Skip to main content

อาจารย์ยิ้มไม่เคยสอนผม แต่ผมถือว่าอาจารย์ยิ้มเป็นอาจารย์ที่น่านับถือที่สุดท่านหนึ่ง 

 

อาจารย์เป็นผู้ฟังและให้โอกาสคนอยู่เสมอ โดยเฉพาะทางวิชาการด้วยกัน

 

ผมมักเจออาจารย์ตามที่สัมมนา และบ่อยครั้งที่ได้พบกันในเวทีวิชาการเดียวกัน ถึงแม้อาจารย์จะเป็นรุ่นใหญ่ แต่ก็มาพูดคุยอย่างเป็นกันเองทุกครั้งกลั้วเสียงหัวเราะ เมื่อถึงประเด็นที่จุดเสียงหัวเราะได้ อาจารย์ก็หัวเราะออกมาอย่างสนุกสนาน

 

ผมรู้จักอาจารย์ยิ้มผ่านหนังสือ "แผนชิงชาติไทย" ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองที่สำคัญที่สุด และเป็นจุดสิ้นสุดความรับผิดชอบของคณะราษฎร หนังสือของอาจารย์มาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของอาจารย์นั่นเอง แต่เมื่อได้อ่านแล้ว ไม่เพียงแต่จะเข้าใจความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ยังชี้ให้เห็นเส้นสนกลในของจุดเปลี่ยนการเมืองไทยอย่างลึกซึ้งและเป็นงานที่เป็นงานหลักที่ "ต้องอ่าน" ในการศึกษาการเมืองไทย

 

อาจารย์ยิ้มชวนผมไปพูดที่อักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในวาระ 100 ปี กบฏ ร.ศ. 130 ถึง 80 ปีประชาธิปไตย นับเป็นเกียรติสำหรับผมมาก เพราะเป็นเวทีแรกๆ ที่ผมข้ามมาฝั่งจุฬาฯ ในฐานะนักวิชาการรุ่นเด็ก ผมตื่นเต้นและสนุกสนานอย่างมาก

 

ในวันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน ที่ผ่านมา อาจารย์ธงชัย วินิจจะกูลเพิ่งบอกต่อสาธารณชนว่าอาจารย์ยิ้มเป็นผู้ที่เก็บรักษาและจัดระบบเอกสารของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รอดพ้นมายาวนานจนถูกเก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์

 

นี่คือจุดบรรจบหนึ่งระหว่างการเป็นนักวิชาการประวัติศาสตร์ นักกิจกรรม กับการเป็นนักรบเพื่อประชาชนที่แท้จริง

 

ในยามที่บ้านเมืองถดถอย อาจารย์ยิ้มเลือกแสดงตัวอย่างเปิดเผยว่ายืนอยู่ข้างประชาชนและประชาธิปไตย อาจารย์ใส่เสื้อสีแดงและออกอภิปรายในเวทีต่างๆ อย่างเปิดเผย ทั้งๆ ที่อยู่ในรั้วสีชมพู ขณะที่อาจารย์และนักเคลื่อนไหวยุค 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ หลายคนสวมเสื้อลายพรางไปแล้ว

 

ในยามที่อาจารย์ถูกรังแกจากอันธพาล จับอาจารย์ไปเข้าค่ายทหารที่สระบุรี ยึดหนังสืออาจารย์ ให้อาจารย์ตากแดดกลางสนามอย่างเลวร้ายและไร้มารยาทในความเป็นสุภาพบุรุษ กล่าวหาอาจารย์ว่าเป็นส่วนหนังของ "ผังล้มเจ้า" ซึ่งเป็นการกล่าวหาที่ร้ายแรงและอยุติธรรมอย่างยิ่ง เห็นแล้วยิ่งคับแค้นใจ

 

กลับเป็นอาจารย์ยิ้มเสียอีก ที่เลือกฟ้องผู้กล่าวหาอาจารย์ฯ และเมื่อคดีสิ้นสุดว่า "ผังล้มเจ้า" ก็คือ "ผังลิ้มเจ้า" อันเป็นเท็จ และถูกร่างขึ้นเพื่อใส่ร้ายทางการเมืองในข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดข้อหาหนึ่ง กลับเป็นอาจารย์ยิ้มที่แสดงความเป็นสุภาพบุรุษนักรบ ที่ให้อภัยเขา โดยไม่เรียกร้องอะไรเลย

 

ในงาน "ยิ้มเย้ยจันทร์" ผมพานักศึกษาปริญญาเอกจากญี่ปุ่นไปร่วมงานแซยิดของอาจารย์ด้วยความเต็มใจ เพราะอาจารย์เป็นผู้ที่เป็นที่รักของพวกเรา พวกเราดื่มกินและล้อเลียนอาจารย์ด้วยความสนุกสนาน หนึ่งในพิธีกร คือ เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี แต่งตัวเลียนแบบอาจารย์ในเอกลักษณ์สำคัญคือการยกเข็มขัดมาคาดไว้เหนือพุง เป็นอาจารย์ยิ้มที่ยืนหัวเราะและทักทายมิตรสหายจากหลากหลายวงการ

 

เมื่อย้ายมาทำงานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้พบอาจารย์มากขึ้น แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่อาจารย์เกษียณอายุแล้ว ผมจำไม่ได้ว่าพบอาจารย์ยิ้มครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ แต่คลับคล้ายคลับคลาว่าเป็นเวทีวิชาการเพื่อประชาธิปไตยหนึ่ง ยังคิดว่าอาจารย์ไม่สิ้นหวังกำลังใจในการต่อสู้เลย

 

มารู้อีกทีว่าอาจารย์ป่วยกระทันหันระหว่างท่องเที่ยวยุโรปจนต้องส่งตัวกลับมากระทันหัน คิดไว้ว่าจะเดินไปเยี่ยมอาจารย์เพราะอยู่ไม่ไกล แต่ก็ได้ยินว่าอาจารย์ต้องการพักผ่อน เลยอดใจไว้ ผัดวันประกันพรุ่งมาจนทราบข่าวร้ายว่าอาจารย์จากพวกเราไปในวันนี้

 

ผมขอรำลึกถึงอาจารย์ยิ้ม รศ. ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

 

นักวิชาการ นักรบ และปัญญาชนของประชาชน

 

ด้วยความคารวะอย่างสูงจากผม

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม