Skip to main content

 

         เวลาสั้นๆ ในสาธารณรัฐเช็คผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ผมก็ได้เห็นอะไรมากมาย เมื่อเราเดินทางออกจากปรากไปเยอรมันด้วยรถยนต์ ผ่านเส้นทางที่เป็นหุบเขาคดเคี้ยวเล็กน้อย แต่เมื่อรถผ่านเข้าเขตเยอรมันนีถนนก็กลายเป็นถนนที่มีขนาดมาตรฐานเป็นเส้นตรง เมืองที่แวะผ่านคือเมือง Dresden เป็นเมืองหลวงของรัฐ Sexony ซึ่งใจกลางเมืองถูกถล่มถึง 7 ครั้ง รวมระเบิดมีน้ำหนักกว่าสองพันกว่าตัน จนศูนย์กลางของเมืองราบเป็นหน้ากลองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ราคาของสงครามแพงลิบลิ่วเมื่อแลกด้วยชีวิตคนอย่างน้อยสองหมื่นห้าพันคนจากการสำรวจของคณะกรรมการประวัติศาสตร์ของเดรสเดน แต่ตัวเลขของฝ่ายขวาจัดยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตกว่าห้าแสนคน 

         ฝ่ายสัมพันธมิตรจะยืนยันว่าการทิ้งระเบิดถล่มเมืองเดรสเดนก็เพื่อทำลายโรงงานอุตสาหกรรมและที่มั่นทางทหารของพวกนาซี เมืองถูกถล่มราบไปกว่าร้อยละ 90 ทีเดียว ภายหลังแม้กระทั่งวินสตัน เชอร์ชิลยังไม่ยอมรับว่ามีส่วนในการตัดสินใจถล่มเดรสเดน

         เมื่อสงครามสิ้นสุด เดรสเดน “ถูกปลดปล่อย” โดยทหารรัสเซีย จึงทำให้เดรสเดนอยู่ในซีกของเยอรมันตะวันออก เดรสเดนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรมจนกระทั่งมีการลุกฮือเพื่อล้มรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 และผนวกรวมกับเยอรมันตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง 

         ระหว่างที่เป็นระบอบสังคมนิยมได้มีการบูรณะเดรสเดนอยู่บ้าง แต่ส่วนที่สำคัญถูกบูรณะหลังจากการรวมประเทศเช่น โบสถ์ Dresden Frauenkirche (หรือวิหารแห่งพระแม่) ซ่อมเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2548 ก่อนจะครบรอบ 800 ปีของเมืองเดรสเดนเพียงปีเดียว กางเขนทองคำเหนือโบสถ์คือของขวัญจากเมืองเอดินเบอเรอะ (Edinburgh) โครงการซ่อมสร้างเมืองริมฝั่งแม่น้ำ Elbe ดำเนินไปอย่างแข็งขัน และที่น่าทึ่งที่สุดก็คืออาคาร สำคัญๆ ต่างๆ มีรายงานบันทึกแบบพิมพ์เขียวเอาไว้จนทำให้การซ่อมสร้างเหมือนของเดิมมากที่สุด จึงกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งมห้ศจรรย์สิ่งหนึ่ง 

         ในปี พ.ศ. 2547 องค์การ UNESCO ประกาศให้หุบเขาเดรสเดนเอลเบ (Dresden Elbe Valley) ให้เป็นพื้นที่มรดกโลกเพราะความสำคัญทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์อันยาวนาน แต่ด้วยสภาพการจราจรที่ติดขัด เมืองเดรสเดนจึงได้สร้างสะพานเชื่อมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเข้าด้วยกัน สถาปัตยกรรมใหม่นี้ทำให้ UNESCO เห็นว่าคุกคามการเป็นมรดกโลกจึงประกาศให้อยู่ในกลุ่มอันตรายที่จะเสียความเป็นมรดกโลก (endangered World Heritage Sites) เมื่อ พ.ศ. 2549 และเมื่อสะพานแล้วเสร็จมีผลให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่มรดกโลกเปลี่ยนแปลง องค์การ UNESCO จึงถอดออกจากการเป็นพื้นที่มรดกโลกเมื่อ พ.ศ. 2552 นับว่าเป็นมรดกโลกแห่งที่สองที่ถูกถอดสถานะจากมรดกโลก

          เมื่อออกจากเดรสเดนรถมาถึงเบอร์ลิน (Berlin) ตอนบ่ายแก่ๆ ที่น่าสังเกตุคือ หากอยู่ฝั่งเยอรมันตะวันตกยังเห็นร่องรอยของระบอบสังคมนิยม ไม่ว่าจะเป็นอาคารเก่าๆ ที่เน้นการใช้งานแบบอุตสาหกรรม การพ่นระบายสี Graffiti และความหม่นเศร้าของสีสันอาคาร ส่วนของกำแพงเบอร์ลินที่แบ่งเยอรมันออกเป็นสองประเทศนั้นคงเหลือเฉพาะส่วนที่เรียกว่า Eastside Gallery เป็นแนวกำแพงส่วนที่เหลือเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ของกำแพงเบอร์ลิน ทุกวันนี้ยังมีคนไปแวะชมเพื่อรำลึกความหลัง ส่วนจุดตรวจชาลี (Checkpoint Charlie) ที่เป็นป้อมตรวจการณ์ ณ เส้นพรมแดนระหว่างเยอรมันทั้งสองฝ่าย ปัจจุบันเหลือเพียงป้อมตรวจการณ์ที่มีกระสอบบังเกอร์และคนแต่งตัวเป็นทหารให้ถ่ายรูปที่ระลึกกับเส้นแบ่งเขตซึ่งเดิมเป็นแนวกำแพงปรากฏให้เห็นเป็นเครื่องเตือนใจว่าครั้งหนึ่งคนในชาติเคยแบ่งเป็นสองเสี่ยงด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง

          นอกจากนี้ ผมยังมีโอกาสไป Jewish Museum ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิก Daniel Libeskind ก่อนเข้าจะต้องมีการตรวจตราวัตถุแปลกปลอมเพราะเป็นสถานที่ที่น่าจะมีโอกาสเป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายของกลุ่มหัวรุนแรง เมื่อเข้าไปแล้วจึงค่อยๆ เดินชมทีละชั้น ที่นี่ต่างไปจาก Jewish Museum แห่งอื่น เพราะเป็นการบอกเล่าที่มาของชาวยิว ชาวยิวในประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของศาสนายูดาย หนังสือสวดมนต์ ชีวิตประจำวันของชาวยิว ชาวยิวที่มีชื่อเสียง ส่วนสำคัญคือแสดงให้เห็นถึงอคติที่มีต่อชาวยิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำในทางอยุติธรรมต่อชาวยิวจนในที่สุดเกิดความเกลียดชัง แต่ในทางหนึ่ง Jewish Museum แห่งนี้ไม่ได้แสดงภาพโหดร้ายของการกระทำของนาซีอย่างชัดแจ้ง แต่เน้นย้ำความเป็นมนุษย์คนหนึ่งโดยแสดงการเลือกปฏิบัติและการกีดกัน จนกระทั่งลดทอนคุณค่าของความเป็นมนุษย์ลง อันเป็นที่มาของการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ (holocaust) 

          ในเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันนี้ นักคิดของไทยคนหนึ่งคือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้เขียนเอาไว้ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในบทความชื่อ “มนุษยภาพ” มีความตอนหนึ่งว่า 

"การโกหกตอแหล การหลอกลวงได้ก่อกำเนิดจากคณะรัฐบาลและหมู่คนชั้นสูง ดังตัวอย่างที่ได้ 

