เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ
ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย
เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที่ผ่านมาเราไม่เคยมีรัฐบาลที่มี full agenda ในการเปลี่ยนแปลงประเทศมาก่อน ทุกครั้งที่จะเปลี่ยนแปลงก็เหตุให้สะดุดหยุดไป เพื่อนเคยนั่งรถไฟไปเชียงใหม่-กรุงเทพกี่ครั้งในชีวิต...ถ้ายังพอใจด้วยความรักชีวิตเนิบช้า slow life ก็ไม่ว่ากัน แต่มีคนไม่น้อยที่เค้าต้องใช้ชีวิตเพื่อการเดินทางต้องการ speed ที่เร็วกว่า ความปลอดภัยที่มากกว่า ห้องน้ำที่สะอาด ไม่ขับถ่ายบนรางรถไปเรี่ยราด...
รถไฟแบบ hi-speed train จะเพิ่มโอกาสในชีวิตให้พวกเขา นึกถึงภาพคนอยู่อยุธยา ราชบุรี หัวหิน สุพรรณบุรีนั่งรถไฟเข้ามากรุงเทพ แทนที่จะต้องเสียเงินมากๆ ซื้อรถยนต์ส่วนตัวแล้วขับเสี่ยงอันตรายมากรุงเทพ
เราเองขับรถไปสอนหนังสือที่สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร จังหวัดเหล่านี้เกิดภาวะ depopulation เพราะมากระจุกตัวตามเมืองใหญ่ น่าเสียดายศักยภาพด้านอื่นมากๆ
ขับรถไปมาหลายพันกิโลเมตร ก็คิดไปด้วยเรื่องรถไฟความเร็วสูง
ผมเคยนั่งรถไฟจาก New York ไป DC สะดวกสบายมาก
หรือจาก Yokohama ไปโตเกียว ไปไซตามะตามลำพังโดยไม่หลงทางและสะดวกสบาย
เคยนั่งรถไฟไปมาในโซลถึงชานกรุง ในเกาหลี เค้าจะสร้างเมืองและทางรถไฟรอรับก่อนจะย้ายคนออกนอกเมือง เป็นตัวอย่างที่เราควรคิดมากๆ ว่าปัญหาของประเทศไทยคืออะไรกันแน่ แล้วรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควรจะตัดสินใจแทนประชาชนได้โดยไม่ต้องมีคนแก่เพราะกินช้าวนานไม่กี่คนมากำหนดชะตากรรมของคนทั้งประเทศโดยอ้างเหตุผลข้างๆ คูๆ
ถ้าบ้านเราอยู่สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา เราก็อยากมีรถไฟความเร็วสูง เช้าออกมาทำงาน เย็นค่ำกลับไปกินข้าวบ้าน นอนบ้าน ไม่ต้องมาแออัดอยู่กรุงเทพ ชีวิตจะเปลียนไป เหมือนญี่ปุ่น เหมือนอารยะประเทศที่ครอบครัวยังคงสภาพแบบเดิมได้คู่กับการพัฒนา
อย่างน้อยรุ่นน้องเราที่ธรรมศาสตร์ไม่ต้องเสี่ยงนั่งรถตู้แบบรายวันบนท้องถนน พวกเขาควรได้รับความปลอดภัยจากการเดินทางสูงสุดเพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ
นี่แค่ตัวอย่างหนึ่ง
ยังไม่รวมเรื่องการค้าขาย มันจะเปลี่ยน landscape ของเศรษฐกิจการเมืองเราไปมากก็จริง แต่มันควรจะตอบปัญหาที่กรุงเทพมีคนล้นเมืองหรือเปล่า
ทรัพยากรไม่ควรถูกใช้เพื่อศูนย์กลางของประเทศอย่างเดียว มีการศึกษาว่ากรุงเทพสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมราว 1 ใน 4 ของทั้งประเทศ แต่ใช้ทรัพยากรถึง 3 ใน 4 ของงบประมาณประเทศ
เพื่อนของเราล้วนมีฐานะ มีการศึกษา มีที่ทางไม่น้อย มีบ้านดีๆ รถดีๆขับ ทุกคนต่างบอกว่าต้องกระจายโอกาสทางการศึกษา แต่เราก็ยังส่งลูกไปโรงเรียนที่ดีที่สุด แม้จะแพงแสนแพงเพื่อสร้างหลักประกันอนาคตให้ลูกหลานของเรา ไม่เคยเห็นใครบอกเรียนที่ไหนก็ได้ มันสะท้อนมาตรฐานชีวิตระหว่างคนมีฐานะที่เลือกได้ กับคนจนที่อยู่ในสภาวะจำยอมไม่น้อย
ในยามบริจาค เพื่อนก็สร้างสมกุศลกับพระศาสนามากกว่าการศึกษาอยู่ดี เพราะหวังกุศลผลบุญเฉพาะตัว
ส่วนเรื่องจิตใจคนไม่ได้เคลื่อนเปลี่ยนทรามถดถอยตามความเจริญของวัตถุหรอกครับ จิตใจคนยังเหมือนคนสักพันปีก่อนทุกแห่ง ในสหรัฐอเมริกาบางวันก็มีคนบ้ามายิงคนตายเป็นสิบๆ แล้วฆ่าตัวตาย
แต่สิ่งหนึ่งที่สหรัฐฯ มีคือ การเคารพวิถีความเจริญที่แตกต่าง ในขณะที่บ้านเราถูกบังคับให้เลือกเพียงสองสามทาง ไม่ถูกตราหน้าว่าเป็น "ขี้ข้า" ทักษิณ ก็ต้องไปเป่านกหวีด ไม่ก็ถูกหยันประณามว่าเป็นไทยเฉย
ยังรักเพื่อนเสมอ
บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ณ ประเทศแห่งหนึ่งที่เพิ่งจะพ้นจากยุคเผด็จการอันแสนเลวร้ายมา พวกเขาต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่สะสมหมักหมมนานนับหลายปี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมมักเอ่ยถึงเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วอยู่หลายครั้ง ด้วยความรู้สึกสามัญธรรมดาเหมือนกับหลายๆ คนที่เชื่อว่า วันเวลาแห่งความสุขช่างผ่านไปรวดเร็ว แ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทนำจากนิตยสารวิภาษา ฉบับที่ 61(ในการเผยแพร่ครั้งนี้ มีการแก้ไขการสะกดชื่อคุณจำกัด พลางกูร จากคำนำวิภาษาฉบับที่ 61 ที่ผมเขียนผิดเป็น "กำจัด" ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คืนนี้หิมะโปรยลงมาตั้งแต่เย็น เป็นการฉลองวันคล้ายวันเกิดที่ห่างบ้านไม่น้อยทีเดียว แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะที่ผ่านมาก็เป็นแบบนี้ในหลายโอกาสเพราะวันคล้ายวันเกิดไม่มีอะไรต้องฉลองนอกเสียจากทบทวนชีวิตตัวเองว่าผ่านอะไรมาบ้าง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันก่อนผมให้สัมภาษณ์กับรายการทีวีรายการหนึ่งซึ่งพาดหัวข่าวอาจจะแรงไปบ้างนะครับ ผมมีความเห็นต่อเรื่องการแต่งตั้งเครือญาติมานั่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยปฏิบัติงานดังนี้นะครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ตารางกิจกรรมนะครับForum on Human Rights and Everyday Governance in Thailand: Past, Present and Future Friday, March 6, 2015; 9 a.m.-5 p.m.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อวานนี้ (21 กุมภาพันธ์) หิมะยังโปรยเป็นสายลงมาไม่หยุดตั้งแต่ยามบ่าย นี่เป็นพายุหิมะระลอกที่สี่ เพียงแต่คราวนี้ไม่ยาวนานเหมือนครั้งก่อนๆ ในยามที่หิมะตกมาเป็นละอองเย็นๆ ยิ่งต้องระวัง เพราะหากสูดเข้าไปมากๆ อาจมีอาการป่วยได้ พวกเราเอง รวมทั้งผมต่างก็มีอาการป่วยกันคนละเล็กคนละน้อย เพราะสภาพอากาศที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมนั่งมองปุยหิมะที่พริ้วลงมาตามสายลมตาปริบๆ บางทีสายลมเกรี้ยวกราดพัดมันปลิวเป็นสาย เลื้อยไหลตามถนนและหลืบบ้าน บางทีมันอ้อยอิ่ง ค่อยๆ พริ้วลงมา แต่ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนฝูงหลายคนหัวเราะแกมสมเพชที่ผมอยู่บอสตันในยามหนาวเหน็บอย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะพายุหิมะที่พัดผ่านมาให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้กองหิมะนับเดือน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมมาอยู่ที่นี่ได้สองเดือนกว่าแล้ว ขณะที่เพื่อนๆ มาอยู่ได้ราวครึ่งปี นาฬิกาและตารางชีวิตเราจึงต่างกันบ้างด้วยความผูกพัน ภาระที่แต่ละคนพึงมี