Skip to main content

 

มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ

พยัญชนะประสม

“ng” = ง ตัวนี้คนไทยไม่มีปัญหา เพราะว่าเรามีตัว “ง” อยู่แล้ว ออกเสียงเหมือนกันเปี้ยบค่ะ เช่นคำว่า ngantuk (adj.) อ่านว่า งัน-ตุ๊ก แปลว่า ง่วงนอน

“ny” = ญ ตัวนี้ออกเสียงทั้ง น และ ญ เวลาออกเสียงเหมือนเสียงขึ้นจมูก เช่นคำว่า nyonya อ่านว่า โญ-ญา คำนี้แปลได้หมายความหมาย ใช้เรียกนำหน้าชื่อผู้หญิงก็ได้ แปลประมาณ “คุณผู้หญิง” ในยุคอาณานิคมดัชต์คำนี้ใช้เรียกสตรีชาวดัชต์หรือสตรีพื้นเมืองที่แต่งงานกับชาวดัชต์ นอกจากนี้คำนี้ยังหมายถึง “ผู้หญิง” ได้อีกด้วย

“kh” = ค ตัวนี้เวลาออกเสียงเหมือนมีอะไรติดอยู่ที่คอ หรือพูดให้ง่ายก็คือทำเสียงเหมือนเวลาจะขากเสมหะน่ะค่ะ เช่นคำว่า khas (adj.) อ่านว่า คัส แปลว่า (ลักษณะ) เฉพาะตัว, ไม่เหมือนใคร, แบบฉบับของตัวเอง 

สระประสม

ia = เอีย เช่นคำว่า siapa (pron.) อ่านว่า เสีย-ปะ แปลว่า ใคร

ua = อัว เช่นคำว่า semua (adj.) อ่านว่า เซอ-มัว แปลว่า ทั้งหมด

au = เอา เช่นคำว่า mau (v.) อ่านว่า เม้า แปลว่า ต้องการ

oi = ออย เช่นคำว่า boikot (v.) อ่านว่า บอย-ก็อต แปลเหมือนคำว่า boycott เลย เพราะเป็นคำทับศัพท์

 

คำที่ออกเสียงใกล้เคียงกัน

1. mudah (มู-ดะฮ์) = ง่าย      muda (มู-ดา) = อ่อน, เยาว์วัย

สองคำนี้คนไทยพูดกันผิดมากค่ะ ดังที่อธิบายในคราวที่แล้วว่า เสียง h ท้ายคำในภาษาอินโดนีเซียมีความสำคัญ ถ้าเราไม่ออกเสียง h ความหมายอาจจะเปลี่ยนได้ค่ะ เช่น ถ้าเราต้องการพูดว่า “ฉันเป็นคนที่ (ยัง) อายุเยาว์” ต้องพูดว่า “Saya muda” ไม่ต้องมี “ฮา” นะคะ ถ้าเติม “ฮา” เข้าไป จะกลายเป็น “ฉันเป็นคนง่าย” แทน .. อาจจะฮาไม่ออกนะคะ

2. sukar (ซู-การฺ) = ยาก        suka (ซู-กา) = ชอบ

สองคำนี้ถ้าออกเรียง “แอรฺ” หรือ “ร” ท้ายคำไม่ชัดจะทำให้จาก “ยาก” กลายเป็น “ชอบ” เลยค่ะ

3. tuhan (ตู-ฮัน) = พระเจ้า     hantu (ฮัน-ตู) = ผี     hutan (ฮู-ตัน) = ป่า

เซ็ทนี้ก็ต้องระวังค่ะ โดยเฉพาะคนไทยที่มีความสามารถในการกลับหรือผวนคำ จาก “พระจ้า” อาจจะกลายเป็น “ผี” ได้

4. kepala (เกอ-ปา-ลา) = ศีรษะ                  kelapa (เกอ-ลา-ปา) = มะพร้าว

สองคำนี้เป็นสองคำที่คนไทยใช้ผิดบ่อยมากค่ะ ถ้าไม่ระวังท่านอาจจะสั่ง “น้ำศีรษะ” แทน “น้ำมะพร้าว” ได้นะคะ

5. cabo (จา-โบ) = ผู้หญิง (ภาษาจีน) coba (โจ-บา) = ลอง

สองคำนี้ก็เช่นกันค่ะ ถ้าเราผวนคำความหมายจะคนละเรื่องเลยค่ะ

6. kabar (กา-บารฺ) = ข่าว                bakar (บา-การฺ) = เผา, ย่าง

คำทักทายว่า “How are you? ในภาษาอินโดนีเซียคือ “Apa kabar?” แปลตรงตัวก็ “What’s news?” ระวังจะพูดผิดเป็น “Apa bakar”? คนฟังอาจจะงงได้ค่ะ เพราะหมายความกันไปคนละทางเลยค่ะ

7. rupa (รู-ปารฺ) = รูป                     lupa (ลู-ปา) = ลืม

สองคำนี้ถ้าไม่กระดกลิ้นจากคำว่า “รูป” ก็อาจจะกลายเป็นคำว่า “ลืม” ได้

8. harus (ฮา-รุส) = ต้อง                           halus (ฮา-ลุส) = ละเอียด, อ่อน

9. murah (มู-ระฮฺ) = (ราคา) ถูก                  merah (เม-ระฮฺ) = (สี) แดง             

   marah (มา-ระฮฺ) = โกรธ                        rumah (รู-มะฮฺ) = บ้าน

เซ็ทนี้ก็เป็นเซ็ทที่นักเรียนไทยสับสนกันมากค่ะ เพราะว่าออกเสียงและสะกดใกล้เคียงกัน

10. kenyang (เคอ-ญัง) = อิ่ม           kentang (เคิน-ตัง) = มัน (พืช)

สองคำนี้ดิฉันก็ได้ฟังคนไทยพูดผิดบ่อยๆ ค่ะ จาก “ฉันอิ่ม” เป็น “ฉันคือมัน (พืช)”

11. enak (แอ-นะกฺ) = อร่อย, สบาย    anak (อา-นะกฺ) = ลูก, เด็ก

12. tinggal (ติง-กัลฺ) = พัก, อาศัย      tanggal (ตัง-กัลฺ) = วันที่        tangga (ตัง-กา) = บันได

13. maha (มา-ฮา) = ใหญ่, ยิ่งใหญ่   mahal (มา-ฮัลฺ) = (ราคา) แพง

14. tulis (ตู-ลิสฺ) = เขียน                           turis (ตู-ริสฺ) = นักท่องเที่ยว

15. bawa (บา-วา) = นำ, พา            bawah (บา-วะฮฺ) = ใต้, ข้างใต้  bahwa (บะฮฺ-วา) = (พูด/คิด ฯลฯ) ว่า

 

บล็อกของ onanong

onanong
  คราวนี้จะขอพูดถึงคำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนะคะ คำสรรพนามในภาษาอินโดนีเซียนั้นมีอยู่มากมายเพราะเป็นสังคมที่มีลำดับชั้นและมรรยาทมากเหมือนของไทย การแทนตัวผู้พูดกับผู้ฟังจะขึ้นอยู่กับวัยวุฒิ และสถานะของคนที่เราพูดด้วย
onanong
 มาเรียนภาษาอินโดนีเซียกันต่อนะคะ คราวนี้จะเป็นพยัญชนะและสระประสมนะคะ และแถมด้วยคำที่ออกเสียงใกล้ๆ กันแต่ความหมายไปคนละเรื่องเลยค่ะ
onanong
ตามสัญญานะคะ คราวนี้จะเป็นการสอนภาษาอินโดนีเซียเบื้องต้นง่ายๆ สำหรับผู้สนใจเรียนภาษาอินโดนีเซียที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน วันนี้ขอเริ่มด้วยการออกเสียงพยัญชนะ และสระนะคะ สำหรับผู้ที่ต้องการให้สอนภาษาอินโดนีเซียในระดับที่ยากขึ้นไป อดใจรอหน่อยนะคะ จะค่อยๆ เพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
onanong
คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย, ชวาในพจนานุกรมฉบับมติชน พ-ม
onanong
วันที่ 28 ตุลาคมถือเป็นวันกำเนิดภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมีที่มานั้นน่าสนใจยิ่งว่ามาจากการประกาศ“ คำสาบานของเยาวชน” ประธานของสโมสรนักเรียนอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปี 1928
onanong
“Indonesia Mengajar” เป็นโครงการที่ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็น่าจะประมาณ “ครูอาสาอินโดนีเซีย” ซึ่งความสำเร็จของมันอาจหมายถึงการทำให้คนอินโดนีเซียหวนคิดถึงยุคสมัยแห่งการสร้างชาติ, คิดถึงชาติที่ unity แต่ในมุมกลับก็มีคำถามบางอย่างเช่นกัน
onanong
ต่อค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน ดิฉันต้องขอชี้แจง (อีกครั้ง-เผื่อท่านที่เพิ่งจะเข้ามาอ่าน) ว่า คำต่างๆ ที่ดิฉันค้นคว้ามานี้ มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บาง
onanong
นานมาแล้วมีลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ ขอให้ช่วยสอนคำทักทายภาษาอินโดง่ายๆ เพราะที่นั่นเขามีเพื่อนชาวอินโดอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วเขาอยากจะทักทายเพื่อนๆ เป็นภาษาอินโดบ้าง ดิฉันก็เลยจัดให้ และยังเก็บไฟล์ไว้ เลยคิดว่าเผื่อจะมีท่านที่สนใจอยากทราบบ้างค่ะ
onanong
มาแล้วค่ะ คำภาษามลายู, อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายกับคำภาษา “ไทย” ในพจนานุกรมฉบับมติชน มิได้หมายความว่า ไทยเรารับเอามาจากภาษามลายู, อินโดนีเซีย หรือ ชวา โดยตรงทั้งหมด บางคำเราก็รับมาโดยตรงผ่านวรรณกรรม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบ้าง แต่บางคำก็รับผ่านภาษาบาลี สันสกฤต ทั้งเราและเขา บางคำก็ออกเสียงคล้ายกัน และแปลเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมายค่ะ
onanong
วันนี้ขอสลับพูดถึงคำขวัญของประเทศอินโดนีเซียนะคะ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการติดตามคำภาษามลายู อินโดนีเซีย และชวาที่คล้ายคำภาษาไทยในพจนานุกรมฉบับมติชนไม่ต้องกังวลนะคะ จะทยอยนำเสนอต่อไปค่ะ และก็ท่านที่คิดว่า...โอ้ย...จะรออ่านจนครบ ฮ เมื่อไหร่เนี่ย ... มันไม่ได้ยาวขนาดนั้นค่ะ คิดว่าซักห้าหกครั้งก็จบพอดีค่ะ