Skip to main content

การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทย ปรากฏเมื่อคราวพระยาพหลพลพยุหเสนา ใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจจากการ "รัฐประหารโต้อภิวัฒน์" ของรัฐบาลมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งกระทำการกำเริบตรา "พระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่"[๑] และออก "แถลงการณ์ของรัฐบาล"[๒]  เพื่องดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันเป็นการกระทำนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ เป็นการแย่งชิงอำนาจไปจากปวงชน (Usurpation) เพื่อถวายคืนให้ในหลวง อันมีผลในทางกฎหมายคือ "การรัฐประหารทางรัฐธรรมนูญ" สภาพการณ์เป็นไปตามที่ พระยาพหลฯ กล่าวว่า "...พระยามโนฯ "เขาคงคิดจะถวายอำนาจคืนในหลวงกัน""[๓] ซึ่งการกระทำของ "มหาอำมาตย์โท พระยามโนประกรณ์นิติธาดา" เป็นการโต้อภิวัฒน์-ทำลายรัฐธรรมนูญและระบอบอันเป็นคุณค่าพื้นฐานของรัฐธรรมนูญโดยตรง

ฉะนั้น การใช้อำนาจของ "คณะทหารเพื่อให้มีการเปิดสภาและบังคับใช้รัฐธรรมนูญนั้น โดยพระยาพหลพลพยุหเสนา" ในปี ๒๔๗๖ นั้นจึงเป็น การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (ครั้งแรก) เราหาควรนับรวมว่าเป็นการกระทำรัฐประหารไม่.
__________________________
[๑] ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๐ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๖. หน้า ๑-๒. ดู http://www.mediafire.com/?7mhgc6nbcncgiea
[๒] ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๐ ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๖. หน้า ๗-๙. ดู http://www.mediafire.com/?uqgivlqyqp341ld
[๓] ดู เสทื้อน ศุภโสภณ. ชีวิตทางการเมืองของ พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์. พิมพ์ครั้งที่ ๑. (รวบรวมเรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ พ.อ.พระยาฤทธิ์ฯ). พระนคร : วัชรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๔. หน้า ๑๙๑.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง