Skip to main content

     มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งที่ผมได้มีโอกาสผ่านไปมักมีเรื่องราวให้จดจำ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของภูมิทัศน์ เอกลักษณ์ของตัวอาคาร พิพิธภัณฑ์ รวมไปถึงบุคคลากรและศิษย์เก่า 

     นอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ผมได้อาศัยร่มเงาทำงานวิจัยแล้ว ผมยังประทับใจสถาบันเพื่อนบ้านอย่าง Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT ในความมีชีวิตชีวาของ Media Lab หรือห้องทดลองสื่อ ที่เอาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาทำงานร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อสร้างสรรค์ความเป็นไปได้ในมิติต่างๆ ที่จะยังประโยชน์ให้มนุษยชาติ

 

    MIT ยังมีเรื่องแผลงๆ ก็คือ MIT Hacks ที่เกิดจากความคิดแผลงๆ ของเด็ก MIT ที่ต้องการแสดงออกถึงความฉลาด ช่างคิด และท้าทายตลอดจนบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจเอาไว้ผ่านการ Hack สถาบันตัวเอง

 

     การ Hack สถาบันตัวเองของนักศึกษา MIT มีตำนานมายาวนาน ตั้งแต่ปี 1930 ที่กลุ่มนักศึกษา (บางคนกลายเป็นคณบดีใน MIT) เล่นพิเรนทร์ด้วยการยึดล้อรถรางเข้ากับรางไม่ให้รถเขยื้อน ในปี 1958 เพื่อนๆ เอานายโอลิเวอร์ สมุท (Oliver R. Smoot) มาเป็นหน่วยวัดความยาวของสะพานฮาร์วาร์ดที่เชื่อมระหว่างฝั่งเคมบริดจ์กับฝั่งบอสตัน เพื่อนๆ ตัวแสบเอาตัวนายสมุทนอนแล้ววัดไปจนสุดสะพานได้ความยาว 364.4 สมุท ทุกวันนี้ยังปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ 

ในปี 9 ธันวาคม ค.ศ. 1991 มีการเอาท่อเหล็กดับเพลิงไปเชื่อมกับตู้กดน้ำดื่มในมหาวิทยาลัยเพระมีคำกล่าวว่า “การได้เข้าเรียนใน MIT ก็เหมือนกับการดื่มน้ำจากสายยางเชื่อมจากท่อดับเพลิง” อุปมาอุปมัยว่าเหมือนการศึกษาที่ MIT มันล้นทะลักไปด้วยความรู้มากมายมหาศาล (Getting an Education from MIT is like taking a drink from a Fire Hose)

 

     ในวันที่  9 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 ผู้คนพากันแตกตื่นที่เห็นรถตำรวจมหาวิทยาลัยถูกยกขึ้นไปไว้บนยอดโดมของ MIT (MIT Police, คือ มหาวิทยาลัยอย่าง MIT และ Harvard มีพื้นที่ครอบคลุมเมืองแทบทั้งเมือง จึงมีตำรวจรักษาความปลอดภัยในสังกัดของทั้งสองสถาบัน) ที่น่าทึ่งก็คือไม่มีใครรู้ว่านักศึกษา MIT ยกเอารถทั้งคันขึ้นไปไว้บนยอดโดมที่สูงมากๆ ได้อย่างไร เมื่อไหร่ จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วประเทศ

 

     ดูเหมือนว่า MIT Dome จะเป็นจุดสนใจของการแฮ็ค เช่น เดือนธันวาคม 2003 มีการจำลองเอาเครื่องร่อนที่พี่น้องตระกูลไรท์ (Wright Flyer) ไปไว้บนยอดโดม และในวันที่ 11 กันยายน 2006 มีการยกเอารถดับเพลิงไปไว้บนยอดโดมอีกครั้งเพื่อเป็นเกียรติและรำลึกถึงเหตุการณ์ 911 บางครั้งก็เปลี่ยนโดมให้เป็นหุ่นยนต์ R2D2 จากเรื่องสตาร์วอร์ก็มี 

 

      หนักกว่านั้นเห็นจะเป็นกรณี 6 เมษายน 2006 มีการส่งบริษัทขนส่งปลอมไปขนปืนใหญ่Flemming อายุ 130 ปี หนัก 1.67 ตัน สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย California Institute of Technology (หรือ Caltech คู่แข่งทั้งวิชาการและการเล่นพิเรนทร์) เอามาไว้ที่ MIT สี่วันถัดมามีนักศึกษาจาก Caltech มารับปืนใหญ่คืน ทิ้งปืนใหญ่พลาสติกของเล่นเอาไว้แทนพร้อมข้อความว่า “ขนาดนี้ค่อยเหมาะกับพวกนายหน่อย”

 

     ปี ค.ศ. 2012 มีการเกาะกระแสกังนัมสไตล์ ที่ทำใน MIT version โดยมีศาสตราจารย์ชื่อดังของ MIT ร่วมปรากฏในวีดีโอด้วย ได้แก่ โนอัม ชอมสกี้ (Noam Chomsky) นักภาษาศาสตร์และปัญญาชนคนสำคัญ โดนัล ซาโดเวย์ (Donald Sadoway) ศาสตราจารย์ด้านเคมีวัสดุศาสตร์ เป็นหนึ่งในร้อยผู้ทรงอิทธิพลโลกของนิตยสารไทม์ ค.ศ. 2012 งานของเขาคือการสร้างแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนซึ่งสำคัญต่อโลกอนาคตมากๆ และอีริค แลนเดอร์ (Eric Lander) ที่ศึกษาและหาทางใช้พันธุกรรมศาสตร์เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ และยังเป็นประธานบอร์ดร่วมกับบารัค โอบามา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ดูวีดีโอได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=lJtHNEDnrnY)

 

     นาทีที่ 2:18 จะเห็น MIT Hacks นะครับ 

     ส่วนนาทีที่ 3:20 โอปป้าชอมสกี้สไตล์จะปรากฏตัวนะครับ

 

 

     ชีวิตของ MIT Hacks คงไม่จบแค่นี้ เพราะคงจะมีไปเรื่อยๆ และมีเกร็ดมากมายถึงกับมีพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมสิ่งของต่างๆ เอาไว้ 

     คราวหน้าจะมาเล่าเรื่อง Media Lab ต่อนะครับ

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม