Skip to main content

วันก่อนผมให้สัมภาษณ์กับรายการทีวีรายการหนึ่งซึ่งพาดหัวข่าวอาจจะแรงไปบ้างนะครับ ผมมีความเห็นต่อเรื่องการแต่งตั้งเครือญาติมานั่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยปฏิบัติงานดังนี้นะครับ

 
1. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยผู้ปฏิบัติงานสมัยก่อน มีข้อครหาเยอะมาก เช่น เอาหัวคะแนน มือปืน คนขับรถ เมียน้อยมารับเงินเดือน หลังรัฐธรรมนูญ 2540 จึงมีระเบียบให้แต่งตั้งโดยต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ผู้เชี่ยวชาญต้องอายุเไม่ต่ำกว่า 35 ปี จบปริญญาโท และเคยทำงานมาบ้าง ส่วนผู้ช่วยฯ ก็จบปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยสมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติได้สะดวก เช่น ติดตามร่างกฎหมาย ทำสรุปกฎหมาย หรือหลักการพิจารณาในวาระต่างๆ ให้สมาชิกรัฐสภา ดังนั้นจะต้องส่งไปอบรมอีกด้วย เพื่อให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา
 
2. การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญจากเครือญาติทำได้หรือไม่ คำตอบคือ ทำได้ แต่ไม่เหมาะสม เพราะหลักการของผลประโยชน์ที่ขัดกัน โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ควรเป็นผู้มีความรู้ความสามรถประจักษ์ชัด การแต่งตั้งคนในวงศาคณาญาติ ย่อมทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาในการทำหน้าที่โดยอิสระและตามแบบมืออาชีพที่ไม่เอาประโยชน์ส่วนตัวมาผูกพันกับเงินภาษีประชาชน
 
3. คำถามสุดท้ายง่ายๆ ก็คือ มีผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกว่าญาติ พี่น้องหรือไม่ การเอาลูกที่ยังเรียนไม่จบ หรือบุคคลที่พำนักในต่างประเทศแล้วรับเงินเดือนจากภาษีประชาชนนั้น เหมาะสมหรือไม่ เท่ากับว่าพวกเขาได้ทั้งเงินและเกียรติยศ โดยไม่ต้องผ่านการคัดสรรใดๆ มิพักต้องกล่าวถึงการทดสอบคุณสมบัติในการทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกรัฐสภา หากปฏิบัติหน้าที่ครบวาระ ย่อมเป็นเกียรติยศ ด้วยสามารถขอพระราชทานเครื่องราชย์อิสริยภรณ์เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งตามที่ได้กล่าวมานั้น ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งและสุจริตใจว่ามีบุคลากรในกองทัพมากมาย ในกรม กระทรวง ต่างๆ ที่สามารถทำหน้าที่อย่างมืออาชีพและมีประสิทธิภาพมากกว่าแน่ๆ
 
คำถามคือทำไมยังกล้าแต่งตั้งวงศาคณาญาติ โดยที่เคยวิพากษ์นักการเมืองอย่างรุนแรงว่าเป็นสภาผัวเมีย ล้มรัฐบาล ฉีกรัฐธรรมนูญ วิพากษ์นักการเมืองเรื่องนอมินี ผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ นาๆ ถึงคราวที่ตัวเองได้มืออำนาจในมือ กลับทำให้มาตรฐานต่ำลง
 
กรณีแบบเดียวกันนี้อาจเทียบเคียงกับรัฐมนตรีต่างประเทศเกาหลีใต้ ที่กระทรวงต่างประเทศรับเอาลูกสาวของเขาเข้าทำงานโดยยอม "ละเว้น" กฎบางอย่าง ทำให้ได้ตำแหน่งในกระทรวง พฤติการณ์ก็คือลูกสาวของเขาสมัครงานในตำแหน่งเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรี มีผู้สมัครแปดคน รวมทั้งเธอ แต่ทุกคนถูกปฏิเสธ เธอมาสมัครทีหลังอีกรอบ โดยมีประกาศนียบัตรภาษาต่างประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศรับเธอเข้าทำงานทันที เมื่อข่าวถึงสาธารณชน ส่งผลให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จนต้องเสนอว่าจะลาออก และในที่สุดเขาก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบ (http://www.nytimes.com/2010/09/05/world/asia/05korea.html?_r=0)
 
เรื่องแบบนี้ต้องเขียนในรัฐธรรมนูญหรือไม่?
 เขียนไม่เขียน คงไม่สำคัญ เพราะมันควรจะเป็นจารีตรัฐธรรมนูญที่สังคมกดดันด้วยพลังทางจริยธรรม
หรือจะเขียนออกมา ก็ไม่สำคัญ เพราะก็คงถูกฉีกในไม่ช้า
 
เอาเข้าจริงๆ ตัวอักษรที่เรียกว่ากฎหมาย ต่างมีช่องว่างตาข่ายเล็กๆ ให้ผู้มีอำนาจได้ตีความตามอำเภอใจเสมอ เราจึงได้เห็นแต่แม่ปู เดินขาเกให้เห็นเป็นตัวอย่าง แล้วมีแต่ "ผู้ใหญ่" มาปกป้อง "ลูกแหง่" ที่อาศัยใบบุญ ข้ามหัวคนแบบนี้เรื่อยไป
 
ไม่ผิดกฎหมาย แต่สามัญสำนึกเล่า?
 
 
 
 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม