Skip to main content

วันก่อนผมให้สัมภาษณ์กับรายการทีวีรายการหนึ่งซึ่งพาดหัวข่าวอาจจะแรงไปบ้างนะครับ ผมมีความเห็นต่อเรื่องการแต่งตั้งเครือญาติมานั่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยปฏิบัติงานดังนี้นะครับ

 
1. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงานสมัยก่อน มีข้อครหาเยอะมาก เช่น เอาหัวคะแนน มือปืน คนขับรถ เมียน้อยมารับเงินเดือน หลังรัฐธรรมนูญ 2540 จึงมีระเบียบให้แต่งตั้งโดยต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ผู้เชี่ยวชาญต้องอายุเไม่ต่ำกว่า 35 ปี จบปริญญาโท และเคยทำงานมาบ้าง ส่วนผู้ช่วยฯ ก็จบปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยสมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติได้สะดวก เช่น ติดตามร่างกฎหมาย ทำสรุปกฎหมาย หรือหลักการพิจารณาในวาระต่างๆ ให้สมาชิกรัฐสภา ดังนั้นจะต้องส่งไปอบรมอีกด้วย เพื่อให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา
 
2. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญจากเครือญาติทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้ แต่ไม่เหมาะสม เพราะหลักการของผลประโยชน์ที่ขัดกัน โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ควรเป็นผู้มีความรู้ความสามรถประจักษ์ชัด การแต่งตั้งคนในวงศาคณาญาติ ย่อมทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในการทำหน้าที่โดยอิสระและตามแบบมืออาชีพที่ไม่เอาประโยชน์ส่วนตัวมาผูกพันกับเงินภาษีประชาชน
 
3. คำถามสุดท้ายง่ายๆ ก็คือ มีผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าญาติ พี่น้องหรือไม่ การเอาลูกที่ยังเรียนไม่จบ หรือบุคคลที่พำนักในต่างประเทศแล้วรับเงินเดือนจากภาษีประชาชนนั้น เหมาะสมหรือไม่ เท่ากับว่าพวกเขาได้ทั้งเงินและเกียรติยศ โดยไม่ต้องผ่านการคัดสรรใดๆ มิพักต้องกล่าวถึงการทดสอบคุณสมบัติในการทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกรัฐสภา หากปฏิบัติหน้าที่ครบวาระ ย่อมเป็นเกียรติยศ ด้วยสามารถขอพระราชทานเครื่องราชย์อิสริยภรณ์เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งตามที่ได้กล่าวมานั้น ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งและสุจริตใจว่ามีบุคลากรในกองทัพมากมาย ในกรม กระทรวง ต่างๆ ที่สามารถทำหน้าที่อย่างมืออาชีพและมีประสิทธิภาพมากกว่าแน่ๆ
 
คำถามคือทำไมยังกล้าแต่งตั้งวงศาคณาญาติ โดยที่เคยวิพากษ์นักการเมืองอย่างรุนแรงว่าเป็นสภาผัวเมีย ล้มรัฐบาล ฉีกรัฐธรรมนูญ วิพากษ์นักการเมืองเรื่องนอมินี ผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ นาๆ ถึงคราวที่ตัวเองได้มืออำนาจในมือ กลับทำให้มาตรฐานต่ำลง
 
กรณีแบบเดียวกันนี้อาจเทียบเคียงกับรัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ ที่กระทรวงต่างประเทศรับเอาลูกสาวของเขาเข้าทำงานโดยยอม "ละเว้น" กฎบางอย่าง ทำให้ได้ตำแหน่งในกระทรวง พฤติการณ์ก็คือลูกสาวของเขาสมัครงานในตำแหน่งเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรี มีผู้สมัครแปดคน รวมทั้งเธอ แต่ทุกคนถูกปฏิเสธ เธอมาสมัครทีหลังอีกรอบ โดยมีประกาศนียบัตรภาษาต่างประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศรับเธอเข้าทำงานทันที เมื่อข่าวถึงสาธารณชน ส่งผลให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนต้องเสนอว่าจะลาออก และในที่สุดเขาก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบ (http://www.nytimes.com/2010/09/05/world/asia/05korea.html?_r=0)
 
เรื่องแบบนี้ต้องเขียนในรัฐธรรมนูญหรือไม่?
 เขียนไม่เขียน คงไม่สำคัญ เพราะมันควรจะเป็นจารีตรัฐธรรมนูญที่สังคมกดดันด้วยพลังทางจริยธรรม
หรือจะเขียนออกมา ก็ไม่สำคัญ เพราะก็คงถูกฉีกในไม่ช้า
 
เอาเข้าจริงๆ ตัวอักษรที่เรียกว่ากฎหมาย ต่างมีช่องว่างตาข่ายเล็กๆ ให้ผู้มีอำนาจได้ตีความตามอำเภอใจเสมอ เราจึงได้เห็นแต่แม่ปู เดินขาเกให้เห็นเป็นตัวอย่าง แล้วมีแต่ "ผู้ใหญ่" มาปกป้อง "ลูกแหง่" ที่อาศัยใบบุญ ข้ามหัวคนแบบนี้เรื่อยไป
 
ไม่ผิดกฎหมาย แต่สามัญสำนึกเล่า?
 
 
 
 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รถบัสนำผมมาถึงเมืองชิคาโกในเวลาสองทุ่มครึ่ง รถจอดที่สถานีปลายทาง Union Station แม้จะเคยมาเมืองนี้ แต่คราวนี้มาคนเดียว และนัดเพื่อนที่ไม่เจอกันเกือ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เราตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อจะเดินไปบ้านอาจารย์แคทเธอรีน บาววีเพื่อยืมรถอาจารย์ไปเที่ยว อา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
แม้จะเข้าฤดูใบไม้ผลิแล้ว แต่อากาศที่นี่ยังคงเย็นอยู่บ้าง ในคืนที่ผ่านมาอากาศเย็นสบาย เมื่อเราซื้อของจากซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ ที่พัก เราเดินกลับบ้านได้สบายๆ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
อย่างที่เคยเล่ามาในตอนก่อนๆ ว่า หนึ่งในความสุขเล็กๆ ของพวกเราคือการได้ไปกินติ่มซำวันเสาร์ (อาจจะมีคนเติมว่าไม่เอาเผด็
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนรุ่นก่อนช่างกล้าหาญนัก กล้าเดินทางเข้ามาในดินแดนที่ไม่รู้จัก เพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าการเดินทางของมนุษย์เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ ชีวิตยิ่งมหัศจรรย์กว่า ในความผันแปรเปลี่ยนของมนุษย์
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเขียนบทความชุดนี้มาหลายเดือน มาถึงตอนนี้ นับว่าเป็นชุดบทความที่ยาวไม่น้อย 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อปี พ.ศ.2532 เดือนมิถุนายน ยังไม่รู้ประสีประสาทางการเมือง ในขณะที่เพื่อนๆ พี่ๆ พากันขึ้นคัทเอาท์สนับสนุนประชาธิปไตยในจีน และมีกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากที่นักศึกษา ประชาชนถูกล้อมปราบที่ลานหน้าพระราชวังต้องห้าม
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
     มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งที่ผมได้มีโอกาสผ่านไปมักมีเรื่องราวให้จดจำ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของภูมิทัศน์ เอ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
Today is the 5th year to commemorate the day that Abhisit Vejjajiva started cracking down the United front for Democracy against Dictatorship (UDD) camp site on Rajadamri. It started with the killing of Seh. Daeng or Gen. Kattiya Sawasdiphol.