Skip to main content

ถึงแม้ว่าจะมีเหล้า ยาเสพติดมาเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่มีคนเจ็บตายกันทุกๆ ปี ช่วงปีใหม่ สงกรานต์และเทศกาลสำคัญ

แต่รัฐไทยโดยเฉพาะหมอผู้มีคุณธรรมกลับ focus อยู่แค่เรื่องเหล้า ยาเสพติด

ผมว่าลองค้นหาคำตอบ ลงสถิติให้ละเอียด แล้วเอามาดูกันดีๆ ดูกันใหม่

สาเหตุที่มีคนเจ็บคนตายเพราะอุบัติเหตุเยอะๆ อาจมาจาก

1. การเอาเปรียบผู้โดยสารของการขนส่งมวลชนในรูปต่างๆ ที่ให้คนขับ "ควงกะ" โดยวิ่งไม่หยุด จนถึงขั้นมีข่าวมาแล้วว่าคนขับรถทัวร์บางคนทิ้งผู้โดยสารกลางทางเพราะขับไม่ไหว หรือมีกรณีที่คนขับหลับในกันบ่อยๆ จนเกิดโศนาฏกรรม เพราะต้องการทำรายได้ หรือเจ้าของบริษัทกดดันให้ควงกะก็มี

2. การไม่คำนึงถึงการเปิดช่องทางการเดินทางใหม่ๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าระบบรางมีความปลอดภัยสูงกว่าการเดินทางบนท้องถนนมากๆ

3. ปัญหาเรื่องขนส่งมวลชนเป็นปัญหาโลกแตก แต่อยู่ที่ความกล้าหาญและวิสัยทัศน์ของคนในสังคมร่วมกัน ย้ำ ไม่ใช่เรื่องรัฐบาลอย่างเดียว แต่คนในสังคมต้องเห็นพ้องกันว่า เราต้องมีการขนส่งมวลชนที่ปลอดภัย ราคาสมเหตุผล ประชาชนเข้าถึงได้

แต่ตราบเท่าที่คนจำนวนมากยังชินกับการขับรถเอง เพราะสะดวกสบายกว่าการขนส่งมวลชน เราก็จะเห็นคนมหาศาลเดินทางไปเสี่ยงชีวิตกันบนท้องถนนแบบนี้ทุกปี ทุกเทศกาล

เราต้องมีวาระแห่งชาติให้รัฐบาลเริ่มคิดและลงมือทำแผนแม่บทในการคำนวณการจราจร การสัญจรระหว่างภูมิภาค เรื่องนี้ดูไม่ยากจากไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ที่มีรถไฟความเร็วสูงแบบมาตรฐานความปลอดภัยสูงมากๆ และเมื่อลงมือทำแล้ว ก็ต้องทำให้ทันการ มีการตรวจสอบจากประชาชนได้ อย่าให้มีเรื่องราวทุจริต

4. สภาพของถนนที่ไม่ได้รับการออกแบบให้ได้มาตรฐาน หรือไม่ถูกหลัก หรือไม่มีการบำรุงรักษาให้สัญญาณไฟใช้ได้ตามปกติ หรือไม่ตัดหญ้าทำให้ทัศนวิสัยการขับขี่ไม่ชัด

5. วินัยการขับรถที่ต้องสอนกันมาแต่เด็ก ไม่ใช่แค่อายุครบแล้วทำใบขับขี่ แต่หมายถึงวินัยการขับรถ มารยาท และการปฏิบัติจริงของกฎหมาย

ขอแสดงความเสียใจกับทุกท่านที่เสียญาติมิตรในทุกอุบัติเหตุในเทศกาลครับ

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม