Skip to main content

สุกัญญา เบาเนิด


งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จึงจัดให้มีพิธีสำคัญ ได้แก่ พิธีเทาะอะโย่งกย้าจก์ หรือพิธีสมโภชพระพุทธรูป พิธีรำสามถาด พิธีมอญร้องไห้ และมอญรำ พิธีการและพิธีกรรมได้ดำเนินไปตลอดทั้งวัน


ในงานสิ่งที่สะดุดตาเห็นจะเป็นอื่นไปไม่ได้นั่นคือการแต่งกายของผู้ที่มาร่วมงานนับพันคน ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะแต่งขาวดำเป็นหลัก และส่วนน้อยจะเป็น “ชุดประจำชาติ” (โสร่ง/ผ้าถุงแดงเสื้อขาว) ของพี่น้องชาวมอญเมืองมอญซึ่งก็โดดเด่นไม่แพ้กัน แต่น่าเสียดายว่าชุดการแต่งกายแบบนี้จะเคยถูกดูหมิ่นและรังเกียจว่าเป็นการแต่งกายของแรงงานต่างด้าว เช่นที่มหาชัยก็เคยถูกห้ามสวมใส่มาแล้ว แต่อย่างน้อยในงานนี้อาจทำคนในสังคมไทยได้เข้าใจ และมองเห็นความเป็นมอญได้อย่างเต็มตาเต็มใจมากยิ่งขึ้น


การแต่งกายของชาวมอญนั้นมีหลากหลาย ซึ่งความแตกต่างเกิดจากต่างพื้นที่ต่างชุมชนซึ่งล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน ทั้งสีสันและลวดลาย ได้สะท้อนวิธีคิดและโลกทัศน์ของคนมอญ อย่างเช่นสมัยก่อนเมื่อไปงานศพการแต่งสีเป็นเรื่องปกติ เพราะถือว่าคนตายนั้นไปสบายจึงเป็นเรื่องที่น่ายินดี มากกว่าเป็นเรื่องเศร้าโศกจึงสะท้อนมาที่การใช้เสื้อผ้าที่มีสีสัน แต่ปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมเนียมนิยมที่เน้นการแต่งขาวดำเพื่อไว้ทุกข์ คนมอญก็รับธรรมเนียมนิยมนี้มาเช่นกัน ยิ่งเป็นงานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชที่จัดในพระบรมมหาราชวังด้วยแล้ว การแต่งสีก็อาจจะดูขัดเขินสำหรับคนมอญ ถึงแม้ว่าทางสำนักพระราชวังจะอนุญาตให้แต่งกายตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธุ์ตนก็ตาม


ในขั้นเตรียมงานนอกจากรายละเอียดของพิธีการ การแต่งกายก็เป็นเรื่องสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงด้วย ท้ายที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า ให้ “แต่งกายตามประเพณีไม่จำกัดสี” แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ สีที่ถูกเลือกใช้ก็ยังคงแต่งขาวดำเป็นส่วนใหญ่ หากเป็นเช่นนี้ แล้วอะไรที่พอจะบอกถึงเอกลักษณ์ของมอญได้อย่างชัดเด่นชัด ดังนั้นหากการแต่งกายตามประเพณีนั้นน่าจะหมายถึงผู้ชายนุ่งโสร่ง เสื้อผ่าหน้ากระดุมเชือก หรือ ผู้หญิง เกล้าผมมวย นุ่งผ้าถุง เสื้อแขนกระบอกคอกลมและห่มสไบ หากเปรียบกันแล้ว ก็ดูเหมือนว่าฝ่ายหญิงจะยังคงเอกลักษณ์เอาได้มาก ถึงแม้ว่าบางสิ่งบางอย่างอย่างจะขาดหายไปบ้าง เช่น การเกล้ามวยแบบมอญ ซึ่งทุกวันนี้ก็หากดูได้ยากขึ้นทุกที แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ การห่มสไบของบรรดาสาวมอญทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ เนื่องจากการใช้สไบสำหรับออกงานสำคัญ และถือเป็นการแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย



สไบมอญแบบผู้หญิงมอญหงสาวดี (เมืองมอญ ประเทศพม่า)


สไบมอญที่พลิ้วไหวในพระบรมมหาราชวัง จึงละลานตาด้วยลวดลายสีสันงดงามแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น โดยเฉพาะสไบมอญที่เรียกว่า “หญาดฮะเหริ่มโตะ” หรือ “หญาดหมินโตะ” ของชาวมอญสมุทรสาคร หรือ ชุมชนที่อพยพไปจากสมุทรสาคร เช่น บางกระดี่ คลองสิบสี่ บางเลน ลาดกระบัง ไทรน้อย ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นงานฝีมือที่ขอบสไบปักเป็นลายดอกพิกุล ส่วนกลางผืนปักเป็นลายดอกมะเขือ (ดอกไม้ ๕ กลีบ) สอดสลับสีตัดกับพื้นของสไบอย่างงดงาม ซึ่งมีสีที่นิยม เช่น สีบานเย็น สีตอง (เขียวอ่อน) สีจำปา (ส้ม) สีเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้บางชุมชนก็นิยมห่มสไบสีพื้น หรือ ผ้าลูกไม้ อีกด้วย


 

 

สไบมอญแบบมอญเมืองไทยส่วนใหญ่ที่มาร่วมงาน


เนื่องด้วยเป็นงานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สไบมอญที่ถูกนำมาใช้จึงเป็นสีขาวและดำเป็นหลัก แต่ก็ปักลวดลายหลากสี ส่วนสไบสีก็มีให้เห็นไม่น้อย ทำให้การแต่งกายของผู้หญิงมอญที่มาในงานงดงามแปลกตา เป็นการผสมผสานการแต่งกายขาวดำตามธรรมเนียมนิยม กับการแต่งสีตามธรรมเนียมมอญ



สไบมอญแบบดั้งเดิมที่ผสมผสานแนวคิด รูปแบบ สีสัน ปัจจุบันและอดีตเข้าด้วยกัน


มีคนเคยกล่าวว่า “คนมอญเก่าๆ นั้น เวลาจะออกจากบ้าน โดยเฉพาะยามที่ต้องเข้าวัดเข้าวา แทบจะเรียกได้ว่าสไบมอญ นั้นเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่จะขาดเสียมิได้เลย” ทำให้นึกถึงแม่ของผู้เขียน ในยามที่รีบร้อนคว้าสไบไม่ทัน ผ้าขนหนูเก่าๆ แม่ก็เคยนำมาใช้แทนผ้าสไบมาแล้วเพื่อให้ทันพระที่มารอบิณฑบาตรอยู่ที่หน้าบ้าน ผ้าสไบกับผู้หญิงมอญช่างเป็นของคู่กันแท้ๆ


ผู้เขียนเองก็ต้องขอสารภาพว่าต้องอดหลับอดนอนหลายวันหลายคืนก่อนวันงาน เพราะต้องเร่งปักสไบด้วยการเลียนแบบสไบของแม่ เพราะในสายตาของผู้เขียนแล้ว ผ้าสไบของแม่นั้นสวยที่สุด เป็นผ้าสไบพื้นสีดำปักลวดลายสอดสลับกันทั้งหมด ๗ สี เป็นความตั้งใจเพื่อใช้แทนความหมาย “แสงหนึ่งคือรุ้งงาม” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน และน้อมส่งดวงพระวิญญาณสู่สรรคาลัยในครั้งนี้


เอกสารอ้างอิง

องค์ บรรจุน สไบมอญ (หญาดฮะเหริ่มโตะ) www.monstudies.com (วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๐.๒๐ น.)


บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่