่าความรู้สึกเจ็บปวดจะมาอยู่เป็นเพื่อนเกือบตลอดเวลา แต่วิชาเกลือจิ้มเกลือ เจ็บแก้เจ็บ ยังใช้ได้เสมอ (โปรดใช้วิจารณญาณในการนำไปทดลอง)และแล้วเหมือนกรรมบันดาล (อีกแล้ว) วันหนึ่ง ฉันได้เรียนรู้ว่า คนเราได้ใช้ศักยภาพของตัวเองเพียงแค่ 60 – 70 % เท่านั้น ส่วนที่เหลือยังไม่เคยรู้จักมัน และปล่อยให้มายาคติบางอย่างครอบงำ โดยเฉพาะคำว่า “อย่าทำ” .... “ไม่ควรทำ”.....หรือ “ไม่เหมาะสมที่จะทำ” และอะไรอีกหลายความคิดที่ปิดกั้นโอกาสของตัวเองกลางเดือนตุลาคมของปีหนึ่ง ฉันเร่ร่อนลงเรือไปที่หาดไร่เล ตอนนั้นแทบว่าไม่มีคนไทยรู้จักหาดไร่เล นอกจากฮิปปี้และนักปีนผา (…
เงาศิลป์
การขึ้นภูกระดึงอย่างไร้ความพร้อม กลับทำให้ฉันได้สิ่งดีๆมากมายคุณนิมิตร เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว ได้เขียนจดหมายน้อยอย่างไม่เป็นทางการ ให้ฉันถือไปยื่นให้กับเจ้าหน้าที่บนภู ที่เป็นเพื่อนกัน ในจดหมายเขียนว่า “ช่วยดูแลคนที่ถือจดหมายฉบับนี้ด้วย ตามสมควร” ที่อาคารลงทะเบียนบนภู ฉันยื่นจดหมายให้กับเจ้าหน้าที่ คะเนจากหน้าตา เขาคนนั้นคงมีอายุพอๆกับฉัน เมื่ออ่านจบเขามองหน้าฉันอย่างเฉยเมย บอกว่าบ้านพักเต็มหมดแล้ว เหลือแต่เต๊นท์  ฉันบอกว่าฉันตั้งใจจะพักเต๊นท์อยู่แล้ว“มากันกี่คน” น้ำเสียงห้วนๆ  ไม่รู้ทำไม“คุณเห็นกี่คนล่ะคะ คุณเห็นแค่ไหนก็แค่นั้นล่ะค่ะ” ฉันตอบกึ่งยียวน…
เงาศิลป์
เช้าวันนี้….ใบไม้สีเหลืองเกลื่อนพื้น ดูสวยงาม แต่ไม่นานมันจะถูกเรียกว่า “ขยะ” ด้วยเรียวไม้กวาดก้านมะพร้าว ค่อยๆลากให้มันมากองรวมกัน ทีละนิดรอยทรายเป็นเส้นลดเลี้ยวตามแนวกวาด ลีลาคล้ายบทกวีร้อยบท ที่มีเนื้อหาเดียว คือความสงบทุกเช้า ฉันจะอยู่กับมัน ทั้งไม้กวาด พื้นทรายและใบไม้ร่วงสายตาจับอยู่ที่พื้น..แต่ด้วยหางตา เห็นบางอย่างเคลื่อนไหวอยู่บนถนนหน้าบ้าน  จากที่ยืนอยู่ ระยะทางราวร้อยก้าว เงาร่างเดินโยกเยก บดบังด้วยแนวพุ่มไม้เตี้ยๆ จึงมุ่งมองอย่างตั้งใจ เห็นใครบางคนเคลื่อนไหวอย่างช้าๆจึงเดินออกไปดูร่างล่ำสันค่อยๆ เคลื่อนไปอย่างลำบาก เขาใช้ไม้ยาวๆ ค้ำถ่อ ประคองร่างกายให้ขาตวัดสลับกันไป …
เงาศิลป์
“ฉันจะต้องไม่พิการ”ฉันคำรามหนักแน่นอยู่ในใจ ในคืนวันหนึ่ง เมื่อนอนอยู่ในท่าทีเอาขาขวาพาดไว้บนกำแพง เพื่อดัดขาไล่ความเมื่อยล้า จากงานหนักจากวันนั้น อะไรก็ตามที่ทำให้เข่าของฉันเจ็บน้อยลง ฉันจะทำทันที เริ่มจากการค้นหาวิธีแก้ไข ควบคู่ไปกับการยอมรับความเจ็บปวดของขาข้างขวาว่าเป็นคู่แท้ของชีวิตปีแรก ฉันเดินกะเผลกแบบคนขาเป๋ เพราะขาขวาสั้นกว่าขาซ้าย และยังไม่มีพละกำลัง เวลาเดินจึงเห็นว่าตัวเอียงมาก เป็นที่เวทนาตัวเองยามคนจ้องมอง ทำให้ฉันเข้าใจหัวอกคนพิการมากขึ้นแต่แล้ววันหนึ่ง เหมือนพระมาโปรด ฉันกลับมากรุงเทพฯ แล้วไปเยี่ยมเพื่อนๆที่มหาวิทยาลัย ขณะนั่งอยู่ริมสนามฟุตบอล มองคนอื่นๆเล่นกิฬา อย่างเสียดาย…