Skip to main content

ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์"

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ความเห็นบางประการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์เรื่อง "หลักเกณฑ์การสืบตำแหน่งประมุขของรัฐที่เป็นราชอาณาจักร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ"ของพี่วิศรุต คิดดี ในประเด็นลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" ตามระบบกฎหมายปัจจุบัน - วิศรุต เห็นว่ามีลำดับชั้นในทางกฎหมายเป็น "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ" ซึ่งไม่ได้ให้ "เหตุผล" ประกอบ แต่เป็นการแสดงทรรศนะแบบกำปั้นทุบดินเอาเสียเลย

ในความเห็นของผม การจัดลำดับชั้นทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" ควรแบ่งเป็น "ส่วน ๆ" ดังนี้

กรณีที่ ๑.กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ ในส่วนที่ไม่ขัดกับเอกสารที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นย่อมมีสถานะเป็น "เนื้อเดียวกับรัฐธรรมนูญ" - เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติให้เนื้อหาบางส่วนโดยตรงเป็นไปตาม กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ กล่าวคือมิใช่มอบอำนาจในลักษณะให้เป็นกฎหมายลำดับรอง หรือบรรจุลายละเอียดของเรื่องในลักษณะของ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญจะประกันหลักการเอาไว้เป็นลำดับก่อน อีกทั้งรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็กำหนดไว้ชัดแจ้งแล้วว่า พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ มีอะไรได้บ้าง (ดู มาตรา ๑๓๘, มาตรา ๑๔๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

กรณีที่ ๒.ในกรณีที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญกับบทบัญญัติในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ "บัญญัติเรื่องเดียวกันแต่มีข้อความขัดหรือแย้งกัน" เราอาจกล่าวได้ว่า "กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า" (รัฐธรรมนูญใหม่กว่ากฎมณเฑียรบาลฯ) ย่อมต้องบังคับใช้รัฐธรรมนูญซึ่งใหม่กว่า

กรณีที่ ๓.ด้วยเหตุที่สถานะของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในแต่ละมาตรานั้นสามารถมีลำดับชั้นในทางกฎหมายต่างกัน เราต้องถือว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญตามเอกสารที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" เป็นบทบัญญัติที่มีลำดับชั้นในทางกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญ สูงกว่า บทบัญญัติในทางรัฐธรรมนูญของกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ เสมอ กล่าวได้ว่า กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวศ์ มีสถานะเป็น "บทบัญญัติส่วนเสริม" ซึ่งมีสถานะระดับรัฐธรรมนูญ แต่มีลำดับชั้นในทางรัฐธรรมนูญ ต่ำกว่าบทบัญญัติที่บรรจุไว้ในเอกสารที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยเหตุนี้ แม้จะมีการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในทางที่ขัดรัฐธรรมนูญ (กฎมณเฑียรบาลใหม่กว่ารัฐธรรมนูญ) กฎมณเฑียรบาลเช่นว่านั้นย่อมใช้บังคับใช้มิได้ ทั้งเป็นการประกันบทบัญญัติพื้นฐาน/แม่บทในเอกสารทางกฎหมายที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเอาไว้เป็นต่างหาก(บทบัญญัติเฉพาะ) และมีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ให้เนื้อหาบางส่วนโดยตรงเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์อย่างปลายเปิด(เป็นบทบัญญัติทั่วไป) บทบัญญัติทั่วไปที่ใหม่กว่าจะยกเลิกบทบัญญัติเฉพาะมิได้

ผมลองตั้งเป็นประเด็นคิดขึ้นไว้คร่าวๆ - ไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิทยานิพนธ์ของคุณวิศรุต คิดดี ที่อธิบายว่า กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ มีสถานะต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ จึงต้องมีสถานะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อาจจะกำปั้นทุบดินเกินไปนะครับ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า รัฐธรรมนูญแต่ละบทบัญญัติมาตราอาจมีลำดับชั้นในทางกฎหมายที่แตกต่างกันก็ได้.

______________________________

วิศรุต คิดดี, หลักเกณฑ์การสืบตำแหน่งประมุขของรัฐที่เป็นราชอาณาจักร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ, วิทยานิพนธ์, [กรุงเทพฯ] : นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๕.

โดยสังเขปใน งานวิทยานิพนธ์สนทนา นิติ-รัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖ ดู http://youtu.be/2pfW4LdPl8s

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