เรื่องการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกของผู้บริหารไทยก็สะท้อนความเป็นประเทศด้อยพัฒนาทางปัญญา บรรดาอีลิตไทยและหางเครื่องชอบด่าเขาว่าทำตัวเป็นเจ้าอาณานิคม แต่ตัวเองก็อยากจะไปเดินเฉิดฉายอยู่กับเขา คิดว่าการทำแรงกิ้ง มันง่าย ก็แค่บังคับ กดดัน ล่อลวงให้อาจารย์รุ่นใหม่ทำบทความภาษาอังกฤษ
บ้างก็ใช้วิธี "จ้างแปล" จ้างบริษัทอำนวยความสะดวก เพื่อให้ได้ตีพิมพ์ หรือตั้งแก๊งค์ทำ predatory journal รับเงิน แล้วตีพิมพ์ในวารสารชื่อประหลาดๆ มีทีมบรรณาธิการประหลาดๆ ครอบจักรวาล
ค่า H index อะไรตัวเองก็ไม่เคยมี แต่หันมากดดันเป็นเรื่องเป็นราว กระทั่งเชื่อว่าทำแบบนี้ตัวเองจะสร้างผลงานให้ประจักษ์ได้ (แน่นอน มันนับตัวเลข ไม่นับเบื้องหลังนี่)
คิดว่าทำแบบนี้แล้วการอุดมศึกษาไทยมันจะเจริญก็ยิ่งตลก เพราะนี่คือการยอมถวายตัวเป็นอาณานิคมทางปัญญาให้แก่ SCOPUS ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า ทื่อ และจำกัดฐานข้อมูล ที่บางกรณีเป็นเรื่องธุรกิจมากกว่าการสร้างสรรค์ทางปัญญา วารสารบางอันที่ดีๆ ก็ไม่ถูกนับรวม เป็นต้น
ต้องตระหนักด้วยว่าการจัดลำดับเช่นนี้ มี lingual bias, English language centric, อาจจะมีเรื่อง racial bias ด้วยซ้ำในเรื่อง impact แต่ก็ดีตรงที่มันบังคับให้เกิด internationalization of academic works ผ่านท่อ ภาษาอังกฤษ ซึ่งในที่สุด มันก็ลำบากเหมือนกันเพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มีพันธะกับท้องถิ่นเสียแล้ว
ถึงที่สุด นโยบายอุดมศึกษาไทยก่อนไปดวงจันทร์ คงหนีไม่พ้นการแต่งหน้าทาปาก เดินในอาเซียน หลอกตัวเองไปวันๆ ว่าทำดีที่สุดแล้ว ด้วยการกดดันอาจารย์รุ่นใหม่ๆ ส่วนตัวเองก็มีคำนำหน้าชื่ออันแสนวิเศษคุ้มครองกายอยู่แล้ว
แต่ In pursuit of academic excellence จำเป็นต้องทำหลายด้าน
1. translation งาน classic ก็สำคัญ แต่มีราคาต่ำสุดในโลกของการขอตำแหน่งทางวิชาการ
2. งานเขียน foundation ในภาษาไทย ซึ่งมีน้อยอย่างน่าใจหาย พอขยับแปลจาก a short introduction ต่างๆ ก็กลับไปข้อ 1 หรือไม่ก็คือกลับไปหางานภาษาอังกฤษอย่างเดียว วนเป็น loop ไป ถ้า foundation ไม่แน่นแล้วจะเขียนงานดีๆ งานใหญ่ๆ งานใหม่ๆ ได้อย่างไร
ในญี่ปุ่นตอนสร้างชาติ เขาแปลงานที่สำคัญเป็นภาษาเขาหมด เพื่อให้คนเข้าถึงความรู้ในระนาบกว้างมากที่สุด แต่ชนชั้นนำไทย ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นคอขวด คอยกักเก็บ กลั่นกรองความรู้มาตลอด
ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน เกาหลี หรือ เวียดนาม ต่างมีงานสำคัญๆ ของโลกแปลเป็นภาษาตัวเองหมด แล้วค่อยขยับไปอ่านงาน original
ซึ่งกว่าประเทศไทยจะทำได้ทัน คงไม่มีวันทันในรุ่นผม หรือรุ่นน้องๆ ที่ต้องทำอะไรบ้าๆ บอๆ ไปอีกนาน ถ้ากระโดดพลิกตัวทันก็หอบผ้าผ่อนไปดาวดวงอื่นเสียยังอาจจะทัน
แผนความเสี่ยงของผมคือซื้อหวย (ถ้าไม่ลืม) และนับเวลาถอยหลัง หาแมว หมา ไว้ข้างๆ ปลอบใจตัวเองจนกว่าจะลาโลก
คงไม่มีวันเห็นการอุดมศึกษาไทยเปลี่ยน ถ้าทำกันอย่างนี้
บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รถบัสนำผมมาถึงเมืองชิคาโกในเวลาสองทุ่มครึ่ง รถจอดที่สถานีปลายทาง Union Station แม้จะเคยมาเมืองนี้ แต่คราวนี้มาคนเดียว และนัดเพื่อนที่ไม่เจอกันเกือ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เราตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อจะเดินไปบ้านอาจารย์แคทเธอรีน บาววีเพื่อยืมรถอาจารย์ไปเที่ยว อา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
แม้จะเข้าฤดูใบไม้ผลิแล้ว แต่อากาศที่นี่ยังคงเย็นอยู่บ้าง ในคืนที่ผ่านมาอากาศเย็นสบาย เมื่อเราซื้อของจากซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้ๆ ที่พัก เราเดินกลับบ้านได้สบายๆ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
อย่างที่เคยเล่ามาในตอนก่อนๆ ว่า หนึ่งในความสุขเล็กๆ ของพวกเราคือการได้ไปกินติ่มซำวันเสาร์ (อาจจะมีคนเติมว่าไม่เอาเผด็
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมอดคิดไม่ได้ว่าคนรุ่นก่อนช่างกล้าหาญนัก กล้าเดินทางเข้ามาในดินแดนที่ไม่รู้จัก เพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าการเดินทางของมนุษย์เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ ชีวิตยิ่งมหัศจรรย์กว่า ในความผันแปรเปลี่ยนของมนุษย์
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมเขียนบทความชุดนี้มาหลายเดือน มาถึงตอนนี้ นับว่าเป็นชุดบทความที่ยาวไม่น้อย
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อปี พ.ศ.2532 เดือนมิถุนายน ยังไม่รู้ประสีประสาทางการเมือง ในขณะที่เพื่อนๆ พี่ๆ พากันขึ้นคัทเอาท์สนับสนุนประชาธิปไตยในจีน และมีกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากที่นักศึกษา ประชาชนถูกล้อมปราบที่ลานหน้าพระราชวังต้องห้าม
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งที่ผมได้มีโอกาสผ่านไปมักมีเรื่องราวให้จดจำ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามของภูมิทัศน์ เอ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
Today is the 5th year to commemorate the day that Abhisit Vejjajiva started cracking down the United front for Democracy against Dictatorship (UDD) camp site on Rajadamri. It started with the killing of Seh. Daeng or Gen. Kattiya Sawasdiphol.