Skip to main content

 

เรื่องนี้กลายเป็นฮอตอิชชูของสังคมที่น่าติดตามกว่าละครไทยเรื่องไหนๆ ไม่ใช่แค่เพราะเป็นเรื่องของดารา แต่เพราะเป็นเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่าง แม่-ลูก ที่ท้าท้ายขนบสังคมไทยอย่างแรง

เมื่อลูก (สาว) ลุกขึ้นมาปฏิเสธการสยบยอมต่ออำนาจของแม่ และทวงคืนอำนาจในการจัดการชีวิตและทรัพย์สินเงินทองตนเอง ยิ่งเป็นหญิงด้วยแล้ว แรงกดทับย่อมหนักหน่วงมากกว่าชาย พอมีข่าวว่าหญิงไป (หลง) เชื่อชายซึ่งเป็นคนนอก "ครอบครัว" ยิ่งไปกันใหญ่

ข่าวปล่อยเรื่อง "ท้องก่อนแต่ง" เป็นข้อหาร้ายแรงที่ลดคุณค่าความเป็นหญิงไทยทุกผู้ทุกนามและถูกใช้ทำลายกันบ่อยในทุกยุคทุกสมัย และขวัญก็ไม่ได้รับการยกเว้นในข้อนี้ 

ความกตัญญูกตเวทีต่อบุพการี การรักครอบครัวมากกว่า "คนอื่น" หยาดน้ำตาและความน้อยเนื้อต่ำใจ กลายเป็นไม้เด็ดของแม่และพี่สาวที่ถูกงัดขึ้นมาจัดกระหน่ำเรนนี่เซลล์เพื่อเรียกร้องเสียงสนับสนุนและความเห็นใจจากสังคม  (เมื่อไม้แข็งอย่าง "ขวัญไม่กลับบ้าน" หรือข่าวปล่อยเรื่องมีน้องดูจะทำอะไรนางไม่ได้)

ฝ่ายแม่บอกว่าเรื่องเงิน "ไม่เกี่ยว" กับความขัดแย้ง แต่ทำไปเพราะเป็นห่วงลูก ถูกใช้เป็นข้ออ้างเพื่อให้แม่มีความชอบธรรมในการเดินเกมต่อ  

แต่เอาเข้าจริงเงินทองมันก็เรื่องใหญ่นั่นแหละ ประเด็นหลักมันอยู่ที่การเทียบค่าระหว่างบุญคุณของบุพาการีกับมูลค่าที่ต้องตอบแทน

ผู้คนกำลังถกเถียงกันว่า ลูก (สาว) ต้องตอบแทนบุญคุณแม่ "แค่ไหน?" หรือ "เท่าไหร่" จากขนบจารีตเดิมคือ "ทั้งหมดของชีวิต" ครั้นมาแปรเป็น "มูลค่า" คิดคำนวณตัวเลขที่จะต่อรองกันมันจึงสับสนอลหม่าน นับเลขกันไม่ถูกเลยทีเดียว ข่าวต่าง ๆ ที่ขุดงัดกันขึ้นมา ทั้งเรื่องบ้าน 50 ล้านบาท รถเบนซ์คันใหม่ การหาเลี้ยงทั้งชีวิต บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ ล้วนอยู่ในข้อถกเถียงเพื่อการเทียบคุณค่ากับมูลค่าในประเด็นนี้

ฝ่ายแม่อ้างจารีตว่าด้วยพระคุณแม่นั้นมากล้นสุดจะประมาณได้  ส่วนแฟนคลับของลูกสาวก็พยายามเทียบมูลค่าเพื่อชั่งตวงวัดหามาตรฐานของคำว่า "พอ" (เสียที)

ตัวเลขอายุก็เช่นกันที่ถูกใช้เป็นเกณฑ์วัดความเป็นผู้ใหญ่ อิสรภาพ และการสิ้นสุดของการอยู่ภายใต้อำนาจกดทับของครอบครัว (เดิม)  

30 เป็นเลขที่แฟนคลับใช้เป็นข้อเรียกร้องกดดันแม่ให้ "ปล่อย" ลูกสาวเลือกทางเดินชีวิตของตนเองได้แล้ว คือรับงานเอง จัดการเงินทองเอง เลือกคนรักเอง

ซึ่งในที่สุดผู้หญิงก็ย่อมตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของระบอบแห่ง "ครอบครัว" (ใหม่) ตามจารีตแบบไทย ๆ ที่สังคมกำหนดกรอบไว้แล้วว่าคนรัก หญิง-ชาย ภรรยา-สามี ควรมีบทบาทและพันธะอย่างไรต่อกัน

ความเป็น "ลูก" และ "ความหญิง" เป็นโจทย์ใหญ่ของเรื่อง สองวาทกรรมนี้ทำให้ขวัญดิ้นไม่หลุดจากความคาดหวังของสังคมจารีตแบบไทย ๆ  แต่แฟนคลับซึ่งเป็นคนยุคใหม่ก็ออกแรงเชียร์กันเต็มเหนี่ยว

อีที่เชียร์กันหนักๆ นี่ชวนให้ผู้เขียนสงสัยว่าถ้าถึงตาพวกคุณเองล่ะ จะดิ้นกันหลุดไหม ?

ผู้เขียนซึ่งเป็น "ลูกสาว" ก็ยังคงดิ้นพราด ๆ อยู่ในกรอบจารีตและวาทกรรมแบบไทย ๆ ที่ตนเองรับเอามาครอบกำหนดกรอบชีวิตอยู่เช่นกัน 

#ทฤษฎีน่ะได้แต่ในทางปฏิบัติวินาศสันตะโร

 

บล็อกของ "ไม่มีชื่อ"

"ไม่มีชื่อ"
ความในใจของหนึ่งในสองสิ่งมีชีวิตที่ถูกจำกัดให้อยู่ร่วมกับความแปลกหน้าที่เลื่อนไหลไปบนผิวทางอันไม่ราบเรียบของเมืองหลวง
"ไม่มีชื่อ"
“ทำอะไรขาย ใคร ๆ ก็หวังรวยกันทั้งนั้น แต่เกษตรยั่งยืนไม่เคยตอบคำถามชาวบ้านว่าจะรวยแน่ไหม ไม่มีใครบอกมาสักคนว่าขายข้าวอินทรีย์แล้วจะรวยเป็นล้าน ไม่มีใครบอกว่าจะพาชาวบ้านรวย”    --------------------------
"ไม่มีชื่อ"
สำหรับคนอีกจำนวนมาก ระดับการศึกษาอาจช่วยให้ชีวิตดีขึ้นก็จริง แต่ไม่มีวันที่พวกเขาจะทัดเทียมกับคนอื่น ๆ ได้เลย เพราะต้นทุนชีวิตในด้านอื่นมีไม่มากพอที่จะเป็นบุญหนุนส่งได้
"ไม่มีชื่อ"
เราอาจรู้สึกถึงเรื่องศักดิ์ศรี จากการมีหรือไม่มีอำนาจในการเลือกหรือปฏิเสธเรื่องง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน 
"ไม่มีชื่อ"
 หากคุณได้รับโอกาสให้มีชีวิตใหม่ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ราวฟ้ากับเหว  ชีวิตใหม่ของคุณควรจะเป็นของใคร เยาวชนจากประเทศพม่าถูกเรียกร้องให้ทำเพื่อ “ชาติ” และประชาชนของกองกำลังกู้ชาติ ขณะที่พวกเขามีชีวิตของตนเอง มีครอบครัว และญาติพี่น้องที่ต้องดูแล
"ไม่มีชื่อ"
นักท่องเที่ยวหลายคนก็คงเป็นแบบฉัน ไปเที่ยวบ้านของเขา แต่กลับมองไม่เห็นคนที่เป็นเจ้าของบ้านซึ่งเราได้เหยียบย่างเข้าไป
"ไม่มีชื่อ"
คนไทยจำนวนมากจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับกรุงหงสาวดีที่ย้อนไปไกลกว่าสามศตวรรษตั้งแต่ช่วงเวลาที่พวกเรายังไม่เกิด และโดยที่พวกเรายังไม่เคยเดินทางมาถึง “บะโก” คนไทยจำนวนมากมีอคติกับ “คนพม่า” เพราะเจ็บจำกับเรื่องราวในประวัติศาสตร์ราวกับว่าคนพม่าและกรุงหงสาวดียังแช่แข็งอยู่ดังเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ และทั้ง ๆ ที่พวกเขายังไม่เคยรู้จักมักจี่หรือแม้แต่พูดคุยกับ “คนพม่า” เลยสักครั้ง
"ไม่มีชื่อ"
วัยชราเป็นวัยปริศนาที่เข้าใจได้ยากไม่แพ้วัยอื่น ๆ ที่สำคัญมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดการได้ยาก เราจัดการคนอื่นไม่ค่อยได้ พอ ๆ กับที่เราไม่ชอบและไม่ยอมให้ใครมาจัดการตัวเรา
"ไม่มีชื่อ"
เหตุผลเหล่านั้นก็ยังไม่อันตรายเท่ากับเหตุผลที่ว่าเรา “ชินชา” เพราะตกอยู่ภายใต้สภาวะของการถูกควบคุมนานเกินไปจนกระทั่งไม่อาจรู้สึกอีกต่อไปว่าเรากำลังถูกควบคุม  ยิ่งไปกว่านั้นเรายังอาจเห็นดีเห็นงามกับการควบคุม และกำลังเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนให้ระบบการควบคุมแบบนั้นทำงานได้อย่างทรงพลังมากขึ้น
"ไม่มีชื่อ"
การปลูกฝังและยึดมั่นถือมั่นกับค่านิยมย้อนยุคจนเกินพอดีกลายเป็นการสร้างปัญหาครอบครัว เพิ่มช่องว่างระหว่างคนต่างวัยที่เติบโตมาต่างยุคสมัย และทำให้วัยรุ่นวัยเรียนมีปัญหาชีวิตจนเกินความจำเป็น
"ไม่มีชื่อ"
เหตุใดการทำงานพัฒนาตามแนวทางที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็น “องค์รวม” หรือมีลักษณะบูรณาการ  จึงละเว้นที่จะทำความเข้าใจความคิดและชีวิตทางการเมืองของชาวบ้านผู้เป็น “ศูนย์กลาง” ของการพัฒนา