Skip to main content

scorpions

Scorpions อัลบั้มล่าสุด Humanity - Hour I เป็นอัลบั้มที่วงแมงป่องได้กลับมาผยองเดชอีกครั้ง ซึ่งดนตรีในแบบของสกอร์เปี้ยนส์ยุคเก่าได้ผสานกับดนตรียุคใหม่อย่างกลมกลืน แม้จะมีเสียงกีต้าร์หนักแน่น มีพลัง แต่เมโลดี้สวยๆ ในแบบของ Scorpions ก็ยังคงไม่เสื่อมคลายไป และแน่นอนว่าเสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์ของ Klaus Meine ซึ่งอาจจะโรยไปบ้างตามอายุไข แต่ก็ยังคงมาตรฐานและความเป็น Klaus Meine ได้อย่างเต็มเปี่ยม

หากแฟนๆ ยุคเก่าของ Scorpions ได้มาฟังอัลบั้มนี้คงอาจจะทำให้ไพล่รู้สึกคิดถึงบรรดาบทเพลงสุดคลาสสิกของพวกเขาขึ้นมา ซึ่งเพลงเหล่านั้นถึงขั้นมีออกมาให้ร้องเป็นคาราโอเกะ ไม่ว่าจะเป็น Wind of Change, Always Somewhere, You and I, Holiday หรือแม้กระทั่ง Still Loving You

แต่ด้วยอะไรรอบตัวในตอนนี้ เพลงที่ผมนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ กลับเป็นเพลงเศร้าๆ อย่าง Send me an Angel, Under the same sun และ White Dove จะว่าเศร้า หดหู่ จนไร้ความหวังก็ไม่ใช่ จะว่ามีความหวังก็ไม่เชิงนัก แต่สิ่งที่บทเพลงเหล่านี้ขับขานออกมาได้เป็นอย่างดีคืออารมณ์ความรู้สึกร่วมทุกข์แบบที่ไม่สามารถทำอะไรกับมันได้ และจริงอยู่ความเห็นใจอย่างเดียวไม่อาจแก้ปัญหา แต่บทเพลงเหล่านี้ โดยเฉพาะเพลง White Dove ก็ได้เปรียบเหมือนตัวแทนบอกความรู้สึกของคนที่ได้แต่มองสถานการณ์อยู่ห่างๆ เช่นเดียวกับพวกเขา …เช่นเดียวกับผม

“And now you’re telling me
You’ve seen it all before
I know that’s right but still
It breaks my heart
Well, the golden lamb we’ve sent
Makes us feel better now
But you know it’s just a drop
In a sea of tears”

“และตอนนี้คุณก็บอกฉันว่า
คุณได้เห็นมันมาหมดแล้ว
ฉันรู้คุณพูดถูกแต่ว่า
มันยังคงทำให้ฉันเจ็บปวดอยู่ดี
แกะทองคำที่เราส่งไป
ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นในตอนนี้
แต่คุณก็รู้สุดท้ายมันเป็นได้เพียงแค่
หยดหนึ่งในทะเลแห่งน้ำตา”

- White Dove -

ท่อนนี้ของเพลง White Dove (พิราบขาว) สะเทือนใจผมมาตั้งแต่ตอนที่ผมยังอยู่ในสมัยเรียนมัธยม ในตอนนั้นจะยังคงไม่อาจตีความอะไรจากเพลงนี้ได้ เพราะผมยังเป็นเด็กโง่ ยังไม่รู้ว่าการต่อสู้ของประชาชนเพื่อเสรีภาพในหลายๆ ประเทศมันมีราคามากกว่าการเสี่ยงชีวิตจากกระสุนปืนของทรราชย์ มันทำให้เกิดผู้ลี้ภัย เกิดความรู้สึกไม่มั่นคง การขอความช่วยเหลือที่ยากจะมาถึง ฯลฯ และแกะทองคำ ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้ความสงบสุขกลับมาได้จริงๆ

