Skip to main content

"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี"

Fear of a Blank Planet 

วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก โดยเจือความเป็น Metal เข้าไปผสมได้อย่างกลมกลืน

อัลบั้มล่าสุดของพวกเขาคือ Fear of a Blank Planet ก็ยังคงรักษาความหลอนล่องลอย มืดมน เอาไว้ได้เหมือนเดิมโดยไม่ได้ถูกท่วงทำนองกีต้าร์หนัก ๆ ทำลายไป ซึ่งต้องขอบคุณมือคีย์บอร์ดอย่าง Richard Barbieri ผู้สร้างเสียงสังเคราะห์เป็นพื้นผิว (Texture) ของดนตรีได้อย่างเยี่ยมยอดและความหม่นครึมที่แทรกอยู่แทบทุกอณูของอัลบั้มนี้ ก็ช่างเหมาะเจาะไปกันได้กับคอนเซปต์เนื้อหาของมันเหลือเกิน

Steve Wilson มือกีต้าร์และนักร้องนำของวง เป็นผู้วางคอนเซปต์อัลบั้มนี้ เขาบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากอะไรหลาย ๆ อย่าง

อย่างแรกซึ่งเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในอัลบั้มนี้เลยคือเรื่องของการที่คนเราเมื่ออายุมากขึ้นเริ่มรู้สึกแปลกแยกกับเด็กในยุคปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าช่องว่างระหว่างวัยเป็นปกติธรรมดาซึ่งอาจจะมาพร้อมกับช่องว่างระหว่างยุคสมัย แต่ในปัจจุบันดูเหมือนว่าช่วงเปลี่ยนผ่านของ Generation มันหดสั้นลงกว่าเดิม จนอาจทำให้คนที่อายุมากกว่าอาจจะรู้สึกแปลกแยกแบบนี้กับเด็กอายุห่างกันสองสามปีได้เลยทีเดียว

แรงบันดาลใจที่สำคัญอีกอย่างซึ่งเจ้าตัวได้เปิดเผยออกมาเองคือนิยายเรื่อง Lunar Park ของ Bret Easton Ellis คนเดียวกับที่เขียนเรื่อง American Psycho (ซึ่งถูกทำเป็นภาพยนตร์ในเวลาต่อมา) สะท้อนภาพความเหลวไหลไร้สาระของ Yuppie อเมริกันชนยุค 80's ภายใต้เรื่องแนวเขย่าขวัญ

ขอโน๊ตไว้อีกว่าถ้าใครจำได้อัลบั้ม Weekend in the City ของวง Bloc Party เองก็ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายอีกเรื่องของ Bret Easton Ellis เช่นกัน คงเป็นธรรมดาที่หนังสือของนายคนนี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินหลายวง เพราะเนื้อเรื่อง จากนิยายของเขาเหมือนจะสามารถทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนของยุคสมัยแสนว่างเปล่าผ่านผันมาได้จนถึงยุคปัจจุบัน

Lunar Park เป็นนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของตัว Ellis เอง ซึ่งเรื่องในนิยายจะถูกเล่าจากมุมมองของตัวละครผู้เป็นพ่อ ที่มีชื่อว่า Ellis เหมือนกัน ขณะที่ในอัลบั้ม Fear of a Blank Planet จะเปลี่ยนมาเล่าจากมุมมองของ Robby ผู้เป็นลูกแทน เว้นแต่ในเพลง My Ashes เพลงเดียว ที่เล่าผ่านมุมมองของ Ellis

Fear of a Blank Planet จึงเป็นเหมือนบทบอกเล่าจากเด็กชาย Robby และก็เป็นเหมือนเรื่องราวจากสายตาของเหล่าวัยรุ่นผู้ "หวาดกลัวดาวเคราะห์อันแสนว่างเปล่า" ในขณะเดียวกัน

ความประทับใจของผมอย่างหนึ่งที่มีต่อวงนี้ คือการที่พวกเขาพยายามทำอัลบั้มที่มีคอนเซปต์โดยอาศัยมุมมองจากผู้อื่นนอกจากตัวพวกเขาเอง ซึ่งหลายเพลงทำได้ลึกซึ้งทีเดียว แน่นอนว่านี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่วง Porcupine Tree ทำคอนเซปต์แบบนี้ออกมา ในปี 2001 พวกเขาก็มีอัลบั้ม In Absentia ที่แทบทุกเพลง สื่อให้เห็นการมองโลกโดยใช้มุมมองของผู้คนที่ถูกสังคมเรียกว่า "ฆาตกรโรคจิต" ซึ่งไม่ได้เล่าอย่างตัดสินพิพากษาขณะเดียวกันก็ไม่ได้เชิดชู เว้นช่องว่างไว้ให้ผู้ฟังจะได้ตัดสินดีเลวด้วยตนเอง

แต่ขณะที่ In Absentia เป็นอัลบั้มที่หนักและสามารถสร้างความประทับใจได้เพียงแรกสดับ Fear of a Blank Planet กลับเป็นอัลบั้มที่ต้องยิ่งฟังมากครั้ง ถึงยิ่งรู้สึกถึงความลึกซึ้งของมัน อาจจะไม่ใช่เพราะเนื้อหาของมันอย่างเดียว (ซึ่งจะว่าไปเนื้อหาส่วนมากก็เป็นเชิงแสดงความรู้สึก ไม่ได้ตีความยากอะไร) แต่เป็นตัวดนตรีด้วยที่นักวิจารณ์บางคนถึงขั้นบอกว่า เจ้าพวกนี้พยายามจะทำ "Dark side of the Moon" (หนึ่งในอัลบั้มมาสเตอร์พีชของ Pink Floyd) แห่งสมัยปัจจุบันกาลขึ้นมา

เพลง Fear of a Blank Planet ที่เป็นไตเติ้ลแทรกเปิดอัลบั้มและเพลงยาวเหยียดอย่าง Anesthetize บอกเล่าชีวิต ความคิดอ่าน และความรู้สึกผ่านสายตาของวัยรุ่นผู้อยู่ในโลกแสนว่างเปล่า ไร้ความหมาย ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยสิ่งที่กระตุ้นเร้าต่างๆ นานา แต่เนื้อเพลงมันก็ไม่ได้ชวนให้จมกับความเศร้าอะไร ในบางช่วงมันฟังดูฮาดีด้วยซ้ำ (เป็นตลกร้ายที่บางคนอาจจะไม่ฮาด้วยก็เป็นได้)

I'm stoned in the mall again
Terminally bored
Shuffling around the stores
And shoplifting is getting so last year's thing

Xbox is a god to me
A finger on the switch
My mother is a bitch
My father gave up ever trying to talk to me

ฉันมึนงงอยู่ในห้างอีกแล้ว
เกิดเบื่อขึ้นมาเฉย ๆ
เลยหมุนผลัดไปตามร้านค้า
แล้วก็ฉกเอาไอ่ของที่ออกเมื่อปีที่แล้วมา

เอ็กบอกซ์เป็นพระเจ้าสำหรับฉันเลย
จิ้มนิ้วลงไปบนปุ่มสิ
แม่ฉันมันก็แค่นังตัวดี
พ่อฉันเลิกพยายามที่จะพูดกับฉันไปนานแล้ว

- Fear of a Blank Planet -

Fear of a Blank Planet เป็นเพลงจังหวะเร็ว มีการร้องแบบรีบเร่ง ขณะเดียวกันก็มีการสับจังหวะในบางจุด ซึ่งตรงนี้ช่วยขับความรู้สึกจากเนื้อเพลงที่พูดโลกที่ฉาบฉวย พร้อมจะทิ้งอะไรไปได้ทุกวินาทีออกมาได้เป็นอย่างดี ขณะที่เพลง Anesthetize ได้ Alex Lifeson (วง Rush) มาโซโล่กีต้าร์ โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่าเพลงนี้มันยาวเกินความจำเป็นไปนิด ขณะที่ดนตรีในบางส่วนฟังดูซ้ำๆ ซากๆ แต่ถ้ามองในอีกแง่ ดนตรีซ้ำๆ ซากๆ มันช่วยสร้างความรู้สึกร่วมกับเนื้อเพลงที่พูดถึงชีวิตอันไร้ความหมายวนเวียนไปไม่รู้จบ ก่อนดนตรีจะคลี่คลายในช่วงท้ายเหมือนพบทางออก ...แต่ขณะเดียวกันก็ยังไม่แน่ใจว่านั่นเป็นทางออกที่แท้จริงหรือเปล่า

The water so warm that day
I was counting out the waves
And I followed their short life
As they broke on the shoreline
I could see you
But I couldn't hear you

ในวันนั้นห้วงน้ำช่างแสนอุ่น
ฉันกำลังนั่งนับกระแสคลื่น
และได้ลอยตามชีวิตอันแสนสั้นของมันไป
เช่นเดียวกับที่มันได้แตกซัดตามแนวหาด
ฉันเห็นคุณ
แต่ไม่ได้ยินคุณ

-  Anesthetize (ช่วงสุดท้าย)

Porcupine Tree

ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี

นอกจากนั้นอัลบั้มนี้ก็ไม่ได้สื่อแต่ด้านความว่างเปล่าของโลกจากสายตาวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว เพลงอย่าง Sentimental ก็เปลี่ยนอารมณ์กลับมาสู่การครุ่นคิดและทบทวนความรู้สึก ซึ่งถึงมันจะเป็นการทบทวนที่ไม่ลึกซึ้งมาก แต่ก็ทำให้เห็นแง่มุมใหม่ๆ ที่น่าจะทำให้เข้าใจความรู้สึกกันมากขึ้น เมื่อพวกเขาบอกว่าสับสนกับวัยและยุคสมัย ขณะเดียวกันก็ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่มากไปกว่านี้ เสียงคอร์ดของเปียโนที่เล่นคลอในเพลงช้าๆ เพลงนี้ ทำให้บรรยากาศความหม่นมีความละมุนเจืออยู่บางๆ

I never want to be old
And I don't want dependants
It's no fun to be told
That you can't blame your parents anymore

ฉันไม่อยากจะเป็นผู้ใหญ่ไปกว่านี้
และขณะเดียวกันก็ไม่อยากเป็นภาระใคร
มันไม่สนุกเลยที่จะมีคนมาบอก
ว่าจะไม่สามารถโทษพ่อโทษแม่ได้เช่นเดิมอีกแล้ว

- Sentimental -

เพลงที่ใช้เสียงเปียโนได้อย่างเข้าท่าอีกเพลงหนึ่งคือ My Ashes ที่เป็นบัลลาดพลิ้วๆ และประดับด้วยเสียงเครื่องสายออเครสตร้าอย่างงดงาม เนิ้อเพลงเป็นมุมมองของตัวละครผู้เป็นพ่อ ที่แม้ตายไปแล้วเถ้าถ่านของตัวเองก็ยังคงตามดูความเป็นไปต่างๆ อยู่ ซึ่งเพลงนี้นับว่าใช้ภาษาได้สวยมาก

And my ashes drift beneath the silver sky
Where a boy rides on a bike and never smiles
And my ashes fall over all the things we've said
On a box of photographs under the bed

- My Ashes

บรรเลงมาจนถึงบทเพลงโกรธเศร้าอย่าง Way out of here ที่ได้ Robert Fripp แห่งวง King Crimson มาช่วยสร้าง Soundscapes เนื้อเพลงพูดถึงการหาทางออกท่ามกลางโลกที่ว่างเปล่า หลายต่อหลายคนพากันบอกว่าเพลงนี้พูดถึงการฆ่าตัวตาย ซึ่งถ่ายทอดผ่านไปถึงเพลงสุดท้ายคือ Sleep Together ที่ดนตรีออกเป็นอิเล็กโทรนิคแอมเบี้ยนเวิ้งๆ ชวนให้นึกถึงนักบินอวกาศที่กำลังเข้าสู่สภาวะจำศีล (Hibernation) ขณะที่กำลังเดินทาง (หนี) ออกจากโลกนี้ไป

I can't take the staring
And the sympathy
And I don't like the questions,
"How do you feel?
How's it going in school?
Do you want to talk about it?"

ฉันทนไม่ได้กับการถูกจ้องมอง
กับการที่คนอื่นเห็นอกเห็นใจ
แล้วฉันก็ไม่ชอบคำถามจำพวก
"รู้สึกยังไงบ้าง
เจออะไรที่โรงเรียนมาบ้าง
ต้องการพูดถึงมันไหม"

- Way Out of Here -

ชื่อเพลง Sleep Together ถ้าเป็นในบ้านเรามันคงต้องมีใครออกมาบอกว่าสองแง่สามง่ามสิบเ-ยน อะไรก็ว่าไป แต่ตามความเห็นของผู้ฟังส่วนใหญ่แล้ว กลับบอกว่ามันพูดถึงการฆ่าตัวตายที่ถ่ายทอดต่อมาจาก Way Out of Here อีกทีหนึ่งต่างหาก มีบางส่วนเท่านั้นที่บอกว่ามันพูดถึงเรื่องการมีเซ็กส์เพื่อหนีโลกความจริง และอีกส่วนก็ตีความว่ามันไม่ได้มีนัยแฝงอะไร ก็แค่พูดถึงการนอนหลับกันธรรมดาๆ เพื่อหนีเข้าไปในโลกความฝันนั่นแหละ

ความเห็นที่แตกต่างหลากหลายนี้แหละคือเสน่ห์ของศิลปะ! น่าเศร้าที่ในบ้านเรายังคงมัวเอาแต่เป็นห่วงสถาบันนั่นนู่นนี้โน่น แล้วสั่งตรวจสอบ สั่งเก็บ สั่งแบน สั่งเซ็นเซอร์ หรือใช้วิธีใดๆ ก็ตามที่จะกำจัด สิ่งที่พวก "ท่าน" ไม่พึงปรารถนา ด้วยข้ออ้างเดิมๆ เรื่องสร้างความแตกแยกบ้าง พูดถึงแต่ในด้านร้ายๆ บ้าง (สันดานนกกระจอกเทศจริงๆ) ฯลฯ แทนที่จะทำให้คนในสังคมได้ทำความเข้าใจมัน ได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมหรือปฏิเสธมันโดยไม่กระทบกับคนที่เห็นต่าง

ตราบใดที่ท่านทั้งหลายยังคงเห็นว่าคนในสังคมเป็นแค่ "เด็กโง่" ที่ต้องฟูมฟักแบบไข่ในหิน  คอยปิดบัง (สิ่งที่พวกท่านคิดว่าเป็น) ความเลวร้ายทั้งหลาย จนเมื่อความจริงกระแทกโครมเข้ามา มันคงยิ่งกว่าเจ็บปวด ยังไม่นับว่าความคิดแบบนี้ของท่านทั้งหลาย มันจะนำไปสู่การทำให้ให้เด็กๆ ในวันพรุ่งนี้เผชิญกับความมืดมิดตามลำพัง โดยไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ (สิ่งที่พวกท่านคิดว่าเป็น) อันตรายร่วมกันเลยแม้แต่น้อย

ทางออกของเด็ก ๆ ที่นอกเหนือจากการ "นอนหลับ(หลับนอน)ร่วมกัน" (เพื่อหนีโลกออกไป) นั้น

มันถูกพวกท่านขวางกั้นอยู่นั่นแหละ !

 

(ชื่อเต็มๆ ของเอนทรีนี้ - Fear of a Blank Planet โลกจากสายตาหนุ่มสาว ผู้หวาดกลัวดาวเคราะห์อันแสนว่างเปล่า)

บล็อกของ Music

Music
     จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที  ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น…
Music
 ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้วสำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง…
Music
   In The Flesh?"Tell me is something eluding you sunshine?Is this not what you expected to see?If you'd like to find out what's behind these cold eyesYou'll just have to claw your way through this disguise"จากเพลง ‘In The Flesh?'ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้นบางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (…
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (…
Music
Theodor W. Adornoผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทบทวนแนวคิด ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม' : เมื่อวัฒนธรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างวัฒนธรรม" ของ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ จากวิภาษาฉบับที่ 7 แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องของนักคิด/นักวิจารณ์ ที่ชื่อ Theodor Adorno นี้ จากบทความชื่อ "อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม (Popular Music)" ในหนังสือชื่อ "เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป็อบ" ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะAdorno เป็นนักคิดสังคมนิยมชาวเยอรมัน ผู้นำเอาแนวคิดของทั้ง Max Waber, Marx และ แม้แต่ Sigmund Freud เข้ามาจับในงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของเขา…
Music
ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแลเพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์…
Music
"ถึงรู้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็ยากจะทำใจ"คำๆ นี้ใช้ได้ดีกับสถานการณ์ในช่วงวันที่ 19-21 ที่ผ่านมา กับการที่พวก Elite ทั้งหลายที่นั่งเออออห่อหมกกับร่างกฏหมายที่จะมีผลกับประชาชนทั้งประเทศ ดูตัวเลขก็รู้แล้วว่าพวกเขาเออออห่อหมกกันขนาดไหน ไม่โปร่งใสมากขนาดไหน และเผด็จการกันขนาดไหน!เป็นที่รู้กันว่า พวก Elite ทั้งหลายนี้มาจากการคัดเลือกแต่งตั้งกันเองของคนบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ได้กลิ่นคณาธิปไตยตุๆ แล้ว กระบวนการพิจารณากฏหมาย ที่พากันออกถี่ระรัว จนราวกับว่าพวกเขาไม่ได้คลอด กม.ลูกทั้งหลายอย่างมีสติ แต่เหมือนคนเมาสำรอกอาเจียนเอาทุกสิ่งทุกอย่างในใส้ในพุงออกมา!ใช่แล้ว!…
Music
นึกย้อนไปถึงวันที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยวันแรกๆ ชุดยูนิฟอร์มถูกระเบียบกับตำราเรียนเล่มใหญ่ๆ หอพักในมหาวิทยาลัยที่ทำให้พานพบกับผู้คนมากหน้าหลายตา ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างไปจากตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม คือความรู้สึกว่า ที่นี่ ฉันจะมีเสรีภาพมากขึ้น มีชีวิตที่หลากหลายกว่าเก่า และพื้นที่ทางความคิดที่จะปลดปล่อยฉันจากกรงขังอันแปลกแยกของโลกใบเดิมได้แต่แล้วก็ได้พบว่า สิ่งที่คาดหวังเอาไว้มันเป็นความจริงเพียงแค่บางส่วน นอกนั้นเป็นมายาภาพที่ฉันนึกฝันเอาเองใช่ๆ ฉันเคยถูกเสี้ยมสอนเช่นเดียวกับอีกหลายๆ คนว่าผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ สิ่งที่พวกเขามอบให้เราต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ…
Music
"ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว ทุกคนล้วนมีชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีชีวิตของใครที่มีค่ามากกว่าของใคร ท่านทั้งหลาย...ประโยคสุดท้ายในเพลง Imagine ของ จอห์น เลนนอน ไม่ได้มีความหมายแบบนี้หรอกหรือ"
Music
Magic เป็นชื่ออัลบั้มล่าสุดของ Bruce Springsteen (หรือที่เรียกกันว่า The Boss*) ในอัลบั้มนี้เขากลับมาร่วมงานกับวงแบ็คอัพที่ชื่อ E Street band อีกครั้ง ทำให้ทิศทางของอัลบั้มนี้เน้นไปที่แนวทางของร็อคอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มที่แล้วคือ Devils and Dust ออกเป็นงานแนวโฟล์คมากกว่าแต่ไม่ว่าจะเป็น Bruce Springsteen ในแบบของโฟล์คหรือ Bruce Springsteen ในแบบของร็อค ผมก็รู้สึกว่าดนตรีของ The Boss ผู้นี้ก็ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นอเมริกันอยู่เสมอมาซึ่งดนตรีในอัลบั้ม Magic นี้ไม่เพียงแค่กลิ่นของความเป็นอเมริกันที่ยังคงมีอยู่ถ้วนทั่วอย่างเดียวเท่านั้น แต่ละเพลงที่ถ่ายทอดออกมาจาก The Boss กับวง E…
Music
ในคืนวันที่ 10 ของเดือนที่แล้ว (ตุลาคม)...ผมนั่งหน้าจอคอมพ์ใจจดใจจ่ออยู่กับเว็บไซต์ http://www.inrainbows.com/ เพราะได้ข่าวว่าวง Radiohead จะประกาศขายเพลงแบบ Digital Download ผ่านทางเว็บไซต์นี้และที่ทำให้คนตื่นเต้นกันอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทางวง Radiohead ประกาศว่า จะสามารถสั่งซื้อในแบบที่ผู้ซื้อสามารถให้ราคาเองได้ตามใจชอบ ...ตามใจชอบในที่นี้หมายความว่า แม้แต่จะใส่เงินเป็น 0.00 (ซึ่งก็เหมือนขอโหลดมาฟรี ๆ นั่นแหละ) ก็สามารถทำได้ ! ซึ่งจะว่าไปเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น เพราะผมเคยเจอวงที่ชื่อว่า Craw เปิดเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อง่าย ๆ ว่า http://www.craw.com/…
Music
"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี" วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก…