Skip to main content

ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์"

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ความเห็นบางประการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์เรื่อง "หลักเกณฑ์การสืบตำแหน่งประมุขของรัฐที่เป็นราชอาณาจักร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ"ของพี่วิศรุต คิดดี ในประเด็นลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" ตามระบบกฎหมายปัจจุบัน - วิศรุต เห็นว่ามีลำดับชั้นในทางกฎหมายเป็น "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ" ซึ่งไม่ได้ให้ "เหตุผล" ประกอบ แต่เป็นการแสดงทรรศนะแบบกำปั้นทุบดินเอาเสียเลย

ในความเห็นของผม การจัดลำดับชั้นทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" ควรแบ่งเป็น "ส่วน ๆ" ดังนี้

กรณีที่ ๑.กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ ในส่วนที่ไม่ขัดกับเอกสารที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นย่อมมีสถานะเป็น "เนื้อเดียวกับรัฐธรรมนูญ" - เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติให้เนื้อหาบางส่วนโดยตรงเป็นไปตาม กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ กล่าวคือมิใช่มอบอำนาจในลักษณะให้เป็นกฎหมายลำดับรอง หรือบรรจุลายละเอียดของเรื่องในลักษณะของ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญจะประกันหลักการเอาไว้เป็นลำดับก่อน อีกทั้งรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็กำหนดไว้ชัดแจ้งแล้วว่า พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ มีอะไรได้บ้าง (ดู มาตรา ๑๓๘, มาตรา ๑๔๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

กรณีที่ ๒.ในกรณีที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญกับบทบัญญัติในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ "บัญญัติเรื่องเดียวกันแต่มีข้อความขัดหรือแย้งกัน" เราอาจกล่าวได้ว่า "กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า" (รัฐธรรมนูญใหม่กว่ากฎมณเฑียรบาลฯ) ย่อมต้องบังคับใช้รัฐธรรมนูญซึ่งใหม่กว่า

กรณีที่ ๓.ด้วยเหตุที่สถานะของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในแต่ละมาตรานั้นสามารถมีลำดับชั้นในทางกฎหมายต่างกัน เราต้องถือว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญตามเอกสารที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" เป็นบทบัญญัติที่มีลำดับชั้นในทางกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญ สูงกว่า บทบัญญัติในทางรัฐธรรมนูญของกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ เสมอ กล่าวได้ว่า กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวศ์ มีสถานะเป็น "บทบัญญัติส่วนเสริม" ซึ่งมีสถานะระดับรัฐธรรมนูญ แต่มีลำดับชั้นในทางรัฐธรรมนูญ ต่ำกว่าบทบัญญัติที่บรรจุไว้ในเอกสารที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยเหตุนี้ แม้จะมีการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในทางที่ขัดรัฐธรรมนูญ (กฎมณเฑียรบาลใหม่กว่ารัฐธรรมนูญ) กฎมณเฑียรบาลเช่นว่านั้นย่อมใช้บังคับใช้มิได้ ทั้งเป็นการประกันบทบัญญัติพื้นฐาน/แม่บทในเอกสารทางกฎหมายที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเอาไว้เป็นต่างหาก(บทบัญญัติเฉพาะ) และมีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ให้เนื้อหาบางส่วนโดยตรงเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์อย่างปลายเปิด(เป็นบทบัญญัติทั่วไป) บทบัญญัติทั่วไปที่ใหม่กว่าจะยกเลิกบทบัญญัติเฉพาะมิได้

ผมลองตั้งเป็นประเด็นคิดขึ้นไว้คร่าวๆ - ไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิทยานิพนธ์ของคุณวิศรุต คิดดี ที่อธิบายว่า กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ มีสถานะต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ จึงต้องมีสถานะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อาจจะกำปั้นทุบดินเกินไปนะครับ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า รัฐธรรมนูญแต่ละบทบัญญัติมาตราอาจมีลำดับชั้นในทางกฎหมายที่แตกต่างกันก็ได้.

______________________________

วิศรุต คิดดี, หลักเกณฑ์การสืบตำแหน่งประมุขของรัฐที่เป็นราชอาณาจักร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ, วิทยานิพนธ์, [กรุงเทพฯ] : นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๕.

โดยสังเขปใน งานวิทยานิพนธ์สนทนา นิติ-รัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖ ดู http://youtu.be/2pfW4LdPl8s

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง