Skip to main content

คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง

                                                                                            พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (บันทึก)

"จำเลยจะขับไล่พระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันออกจากราชสมบัติ และฆ่าพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภาขณะทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ตลอดทั้งสกุลวรวรรณ แล้วอัญเชิญพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ กลับขึ้นครองราชย์สมบัติแทนต่อไป ถ้าพระองค์ไม่ทรงรับก็จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมหาชนรัฐโดยไม่ต้องมี พระมหากษัตริย์ต่อไป" - คำบรรยายฟ้องของอัยการศาลพิเศษ ความอาญา วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๘

การโต้อภิวัฒน์นำโดยคณะเจ้า คือ รัชกาลที่ ๗ และพระองค์เจ้าบวรเดช ก่อการอันเป็นเสี้ยนหนามต่อระบอบรัฐธรรมนูญเมื่อคราว พ.ศ.๒๔๗๖ และการก่อกบฏของคณะเจ้าในคราวบวรเดชนั้นก็ถูกปราบปรามลง บรรดาบุคคลที่กระทำการอันเป็นเสี้ยนหนามต่อระบอบก็ถูกจับกุมคุมขังตลอดจนปลด ออกจากราชการ ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๗๘ "คณะฝ่ายโต้อภิวัฒน์ พ.ศ.๒๔๗๖" ได้ก่อการกำเริบขึ้นมุ่งหมายช่วยพวกกบฏบวรเดช และโค่นล้มระบอบรัฐธรรมนูญ (ประชาธิปไตย) แล้วจะอัญเชิญ รัชกาลที่ ๗ มาเป็นประมุขแห่งรัฐ แทน ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ซึ่งเลือกตั้งโดยฝ่ายคณะราษฎร ทั้งประหัตประหารฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์ที่เข้าร่วมเป็นสมุนกับระบอบใหม่ (ระบอบรัฐธรรมนูญ) อย่างไรก็ดี "คณะฝ่ายโต้อภิวัฒน์ พ.ศ.๒๔๗๖" ก็เล็งเห็นว่า หากรัชกาลที่ ๗ ทำเสียฤกษ์ก็คงต้องเปลี่ยนไปเป็นระบอบประธานาธิบดี แน่นอนว่าเป็นคนละระบอบกับระบอบรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร

..............................................

ศาลพิเศษ

วันที่ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘

ความอาญา

อัยการศาลพิเศษ                                                                                                     โจทก์

ระหว่าง

ส.ท. หม่อมหลวงทวีวงศ์                                                                                         จำเลย

                                                         วัชวีรวงศฺ ที่ ๑ กับพวก 

ข้อหากระทำผิดฐานกบฏ

   ข้าพเจ้าอัยการศาลพิเศษ โจทก์ สังกัดกระทรวงกลาโหม ขอยื่นฟ้องต่อศาลมีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้ 

   ข้อ ๑ ภายหลังที่ประเทศสยามได้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากราชาธิปไตยมาเป็น ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญเป็นต้นมา จำเลยต่างๆ ซึ่งมีตำแหน่งตามบัญชีท้ายฟ้องนี้กับพวกที่ยังจับตัวไม่ได้ ได้บังอาจสมคบ ร่วมคิด ตระเตรียม โดยมีแผนการณ์ทำลายล้มล้างรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยามให้เป็นอย่างอื่น

   ข้อ ๒ ด้วยเจตนาดังกล่าวแล้วในข้อ ๑ ระหว่างเดือนมิถุนายนจนถึงวันที่ ๓ สิงหาคม ศกนี้ จำเลยกับพรรคพวกได้ยุยงเกลี้ยกล่อมส้องสุมผู้คน ตระเตรียมสรรพศัตราอาวุธในกองทัพสยาม และที่ต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อยึดอำนาจการปกครองโดยฆ่าผู้บังคับบัญชาและจะได้จับนายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้บัญชาการทหารบกและนายกรัฐมนตรีไว้เป็นประกันก่อน ถ้าขัดขวางไม่ยินยอมหรือจำเลยกับพวกคนใดคนหนึ่งถูกประทุษฐร้ายก็ให้ฆ่าบุคคล ทั้งสองนั้นเสีย แต่หลวงประดิษฐมนูธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้จับตาย แล้วตั้งตนเองและพรรคพวกขึ้นครองตำแหน่งบัญชาการแทน และจัดกำลังไปยึดสถานที่ทำการของรัฐบาลกับรักษาสถานทูตต่าง ๆ 

   ข้อ ๓ เพื่อให้สำเร็จตามความมุ่งหมายของจำเลยกับพวก จำเลยจะประหารชีวิตข้าราชการในรัฐบาลบางจำพวกให้หมดเสี้ยนหนามหรือศัตรูขัด ขวางแก่พวกจำเลยต่อไป ทั้งจะให้ปล่อยนักโทษการเมืองเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ซึ่งต้องโทษอยู่ในเรือนจำมหันตโทษทั้งหมด

   ข้อ ๔ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ จำเลยจะขับไล่พระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันออกจากราชสมบัติ และฆ่าพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภาขณะทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ตลอดทั้งสกุลวรวรรณ แล้วอัญเชิญพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ กลับขึ้นครองราชย์สมบัติแทนต่อไป ถ้าพระองค์ไม่ทรงรับก็จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมหาชนรัฐโดยไม่ต้องมี พระมหากษัตริย์ต่อไป 

   ข้อ ๕ การกระทำของจำเลยยังไม่สำเร็จลุล่วงไปตามแผนการณ์ทั้งหมด โดยรัฐบาลได้ล่วงรู้เสียก่อน จึงเริ่มทำการจับกุมเมื่อวันที่ ๓ เดือนนี้

   ข้อ ๖ การกระทำของจำเลยดังกล่าวแล้วมีความผิดฐานกบฏภายในพระราชอาณาจักร์ และฐานประทุษฐร้ายต่อพระบรมราชตระกูล และก่อการกำเริบให้เกิดวุ่นวายถึงอาจเกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านเมือง แล้วยังทำให้ประชาชนเสื่อมความนิยม และเป็นที่หวาดหวั่นต่อการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญกับทำให้ทหารไม่พอใจเกิด ความกระด้างกระเดื่องไม่กระทำตามคำสั่งข้อบังคับของทหาร หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้บังคับบัญชา ละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ ทั้งหย่อนวินัย และสมรรถภาพแห่งกรมกองทหารให้เสื่อมทรามลง 

   ข้อ ๗ จำเลยทั้งหมดถูกขังในศาลาว่าการกลาโหม แต่วันถูกจับ อัยการศาลพิเศษได้ไต่สวนแล้ว คดีมีมูลจึงส่งจำเลยมาฟ้องยังศาลนี้

   เหตุเกิดในกองรถรบ วังปารุสฯ กองพันทหารราบที่ ๑, ๒, ๓, ๔ และบริเวณสนามหลวง กับที่อื่น ๆ ในจังหวัดพระนคร เป็นต้น.

 

 คำขอท้ายฟ้อง 

   การที่จำเลยได้กระทำตามข้อความที่กล่าวมาในฟ้องนั้น โจทก์ถือว่าเป็นความผิดล่วงพระราชอาญาตามพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษา รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๔๗๖ มาตรา ๓ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาทหาร มาตรา ๙๒, ๓๐, ๓๑, ๓๒, ๓๓, ๔๑, ๔๒, และพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญาทหาร พ.ศ.๒๔๗๐ มาตรา ๕๒ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา ๙๗, ๑๐๒, ๖๓, ๖๔, ๖๕ และพระราชบัญญัติแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.๒๔๗๐ มาตรา ๓, ๔

                                              (ลงนาม) พ.อ.พระขจรเนติยุทธ

                                                          ร.อ.ขุนทอง สุนทรแสง

                                                          ร.อ.ขุนโพธัยยประกิต

                                                          ด.กิม ศิริเสรษฐรัฐ

                                                          ด.ไสว ดวงมณี

                                                          นายสำราญ กานต์ประภา

                                                          นายทิ้ง อมรส

 

   พร้อมด้วยคำพิพากษาศาลพิเศษที่ประกาศออกมาให้ประหารชีวิตสิบเอกสวัสดิ์ มหะหมัด

   จำคุกตลอดชีวิต ส.ท.ทวีวงษ์ วัชรีวงศ์ ส.อ.เข็ม เฉลยทิศ ส.อ.ถม เกตุอำไพ ส.อ.กวย สินธุวงศ์ ส.ท.ศาสน์ คชกุล ส.ท.แผ้ว แสงส่งสูง

   ๒๐ ปี ส.อ.แช่ม บัวปลื้ม ส.อ.ตะเข็บ สายสุวรรณ ส.ท.เลียบ คหินทพงศ์

   ๑๖ ปี นายนุ่ม ณ พัทลุง

___________________________

ที่มา : เสลา เลขะรุจิ, ไทยน้อย นามแฝง., "๒๕ คดีกบฏ," พิมพ์ครั้งที่ ๑. พระนคร : รัตนการพิมพ์, ๒๕๑๓. หน้า ๑๖๗-๑๗๒.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง