Skip to main content
งานชุด The Boundary of Solitude ของวัชรานนท์ สินวราวัฒน์ (เกิด 2540) ได้สำรวจปริมณฑลและทิวทัศน์ที่การก่อตัวฉวยชิงของรัฐยังไม่สมบูรณ์
ศิลปินเดินทางไปสู่ห้วงยามแห่งความกระหายใคร่รู้ ผ่านพื้นที่ของการปะทะกันทางอุดมการณ์ตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นจนถึงสงครามอุดมการณ์และความคิด
งานชุดนี้ละเอียดอ่อนและทุ่มเท ชวนฝันและคิดถึงความอ้างว้างในการเดินทางทางความคิดไปในดินแดนที่ไม่คุ้นเคย
ส่วนตัวผมจำได้เสมอ เมื่อรถโดยสารเคลื่อนตัวลงมาจากภูพานไปสุดขอบแดนที่ริมโขง
รถบรรทุกผู้โดยสารที่หลับๆ ตื่นๆ ผ่านป่าเต็งรัง ใบไม้เขียวและแห้ง สอดรับกันจากภูลงมาพื้นราบ
ตำนานการต่อสู้ตั้งแต่สนามบินเสรีไทยและลานฝึกพลพรรคเสรีไทย แหล่งพักพิงของนักกู้ชาติในอินโดจีน จนถึงผู้รักชาติทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้าและแลกชีวิตกัน
ป่านั้นสงบจนน่าใจหายว่าเรื่องราวและเลือดเนื้อเหล่านั้นเหือดหายไปไหน
การเดินทางไปในดงพระเจ้า ทั้งชื่อ นามที่สูญหายไปของวีรบุรุษอย่างครอง จันดาวงศ์ จิตร ภูมิศักดิ์ ปรากฏร่องรอยอีกครั้ง จนถึงร่องรอยของภูชนะ และกาสะลอง ผุดพรายขึ้นมาที่ริมฝั่งโขง
การปฏิวัตินั้นชวนฝันจนเกินความจริง และความจริงกลับโหดร้ายกว่าภาพในความฝัน
ดินแดนแห่งความโดดเดี่ยวของวัชรานนท์ ชวนฝันและชวนให้ดื่มด่ำ ส่งผ่านความระทึกใจออกมาในสีสันที่สงบ เยือกเย็น แต่ก็ส่งสัญญาณคุกคามตลอดเวลา
อันตรายที่คืบคลานเข้ามา คือการทวงคืนและจองจำทิวทัศน์เหล่านี้ในนามของชาติ
 
ติดตามชมงานของวัชรนนท์ได้ที่ SAC Gallery (สุขุมวิท) ระหว่าง 31 มีนาคม,- 28 มิถุนายน 2566
May be a closeup of nature and tree
 
 
 
 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
รัฐบาลนี้จะอยู่ค้ำฟ้ารึไง
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประโยคหนึ่งที่ถูกสลักจารึกที่ชานปลายบันได บนทางเดินก่อนเข้าอนุสรณ์สถานลินคอล์น (Lincoln Memorial) ที่ซึ่งถือกันว่าเสมือนวิหารแห่งประชาธิปไตยอันเป็นที่ตั้งของรูปสลักอับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา สลักเอาไว้ว่า “ข้าพเจ้ามีความฝัน“ (I have a dream) ประโยคนี้เป็นบทเริ่มต้นของสุนทรพจน์ข
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมต้องไปประชุมกับนักวิชาการที่ได้รับทุนฟุลไบรท์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ปลายปีแบบนี้หลายคนเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวทางไกลกันมากมาย ทำให้คิดถึงเรื่องที่ผมเจอกับตัวเองเมื่อหลายปีก่อนระหว่างขับรถบนถนนสี่เลนจากนคร
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หลังจากผมมาถึงเมืองเคมบริดจ์เป็นเดือน เริ่มจากการหาที่พัก ไปประชุมที่วอชิงตัน ดีซี หาซื้อเสื้อผ้ารับความหนาว รองเท้า จัดการเรื่องอาหารการกิน มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ งานเอกสาร ตลอดจนตั้งสถานีทำงานที่บ้าน จนได้ห้องใต้หลังคาของบ้านอายุกว่าร้อยไป ห่างจาก Harvard University สองสถานีรถไฟใต้ดิน ก็เริ่มตั้งห
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผมขออนุญาตเขียนบันทึกความจำเอาไว้นะครับ ในโอกาสที่ครบรอบหนึ่งปีของการก่อตั้งกลุ่มนักวิชาการและเครือข่ายประชาชนที่เรียกตัวเองว่า สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บทความเก่าๆ เป็นรายงานสมัยเรียน ป.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในรายงานวิจัยที่ผมเสนอต่อโครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ุ ได้เขียนถึงเรื่องจุดเริ่มต้นและชีวิตทางการเมืองของธรรรมนูญฉบับนี้ ตลอดจนผลการใช้มาตรา 17 เอาไว้ดังนี้ ครับ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ได้เคยเขียนบทนำวิภาษา 23 ไว้เมื่อปลายปี 2553 ไว้เกี่ยวกับเรื่องปฏิวัติวัฒนธรรม ดังนี้การปฏิวัติวัฒนธรรมที่กลายเป็นสินค้า
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
23 กุมภาพันธ์ 2534 มีรัฐประหารล้มรัฐบาลที่ขึ้นชื่อว่ามีการคอร์รัปชั่นที่เรียกว่า บุฟเฟ่ต์คาบิเน็ท ฝูงชนดีใจ เอาดอกไม้ ซุปไก่สกัด ช่อดอกไม้ไปให้ทหาร เฉลิมฉลอง ดีใจยกใหญ่ ในปีถัดมา เราออกไปบนท้องถนนเพราะเดิมทหาร รสช.
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เหมือนคนบ้า คลั่งพล่าน ไปทั้งคาม