Skip to main content

- 1 -

ข้าพเจ้าได้อ่าน บทเขียนของ “กลางชล” ในนิตยสาร “ธรรมะใกล้ตัว” ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 http://www.dungtrin.com/mag  ซึ่งเป็นบทบรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าว ที่ได้พาตัวข้าพเจ้าให้นำใจเข้าศึกษาและเรียนรู้ธรรมะจากนิตยสารธรรมเล่มนี้

ในบทบรรณาธิการ “กลางชล” เล่าว่า ได้เสียงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ดังขึ้นจากแผ่นซีดีว่า “การศึกษาธรรมะ คือการลงทุนให้กับชีวิตตัวเองนะ หลวงพ่อจะบอกให้ หลวงพ่อเองตอนอยู่กับโลก ก็ไม่ได้เป็นรองใครหรอก อยู่ในโลกก็มีความสุข แต่แล้วก็พบว่า ความสุขของโลกนี่นะ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลย...”

อย่างตอนเด็ก ๆ เราก็คิดว่า ถ้าเราเอนท์ติดคณะนั้นคณะนี้ เราจะมีความสุข...
ถ้าเรียนจบแล้ว เราจะมีความสุข... ถ้าได้เรียนต่อปริญญาโทด้วย เราจะมีความสุข...
แล้วเราก็พบว่ามันก็อย่างนั้น ๆ จบมาแล้วก็ไม่เห็นจะสุขได้นานสักเท่าไหร่
ต่อไปอีก ถ้าได้งานดี ๆ เราจะมีความสุข... ถ้าได้เงินเดือนเยอะ ๆ เราจะมีความสุข...
ถ้าตำแหน่งใหญ่ ๆ อีก เราจะมีความสุข... ถ้ามีแฟนสักคน เราจะมีความสุข...
ถ้ามีครอบครัวดี ๆ เราจะมีความสุข... ถ้าลูกเราประสบความสำเร็จ เราจะมีความสุข...
กระทั่งพอแก่ไป เจ็บป่วยทรมาน นอนทำอะไรไม่ได้แล้วอยู่บนเตียงในโรงพยาบาล
ยังว่า ถ้าตายไปเสียได้ คงจะมีความสุข... หลวงพ่อท่านเคยฉายภาพให้ฟังอย่างนั้น

การที่เราทะยานวิ่งไล่คว้าความสุขด้วยแรงผลักดันของกิเลสอยู่ตลอดชีวิต ก็ไม่ต่างอะไรกับลาที่เอาแต่จดจ้องเดินไปข้างหน้า เพื่อไล่คว้าแครอทที่ปลายไม้ โดยที่ไม่รู้เลยว่า มันจะไม่มีวันเอื้อมคว้าแครอทนั้นมาเข้าปากได้เต็มคำอย่างแท้จริง

เมื่อไม่มีใครมองเห็นความสุขที่เหนือกว่า กระทั่งว่าสามารถตัดวงจรความทุกข์ทั้งหมดได้ ก็ไม่มีใครคิดแสวงหาวิธีการลงทุนเพื่อเป้าหมายสูงสุดเช่นนั้น

นอกจากนี้ “กลางชล” ยังถามผู้อ่านอีกว่า มีใครเคยอ่านหนังสือชื่อดังเรื่อง “พ่อรวยสอนลูก” (Rich Dad Poor Dad) หรือไม่ ซึ่งมีอยู่ตอนหนึ่ง ที่ผู้เขียนเปรียบเทียบชีวิตมนุษย์เงินเดือนเหมือน “สนามแข่งหนู” (Rat Race) เขาเปรียบวลี “สนามแข่งหนู” เสมือนกับวังวนของการเป็นลูกจ้างที่ต่างคนก็เหมือนสาละวนวิ่งไปอย่างไร้จุดหมาย ด้วยอาการตะเกียกตะกายของ “หนู” คือวิ่ง ๆ ๆ ทำงานตัวเป็นเกลียว เพียงเพื่อได้รับเงินเดือนตอบแทนพอกินพออยู่ไปวัน ๆ

ผู้เขียนบอกว่า แม้จะมีคนเห็นช่องทาง ชี้ทางออกไปสู่อิสรภาพจากสนามแข่งหนูแห่งนี้ให้ แต่ก็น้อยคนเหลือเกินที่จะเชื่อว่าอิสรภาพทางการเงินเช่นนั้นมีอยู่จริง และน้อยคนเหลือเกินที่แม้รู้ว่ามีอยู่จริง แล้วจะลุกขึ้นมาจนดีดตัวออกมาจากสนามแข่งนี้ได้

หนังสือชื่อดังเล่มนี้ แนะนำคนอ่านให้หนีให้พ้นจาก “สนามแข่งหนู” หรือหลุดออกจากการมีชีวิตอยู่ด้วยเงินเดือนประจำ จากการเป็นลูกจ้าง ด้วยกลยุทธ์ “ให้เงินทำงาน” แทนที่เราจะเหนื่อยทำงานเพื่อหาเงินไปชั่วชีวิต

“กลางชล” ท้าทายว่า “อันที่จริง ชีวิตมนุษย์เรา ก็ไม่ต่างอะไรกับสนามแข่งหนูอย่างที่ว่าไว้นั้นนักหรอกนะคะ ถ้าถอยขึ้นมามองอีกชั้น แม้จะออกมาจากสนามแข่งหนูได้แล้ว มั่นคงทางการเงินแล้ว เราก็ยังติดอยู่กับสนามแข่งมหึมาของสังสารวัฏ ที่หนีสุขทุกข์ หนีการเวียนเกิดเวียนตายไม่พ้น แทบจะไม่มีใครเคยมองเห็นว่า เราก็เหมือนหนูที่ติดกับดักอยู่ในสนามนั่นแหละดิ้นรน ตะเกียกตะกายวิ่งไล่หาความสุขกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แล้วก็พอใจอยู่กับการได้เสพความสุขหยาบ ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ ไปชาติหนึ่ง ชาติหนึ่ง”

แม้จะมีบรมครูผู้ประเสริฐชี้ทางออกไปสู่อิสรภาพจากวงจรแห่งการเวียนเกิดเวียนตายนี้ให้ แต่ก็น้อยคนเหลือเกินที่จะเชื่อว่าการพ้นทุกข์ทางใจโดยสิ้นเชิงได้เช่นนั้นมีอยู่จริง
และน้อยคนเหลือเกินที่แม้รู้ว่ามีอยู่จริง แล้วจะเพียรพยายามจนดีดตัวพ้นจากสังสารวัฏนี้ได้

- 2 -

เมื่อทราบว่า ชีวิตเรากว่าจะได้พบกับความสุขที่แท้จริง และพ้นออกไปจากสังสารวัฎนี้ได้ ก็ถือว่าไม่ยากเสียทีเดียวสำหรับตัวเองที่จะเข้าถึงธรรมก่อนที่จะลิ้นลมหายใจ แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเรายังขาดไปอยู่คือ “การลงทุนศึกษาธรรมะ” ทั้งจากการทำความเข้าใจและการลงมือปฏิบัติให้ประจักษ์ด้วยตัวเอง

“กลางชล” บอกว่า ถ้าใครเคยได้ยินโฆษณาของกองทุน เขาจะต้องมีประโยคที่อ่านเร็ว ๆ ปิดท้ายนะคะว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” - ธรรมะก็เหมือนกันคือ ถ้าจะเริ่มต้น ก็ควรต้องศึกษาให้เข้าใจหลักการและวิธีก่อน เพราะความเสี่ยงก็มีอยู่ตรงที่ ถ้าจับหลักผิด หรือไปยึดถือศรัทธาในแนวทางที่ไม่ถูกตรงเราก็มีสิทธิ์ดำเนินชีวิต หรือปฏิบัติไปด้วยความผิดเพี้ยน แล้วนับวันก็จะยิ่งออกอ่าว ลากเราห่างไปจากเป้าหมาย จนสุดท้าย อาจต้องขาดทุนอีกยาวกว่าจะเจอทางที่แท้จริง

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนอันไหนเป็นทางตรง เป็นทางที่แท้จริง? ขอให้เราศึกษาและยึดคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักให้แม่นไว้ดีที่สุด ธรรมะรุ่นหลัง ๆ นั้น มีการตีความ แปลความหมาย และแต่งตำรากันออกมามากมาย ถ้าไม่แน่ใจ ขอให้เปิดพระไตรปิฏกเทียบเคียงดูว่า เป็นวจนะของพระพุทธเจ้าจริง หรือดูเบื้องต้นว่า คำสอนนั้น เป็นไปเพื่อการลดละกิเลส เป็นไปเพื่อความเล็กลงของตัวตน ให้การปฏิบัตินั้นอยู่ในขอบเขตของกายใจ เป็นไปเพื่อละวางความเห็นผิดว่าตัวตนนั้นเป็นเรา

ทีนี้เราจะลงทุนยังไงได้บ้างกับธรรมะ, ประเด็นนี้ “กลางชล” บอกว่า 3 อย่างที่ควรจะลงมือทำอย่างจริงจัง คือ  การทำทาน การรักษาศีล และการภาวนา

โดยมีเงื่อนไขพิเศษคือ ลงทุนไปแล้ว ห้ามหวังผลตอบแทน เพราะผลที่รอให้เราเก็บเกี่ยวนั้น มันจะมาเองตามเหตุปัจจัยที่ได้ทำ สั่งให้เกิด ก็ไม่ได้ ห้ามไม่ให้เกิด ก็ไม่ได้ แถมยิ่งโลภอยากได้มาก ผลตอบแทนยิ่งน้อยลง

หากรู้ตัวว่าเป็นคนไม่ค่อยทำทาน หรือยังไม่ได้ทำทานจนเป็นนิสัย ก็ลองหมั่นหัดให้ออกมาจากใจ วันละเล็ก วันละน้อย โดยทำความเข้าใจไว้แต่ต้นก่อนว่า การทำทาน เป็นการสละความตระหนี่ถี่เหนียวออกจากใจ

ไม่ใช่ทำเพื่อชื่อเสียงหน้าตา ไม่ใช่เพื่อล้างซวย หรือกระทั่งเพื่อโลภเอาบุญแล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องรวยก่อนถึงจะให้ได้ และไม่จำเพาะว่าจะต้องเป็นเงินเท่านั้น แต่เล็งแล้วว่าสิ่งที่เราอยากให้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นของเล็กของน้อย  การบริจาคโลหิต อวัยวะ แรงกาย แรงใจ ความรู้ ธรรมทาน หรือกระทั่ง การให้อภัย ให้จนเหมือนจิตแผ่เมตตาออกไปก่อน อยากให้ก่อน เจอใครอยากได้อะไรค่อยว่ากันอีกทีอย่างนี้ ก็จะทำให้จิตอยู่ในสภาพที่สงบลงและเปิดกว้างเป็นธรรมชาติเบื้องต้น

ถัดมา รักษาศีล ให้ศีลเป็นเรื่องปกติของชีวิต ศีล 5 ศีลจะเป็นเสมือนกรอบล้อมรั้ว ไม่ให้เราล่วงเกินผู้อื่น ทั้งด้วยกาย และด้วยวาจา แล้วเมื่อเราเป็นผู้ไม่ก่อเหตุแห่งเวรภัย ประตูสู่อบายก็ย่อมปิดแคบลง เท่ากับศีลจะช่วยรักษาเราให้อยู่ในเส้นทางที่จะไม่ไหลลื่นลงต่ำได้ทางหนึ่ง และศีลก็จะเป็นเครื่องหนุนให้จิตเรามีความสงบตั้งมั่น เอื้อต่อการภาวนาต่อไป

สุดท้าย แบ่งเวลาให้กับ การภาวนา ซึ่งไม่ได้แปลว่าการสวดมนต์อ้อนวอน แต่ “ภาวนา” แปลว่า การทำให้เจริญ คือการฝึกหรือพัฒนาให้เจริญขึ้น ซึ่งมีหลัก ๆ 2 อย่าง อย่างแรก ภาวนา แบบสมถะ อันนี้มุ่งเอาความสงบเป็นหลัก

เป็นการจับลิงที่ซุกซน อยู่ไม่สุข ไปโน่นมานี่ตลอดเวลา (คือใจของเราเอง) ให้สงบนิ่ง ด้วยการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่น นั่งสมาธิดูลมหายใจไปก็ได้ พุทโธไปก็ได้ ที่ฟุ้งซ่านก็จะสงบ ที่เร่าร้อนก็จะสบาย ที่เป็นอกุศลก็จะเปลี่ยนเป็นกุศล

แต่ถ้าเจออะไรกระทบหน่อยเดียว เดี๋ยวก็วิ่งหนีไปหลบอยู่ในถ้ำของความสงบทุกที แบบนี้ก็เห็นทีจะชนะกิเลสไม่ได้เสียทีหรอกค่ะ เราต้องออกไปเผชิญกับมันตัวต่อตัว

นั่นก็คือ การภาวนาอย่างที่สอง ที่สำคัญและควรเจริญให้มาก คือ แบบวิปัสสนา  ซึ่งการเป็นภาวนาที่มุ่งเจริญปัญญาเพื่อให้เห็น “ความจริง” ของกายและใจ วิธีการก็คือ หมั่นเจริญสติ รู้สึกตัวให้บ่อย ๆ แต่คราวนี้ไม่ต้องไปบังคับลิงให้นิ่งแล้ว เพราะเป้าหมายคือ เราต้องการเห็น ความจริงของกายของใจ อย่างที่มันเป็นจริง ๆ

เริ่มต้นก็คอยทำความรู้จักกับสภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในกาย ภายในใจ ของเรานี้
กายขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ก็รู้... มีความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉย ๆ เกิดขึ้น ก็รู้...
มีราคะ โทสะ โมหะผุดขึ้น ก็รู้... มีสภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น ก็รู้...

คือพอมันเกิดแล้วก็รู้ให้ทันไว ๆ อย่างเป็นกลาง อย่างเป็นคนวงนอกนั่งดูละครเรื่องกายใจ
อย่าโดดเข้าไปเล่นด้วย อย่าไปสั่งคัท อย่าไปสั่งแอ็คชั่น แต่ดูมันเปลี่ยนแปลงของมันเอง

ดูไปอย่างไม่คาดหวัง จนกระทั่งวันหนึ่งเราจะเห็นเองว่า กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา
มันเป็นเพียงของชั่วคราว เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เมื่อเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจว่าไม่ใช่ตัวเราแล้ว จะหมดความดิ้นรน
และจิตที่หมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่งนั้นเอง จะเป็นอิสระพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

หลวงพ่อปราโมทย์ท่านบอกว่า “ถ้าเราภาวนาเป็น เราจะรู้เลยว่า ถ้าหากเราไม่มีโอกาสได้ภาวนา เราจะเสียโอกาสอย่างร้ายแรงที่สุดในชีวิตแต่ถ้าเราภาวนาไม่เป็นทั้งชาติ เราจะไม่รู้สึกอย่างนี้หรอก..เราก็จะรู้สึกว่าเราโอกาสดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น มันเป็นการลงทุนให้ชีวิตตัวเองนะ ค่อย ๆ เรียนธรรมะไป ถ้าเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอก จิตใจเกิดสติขึ้นมาเกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา อีกหน่อยจะรู้เลยว่า ศาสนาพุทธนั้น มีประโยชน์มหาศาล”

- 3 -

ข้าพเจ้าได้ลองนั่งคิด ทบทวนดู แล้วพบว่าการที่คนๆ หนึ่งเกิดมานั้น เมื่อเราไม่ได้เกิดมาเป็นเดรัจฉาน-เปรต-ภูต-ผี-ปีศาจ นั้น ย่อมหมายว่า หากเราเป็นมนุษย์แล้ว เราสามารถพาดวงจิตที่อยู่ใน “กายเนื้อ” นี้ เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงธรรมและปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นได้

ซึ่งหากเราเกิดมาเป็นคน และตายไปนั้น แม้ว่า “กายเนื้อ” เราจะตายไป แต่ “จิต” ของเรายังคง “เป็นอยู่” ยังไม่ได้ตายไปจริงๆ เพราะเรายังคงจะต้องเวียนว่ายไปมาในสังสารวัฎต่อไป ไม่ว่าจะไปนรกภูมิ เปรตภูมิ เดรัจฉานภูมิ มนุษย์ เทวดา หรือพรหมซึ่งหากเราไม่อยากไปในทางทั้ง 6 ที่กล่าวมา ก็มีทางเดียวที่จะทำให้จิตดับลงไป ไม่มีเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎ นั่นคือ นิพพาน นั่นเอง

หากใครที่เกิดมาเป็นคนแล้ว ยังไม่ได้ลงทุนเข้าถึงธรรม เข้าถึงสัจธรรมอันสูงแล้วไซร้ คงน่าเสียดายที่ได้เกิดมาในเนื้อนาบุญแห่งนี้จริงๆ ...

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อได้ยิน...... “ทำไมคุณโง่แบบนี้” “งานชุ่ยๆ แบบนี้เหรอที่ทำเต็มที่แล้ว” “มีหัวไว้ใส่หมวกเปล่าๆ” สารพัดมากมาย คำด่าทอที่เรามักไม่ชอบ – ในที่นี้ก็มีผมอยู่ด้วยแหละครับ เวลาที่มีใครมาต่อว่า มานินทาในทางร้ายๆ แล้วมักจะต้องเดือดร้อนเป็นฝืนเป็นไฟอยู่เสมอ อืม...คิดในใจ นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราไม่ใช่คนอย่างที่เขาว่านะ..... ขณะที่คำชม อาทิ “คุณทำงานเก่งจัง” “ทำได้แค่นี้ สุดยอดเลยทีเดียว ยอดเยี่ยมมากๆ๐ “คิดได้แค่นี้ ก็เจ๋งเลย” คำพูดชื่นชม เยินยอในทางบวกเหล่านี้ หลายคนไม่ปฏิเสธ หรือไม่ได้มีท่าทีต่อต้านเหมือนคำพูดร้ายๆ หรือลบๆ แต่กลับมองว่าใช่ๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง... ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา จดหมายฉบับก่อน พี่เล่าเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนหนึ่ง และยังติดใจในสาส์นของท่านดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ชาวธิเบตอยู่ ... เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ่ง พี่อยากจะให้น้องและเพื่อน คนรู้จักหลายๆ คนได้อ่านมันอย่างพิจารณาหลายๆ ครั้ง หลายข้อของสาส์นฉบับนี้ เป็นความรักที่มีต่อตนเอง รักตนเอง แบบที่ไม่ได้ตามใจตนเอง ไม่ตามใจในสิ่งที่บำรุงบำเรอให้ตนเองให้ได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ โดยเฉพาะข้อแรกเป็นสิ่งที่ท่านลามะผู้ยิ่งใหญ่ได้ตักเตือนคนสมัยใหม่ได้อย่างเฉียบคม (ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอันมหาศาลดุจกัน)…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ได้รับจดหมายที่ส่งต่อๆ กันมา (Forward mail) ฉบับด้านล่างนี้ เป็นครั้งที่เท่าไรไม่รู้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (เพราะนี่เข้าเดือนที่ 6ของปีแล้ว...)“สาส์นจากท่าน Dalai Lama ที่ได้กล่าวไว้สำหรับปี 2008 นี้ แล้ว…คุณจะได้พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่คุณจะยินดีมากข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ชอบจดหมายรักฉบับนี้มาก เมื่ออ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความรักที่สดใส และความเป็นคน “ธรรมดา” ของน้องที่ผ่านมา พี่ออกจะห่วงใยอยู่ลึกๆ ว่าน้องจะรีบโตมากไปหรือเปล่า รีบที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต รีบมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากไปไหม...จนอาจจะทำให้พลาดความสดใส ความรัก หรือสิ่งต่างๆ ที่เราน่าจะได้เรียนรู้ และเดินผ่านมันมาด้วยความสง่างาม หรือเจ็บปวดไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้พี่ก็ผ่านช่วงเวลา “หวาน” “ขมๆ” ของชีวิตมาบ้าง เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป ที่มักจะมีความรักที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป พี่มักเลือกที่จะจดจำสิ่งที่ดี …
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่าเพิ่งตกใจนะครับพี่ที่ผมจะขอระบายเรื่องรัก ให้พี่รับรู้.....
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาอายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่าคุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรุ่นพี่คนหนึ่งมาหาผมที่บ้าน เราสองคนไม่ได้เจอกันมานานหลายปี พอมาเจอกันอีกหนจึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้พบเจอกัน รุ่นพี่คนนี้ชื่อ “นนท์” พี่นนท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยสอนผมเต้นเชียลีดเดอร์ เมื่อตอนเรียนมัธยมต้น อายุของพี่นนท์ห่างจากผม 2 ปี พี่นนท์เป็นคนต่างหมู่บ้าน แต่เราอยู่ในตำบลเดียวกัน ผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่นนท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการพูด ท่าที การแสดงออก จากเมื่อก่อนที่ค่อนข้างกรี๊ดกร๊าด พูดไม่หยุด และชอบนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ มาคราวนี้พี่นนท์ไม่เหมือนเดิม คือ นิ่งขึ้น ท่าทีสุขุมเยือกเย็น ไม่ทำท่ารุกรี้รุกรนตอนคุยกันเหมือนเมื่อก่อน…
พันธกุมภา
มีนาถึง...ลูกปัดไข่มุกและพันธกุมภาความระลึกถึงวัยเยาว์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กสาวสดใสอย่างลูกปัดไข่มุก อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้องช่างมี “ทาง” ที่ดีเสียจริง น้องได้เติบโตจากครอบครัวที่หล่อหลอมสิ่งที่ดีงามให้ ทั้งการทำบุญ ทาน และเสริมให้สร้างบารมี ต้องขอบคุณแม่และพ่อที่ปูทางที่ดีให้กับลูก หากมีธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กสาวและคนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตอย่างมีรากเหง้า รู้คิด เพราะกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ใช่แค่ได้ “ความรู้” หากยังได้ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งความรู้สมัยใหม่ไม่มีความลึกซึ้งพอเมื่อเราปฏิบัติหรือยังไม่ปฏิบัติก็ตาม เรามักยึดติดกับตัวตน (Ego) และเราไม่ได้พยายามลดมัน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาผมได้อ่านเรื่องราวของ “ลูกปัดไข่มุก” แล้ว ขออนุโมทนากับน้องอย่างยิ่ง และยังรู้สึกยินดีกับสิ่งที่น้องได้กระทำลงไป และได้พบการหนทางที่จะนำพาความสุข สงบมาให้กับตนเอง เป็นการเรียนรู้จากตัวเอง มากกว่าการเรียนรู้จากคนอื่นๆ ที่เล่าให้ฟังสู่กันมาการได้ทำสมาธินั้นได้ช่วยให้น้องได้พบกับจิตที่สงบ และเป็นจิตที่นิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้จิตใจเริ่มปรับความละเอียดเพิ่มขึ้น สู่การเจริญสติในระดับต่างๆ ต่อไป....จะว่าไปแล้ว เดี๋ยวนี้ วัยรุ่นรุ่นเดียวกับเราๆ ก็หันมาสนใจเรื่องทางธรรมเยอะเหมือนกันนะ, ช่วงหนึ่งก็มีคนมาถามผมว่า วัยรุ่นสนใจธรรมะเพิ่มขึ้น เป็นกระแสที่ดีแบบนี้ คิดยังไง?…
พันธกุมภา
ลูกปัดไข่มุก ถึง พี่พันธกุมภา และ พี่มีนา....   “เส้นทางที่เรากำลังพยายามจะมุ่งไปอยู่นี้ มันคือหนทางแห่งความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงของเราจริงๆหรอ” ....นั่นคือความคิดที่ฉันคิดมาตลอด ฉันโชคดีที่ได้เกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในวันว่างๆ เรามักจะได้ไปวัดแทนการไปเที่ยวเสมอๆ ซึ่งด้วยความเป็นเด็ก ฉันจึงไม่คิดว่ามันดีนัก.....จะว่าไปฉันทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ เพราะถูกสั่งสอนมาให้ทำแบบนั้น ว่าถ้าทำบุญเยอะๆ จะได้ไปสวรรค์ ถ้าทำบาปก็จะตกนรก รวมถึงนิทานต่างๆที่แม่ได้เล่าให้ฟังมาตลอด ฉันจึงพูดได้เต็มปากว่า ฉันเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาจุดหมายปลายทาง การเดินทางธรรมของเธอครั้งนี้อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ที่...ซึ่งฉันไม่เคยไป หากหลายคนอยากไป ก็คงไม่ได้คิดถึงเรื่องการเดินทาง หากมักนึกถึงปลายทาง และในที่สุด...แม้รู้ว่าเธออาจจะเดินทางถึงวัดป่าสุคะโตแน่นอน เธอก็น่าจะเรียนรู้ระหว่างทางดังที่เธอเล่าให้เราฟังฉันเคยพูดถึงเรื่องความกลัวระหว่างการเดินทาง “ในความกลัว” มาก่อนแล้ว ด้านหนึ่งฉันนึกเสมอว่า คนธรรมดาทั่วไปอย่างฉัน ร่ำเรียนมาด้วยวิธีคิดแบบมีเป้าหมาย โดยไม่สนใจระหว่างทาง หรือกระบวนการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “ระหว่างทาง” เป็นสิ่งสำคัญมาก…