Skip to main content

องค์ บรรจุน

“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู

“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาว

แล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม

- - - - - - - - - - -

ong_20080530-002631.jpg
จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2
เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี

“หลวงพระบางไม่บริสุทธ์เหมือนเก่าแล้ว...”
“เดี๋ยวนี้คนลาวดูแต่โทรทัศน์ไทย ใช้สินค้าของไทย...”
“ควรอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวม้งเอาไว้ ไม่ควรนุ่งยีนส์ และติดจานดาวเทียมบนหลังคาบ้าน...”
“พวกพม่ามันแต่งตัวเดินตลาดยังกะอยู่บนแคทวอล์ค…”

เหม็นเบื่อนักท่องเที่ยวที่ไม่ดูสภาพตัวเอง สมเพชกับนักวิชาการที่ชอบเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ตัดสินคนอื่นด้วยความคิดของตน เอาทฤษฎีมาจับ ไปไหนมาไหนก็มีเข่งวางรอบตัว ติดป้ายชื่อแต่ละเข่ง เป็นต้นว่า สตรีนิยม ฝ่ายซ้าย อนุรักษ์นิยม ท้องถิ่นนิยม โพสท์โมเดอร์น เฟมีนีสต์ โรยัลลิสต์ มาร์คซีส (อยากมีภาษาต่างประเทศเอาไว้ในวงเล็บเหมือนกันแต่จนปัญญา) มากมายร้อยแปดเข่ง เห็นใครก็ตั้งหน้าตั้งตาจัดที่จัดทางให้เขาลงเข่งแต่ละใบที่ตัวเองหอบฟางไปไหนต่อไหนด้วยเสมอ

นักท่องเที่ยว (ชะโงกทัวร์) และนักวิจัย (งบกลางปีเหลือ) แบบแบกะดิน ลองได้ไปท่องเที่ยวหรือลงสนามเก็บข้อมูลเมื่อไหร่เมื่อนั้น ชอบมองชาวบ้านแบบจับผิด ทั้งที่ตัวเองก็ไม่หลงเหลือตัวตนความเป็นอะไรสักอย่าง ไม่มีความชัดเจนในพื้นเพชนเผ่าอะไรสักสิ่ง แต่พอไปถึงบ้านเขาแล้วตั้งความหวังสูงส่ง ตั้งใจอยากจะเห็น อยากให้เขาเป็น แบบที่เป็นไปไม่ได้ (โรคจิตอ่อนๆ เห็นใครดักดานแล้วมีความสุข) เมื่อไม่ได้อย่างใจก็สำรอกโวยวาย “ของปลอมทั้งนั้น” บ้างก็ว่า “จัดแบบ ททท.”

ong_20080530-002719.jpg
จิตรกรรมฝาผนังวัดบางน้ำผึ้งนอก พระประแดง สมุทรปราการ
เป็นภาพสวามอญนุ่งผ้าแหวกเห็นหว่างขา

ไม่รู้คนพวกนี้เป็นยังไงถึงชอบถือสิทธิ์ตีกรอบให้เขาอยู่ บังคับกะเกณฑ์ให้เขาเป็นเหมือนไม้แคระในกระถาง ไม่ให้ตายแต่ห้ามโต ทั้งที่วัฒนธรรม ผู้คน วิถีชีวิตยุคไหนๆ มามันก็ต้องเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนถ่าย เติบโต ลื่นไหลไปมาด้วยกันทั้งนั้น นักวิจารณ์ก็เถอะ ตาชั้นเดียวบ้าง คางเหลี่ยมบ้าง ผมหยิกหย็อยบ้าง ผิวตกกระบ้าง ทำไมใส่สูทกินแฮมเบอร์เกอร์ได้ แล้วมีสิทธิ์อะไรไปบังคับให้ผู้คนส่วนอื่นๆ มีชีวิตอยู่แบบเมื่อพันปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลอะไร ในเมื่อวัสดุ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมันเปลี่ยนไป  ชีวิตก็ต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ หากเป็นอย่างไดโนเสาร์ ที่สมมุติว่ามันกินแต่ผักคะน้าที่ออกดอกสีรุ้งกลางทุ่งหญ้าสะวันน่า พอถึงวันที่ผักคะน้ากลางทุ่งหญ้าสะวันน่าสูญพันธุ์ มันก็ต้องตายตามไปด้วย เพราะไม่รู้จักปรับตัวกินอย่างอื่น ใช้อย่างอื่น กระนั้นหรือ

ong_20080530-002730.jpg
การแต่งชุด 'ลอยชาย' ของชาวมอญพระประแดง

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเรื่องการแต่งกายของคนมอญเป็นตัวอย่าง กรณีนักวิชาการ นักวิจารณ์ และนักท่องเที่ยว ที่ชอบฝันกลางแดดหลับตาเห็นแต่สังคม “ยูโทเปีย” มาพอเป็นสังเขป นักวิชาการเหล่านี้คาดหวังจะเห็นคนมอญอย่างเมื่อหลายร้อยปีก่อน ทั้งที่เป็นไปไม่ได้ รวมทั้งเธอผู้นั้นก็คงจะทำการบ้านมาน้อยเกินไป เรื่องลวดลายผ้า ที่มีการลอกเลียนกันไปมา ตามธรรมดาของผู้หญิงเมื่อเห็นสิ่งใดสวยก็อดจะเอาอย่างกันไม่ได้ รวมทั้งวิธีการนุ่งห่มเรื่องการผ่า การแหวกให้เห็นขาขาวๆ นั้น ที่เธอว่า “มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีหรอก” ก็มอญเขาทำกันมานานแล้ว ไปอยู่ที่ไหนมา ทำเป็นตื่นเต้นไปได้ ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ได้กล่าวไว้ว่า

พี่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก
ถึงสามโคกต้องแดดยิ่งแผดแสง
ให้รุ่มร้อนอ่อนจิตระอิดแรง
เห็นมอญแต่งตัวเดินมาตามทาง
ตาโถงถุงนุ่งอ้อมลงกรอมส้น
เป็นแยบยลเมื่อยกขยับอย่าง
เห็นขาขาววาวแวบอยู่หว่างกลาง
ใครยลนางก็เป็นน่าจะปรานี

ด้วยชนชาติมอญนั้นอาภัพ มีแต่อารยธรรมไม่มีประเทศ นุ่งผ้าถุงผ่าหน้ามาก็หลายร้อยปีกู้ชาติไม่สำเร็จ ลองผ่าหลังดูบ้างมันจะเป็นไรไป เผื่อจะกู้ชาติสำเร็จบ้าง

ong_20080530-002740.jpg
ห่อผ้าผีของชาวมอญบ้านดอนกระเบื้อง ราชบุรี

พิธีกรดอกเตอร์หมาดๆ หัวเสียกับการนุ่งผ้าลอยชายของคนมอญพระประแดง (คล้ายโจงกระเบน แต่ไม่เหน็บข้างหลัง ปล่อยชายให้ห้อยรุ่ยร่ายข้างหน้า) “มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” อ้าว คนมอญเขาก็มีสมองนี่นา เสื้อผ้า หน้าผม ศิลปวัฒนธรรมมันก็ประยุกต์กันได้ หากพบเจออะไรที่เข้ามาใหม่และเห็นงามก็รับเข้ามา จริงอยู่ของเก่าเมื่อพันปีที่แล้วก็ยังเก็บไว้ แต่ของใหม่ก็ต้องพัฒนา ดูอย่างชุดไทยเป็นไร ยังมีชุดไทยสุโขทัย ชุดไทยอยุธยา ชุดไทยจักรี (การนุ่งโจงกระเบนเป็นการแต่งกายของไทย ทั้งที่เอามาจากเขมร) แต่แท้ที่จริงแล้ว ต้นแบบการแต่งกายของมอญซึ่งคนไทยรับเอามาอีกทอด ก็เชื่อว่ามีต้นแบบมาจากการนุ่งห่มส่าหรี การนุ่งผ้าของพราหมณ์  หรือที่เห็นชัดเจนก็คือ การนุ่งสบงของพระภิกษุสามเณรในพุทธศาสนาของเราทุกวันนี้ ซึ่งน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการนุ่งผ้าแบบเก่าแก่ที่สุดในสุวรรณภูมิก็ว่าได้ หากอยากเห็นภาพชัดเจนก็ลองเข้าไปในปราสาทพระเทพบิดร ดูรูปปั้นของรัชกาลที่ 1-3 ก็จะพบว่าฉลองพระองค์ของพระองค์ท่านเป็นอย่างไร

การที่นักวิชาการท่านนี้เชื่อว่าชุดมอญแท้ต้องแบบมอญสังขละ โสร่งแดงผ้าถุงแดงสวมเสื้อขาว ชุดที่ว่านี้นายแพทย์อองมานเพิ่งคิดขึ้นเมื่อราว 40 ปีที่แล้วนี่เอง เพราะศิลปวัฒนธรรมมอญในพม่าถูกพม่าเอาไปใช้จนหมดสิ้นเอกลักษณ์ นายแพทย์อองมานซึ่งยังเป็นนักศึกษาอยู่ในขณะนั้น (พ.ศ. 2513) เลยชักชวนเพื่อนๆ สำรวจหมู่บ้านมอญ ค้นหาสีสันลายผ้าในห่อผ้าผี ซึ่งก็พบว่าผ้าผีทั้งหมดเป็นสีแดงลายตารางหรือลายหมากรุก ทั้งที่ตามความเชื่อของมอญในเมืองไทยแล้ว ข้าวของผ้าผ่อนทุกชนิดที่เป็น “สีแดง” นั้นห้ามนุ่งห่มและแจกจ่ายแก่ผู้ใดโดยเด็ดขาด เพราะเป็นสีที่ผีปู่ย่าตายายสวมใส่และหวงแหน หากไม่เชื่อถือดื้อรั้น ผู้สวมใส่และแจกจ่ายอาจต้องป่วยไข้ไม่สบายได้

ong_20080530-002750.jpg
ชุดโสร่งและผ้าถุงสีแดงที่ชาวมอญเมืองมอญ (ประเทศพม่า) คิดค้นขึ้นใหม่

เมื่อความเชื่อเรื่อง “สีแดง” และ “ข้อห้ามในการนับถือผีปู่ย่าตายาย” ในหมู่ชาวมอญเมืองมอญ (ประเทศพม่า) หายไป มีการคิดค้นออกแบบเครื่องนุ่งห่มขึ้นมาสวมใส่ เผยแพร่จนติดตลาด และสามารถหลอกนักวิชาการให้หลงเชื่อได้ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดี ในเมื่อมันแสดงให้เห็นว่าสติปัญญาและศิลปวิทยาการของมอญไม่ได้หยุดนิ่ง กลับมีพลังเคลื่อนไหวและพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แต่ขอเถอะช่วยตั้งสติสักหน่อย ไม่อยากให้ผีมอญต้องนอนละเมอ เพราะการไม่เข้าใจที่มาและวิธีการสวมใส่ ทำให้หนอนน้อยของนักวิชาการลีบแบนติดโสร่งสีแดง

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่