Skip to main content
เพื่อนถามว่ารถไฟแบบเก่าไม่ดีตรงไหน คนเราเจริญแต่วัตถุ ควรให้ความสำคัญกับจิตใจ
 
ตอบคำถามเพื่อนไปแล้วอยากแชร์กับท่านอื่นๆ นะครับ ขอโทษเพื่อนอีกทีถ้าทำให้กระอักกระอ่วนใจ แต่อยากจะเล่าแบ่งปันกับคนอื่นๆ ด้วย
 
เรื่องรถไฟรางคู่ หรือความเร็วสูงนั้น ที่ผ่านมาเราไม่เคยมีรัฐบาลที่มี full agenda ในการเปลี่ยนแปลงประเทศมาก่อน ทุกครั้งที่จะเปลี่ยนแปลงก็เหตุให้สะดุดหยุดไป เพื่อนเคยนั่งรถไฟไปเชียงใหม่-กรุงเทพกี่ครั้งในชีวิต...ถ้ายังพอใจด้วยความรักชีวิตเนิบช้า slow life ก็ไม่ว่ากัน แต่มีคนไม่น้อยที่เค้าต้องใช้ชีวิตเพื่อการเดินทางต้องการ speed ที่เร็วกว่า ความปลอดภัยที่มากกว่า ห้องน้ำที่สะอาด ไม่ขับถ่ายบนรางรถไปเรี่ยราด... 
 
รถไฟแบบ hi-speed train จะเพิ่มโอกาสในชีวิตให้พวกเขา นึกถึงภาพคนอยู่อยุธยา ราชบุรี หัวหิน สุพรรณบุรีนั่งรถไฟเข้ามากรุงเทพ แทนที่จะต้องเสียเงินมากๆ ซื้อรถยนต์ส่วนตัวแล้วขับเสี่ยงอันตรายมากรุงเทพ 
 
เราเองขับรถไปสอนหนังสือที่สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร จังหวัดเหล่านี้เกิดภาวะ depopulation เพราะมากระจุกตัวตามเมืองใหญ่ น่าเสียดายศักยภาพด้านอื่นมากๆ 
 
ขับรถไปมาหลายพันกิโลเมตร ก็คิดไปด้วยเรื่องรถไฟความเร็วสูง
ผมเคยนั่งรถไฟจาก New York ไป DC สะดวกสบายมาก
 
หรือจาก Yokohama ไปโตเกียว ไปไซตามะตามลำพังโดยไม่หลงทางและสะดวกสบาย
 
เคยนั่งรถไฟไปมาในโซลถึงชานกรุง ในเกาหลี เค้าจะสร้างเมืองและทางรถไฟรอรับก่อนจะย้ายคนออกนอกเมือง เป็นตัวอย่างที่เราควรคิดมากๆ ว่าปัญหาของประเทศไทยคืออะไรกันแน่ แล้วรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควรจะตัดสินใจแทนประชาชนได้โดยไม่ต้องมีคนแก่เพราะกินช้าวนานไม่กี่คนมากำหนดชะตากรรมของคนทั้งประเทศโดยอ้างเหตุผลข้างๆ คูๆ
 
ถ้าบ้านเราอยู่สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา เราก็อยากมีรถไฟความเร็วสูง เช้าออกมาทำงาน เย็นค่ำกลับไปกินข้าวบ้าน นอนบ้าน ไม่ต้องมาแออัดอยู่กรุงเทพ ชีวิตจะเปลียนไป เหมือนญี่ปุ่น เหมือนอารยะประเทศที่ครอบครัวยังคงสภาพแบบเดิมได้คู่กับการพัฒนา 
 
อย่างน้อยรุ่นน้องเราที่ธรรมศาสตร์ไม่ต้องเสี่ยงนั่งรถตู้แบบรายวันบนท้องถนน พวกเขาควรได้รับความปลอดภัยจากการเดินทางสูงสุดเพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ 
 
นี่แค่ตัวอย่างหนึ่ง 
 
ยังไม่รวมเรื่องการค้าขาย มันจะเปลี่ยน landscape ของเศรษฐกิจการเมืองเราไปมากก็จริง แต่มันควรจะตอบปัญหาที่กรุงเทพมีคนล้นเมืองหรือเปล่า 
 
ทรัพยากรไม่ควรถูกใช้เพื่อศูนย์กลางของประเทศอย่างเดียว มีการศึกษาว่ากรุงเทพสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมราว 1 ใน 4 ของทั้งประเทศ แต่ใช้ทรัพยากรถึง 3 ใน 4 ของงบประมาณประเทศ
 
เพื่อนของเราล้วนมีฐานะ มีการศึกษา มีที่ทางไม่น้อย มีบ้านดีๆ รถดีๆขับ ทุกคนต่างบอกว่าต้องกระจายโอกาสทางการศึกษา แต่เราก็ยังส่งลูกไปโรงเรียนที่ดีที่สุด แม้จะแพงแสนแพงเพื่อสร้างหลักประกันอนาคตให้ลูกหลานของเรา ไม่เคยเห็นใครบอกเรียนที่ไหนก็ได้ มันสะท้อนมาตรฐานชีวิตระหว่างคนมีฐานะที่เลือกได้ กับคนจนที่อยู่ในสภาวะจำยอมไม่น้อย
 
ในยามบริจาค เพื่อนก็สร้างสมกุศลกับพระศาสนามากกว่าการศึกษาอยู่ดี เพราะหวังกุศลผลบุญเฉพาะตัว
 
ส่วนเรื่องจิตใจคนไม่ได้เคลื่อนเปลี่ยนทรามถดถอยตามความเจริญของวัตถุหรอกครับ จิตใจคนยังเหมือนคนสักพันปีก่อนทุกแห่ง ในสหรัฐอเมริกาบางวันก็มีคนบ้ามายิงคนตายเป็นสิบๆ แล้วฆ่าตัวตาย 
 
แต่สิ่งหนึ่งที่สหรัฐฯ มีคือ การเคารพวิถีความเจริญที่แตกต่าง ในขณะที่บ้านเราถูกบังคับให้เลือกเพียงสองสามทาง ไม่ถูกตราหน้าว่าเป็น "ขี้ข้า" ทักษิณ ก็ต้องไปเป่านกหวีด ไม่ก็ถูกหยันประณามว่าเป็นไทยเฉย
 
ยังรักเพื่อนเสมอ

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม