Skip to main content

 

เรื่องนี้กลายเป็นฮอตอิชชูของสังคมที่น่าติดตามกว่าละครไทยเรื่องไหนๆ ไม่ใช่แค่เพราะเป็นเรื่องของดารา แต่เพราะเป็นเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่าง แม่-ลูก ที่ท้าท้ายขนบสังคมไทยอย่างแรง

เมื่อลูก (สาว) ลุกขึ้นมาปฏิเสธการสยบยอมต่ออำนาจของแม่ และทวงคืนอำนาจในการจัดการชีวิตและทรัพย์สินเงินทองตนเอง ยิ่งเป็นหญิงด้วยแล้ว แรงกดทับย่อมหนักหน่วงมากกว่าชาย พอมีข่าวว่าหญิงไป (หลง) เชื่อชายซึ่งเป็นคนนอก "ครอบครัว" ยิ่งไปกันใหญ่

ข่าวปล่อยเรื่อง "ท้องก่อนแต่ง" เป็นข้อหาร้ายแรงที่ลดคุณค่าความเป็นหญิงไทยทุกผู้ทุกนามและถูกใช้ทำลายกันบ่อยในทุกยุคทุกสมัย และขวัญก็ไม่ได้รับการยกเว้นในข้อนี้ 

ความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี การรักครอบครัวมากกว่า "คนอื่น" หยาดน้ำตาและความน้อยเนื้อต่ำใจ กลายเป็นไม้เด็ดของแม่และพี่สาวที่ถูกงัดขึ้นมาจัดกระหน่ำเรนนี่เซลล์เพื่อเรียกร้องเสียงสนับสนุนและความเห็นใจจากสังคม  (เมื่อไม้แข็งอย่าง "ขวัญไม่กลับบ้าน" หรือข่าวปล่อยเรื่องมีน้องดูจะทำอะไรนางไม่ได้)

ฝ่ายแม่บอกว่าเรื่องเงิน "ไม่เกี่ยว" กับความขัดแย้ง แต่ทำไปเพราะเป็นห่วงลูก ถูกใช้เป็นข้ออ้างเพื่อให้แม่มีความชอบธรรมในการเดินเกมต่อ  

แต่เอาเข้าจริงเงินทองมันก็เรื่องใหญ่นั่นแหละ ประเด็นหลักมันอยู่ที่การเทียบค่าระหว่างบุญคุณของบุพาการีกับมูลค่าที่ต้องตอบแทน

ผู้คนกำลังถกเถียงกันว่า ลูก (สาว) ต้องตอบแทนบุญคุณแม่ "แค่ไหน?" หรือ "เท่าไหร่" จากขนบจารีตเดิมคือ "ทั้งหมดของชีวิต" ครั้นมาแปรเป็น "มูลค่า" คิดคำนวณตัวเลขที่จะต่อรองกันมันจึงสับสนอลหม่าน นับเลขกันไม่ถูกเลยทีเดียว ข่าวต่าง ๆ ที่ขุดงัดกันขึ้นมา ทั้งเรื่องบ้าน 50 ล้านบาท รถเบนซ์คันใหม่ การหาเลี้ยงทั้งชีวิต บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ ล้วนอยู่ในข้อถกเถียงเพื่อการเทียบคุณค่ากับมูลค่าในประเด็นนี้

ฝ่ายแม่อ้างจารีตว่าด้วยพระคุณแม่นั้นมากล้นสุดจะประมาณได้  ส่วนแฟนคลับของลูกสาวก็พยายามเทียบมูลค่าเพื่อชั่งตวงวัดหามาตรฐานของคำว่า "พอ" (เสียที)

ตัวเลขอายุก็เช่นกันที่ถูกใช้เป็นเกณฑ์วัดความเป็นผู้ใหญ่ อิสรภาพ และการสิ้นสุดของการอยู่ภายใต้อำนาจกดทับของครอบครัว (เดิม)  

30 เป็นเลขที่แฟนคลับใช้เป็นข้อเรียกร้องกดดันแม่ให้ "ปล่อย" ลูกสาวเลือกทางเดินชีวิตของตนเองได้แล้ว คือรับงานเอง จัดการเงินทองเอง เลือกคนรักเอง

ซึ่งในที่สุดผู้หญิงก็ย่อมตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของระบอบแห่ง "ครอบครัว" (ใหม่) ตามจารีตแบบไทย ๆ ที่สังคมกำหนดกรอบไว้แล้วว่าคนรัก หญิง-ชาย ภรรยา-สามี ควรมีบทบาทและพันธะอย่างไรต่อกัน

ความเป็น "ลูก" และ "ความหญิง" เป็นโจทย์ใหญ่ของเรื่อง สองวาทกรรมนี้ทำให้ขวัญดิ้นไม่หลุดจากความคาดหวังของสังคมจารีตแบบไทย ๆ  แต่แฟนคลับซึ่งเป็นคนยุคใหม่ก็ออกแรงเชียร์กันเต็มเหนี่ยว

อีที่เชียร์กันหนักๆ นี่ชวนให้ผู้เขียนสงสัยว่าถ้าถึงตาพวกคุณเองล่ะ จะดิ้นกันหลุดไหม ?

ผู้เขียนซึ่งเป็น "ลูกสาว" ก็ยังคงดิ้นพราด ๆ อยู่ในกรอบจารีตและวาทกรรมแบบไทย ๆ ที่ตนเองรับเอามาครอบกำหนดกรอบชีวิตอยู่เช่นกัน 

#ทฤษฎีน่ะได้แต่ในทางปฏิบัติวินาศสันตะโร

 

บล็อกของ "ไม่มีชื่อ"

"ไม่มีชื่อ"
ฉันรู้สึกรำคาญคุณพ่อคุณแม่รู้ดีที่ทำเป็นเข้าอกเข้าใจต้นข้าว ก่อนอื่นใดขอให้ทำความเข้าใจชีวิตคนจริง ๆ ก่อนดีไหม   
"ไม่มีชื่อ"
"ไม่มีชื่อ"
ถ้าจะมีคนในสังคมที่ไม่ทำงานทำการอะไร ก็น่าจะเป็นพวกคนร่ำรวย ที่สามารถสะสมทุนและใช้เงินจากดอกผลของมันซึ่งขับเคลื่อนด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของลูกจ้างที่มีทุนน้อยเสียมากกว่า
"ไม่มีชื่อ"
นักศึกษาจบใหม่ มีทางให้เลือกดำเนินชีวิตได้มากสักเท่าไหร่กัน นักเรียนของข้าพเจ้าเรียนจบเกือบหนึ่งปีแต่พวกเขายังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะนำพาชีวิตตัวเองไปในทิศทางไหนต่อ
"ไม่มีชื่อ"
ในบริบทที่สังคมเต็มไปด้วยรอยปริแตกและการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ผู้คนจำนวนมากระมัดระวังที่ไม่ตกอยู่ฟากข้างใดของความขัดแย้ง “ความเป็นกลาง” ถูกทวงถามในทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักวิชาการ นักศึกษา นักพัฒนา ราวกับว่าคำนี้มีความหมายชัดเจนและเป็นธรรมชาติในตัวเอง 
"ไม่มีชื่อ"
 
"ไม่มีชื่อ"
 ภาพมวลมหาประชาชนนำธนบัตรมากมายไปยื่นให้ สุเทพ เทือกสุบรรณ บนถนนกลางกรุงสร้างความตื่นตะลึงปนขุ่นเคืองใจให้แก่คนมีเงินไม่ค่อยพอใช้อย่างข้าพเจ้ายิ่งนัก นี่ยังไม่นับรวมกับเสียงของผู้เข้าร่วมชุมนุมกับม็อบนกหวีดที่ย้ำซ้ำ ๆ ผ่านสื่อต่าง ๆ ว่าพวกเขาเป็นชนชั้นกลางและชนชั้นสูงฐานะดีมีอันจะกิน 
"ไม่มีชื่อ"
เมื่อตื่นเช้ามาพบว่าสังคมไทยกำลังถกเถียงกันเรื่องความเหมาะสมของหลัก “หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง” ในการเลือกตั้ง ข้าพเจ้าหลงคิดไปว่าขณะหลับไปเมื่อคืนโลกได้หมุนย้อนเวลากลับไปกว่า 81 ปี ก่อนที่ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย
"ไม่มีชื่อ"
ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับเสียงของ “ชาวบ้าน” หรือไม่ เสียงของพวกเขาก็ควรมีความหมาย มีสิทธิที่จะเปล่งออกมา และควรได้รับความสำคัญเท่า ๆ กับเสียงของชนชั้นกลางด้วยเช่นกัน แต่สังคมยังให้พื้นที่แก่เสียงของคนเหล่านี้น้อยมาก เมื่อเทียบกับพื้นที่ที่ให้แก่เสียงของชนชั้นกลาง ทั้ง ๆ ที่หลายกรณีเสียงและความต้องการของชนชั้นกลางที่อยู่ห่างออกไปจากพื้นที่ส่งผลต่อปากท้องและการทำมาหากินของพวกเขาโดยตรง     
"ไม่มีชื่อ"
เนื่องจากมันเป็นขบวนการและกระบวนการตอกย้ำความไม่เท่าเทียมกันของอำนาจในการแสดงออกซึ่งสิทธิเสียงระหว่างชนชั้นกลางกับชนชั้นล่างอย่างเห็นได้ชัด โดยผ่านการจัดลำดับชั้นสูงต่ำของ  “จิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม”
"ไม่มีชื่อ"
การบังคับสวมเครื่องแบบนักเรียน-นักศึกษาด้วยข้ออ้างว่าจะไม่ทำให้เกิดความแตกต่างหรือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำนั้น เอาเข้าจริง ๆ มันก็แค่การกลบเกลื่อนความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่จริง และแสดงถึงการไม่ยอมรับความแตกต่างหลากหลายอย่างตรงไปตรงมามากกว่า