Skip to main content

เพื่อนฝูงหลายคนหัวเราะแกมสมเพชที่ผมอยู่บอสตันในยามหนาวเหน็บอย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะพายุหิมะที่พัดผ่านมาให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้กองหิมะนับเดือน

ครั้งแรกพายุหิมะยูโน (Juno) มาเมื่อเมื่อ 26-28 มกราคม แต่ส่งผลกระทบคือกองหิมะท่วมรถราที่จอดข้างถนนและท้องถนนของเมือง การจราจรเป็นอัมพาต แม้รถไฟใต้ดินก็ยังได้รับผลกระทบ

เมื่อวันอาทิตย์ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาก็มีพายุหิมะเข้ามาอีกลูกหนึ่ง คราวนี้หิมะตกหนากว่าสองฟุต ที่ร้ายกว่านั่น ผมต้องลงมาโกยหิมะเองเป็นครั้งแรก เพราะเจ้าของบ้านพาลูกเมียและหมาหนีหนาวไป เขาเลยฝากบ้านไว้ และผมเองไม่รังเกียจอะไรที่จะลองโกยหิมะดู

การผ่านมาของพายุหิมะทำให้ต้องหยุดเรียนและกิจกรรมต่างๆ ปกติที่ผมไปทำงานช่วงสายถึงเย็นในห้องสมุดก็ต้องยกเลิกโดยปริยาย ที่สำคัญค่าไฟฟ้านั้นคงไม่ลดลงไปมาก แม้จะพยายามประหยัดก็ตาม

พายุหิมะที่ตกมานั้นสวยงาม เป็นปุยนุ่น แต่เมื่อยามมันสะสมมากๆ เข้า มันคือภัยธรรมชาติ และจัดการยาก

ล่าสุดเมืองบอสตันประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อจัดการกับหิมะกองเบ้อเร่อ และนี่คือข้อเท็จจริงที่มาจากสื่อ

 

1. ปริมาณหิมะที่เมืองบอสตันขนย้ายขณะนี้เทียบเท่ากับปริมาตรของสนามฟุตบอล Gillette ถึง 72 สนาม

2. ปริมาณหิมะสะสมขณะนี้น่าจะราวๆ หกฟุต เกือบเท่าความสูงของนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลคนดังของที่นี่

3. เมืองบอสตันใช้เวลากว่า 112,881ชั่วโมงในการขนย้ายหิมะ นับถึงวันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์

4. เมืองบอสตันใช้เครื่องกำจัดหิมะละลายได้ราว 350 ตันต่อชั่วโมง

5. เมืองใช้รถบรรทุกขนหิมะกว่า 6000 เที่ยว

6. ใช้เกลือ 57500 ตัน เพื่อป้องกันถนนลื่น หรือเทียบน้ำหนักเท่ากับช้าง 8200 ตัว

7. บริษัทซ่อมหลังคาถูกโทรตามกว่า 300 ครั้ง เฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 

8. รถเก็บกวาดหิมะในเมืองวิ่งรวมกันกว่า 210,000 ไมล์ หรือ 52 เท่าของแม่น้ำอเมซอนที่ยาวราว 4,000 ไมล์

9. เด็กๆ หยุดเรียนมาแล้ว 9 วัน

(รายละเอียดเพิ่มเติม ดู http://abcnews.go.com/US/boston-snow-storm-facts-show-citys-dealing/story?id=28840524)

 

วันก่อนคุยกับเพื่อนเก่าบางคนเธอคงอดเหน็บแนมผมไม่ได้ว่าเขาให้มาเรียนหนังสือทำวิจัย

แต่ผมยังจำคำอาจารย์ท่านหนึ่งที่บอกว่า บัณฑิต อย่ามาเรียนแต่หนังสือ เรียนเรื่องอื่นด้วย

เรื่องหิมะ จึงไม่ใช่แค่เรื่องที่ว่าติดอยู่หิมะแล้วไปไหนมาไหนไม่ได้

แต่มันหมายถึงเรียนรู้การใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่ง 

ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย?

 

 

 

 

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รถบัสนำผมมาถึงเมืองชิคาโกในเวลาสองทุ่มครึ่ง รถจอดที่สถานีปลายทาง Union Station แม้จะเคยมาเมืองนี้ แต่คราวนี้มาคนเดียว และนัดเพื่อนที่ไม่เจอกันเกือ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เราตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อจะเดินไปบ้านอาจารย์แคทเธอรีน บาววีเพื่อยืมรถอาจารย์ไปเที่ยว อา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
แม้จะเข้าฤดูใบไม้ผลิแล้ว แต่อากาศที่นี่ยังคงเย็นอยู่บ้าง ในคืนที่ผ่านมาอากาศเย็นสบาย เมื่อเราซื้อของจากซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ ที่พัก เราเดินกลับบ้านได้สบายๆ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
อย่างที่เคยเล่ามาในตอนก่อนๆ ว่า หนึ่งในความสุขเล็กๆ ของพวกเราคือการได้ไปกินติ่มซำวันเสาร์ (อาจจะมีคนเติมว่าไม่เอาเผด็
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนรุ่นก่อนช่างกล้าหาญนัก กล้าเดินทางเข้ามาในดินแดนที่ไม่รู้จัก เพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าการเดินทางของมนุษย์เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ ชีวิตยิ่งมหัศจรรย์กว่า ในความผันแปรเปลี่ยนของมนุษย์
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเขียนบทความชุดนี้มาหลายเดือน มาถึงตอนนี้ นับว่าเป็นชุดบทความที่ยาวไม่น้อย 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อปี พ.ศ.2532 เดือนมิถุนายน ยังไม่รู้ประสีประสาทางการเมือง ในขณะที่เพื่อนๆ พี่ๆ พากันขึ้นคัทเอาท์สนับสนุนประชาธิปไตยในจีน และมีกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากที่นักศึกษา ประชาชนถูกล้อมปราบที่ลานหน้าพระราชวังต้องห้าม
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
     มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งที่ผมได้มีโอกาสผ่านไปมักมีเรื่องราวให้จดจำ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของภูมิทัศน์ เอ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
Today is the 5th year to commemorate the day that Abhisit Vejjajiva started cracking down the United front for Democracy against Dictatorship (UDD) camp site on Rajadamri. It started with the killing of Seh. Daeng or Gen. Kattiya Sawasdiphol.