Klaus Meine เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ตัวเขาเองก็อยากจะทำเพลง ให้คนที่ได้ฟังเพลงของเขามีความหวัง เด็กหนุ่มสาวในประเทศที่ยังคงมีสงครามกลางเมืองบอกว่า พวกเขาที่มีไฟฟ้าใช้แค่วันละชั่วโมง ได้มีโอกาสฟังเพลงของ Scorpions แล้วรู้สึกมีกำลังใจ

จึงไม่แปลก ที่หลายเพลงของวง Scorpions จึงกล่าวถึงเด็กและคนรุ่นต่อไปอย่างเปี่ยมไปด้วยความหวัง แม้บางเพลงอย่าง Moment of Glory จะดูเป็นความหวังที่ดูยิ่งใหญ่เกินไปก็ตาม

ในอัลบั้มล่าสุด Humanity - Hour I นี้ก็มี Desmond Child หนึ่งในโปรดิวเซอร์มาช่วยคิดคอนเซปต์ให้ ซึ่งดูเหมือนว่ากาลเวลาที่ผันผ่านคงเริ่มทำให้พวกเขาสิ้นศรัทธาในอะไรบางอย่าง อาจจะเป็นเพราะว่าบทเพลงที่พวกเขาทำออกมา ให้กำลังใจแก่ผู้คนได้ก็จริง แต่ผู้คนในมุมต่างๆ ของโลกยังคงต้องประสบกับความเลวร้ายเดิมๆ ไม่ได้เปลี่ยนไปเท่าไหร่เลย ในอัลบั้มนี้ พวกเขาจึงเริ่มหันมาพูดถึง “การล่มสลายของมนุษย์ชาติ”

เปิดมาด้วยเพลงที่ค่อนข้างหนักแน่นดุดันอย่าง Hour I ที่เนื้อหาพูดถึงการที่เครื่องจักรหันกลับมาทำลายมนุษย์ ซึ่งฟังดูออกจะเป็นเนื้อหาแนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่ Cliche ไปหน่อย ในตัวเพลงนี้ก็ได้พูดถึงเด็กเอาไว้เหมือนกัน แต่ในคราวนี้ Scorpions ไม่ได้พูดถึงเด็กในมุมมองเดิมของพวกเขา พวกเขาไม่ได้ให้กำลังใจ ปลอบขวัญ หรือตั้งความหวังกับเด็กๆ อีกแล้ว

แต่ Hour I บอกให้เด็ก ๆ ทั้งหลาย … รีบๆ หาที่ซุกหัวเอาตัวรอดซะ !!

“So here we are
It’s hour one
And it’s a nightmare
There’s nothing left
And yet it’s good to be alive
There’s no use crying
Cause the universe is not fair
The wicked and the innocent
Are fighting to survive”

- Hour I -

จริง ๆ แล้วเพลงนี้อาจจะตีความไปได้หลายแง่นอกจากจะอิงคอนเซปต์เดิมของเพลง ฉะนั้น The Wicked (ผู้ร้าย) ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงหุ่นแอนดรอยด์เพียงอย่างเดียว แต่เราอาจจะตีความมันเป็น ‘นายพลเหลิงอำนาจผู้เหี้ยมโหด’ บางคนก็ได้
เพลงของ Scorpions โดยเฉพาะในอัลบั้มนี้ ไม่ได้มีแต่ Hour I เท่านั้นที่สามารถตีความไปได้หลายแง่

เพลงหลายเพลงมันอาจจะฟังดูเป็นเพลงรักก็ได้ หรือเป็นเพลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในแบบอื่นก็ได้ You และ I ในแต่ละเพลงจึงอาจจะเป็นมิตรสหาย เพื่อนร่วมชาติ หรือแม้แต่เพื่อนร่วมโลก

และแน่นอนว่า มีบ้างที่ “ฉันและเธอ” ในบางเพลงได้แสดงความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน และไม่ว่าความขัดแย้งนั้นมันลึกล้ำฝังรากมาขนาดไหนก็ตาม หากเรายังคงยึดติดอยู่ในสิ่งที่ตนเชื่อโดยไม่ยอมทำความเข้าใจกับสิ่งอื่นที่ (เราเชื่อว่า) เป็นฝ่ายตรงข้ามกับเราเลยนั้น เราก็อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือประหัตประหารคนด้วยกัน เช่นเดียวเหตุการณ์บางอย่างในอดีต แม้มันจะถูกอะไรบางอย่างแอบบิดเบือนไปในทางประวัติศาสตร์ แต่ภาพความโหดร้ายนั่น มันไม่ควรจะเป็นสิ่งที่ “มนุษย์” กระทำต่อกันเลย

“You were once a friend to me
Now you are my enemy
Passion turns to hate and you make
Hate worth fighting for
I will re-write history
And you will not exist to me
On the day you crossed the line
I found out love is war”

- Love is War -

เมโลดี้ของ Scorpions ในอัลบั้มนี้หวานหอมน้อยลง เนื้อเพลงบางเพลงยังคงอารมณ์หวานซึ้งอยู่บ้าง เพียงแต่ผมคิดไปเองหรือเปล่าว่า เหมือนพวกเขาพูดถึงมันได้ไม่เต็มปาก เพลงอย่าง Love will keep us alive (ซึ่งเหมือนของวง Eagles แค่ชื่อ) ฟังดูเฉยๆ ชาๆ The Future never dies หรือ We were born to fly อาจฟังดูมีพลังขึ้นมาหน่อย แต่มันก็ไม่อาจทำให้รู้สึกตามสิ่งที่มันสื่อได้มากนัก

ขณะที่ เพลงอย่าง Love is War , Your Last Song และ The Cross ซึ่งพูดถึงความขัดแย้ง ฟังดูหนักแน่นในอารมณ์มากกว่า อาจจะเป็นเพราะตัวดนตรี ที่ทางวง Scorpions เองยังสรรอารมณ์ของทั้งอัลบั้มได้ยังไม่ลงตัวนัก หรืออาจจะเป็นเพราะโลกในตอนนี้ก็ได้ ที่ผลักให้บรรยากาศของเพลงมันเป็นไปตามสิ่งที่พวกเขาเชื่อ ในสิ่งที่พวกเขารู้สึกจริงๆ

“How dare you use my shame
To play your wicked games
With the mask you’re wearing
And now you gotta make amends
For the demons in my head
I’ll nail you to the cross
The cross I’m bearing”

- The Cross -

แม้จะไม่ใช่อัลบั้มที่สมบูรณ์หมดจด แต่ Humanity - Hour I ก็ทำให้ขาร็อคแฟนเพลงวง “แมงป่องผยองเดช” ยุคก่อนๆ ออกมาชูฮกว่าแมงป่องได้กลับมาผยองเดชอีกครั้งจริงๆ แล้ว

ในขณะเดียวกัน สำหรับบางคน (รวมถึงผมเอง) แล้ว อาจรู้สึกได้ว่า Scorpions ในบางด้านได้จืดจางหายไx

เป็นไปได้ว่า…เพราะยังคงคิดถึงเพลงที่พูดถึงแสงสว่างในดินแดนที่มืดมน
เพราะยังคงมีความถวิลหา “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง” ครั้งเก่าก่อน แม้สายลมนั้นจะไม่ได้ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ทุกคนฝันกันไว้จริงๆ ก็ตาม

หรือเพราะ…ยังคงปรารถนาที่จะได้เห็น (หรือได้ยิน) ว่า “พิราบขาว” สัญลักษณ์ของสันติและเสรี จะบินพาดผ่านนำความหวังกลับมา

ซึ่งมันคงเป็นไปไม่ได้…ที่จะหา “พิราบขาว” พบใน Humanity - Hour I

“Run and hide there’s fire in the sky
Stay inside
The water’s gonna rise and pull you under
In your eyes I’m staring at the end of time
Nothing can change us
No one can save us from ourselves”

- Humanity -

เพราะแม้แต่ในเพลงสุดท้ายคือ Humanity ที่เป็นเหมือนบทสรุปของเนื้อหาทั้งหมด ก็ยังคงไม่วายพูดถึงความพินาศย่อยยับ และย้ำเตือนว่า ถ้าหากมนุษย์ยังไม่ได้เปลี่ยนตัวเองจากข้างใน อะไรก็คงมาเปลี่ยนไม่ได้

ช่างเป็นบทสรุปที่ฟังดูสิ้นหวังเหลือเกิน

บล็อกของ Music

Music
ภฤศ ปฐมทัศน์ ผมได้ยินข่าวเรื่อง "จังหวะแผ่นดิน World Musiq & World Bar B Q" วันเดียวก่อนวันงานนั่นเอง ได้ยินคุณทอดด์ ทองดี พูดผ่านวิทยุว่าจะมีศิลปินจากหลายประเทศทั่วโลกมาเข้าร่วม และมีการแสดงร่วมกันของเพื่อแสดงให้เห็นว่าดนตรีมันไร้พรมแดน ผมเองเข้าใจความรู้สึกของคนที่พูดอะไรที่เป็นอุดมคติครับ และรู้สึกที่สิ่งที่คุณทอดด์แกพูดแกไม่ได้ตอแหล (แบบพวกอ้างศีลธรรม) ผมรู้สึกได้จากน้ำเสียงและการไหว้วอนขอให้ภาครัฐและกระทรวงวัฒนธรรมหันมาสนใจ ทำให้รู้สึกว่าแกมีความตั้งใจตรงนี้จริง ๆ แต่ว่าอุดมคติที่สวยงามบางทีมันเป็นแค่สิ่งที่ฉาบเคลือบอะไรที่ยังแหว่งโหว่อยู่ภายใน…
Music
    ขึ้นหัวไว้ไม่ได้หมายความว่าตัวผมเองกำลังหลบหน้าหลบตาไปอยู่ที่อยุธยาแต่อย่างใด ช่วงที่หายไปเพราะจำต้องไปปฏิบัติภารกิจทั้งส่วนตัวและไม่ส่วนตัว พอได้จังหวะแล้วจึงเข้ามาเขียนงานที่ห่างหายไปนานอีกครั้ง หลายคนคงนึกได้แล้วว่าหมายถึงผลงานใหม่ของมาโนช พุฒตาล ซึ่งผมได้ซีดีผลงานล่าสุดของเขา ทั้งสองชิ้นมาพร้อมกันมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งมีโอกาสได้ฟังเมื่อไม่นานมานี้เอง สิ่งที่ผมหวังจากชื่อมาโนช พุฒตาลคือตัวงานดนตรีหลังจากที่เขาห่างหายจากการออกอัลบั้มเพลงไปพักนึง ("ชีวิตที่เจ็บปวดของคนป่วย" เหมือนออกมาให้หวังอะไรบางอย่างเล่น ๆ แล้วก็หายไป)…
Music
ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้นในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้งจริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา…
Music
  นิยายวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องเล่าอิงจินตนาการพร้อมกับความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีแบ่งนิยายวิทยาศาสตร์ออกไว้เป็นสามยุคใหญ่ ๆ คือ ‘ยุคคลาสสิก' ที่มักพูดถึงอนาคตภายใต้อวกาศกว้างใหญ่ไพศาล มองอนาคตอย่างก้าวหน้าและอิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งความเจ็บปวดหลังยุคอุตสาหกรรมที่ยังมีการกดขี่กันของมนุษย์ทำให้ ‘ยุคที่สอง' ของนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มมีท่าทีวิพากษ์สังคมเข้ามาปะปน บางเรื่องก็มีประเด็นทางสังคม อย่างการเหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติ บ้างก็มีจินตนาการของรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จที่อาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ มาจนถึง ‘คลื่นลูกที่สาม' ก็มองโลกในแง่ร้ายอย่างสุดกู่ จินตนาการก้าวหน้า ล้ำสมัย…
Music
 "The disgraced values of the company manAre why you fight and sacrificeDon't bend or break for their one-way rulesOr run from battles you know you'll lose""คุณค่าของคนทำงานที่ถูกลดทอนคือเหตุผลที่คุณเสียสละ ต่อสู้ และวิงวอนคุณไม่อาจฝ่าฝืนกฏเหล็กของพวกเขาได้หรือแม้จะทั่งจะหนีจากการดิ้นรนที่คุณรู้ว่าจะแพ้โดยไม่อาจทำอะไร"- Tomorrow's IndustryDropkick Murphys เป็นวงพังค์ร็อคที่มาจากการรวมตัวของชาวไอริชที่อพยพมาอาศัยในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐฯ มีผลงานที่พอให้คนต่างแดนได้รู้จักบ้างคือเพลงประกอบภาพยนตร์ The Departed ที่ชื่อ "I'm Shipping Up to Boston"…
Music
การยึดติดในสถาบันหรือรางวัลว่าเป็นตัววัดความเก่งกาจของศิลปินดูเป็นเรื่องหน้าขำอย่างหนึ่งในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความหลากหลาย คิด ๆ ดูว่าแนวดนตรีในโลกนี้ถ้านับรวม Sub-Genre ทั้งหลายเข้าไปด้วยแล้วก็มีมากจนนับแทบไม่ไหว แต่รางวัลจากสถาบันทั้งหลายมันแบ่งง่าย ๆ แค่ ป็อบ ร็อค อาร์แอนด์บี ซึ่งไม่อาจตอบรับกับความหลากหลายได้ และพาลจะทำให้เป็นการขีดเส้นขั้น ผูกขาดรูปแบบบางอย่างไว้ก็ได้ว่า "เสียงดี" ต้องเป็นเสียงแบบนี้ การเรียบเรียงที่ดีต้องเป็นแบบนี้ ๆ ฯลฯ ผมถึงคิดว่า เราควรจะไม่ไปยึดติดอะไรมากกับรางวัลที่มาจากการตัดสินของคนไม่กี่คนบนหิ้งเรื่องศิลปะที่มาจากการผูกขาดรสนิยมมันชวนให้รู้สึกย่ำแย่ฉันใด…
Music
อะไรๆ ในโลกนี้มันน่าสนใจไปหมดแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีแต่ผู้คนหันไปมอง หันไปพูดถึง เก็บมาเล่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง ช่วยผลิตซ้ำ และแม้กระทั่งสร้างคู่ตรงข้ามให้กับคนที่ไม่รู้ และ/หรือ ไม่อยากรู้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก ๆ โคตร ๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือสิ่งที่อยู่ในซอกหลืบไม่ค่อยมีคนสนใจ มันดูเหมือนการได้ค้นพบอะไรบางอย่างที่อาจจะทำให้เราอัศจรรย์ใจหรือทำให้ผิดหวังก็ได้ เพียงแต่ในทุกวันนี้ไอ้สิ่งที่อยู่ในซอกหลืบจริงๆ มันหายากขึ้นทุกที ในวงการเพลงอินดี้อะไรทั้งหลายก็มีชื่อวงทั้งต่างประเทศและในประเทศผุดผาดขึ้นมาให้จำกันไม่ทัน และพอลองเจียดเวลา (อันน้อยนิด) จากการทำมาหากินมาลองฟัง…
Music
รูป Ad จาก http://www.electthedead.co.uk/วง System of a Down เป็นวงดนตรีอเมริกันที่สมาชิกทั้ง 4 คนล้วนเป็นชาวอาร์เมเนียน ดนตรีของพวกเขา บางคนก็เรียกว่าเป็นอัลเตอร์เนทีฟ บ้างก็ว่าเป็นนูเมทัล บ้างก็พยายามจำกัดความง่ายๆ ว่าเป็นฮาร์ดร็อค แต่ถ้าให้เรียกแบบกินความหมายครอบคลุมที่สุดล่ะก็ คงต้องบอกว่าพวกเขาเป็นวงร็อคที่แพรวพราว สอดผสานดนตรีในพรมแดนอื่นๆ เข้ากับซาวน์พื้นฐานแบบยุค 90's และขณะเดียวกันก็มีพลังขับเคลื่อนแบบพังค์นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในฐานะของวงร็อคหลากกลิ่นแล้ว แฟนเพลงหลายคนยังชอบเนื้อหาวิจารณ์สังคมและการเมืองของพวกเขาที่เข้าใจทำให้ถูกจริตคนบางกลุ่มได้ บวกกับดนตรีหนักๆ จากหลายๆ เพลงแล้ว…
Music
  ช่วงที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับคอนเสิร์ตแนวอนุรักษ์ธรรมชาติอะไรพวกนี้ออกมาหลากหลายมากมายอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะคอนเสิร์ตต้านโลกร้อนที่เข้าใจเกาะกระแสเรื่องที่คนทั่วโลกสนใจ (แต่ไม่รู้ว่าเข้าใจลึกไปในระดับไหน) มาสร้างเวทีคอนเสิร์ตให้สนุกสุดเหวี่ยง เวลามีคนมาถามความเห็นผมเรื่องนี้ ผมมักจะหัวเราะ หะ ๆ แล้วตอบว่ารู้สึกเฉย ๆ ถ้ามันจะดีมันก็ดีในแง่ที่มีคอนเสิร์ตมาให้สนุกกัน ส่วนศิลปินก็ได้หน้าได้ตากันไป เพราะโดยส่วนตัวผมไม่คิดว่าศิลปินจะรู้ลึกรู้จริงรู้จังอะไรกันเรื่องนี้มากมาย ไม่ต้องกระไรมาก ผมจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงเรื่องหนึ่ง คือเมื่อหลายปีก่อน…
Music
  "ผมคงจัดเป็นพวกปีกซ้ายนั่นแหละ และพอเวลาผ่านไปผมก็รู้สึกแข็งแกร่งขึ้น ผมให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์มากกว่าอิฐบล็อกหรือกำแพงศักดิ์สิทธิ์ ผมเชื่อในการมีชีวิตอยู่ ผมคิดว่าแทนที่คำถามจะเป็น ‘พวกคุณเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า' มันควรจะเป็นว่า ‘พระเจ้าเชื่อในพวกเราหรือเปล่า' ต่างหาก ใครจะรู้ได้"- Aviv Geffen - Memento Mori"Officer, it's better to be a coward that is alivethan to be a dead heroYou fight with tanks and gunsI fight with pen and paperYou call me a draft dodgerMemento Mori..."- Memento Mori (2)จริงๆ แล้ว ไม่เพียง Aviv Geffen เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักของชาวอิสราเอลโดยทั่วไป…
Music
  "1,000 people yellShouting my nameBut I wanna die in this momentI wanna die"- 1,000 People -Aviv Geffen เกิดและเติบโตในช่วงสงครามเลบานอนครั้งแรก ที่กองทัพอิสราเอลคิดจะเข้ายึดครองเลบานอนเพื่อยุติสงครามกลางเมือง แต่ความขัดแย้งนี้ดูจะห่างไกลจากตัวเขารวมถึงหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็ดำเนินชีวิตคู่ขนานกับความขัดแย้งนี้จนแม้ปัจจุบันก็ยังไม่จบไม่สิ้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่อาจทำให้ความตึงเครียดลดลงได้ ระเบิดนิรนามยังคงถูกยิงมาจากที่ไหนสักแห่งภาพที่ดูขัดแย้งกันอย่างชัดเจนในตัว Geffen คือ ขณะที่เขาแต่งเพลงและเผยความคิดเห็นในแบบอิสราเอลฝ่ายซ้าย แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพทางดนตรี…
Music
  "Love films are broadcast lateBut violence is allowed at any hourWhile on a kibbutz a girl was rapedIn the disco they set their spirits free"- Violence -เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกันมันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง…