Skip to main content

พันธกุมภา

20080111 เดินทางภายในที่วัดป่าสุคะโต

ถึง มีนา,

ฉันเริ่มเขียน “ธรรมตามใจ” มาได้เพียงไม่นาน ก็พบว่าอันแท้แล้ว ยังมีกัลยาณมิตรทางธรรมอีกหลายคนที่อยู่ในช่วงวัยใกล้ๆ กัน จึงน่าจะชวนกันมาแบ่งปันธรรมปฏิบัติในพื้นที่นี้ร่วมกัน

มีนา, เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ที่ตอบรับคำเชื้อเชิญจากฉัน – เธอ เป็นผู้หญิงรุ่นพี่ ที่ฉันรู้จักมาค่อนปีทีเดียว ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าเจอกันครั้งแรกที่ไหนอย่างไร เพราะผ่านมาแล้วหลายนาน แต่ก็ไม่เป็นไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่ต่อไปเราทั้งสองจะได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เราต่างปฏิบัติเช่นกัน

ฉันกับเธอ, พันธกุมภากับมีนา, เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมา ตัวตนทางโลกของเราอาจมีค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่างกันอยู่มาก แต่ในทางธรรมแล้ว ไม่ว่าเพศใด วัยใด ย่อมมี “ความเท่า” กันอยู่เสมอ ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ ทำงานอะไร เพศไหน การเป็นพี่น้องทางธรรมนั้นย่อมหมายถึงความเหลื่อมล้ำต่างๆ ของเพศ วัย อายุ สถานะทางสังคม จะไม่เป็นอุปสรรค กำแพงกั้นระหว่างกันและกัน ฉะนี้แล้วเราจึงเสมือนเพื่อนร่วมเดินทางในเส้นทางนี้ด้วยกัน

ยังไงก็ดี ฉันมีเรื่องที่อยากจะเล่าให้เธอฟังว่า หลังจากที่ฉันได้อ่านประวัติและคำสอนของหลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา ตอนนั้นจิตของฉันบอกว่าแนวปฏิบัติที่หลวงพ่อเทียน ท่านได้สอนสั่งศิษยานุศิษย์มามากมายแล้วนี้ เป็นแนวปฏิบัติที่น่าจะหาโอกาสได้ลองฝึกได้ปฏิบัติดู

บวกกับที่ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ฉันนับถือได้แนะนำให้ได้ลองเข้าร่วมปฏิบัติแนวหลวงพ่อเทียน ตอนประมาณเดือนเมษายนปีนี้กับกลุ่มนักพัฒนา ที่จังหวัดสกลนคร ฉันได้ตอบปากตกลงที่จะเข้าร่วม และรอเวลาที่จะมาถึงด้วยการศึกษาและอ่านคำสอนของหลวงพ่อเทียน เท่าที่จะหามาอ่านได้

ต่อมาไม่นาน วันหนึ่งมีคนบอกฉันว่าเขาจะไปบวชที่วัดป่าสุคะโต ที่จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นวัดที่มีแนวการสอนการปฏิบัติตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน และที่วัดก็เปิดให้ผู้สนใจการปฏิบัติได้เข้าไปปฏิบัติตามเหตุอันควร

 

ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๐ ฉันโทรศัพท์สอบถามพี่แก้ว รุ่นพี่ที่ทำงานเอ็นจีโอในภาคเหนือ ซึ่งเคยบวชเป็นพระแล้วปฏิบัติที่วัดป่าสุคะโตมาก่อน พี่แก้วดีใจมากที่รู้ว่าฉันจะไปที่นั่น ได้เล่าเรื่องแนวทางการปฏิบัติ การใช้ชีวิต ตลอดจนการเดินทางไปยังวัด พร้อมทั้งฝากน้อมความระลึกถึงยังพระอาจารย์ แม่ชี ทั้งหลายด้วย

นอกจากนี้ฉันได้หาข้อมูลของวัดจากทางเว็บไซต์ www.pasukato.org   แล้วกำหนดวันเพื่อที่จะหาโอกาสไปปฏิบัติเจริญสติ ที่วัดแห่งนี้ และแล้วฉันก็ได้วันที่ลงตัว คือ วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๐ ถึง ๒ มกราคม ๒๕๕๑ ช่วงนี้เป็นช่วงที่เป็นเทศกาลหยุดนาน จึงเหมาะแก่การลางานยาวๆ แล้วนำใจสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง

พอรู้ว่าจะเดินทางช่วงไหนอย่างไร จึงต้องขออนุญาตจากทางครอบครัวคือพ่อกับแม่เพื่อแจ้งให้ท่านได้รับทราบ เมื่อท่านรู้ว่าฉันจะไปในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ก็ถามว่า “ทำไมไปช่วงนี้ ไม่ฉลองกับทางบ้านเหรอ” ฉันตอบว่า ช่วงนี้เป็นเวลาที่เหมาะแก่กันปฏิบัติ และการละซึ่งความสุขทางโลกในการกิน ดื่ม เที่ยว อย่างหนึ่ง

เมื่อที่บ้านรับฟังเหตุผลแล้ว จึงเข้าใจแต่แม่ก็บอกว่า “เรามีญาติที่ชัยภูมิ แม่จะโทรหาให้เขาดูแลเรานะ” ฉันพยักหน้าและโทรศัพท์คุยกับลุงที่ชัยภูมิอยู่หลายวันเพื่อนัดหมายการเดินทางและที่พักที่บ้านลุง

ส่วนเพื่อนๆ พี่ๆ หลายคนที่รู้ว่าฉันจะไปปฏิบัติธรรมตอนช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ต่างก็สงสัยต่างๆ นานา ว่าทำไมจึงไปช่วงนี้ ไม่ไปสังสรรค์กับใครเลย บ้างก็ว่าฉันอกหัก บ้างก็ว่าฉันเครียดจากงาน บ้างก็รู้ว่าฉันจะไปทำไม เดากันไปมาหลายเหตุผล จนต้องบอกว่าที่จะไปปฏิบัตินั้นเพราะต้องการฝึกเจริญสติแนวทางอื่นที่ต่างจากแนวทางเดิมที่เคยทำ บางคนที่รู้ว่าฉันปฏิบัติ ก็จะเข้าใจ บางคนก็งงอยู่ ก็ไม่เป็นไร ไม่ว่ากัน สักวันฉันต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ

มีเรื่องหนึ่งที่ฉันสงสัยตลอดเวลาว่าทำไมคนเราจึงต้องปฏิบัติธรรม บางคนปฏิบัติเพราะศรัทธา บางคนอยากจะหนีทุกข์ และเหตุผลที่แตกต่างกันไป คำถามจะไม่มีมากหากคนที่ไปปฏิบัติอายุมาก ดูอยู่วัยกลางคน และวัยชรา แต่หากเป็นวัยรุ่นแบบฉันหรือเพื่อนๆ คนอื่นๆ ก็มักถูกมองแปลกๆ ทำนองว่าบ้าหรือเปล่า อยู่ดีๆ ไปปฏิบัติธรรม มีอะไรให้ทำตั้งมากมาย เป็นวัยรุ่นเสียเปล่าไม่เที่ยว ไม่กิน ไม่ดื่ม ทำไมทำอะไรเกินวัย เข้าถึงธรรมะเร็วไป

สำหรับฉัน มีคำตอบอยู่ ไม่กี่อย่างที่ทำให้เข้าถึงธรรมะเช่นนี้

หนึ่ง ที่ชีวิตฉันเปลี่ยนแปลงได้เพราะธรรมะ ตอนที่ปฏิบัติวิปัสสนา ๑๐ วันที่ของท่านโกเอ็นก้า เพราะอยากพักงาน อยากหนีอารมณ์สูญเสียคนรัก จึงเข้าหาธรรมะเป็นที่พึ่ง ให้ยึดเหนี่ยวจิตใจ และตอนนั้นก็ไม่ได้คิดว่าต้องปฏิบัติ หรือศึกษาธรรมะให้ลึก คิดแต่เพียงว่าจะไปปฏิบัติวิปัสสนา ๑๐ วัน ไปพักใจก็เพียงพอ

สอง เมื่อพบกับธรรมะและแนวการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การพ้นทุกข์ที่แท้จริงแล้วเน้น ก็ทำให้จิตใจโน้มเอียงเข้าหาธรรมะและเห็นคุณค่าของการเกิดเป็นคนมากขึ้น จากที่เคยเที่ยวผับทุกอาทิตย์ ดื่มเหล้าบ่อยๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป ช่วงนั้นไม่มีใครบอกว่าควรทำตนอย่างไร การเข้าถึงธรรมะคือการเข้าถึงความเป็นธรรมดาของชีวิต หลายคนมักยกตนมาอวดอ้างว่าสนใจธรรมะแต่ไม่ได้จริงจังต่อการปฏิบัติ แต่บางคนก็เฉยๆ แล้วปฏิบัติเงียบๆ ไปเรื่อยๆ ดังนั้น ฉันคิดว่าหากอยากพบกับสุขที่แท้จริงหรือสภาวะธรรมะที่สูงขึ้นนั้น จำเป็นต้องเดินตามทางสายนี้ ทางสายเอก ทางแห่งมรรค และสติปัฏฐานสี่

สาม เมื่อเกิดมาเป็นคน หากเราเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม และการเวียนว่ายตายเกิดในสงสารวัฎแล้ว จะพบว่าการได้เกิดมาเป็นคน เป็นมนุษย์นั้น ยากลำบากเพียงใด การที่เราไม่ได้เกิดเป็นเดรัจฉานหรืออบายภูมินั้นย่อมทำให้เราสามารถเข้าถึงธรรมะ เข้าถึงการนำตัวเองไปสู่การหลุดพ้นซึ่งการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่จบไม่สิ้น ที่สำคัญ มีใครบ้างที่จะรู้ว่าตัวเองจะตาย สิ้นลมหายใจตอนไหน ไม่รู้หรอก บางคนเห็นเช้าตายเย็น เห็นสายตายบ่าย เห็นตอนเย็นตายตอนเช้า ก็มีแตกต่างกันไป ฉะนั้นแล้วเมื่อเรายังมีลมหายใจ เป็นคน ที่มีสติปัญญา มีประสาทการรับรู้ จึงน่าจะเป็นโอกาสที่เหมาะที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงความหลุดพ้นอย่างแท้จริง นี่คือความไม่ธรรมดา ความหมายและคุณค่าที่เราได้เป็นคน ได้เกิดมาทันคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ทำไมเราจึงไม่ใช่ประโยชน์จากการเป็นคน เข้าถึงธรรมให้มากที่สุด

สี่ การเข้าถึงธรรมให้มากของฉัน ไม่ได้หมายเพียงแค่การอ่านหนังสือธรรมะได้หลายๆ เล่ม หากแต่หมายถึงการดำเนินชีวิตทั้งการให้ทาน การดำรงศีล และการภาวนา คือการพยายามที่จะปฏิบัติธรรม ให้เกิดปัญญา ในความหมายของมรรคองค์ ๘ คือ มรรคสุดท้าย “ภาวนามยปัญญา” การเจริญสติเพื่อให้เกิดปัญญานั้นย่อมทำให้เรารู้ทันหลายสิ่งหลายอย่างที่กระทบเข้ามากับตัวเอง คนที่มีธรรมะในใจย่อมไม่จำเป็นต้องทำตัวเคร่งเสมอไป บางคนอาจจะเคร่ง และบางคน ซึ่งรวมถึงฉันด้วยก็เคร่ง แต่เราก็ยังใช้ชีวิตตามปกติของวัยรุ่นทั่วไป เพื่อให้เข้ากับสังคมเพื่อนๆ ที่อยู่ ที่คบหากัน

อย่างไรก็ตามฉันคิดว่าการที่ตัวเองไปมาพบกับธรรมและเข้าถึงได้ เพราะหลายสิ่งหลายอย่าง มีปัจจัยทั้งด้านในของตัวเอง และด้านนอกคือ ญาติธรรมที่เป็นกัลยาณมิตรคอยช่วย ตักเตือน แนะนำ สนทนา อยู่สม่ำเสมอ และที่สำคัญ ญาติธรรมที่เป็นวัยรุ่นอย่างเรา ก็มีอยู่ไม่น้อยทีเดียว ฉะนี้ฉันจึงมั่นใจว่าหนทางที่เราเดินมีคนเดินร่วมทางกับเรามากมาย และมีคนที่เข้าถึงธรรมและพบกับหนทางสูงสุดให้เราได้เห็นมาแล้วหลายต่อหลายท่าน

ความปรารถนาที่จะพ้นทุกข์คือความปรารถนาของจิตนี้ ฉันหวังว่าการเข้าถึงธรรมะและการเดินทางไปปฏิบัติเจริญสติที่วัดสุคะโตจะเป็นเข็มทิศนำทางใจของฉันให้พบกับปัญญาจากด้านในของตน....

 

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อได้ยิน...... “ทำไมคุณโง่แบบนี้” “งานชุ่ยๆ แบบนี้เหรอที่ทำเต็มที่แล้ว” “มีหัวไว้ใส่หมวกเปล่าๆ” สารพัดมากมาย คำด่าทอที่เรามักไม่ชอบ – ในที่นี้ก็มีผมอยู่ด้วยแหละครับ เวลาที่มีใครมาต่อว่า มานินทาในทางร้ายๆ แล้วมักจะต้องเดือดร้อนเป็นฝืนเป็นไฟอยู่เสมอ อืม...คิดในใจ นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราไม่ใช่คนอย่างที่เขาว่านะ..... ขณะที่คำชม อาทิ “คุณทำงานเก่งจัง” “ทำได้แค่นี้ สุดยอดเลยทีเดียว ยอดเยี่ยมมากๆ๐ “คิดได้แค่นี้ ก็เจ๋งเลย” คำพูดชื่นชม เยินยอในทางบวกเหล่านี้ หลายคนไม่ปฏิเสธ หรือไม่ได้มีท่าทีต่อต้านเหมือนคำพูดร้ายๆ หรือลบๆ แต่กลับมองว่าใช่ๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง... ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา จดหมายฉบับก่อน พี่เล่าเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนหนึ่ง และยังติดใจในสาส์นของท่านดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ชาวธิเบตอยู่ ... เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ่ง พี่อยากจะให้น้องและเพื่อน คนรู้จักหลายๆ คนได้อ่านมันอย่างพิจารณาหลายๆ ครั้ง หลายข้อของสาส์นฉบับนี้ เป็นความรักที่มีต่อตนเอง รักตนเอง แบบที่ไม่ได้ตามใจตนเอง ไม่ตามใจในสิ่งที่บำรุงบำเรอให้ตนเองให้ได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ โดยเฉพาะข้อแรกเป็นสิ่งที่ท่านลามะผู้ยิ่งใหญ่ได้ตักเตือนคนสมัยใหม่ได้อย่างเฉียบคม (ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอันมหาศาลดุจกัน)…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ได้รับจดหมายที่ส่งต่อๆ กันมา (Forward mail) ฉบับด้านล่างนี้ เป็นครั้งที่เท่าไรไม่รู้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (เพราะนี่เข้าเดือนที่ 6ของปีแล้ว...)“สาส์นจากท่าน Dalai Lama ที่ได้กล่าวไว้สำหรับปี 2008 นี้ แล้ว…คุณจะได้พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่คุณจะยินดีมากข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ชอบจดหมายรักฉบับนี้มาก เมื่ออ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความรักที่สดใส และความเป็นคน “ธรรมดา” ของน้องที่ผ่านมา พี่ออกจะห่วงใยอยู่ลึกๆ ว่าน้องจะรีบโตมากไปหรือเปล่า รีบที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต รีบมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากไปไหม...จนอาจจะทำให้พลาดความสดใส ความรัก หรือสิ่งต่างๆ ที่เราน่าจะได้เรียนรู้ และเดินผ่านมันมาด้วยความสง่างาม หรือเจ็บปวดไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้พี่ก็ผ่านช่วงเวลา “หวาน” “ขมๆ” ของชีวิตมาบ้าง เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป ที่มักจะมีความรักที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป พี่มักเลือกที่จะจดจำสิ่งที่ดี …
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่าเพิ่งตกใจนะครับพี่ที่ผมจะขอระบายเรื่องรัก ให้พี่รับรู้.....
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาอายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่าคุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรุ่นพี่คนหนึ่งมาหาผมที่บ้าน เราสองคนไม่ได้เจอกันมานานหลายปี พอมาเจอกันอีกหนจึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้พบเจอกัน รุ่นพี่คนนี้ชื่อ “นนท์” พี่นนท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยสอนผมเต้นเชียลีดเดอร์ เมื่อตอนเรียนมัธยมต้น อายุของพี่นนท์ห่างจากผม 2 ปี พี่นนท์เป็นคนต่างหมู่บ้าน แต่เราอยู่ในตำบลเดียวกัน ผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่นนท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการพูด ท่าที การแสดงออก จากเมื่อก่อนที่ค่อนข้างกรี๊ดกร๊าด พูดไม่หยุด และชอบนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ มาคราวนี้พี่นนท์ไม่เหมือนเดิม คือ นิ่งขึ้น ท่าทีสุขุมเยือกเย็น ไม่ทำท่ารุกรี้รุกรนตอนคุยกันเหมือนเมื่อก่อน…
พันธกุมภา
มีนาถึง...ลูกปัดไข่มุกและพันธกุมภาความระลึกถึงวัยเยาว์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กสาวสดใสอย่างลูกปัดไข่มุก อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้องช่างมี “ทาง” ที่ดีเสียจริง น้องได้เติบโตจากครอบครัวที่หล่อหลอมสิ่งที่ดีงามให้ ทั้งการทำบุญ ทาน และเสริมให้สร้างบารมี ต้องขอบคุณแม่และพ่อที่ปูทางที่ดีให้กับลูก หากมีธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กสาวและคนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตอย่างมีรากเหง้า รู้คิด เพราะกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ใช่แค่ได้ “ความรู้” หากยังได้ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งความรู้สมัยใหม่ไม่มีความลึกซึ้งพอเมื่อเราปฏิบัติหรือยังไม่ปฏิบัติก็ตาม เรามักยึดติดกับตัวตน (Ego) และเราไม่ได้พยายามลดมัน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาผมได้อ่านเรื่องราวของ “ลูกปัดไข่มุก” แล้ว ขออนุโมทนากับน้องอย่างยิ่ง และยังรู้สึกยินดีกับสิ่งที่น้องได้กระทำลงไป และได้พบการหนทางที่จะนำพาความสุข สงบมาให้กับตนเอง เป็นการเรียนรู้จากตัวเอง มากกว่าการเรียนรู้จากคนอื่นๆ ที่เล่าให้ฟังสู่กันมาการได้ทำสมาธินั้นได้ช่วยให้น้องได้พบกับจิตที่สงบ และเป็นจิตที่นิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้จิตใจเริ่มปรับความละเอียดเพิ่มขึ้น สู่การเจริญสติในระดับต่างๆ ต่อไป....จะว่าไปแล้ว เดี๋ยวนี้ วัยรุ่นรุ่นเดียวกับเราๆ ก็หันมาสนใจเรื่องทางธรรมเยอะเหมือนกันนะ, ช่วงหนึ่งก็มีคนมาถามผมว่า วัยรุ่นสนใจธรรมะเพิ่มขึ้น เป็นกระแสที่ดีแบบนี้ คิดยังไง?…
พันธกุมภา
ลูกปัดไข่มุก ถึง พี่พันธกุมภา และ พี่มีนา....   “เส้นทางที่เรากำลังพยายามจะมุ่งไปอยู่นี้ มันคือหนทางแห่งความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงของเราจริงๆหรอ” ....นั่นคือความคิดที่ฉันคิดมาตลอด ฉันโชคดีที่ได้เกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในวันว่างๆ เรามักจะได้ไปวัดแทนการไปเที่ยวเสมอๆ ซึ่งด้วยความเป็นเด็ก ฉันจึงไม่คิดว่ามันดีนัก.....จะว่าไปฉันทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ เพราะถูกสั่งสอนมาให้ทำแบบนั้น ว่าถ้าทำบุญเยอะๆ จะได้ไปสวรรค์ ถ้าทำบาปก็จะตกนรก รวมถึงนิทานต่างๆที่แม่ได้เล่าให้ฟังมาตลอด ฉันจึงพูดได้เต็มปากว่า ฉันเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาจุดหมายปลายทาง การเดินทางธรรมของเธอครั้งนี้อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ที่...ซึ่งฉันไม่เคยไป หากหลายคนอยากไป ก็คงไม่ได้คิดถึงเรื่องการเดินทาง หากมักนึกถึงปลายทาง และในที่สุด...แม้รู้ว่าเธออาจจะเดินทางถึงวัดป่าสุคะโตแน่นอน เธอก็น่าจะเรียนรู้ระหว่างทางดังที่เธอเล่าให้เราฟังฉันเคยพูดถึงเรื่องความกลัวระหว่างการเดินทาง “ในความกลัว” มาก่อนแล้ว ด้านหนึ่งฉันนึกเสมอว่า คนธรรมดาทั่วไปอย่างฉัน ร่ำเรียนมาด้วยวิธีคิดแบบมีเป้าหมาย โดยไม่สนใจระหว่างทาง หรือกระบวนการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “ระหว่างทาง” เป็นสิ่งสำคัญมาก…