ยกมากล่าวไว้ข้างต้น และเมื่อคิดถึงว่าอำนาจเปนสิ่งที่บรรดาลความนิยม และอำนาจในทุกวันนี้เราหมายกันถึงเงินกับชั้นสูง ฉะนั้น เราจะไม่เตรียมตัวไว้ตกใจกันบ้างหรือว่าวิทยาศาสตร์ของการโกหกตอแหลจะแพร่หลายและนิยมกันทั่วไปในบ้านเรา...ข้าพเจ้าว่าอำนาจบรรดาลความนิยมและอำนาจคือเงินกับชั้นสูงนั้นเปนการแน่แท้ ด้วยอะไรที่คนชั้นสูงหรืออำนาจกระทำ เราถือกันว่าเปนการถูกต้องควรนิยมทุกอย่าง จนถึงมีศัพท์บ้าๆ อะไรเกิดขึ้นคำหนึ่งว่า ปาปมุติ คือผู้ไม่รู้จักมีบาป ผู้ทำอะไรไม่มีผิด หรือมีผู้อื่นยอมให้ว่าเปนถูก นั่นมันเป็นการติต่างหลอกลวงอย่างน่าชัง สิ่งใดผิดถูกชอบที่จะว่ากันให้ขาวเพื่อประโยชน์เฉพาะชั้นสูงที่เราพากันเชื่อถือ ความงมงายเช่นนี้แสดงว่าเราไม่สู้หน้ากับความเป็นจริง ไม่เห็นปรากฏมีใครในโลกที่ทำอะไรไม่มีผิดเลย ถึงท่านเจ้าของลัทธิหรือศาสนาทั้งหลาย อันมีผู้เคารพสักการะทั่วโลกก็ยังปรากฏว่าได้เคยคิดหรือทำอะไรผิดมาเหมือนกัน"

 

 

         คำอธิบายชุดนี้สะท้อนให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันอันมีชาติกำเนิดและการถือทรัพย์สิน เป็นบ่อเกิดของความไม่เท่าเทียมกันของความเป็นมนุษย์

         กล่าวได้ว่าบริบทของสยาม (ขณะนั้น) ต่างไปจากเยอรมันนาซีที่พยายามปลุกปั่นลัทธิคลั่งเชื้อชาติอารยันว่าเหนือกว่า สูงส่งกว่า โดยเฉพาะชาวยิวที่ครอบครองปัจจัยทางเศรษฐกิจและสำเร็จในทางเศรษฐกิจ (ดังในยุคหนึ่ง สยามก็เคยกล่าวว่าชาวจีนเป็นยิวแห่งบูรพทิศ) 

         อาจกล่าวได้ว่าการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ในที่สุดนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การหยุดนิ่งสมยอมต่ออำนาจให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ก็เป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่งที่พึงเรียนรู้

การเดินในอาคาร Jewish Museum สร้างความบีบคั้นแก่ผู้ชมไม่น้อย แม้จะไม่ได้เห็นภาพโหดร้ายทารุณ แต่เสียงแว่วที่ได้ยินคือ “เราก็เป็นมนุษย์ผู้หนึ่ง” กลับส่งสะท้อน ทางเดินชมนิทรรศการที่ต้องแทรกตัวผ่านห้องและบอร์ดนิทรรศการต่างๆ ชุดจัดวางทางเดินที่ไม่สมมาตร เป็นการจงใจสร้างของสถาปัตยกรรมแห่งนี้

........

         เวลาในเบอร์ลินผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ยังโชคดีที่ได้แวะชมอาคาร Reichstag จากภายนอก ซึ่งอาคารนี้ซ่อมสร้างหลังจากการรวมตัวกันของเยอรมันนีในปี ค.ศ. 1994 โดยสถาปนิกชาวอังกฤษ ลอร์ดนอร์แมน ฟอสเตอร์ (Lord Norman Foster) ที่ออกแบบให้มีโดมแก้วบนยอดอาคาร และผู้เยี่ยมชม หรือประชาชนสามารถสองดูการทำงานของสมาชิกรัฐสภาข้างล่าง เป็นสัญลักษณ์สำคัญว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนและอยู่ภายใต้การเฝ้ามองประชาชน อาคารแห่งนี้จัดว่าเป็นอาคารรัฐสภาที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะความโดดเด่นทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม

          กล่าวได้ว่าในวันนี้เยอรมันนีกลายเป็นประเทศที่ได้เปรียบมากในสหภาพยุโรปทั้งในแง่ของการเป็นศูนย์กลางของการผลิตและขนส่ง logistics ซึ่งเยอรมันนีต้องใช้เวลานับสิบปีหลังการรวมประเทศเพื่อปรับระบบภายใน แต่วันนี้เยอรมันนีกลายมาเป็นชาติมหาอำนาจอีกครั้ง ด้วยความระมัดระวังในการจัดการอดีตของตนและการวางความทรงจำอันเลวร้ายช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในที่ทางที่เหมาะสม

          แม้จะยังมีปัญหาเรื่องกลุ่มหัวรุนแรงบ้าง แต่เยอรมันนีเป็นตัวอย่างของประเทศที่ยึดถือบทเรียนจากอดีตอย่างเคร่งครัดจนสามารถฟื้นกลับคืนความเข้มแข็ง

       

          เสียดายที่บางแห่งไม่สามารถเรียนรู้จากอดีต จึงได้แต่ล้มลุกคลุกคลานซ้ำซาก

         

          วันเวลาในเยอรมันนีช่างสั้นนัก ผมหวังว่าสักวันจะได้กลับไปเรียนรู้จากเยอรมันนีอีกครั้งหนึ่ง

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รถบัสนำผมมาถึงเมืองชิคาโกในเวลาสองทุ่มครึ่ง รถจอดที่สถานีปลายทาง Union Station แม้จะเคยมาเมืองนี้ แต่คราวนี้มาคนเดียว และนัดเพื่อนที่ไม่เจอกันเกือ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เราตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อจะเดินไปบ้านอาจารย์แคทเธอรีน บาววีเพื่อยืมรถอาจารย์ไปเที่ยว อา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
แม้จะเข้าฤดูใบไม้ผลิแล้ว แต่อากาศที่นี่ยังคงเย็นอยู่บ้าง ในคืนที่ผ่านมาอากาศเย็นสบาย เมื่อเราซื้อของจากซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ ที่พัก เราเดินกลับบ้านได้สบายๆ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
อย่างที่เคยเล่ามาในตอนก่อนๆ ว่า หนึ่งในความสุขเล็กๆ ของพวกเราคือการได้ไปกินติ่มซำวันเสาร์ (อาจจะมีคนเติมว่าไม่เอาเผด็
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนรุ่นก่อนช่างกล้าหาญนัก กล้าเดินทางเข้ามาในดินแดนที่ไม่รู้จัก เพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าการเดินทางของมนุษย์เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ ชีวิตยิ่งมหัศจรรย์กว่า ในความผันแปรเปลี่ยนของมนุษย์
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเขียนบทความชุดนี้มาหลายเดือน มาถึงตอนนี้ นับว่าเป็นชุดบทความที่ยาวไม่น้อย 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อปี พ.ศ.2532 เดือนมิถุนายน ยังไม่รู้ประสีประสาทางการเมือง ในขณะที่เพื่อนๆ พี่ๆ พากันขึ้นคัทเอาท์สนับสนุนประชาธิปไตยในจีน และมีกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากที่นักศึกษา ประชาชนถูกล้อมปราบที่ลานหน้าพระราชวังต้องห้าม
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
     มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งที่ผมได้มีโอกาสผ่านไปมักมีเรื่องราวให้จดจำ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของภูมิทัศน์ เอ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
Today is the 5th year to commemorate the day that Abhisit Vejjajiva started cracking down the United front for Democracy against Dictatorship (UDD) camp site on Rajadamri. It started with the killing of Seh. Daeng or Gen. Kattiya Sawasdiphol.