Skip to main content

ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์"

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

ความเห็นบางประการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์เรื่อง "หลักเกณฑ์การสืบตำแหน่งประมุขของรัฐที่เป็นราชอาณาจักร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ"ของพี่วิศรุต คิดดี ในประเด็นลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" ตามระบบกฎหมายปัจจุบัน - วิศรุต เห็นว่ามีลำดับชั้นในทางกฎหมายเป็น "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ" ซึ่งไม่ได้ให้ "เหตุผล" ประกอบ แต่เป็นการแสดงทรรศนะแบบกำปั้นทุบดินเอาเสียเลย

ในความเห็นของผม การจัดลำดับชั้นทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" ควรแบ่งเป็น "ส่วน ๆ" ดังนี้

กรณีที่ ๑.กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ ในส่วนที่ไม่ขัดกับเอกสารที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นย่อมมีสถานะเป็น "เนื้อเดียวกับรัฐธรรมนูญ" - เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติให้เนื้อหาบางส่วนโดยตรงเป็นไปตาม กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ กล่าวคือมิใช่มอบอำนาจในลักษณะให้เป็นกฎหมายลำดับรอง หรือบรรจุลายละเอียดของเรื่องในลักษณะของ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญจะประกันหลักการเอาไว้เป็นลำดับก่อน อีกทั้งรัฐธรรมนูญปัจจุบันก็กำหนดไว้ชัดแจ้งแล้วว่า พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ มีอะไรได้บ้าง (ดู มาตรา ๑๓๘, มาตรา ๑๔๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)

กรณีที่ ๒.ในกรณีที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญกับบทบัญญัติในกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ "บัญญัติเรื่องเดียวกันแต่มีข้อความขัดหรือแย้งกัน" เราอาจกล่าวได้ว่า "กฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า" (รัฐธรรมนูญใหม่กว่ากฎมณเฑียรบาลฯ) ย่อมต้องบังคับใช้รัฐธรรมนูญซึ่งใหม่กว่า

กรณีที่ ๓.ด้วยเหตุที่สถานะของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในแต่ละมาตรานั้นสามารถมีลำดับชั้นในทางกฎหมายต่างกัน เราต้องถือว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญตามเอกสารที่เรียกว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" เป็นบทบัญญัติที่มีลำดับชั้นในทางกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญ สูงกว่า บทบัญญัติในทางรัฐธรรมนูญของกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ฯ เสมอ กล่าวได้ว่า กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวศ์ มีสถานะเป็น "บทบัญญัติส่วนเสริม" ซึ่งมีสถานะระดับรัฐธรรมนูญ แต่มีลำดับชั้นในทางรัฐธรรมนูญ ต่ำกว่าบทบัญญัติที่บรรจุไว้ในเอกสารที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยเหตุนี้ แม้จะมีการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในทางที่ขัดรัฐธรรมนูญ (กฎมณเฑียรบาลใหม่กว่ารัฐธรรมนูญ) กฎมณเฑียรบาลเช่นว่านั้นย่อมใช้บังคับใช้มิได้ ทั้งเป็นการประกันบทบัญญัติพื้นฐาน/แม่บทในเอกสารทางกฎหมายที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเอาไว้เป็นต่างหาก(บทบัญญัติเฉพาะ) และมีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ให้เนื้อหาบางส่วนโดยตรงเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์อย่างปลายเปิด(เป็นบทบัญญัติทั่วไป) บทบัญญัติทั่วไปที่ใหม่กว่าจะยกเลิกบทบัญญัติเฉพาะมิได้

ผมลองตั้งเป็นประเด็นคิดขึ้นไว้คร่าวๆ - ไม่ค่อยเห็นด้วยกับวิทยานิพนธ์ของคุณวิศรุต คิดดี ที่อธิบายว่า กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ มีสถานะต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ จึงต้องมีสถานะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ อาจจะกำปั้นทุบดินเกินไปนะครับ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า รัฐธรรมนูญแต่ละบทบัญญัติมาตราอาจมีลำดับชั้นในทางกฎหมายที่แตกต่างกันก็ได้.

______________________________

วิศรุต คิดดี, หลักเกณฑ์การสืบตำแหน่งประมุขของรัฐที่เป็นราชอาณาจักร : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศ, วิทยานิพนธ์, [กรุงเทพฯ] : นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๕.

โดยสังเขปใน งานวิทยานิพนธ์สนทนา นิติ-รัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๖ ดู http://youtu.be/2pfW4LdPl8s

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"