Skip to main content
เรื่องการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกของผู้บริหารไทยก็สะท้อนความเป็นประเทศด้อยพัฒนาทางปัญญา บรรดาอีลิตไทยและหางเครื่องชอบด่าเขาว่าทำตัวเป็นเจ้าอาณานิคม แต่ตัวเองก็อยากจะไปเดินเฉิดฉายอยู่กับเขา คิดว่าการทำแรงกิ้ง มันง่าย ก็แค่บังคับ กดดัน ล่อลวงให้อาจารย์รุ่นใหม่ทำบทความภาษาอังกฤษ
 
บ้างก็ใช้วิธี "จ้างแปล" จ้างบริษัทอำนวยความสะดวก เพื่อให้ได้ตีพิมพ์ หรือตั้งแก๊งค์ทำ predatory journal รับเงิน แล้วตีพิมพ์ในวารสารชื่อประหลาดๆ มีทีมบรรณาธิการประหลาดๆ ครอบจักรวาล
 
ค่า H index อะไรตัวเองก็ไม่เคยมี แต่หันมากดดันเป็นเรื่องเป็นราว กระทั่งเชื่อว่าทำแบบนี้ตัวเองจะสร้างผลงานให้ประจักษ์ได้ (แน่นอน มันนับตัวเลข ไม่นับเบื้องหลังนี่)
คิดว่าทำแบบนี้แล้วการอุดมศึกษาไทยมันจะเจริญก็ยิ่งตลก เพราะนี่คือการยอมถวายตัวเป็นอาณานิคมทางปัญญาให้แก่ SCOPUS ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า ทื่อ และจำกัดฐานข้อมูล ที่บางกรณีเป็นเรื่องธุรกิจมากกว่าการสร้างสรรค์ทางปัญญา วารสารบางอันที่ดีๆ ก็ไม่ถูกนับรวม เป็นต้น
ต้องตระหนักด้วยว่าการจัดลำดับเช่นนี้ มี lingual bias, English language centric, อาจจะมีเรื่อง racial bias ด้วยซ้ำในเรื่อง impact แต่ก็ดีตรงที่มันบังคับให้เกิด internationalization of academic works ผ่านท่อ ภาษาอังกฤษ ซึ่งในที่สุด มันก็ลำบากเหมือนกันเพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้มีพันธะกับท้องถิ่นเสียแล้ว
ถึงที่สุด นโยบายอุดมศึกษาไทยก่อนไปดวงจันทร์ คงหนีไม่พ้นการแต่งหน้าทาปาก เดินในอาเซียน หลอกตัวเองไปวันๆ ว่าทำดีที่สุดแล้ว ด้วยการกดดันอาจารย์รุ่นใหม่ๆ ส่วนตัวเองก็มีคำนำหน้าชื่ออันแสนวิเศษคุ้มครองกายอยู่แล้ว
แต่ In pursuit of academic excellence จำเป็นต้องทำหลายด้าน
1. translation งาน classic ก็สำคัญ แต่มีราคาต่ำสุดในโลกของการขอตำแหน่งทางวิชาการ
2. งานเขียน foundation ในภาษาไทย ซึ่งมีน้อยอย่างน่าใจหาย พอขยับแปลจาก a short introduction ต่างๆ ก็กลับไปข้อ 1 หรือไม่ก็คือกลับไปหางานภาษาอังกฤษอย่างเดียว วนเป็น loop ไป ถ้า foundation ไม่แน่นแล้วจะเขียนงานดีๆ งานใหญ่ๆ งานใหม่ๆ ได้อย่างไร
ในญี่ปุ่นตอนสร้างชาติ เขาแปลงานที่สำคัญเป็นภาษาเขาหมด เพื่อให้คนเข้าถึงความรู้ในระนาบกว้างมากที่สุด แต่ชนชั้นนำไทย ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นคอขวด คอยกักเก็บ กลั่นกรองความรู้มาตลอด
ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน เกาหลี หรือ เวียดนาม ต่างมีงานสำคัญๆ ของโลกแปลเป็นภาษาตัวเองหมด แล้วค่อยขยับไปอ่านงาน original
 
ซึ่งกว่าประเทศไทยจะทำได้ทัน คงไม่มีวันทันในรุ่นผม หรือรุ่นน้องๆ ที่ต้องทำอะไรบ้าๆ บอๆ ไปอีกนาน ถ้ากระโดดพลิกตัวทันก็หอบผ้าผ่อนไปดาวดวงอื่นเสียยังอาจจะทัน
แผนความเสี่ยงของผมคือซื้อหวย (ถ้าไม่ลืม) และนับเวลาถอยหลัง หาแมว หมา ไว้ข้างๆ ปลอบใจตัวเองจนกว่าจะลาโลก
คงไม่มีวันเห็นการอุดมศึกษาไทยเปลี่ยน ถ้าทำกันอย่างนี้

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ณ ประเทศแห่งหนึ่งที่เพิ่งจะพ้นจากยุคเผด็จการอันแสนเลวร้ายมา พวกเขาต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่สะสมหมักหมมนานนับหลายปี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมมักเอ่ยถึงเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วอยู่หลายครั้ง ด้วยความรู้สึกสามัญธรรมดาเหมือนกับหลายๆ คนที่เชื่อว่า วันเวลาแห่งความสุขช่างผ่านไปรวดเร็ว แ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทนำจากนิตยสารวิภาษา ฉบับที่ 61(ในการเผยแพร่ครั้งนี้ มีการแก้ไขการสะกดชื่อคุณจำกัด พลางกูร จากคำนำวิภาษาฉบับที่ 61 ที่ผมเขียนผิดเป็น "กำจัด" ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
  คืนนี้หิมะโปรยลงมาตั้งแต่เย็น เป็นการฉลองวันคล้ายวันเกิดที่ห่างบ้านไม่น้อยทีเดียว แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะที่ผ่านมาก็เป็นแบบนี้ในหลายโอกาสเพราะวันคล้ายวันเกิดไม่มีอะไรต้องฉลองนอกเสียจากทบทวนชีวิตตัวเองว่าผ่านอะไรมาบ้าง 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
วันก่อนผมให้สัมภาษณ์กับรายการทีวีรายการหนึ่งซึ่งพาดหัวข่าวอาจจะแรงไปบ้างนะครับ ผมมีความเห็นต่อเรื่องการแต่งตั้งเครือญาติมานั่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและผู้ช่วยปฏิบัติงานดังนี้นะครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
จากลิงค์และพาดหัวข่าวต่อไปนี้
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 ตารางกิจกรรมนะครับForum on Human Rights and Everyday Governance in Thailand: Past, Present and Future Friday, March 6, 2015; 9 a.m.-5 p.m.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เมื่อวานนี้ (21 กุมภาพันธ์) หิมะยังโปรยเป็นสายลงมาไม่หยุดตั้งแต่ยามบ่าย นี่เป็นพายุหิมะระลอกที่สี่ เพียงแต่คราวนี้ไม่ยาวนานเหมือนครั้งก่อนๆ ในยามที่หิมะตกมาเป็นละอองเย็นๆ ยิ่งต้องระวัง เพราะหากสูดเข้าไปมากๆ อาจมีอาการป่วยได้ พวกเราเอง รวมทั้งผมต่างก็มีอาการป่วยกันคนละเล็กคนละน้อย เพราะสภาพอากาศที
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมนั่งมองปุยหิมะที่พริ้วลงมาตามสายลมตาปริบๆ บางทีสายลมเกรี้ยวกราดพัดมันปลิวเป็นสาย เลื้อยไหลตามถนนและหลืบบ้าน บางทีมันอ้อยอิ่ง ค่อยๆ พริ้วลงมา แต่ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เพื่อนฝูงหลายคนหัวเราะแกมสมเพชที่ผมอยู่บอสตันในยามหนาวเหน็บอย่างถึงที่สุด โดยเฉพาะพายุหิมะที่พัดผ่านมาให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้กองหิมะนับเดือน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมมาอยู่ที่นี่ได้สองเดือนกว่าแล้ว ขณะที่เพื่อนๆ มาอยู่ได้ราวครึ่งปี นาฬิกาและตารางชีวิตเราจึงต่างกันบ้างด้วยความผูกพัน ภาระที่แต่ละคนพึงมี