Skip to main content

อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

สาเหตุที่ "กฎหมายลักษณะอาญา" ซึ่งเป็น "ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก" ฉบับแรกของสยาม ออกบังคับใช้ได้ล่าช้า (ในตำราประวัติศาสตร์ของไทยฉบับทางการ มักโจมตีนักกฎหมายชาวต่างชาติของรัฐบาลสยามว่า "อู้งาน" : กฎหมายลักษณะอาญา เริ่มร่างปี ค.ศ. ๑๘๙๙ เสร็จยุติเมื่อ ค.ศ.๑๙๐๗) การจัดทำประมวลกฎหมาย (Code) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายอาญา (หรือกฎหมายลักษณะอาญา) เป็นการสร้างระบบกฎหมายสยามขึ้นใหม่ ปลดเปลื้องความป่าเถื่อนของโทษ และสร้างความแน่นอนชัดเจนของกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ด้วยเหตุว่า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิดที่คลุมเคลือและการลงโทษผ่านกระบวนพิจารณาจารีตนครบาล (อันป่าเถื่อน) ตามกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งที่ทำให้ประเทศสยามต้องทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศว่าด้วยสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (ทางการศาล) กล่าวได้ว่า การที่ประเทศสยาม บังคับใช้ "Code" (สมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีคำแปล Code ว่า "ประมวล") ล่าช้าเพียงใด ก็จะยิ่งทอดระยะเวลาแห่งความล้าหลังไปเพียงนั้น

อะไรคืออุปสรรคในการร่างกฎหมายลักษณะอาญา?

จากการค้นคว้าจากเอกสารหอจดหมายกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่น บันทึกเกี่ยวกับ "อุปสรรคในการร่างกฎหมายลักษณะอาญา" ที่กำลังจะยุติอยู่แล้ว ให้ล่าช้าออกไป จากบันทึกทางการทูตในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ค.ศ.๑๘๙๙ นายอินากาอิ ราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสยาม ได้พบกับนาย Rolin Jacquemyns ที่ปรึกษากฎหมายรัฐบาลสยาม ชาวเบลเยียม ผู้ซึ่งเล่าว่า "พูดถึงกฎหมายลักษณะอาญาแล้ว ส่วนใหญ่ก็ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่มาตราที่ว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อพระมหากษัตริย์เท่านั้น"[๑]

จากสาเหตุของความล่าช้าที่สยามจะได้ใช้กฎหมายเยี่ยงอารยะประเทศดังบันทึกนั้น ชวนให้ผมนึกถึงบทความของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ขึ้นมาชิ้นหนึ่งคือ บทความ "เรื่องเห็นว่าจ้าวเปนลูกตุ้มถ่วงความเจริญ"[๒] สะดุดใจขึ้นมาในทันใด.
___________________

เชิงอรรถ

[๑] กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น, No. ๓-๘-๔-๑๖, จดหมายเหตุเกี่ยวกับเรื่อง เบ็ดเสร็จกฎหมายอาญาของประเทศต่างๆ, หน้า ๑๙-๒๑. อ้างใน จุงโซ อิอิดะ, การรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกในประเทศญี่ปุ่น : ศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทย, นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๐, หน้า ๑๓๙.

[๒] โดยดู บทความ "เรื่องเห็นว่าจ้าวเปนลูกตุ้มถ่วงความเจริญ" ใน รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓ (๒๕๔๘) หน้า ๒๑๕-๒๑๘.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
เกร็ดความรู้ : เหตุใดคณะนิติราษฎร์เสนอให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง ในรูป "รัฐธรรมนูญ" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระยาพหลฯมิได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ ๑ ในย่ำรุ่ง ๒๔ มิ.ย.๒๔๗๕ (เทียบเคียงบันทึกความทรงจำและบทความคุณปรามินทร์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล (เผยแพร่ครั้งแรกทางเฟซบุค ๒๕ มิ.ย.๒๕๕๕)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปกิณกะว่าด้วยการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ : ปัญหาจากการเดินตามศาลรัฐธรรมนูญงดโหวตวาระสาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 ธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ๑.มุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการอภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อความคิดเรื่องหลัก The King can do no wrong ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, รวบรวม หมายเหตุ : ท่านที่จะนำไปใช้กรุณาให้เครดิตการค้นคว้าฐานข้อมูลดิบของผมด้วย  ๑.ขุนหลวงพระไกรสี (เทียม)
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ส.ส.จังหวัดพิบูลสงครามต้องพ้นจากสมาชิกภาพเพราะเหตุไทยคืนดินแดนส่วนนั้นแก่รัฐอื่นรึไม่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
"พระราชหัตถเลขาแสดงพระปีติโสมนัสภายหลังการรัฐประหารสำเร็จ ถึงจอมพล ป.พิบูลสงคราม" (ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [ค้นคว้าเอกสารและเรียบเรียง] "...นอกจากจะปรากฏไว้ใน ประวัติศาสตร์แล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างอันดี งามแก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไปอีก ด้วย...
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พัฒนาการผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน, ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ :ในระบบกฎหมายไทย [โดยสังเขป] พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ในบทความนี้จำแนกการเข้าสู่ตำแหน่ง "องค์ที่ทำหน้าที่ดำเนินพระราชภาระแทนพระองค์" ออกเป็น ๓ ประเภท ๑.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ๒.สมัยเปลี่ยนระบอบการปกครอง ๓.สมัยนับแต่ปกครองโดยระบอบรัฐธรรมนูญ จะเผยข้อสังเกตในชั้นนี้เบื้องต้น เพื่อให้เห็นประเด็นในการอ่านของชั้นถัดไป
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์คำแนะนำของศาลปกครอง : ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินฟ้องศาลปกครองเพื่อตรวจสอบ กสทช.? พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล ตามข่าวที่ระบุว่า ศาลปกครอง ให้คำแนะนำผู้ฟ้องคดีไปร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมาฟ้องศาลปกครองได้นั้น๑ คำแนะนำดังกล่าวเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้พิจารณาอำนาจการฟ้องคดีของผู้ตรวจการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแต่อย่างใด ผมจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บทวิจารณ์หยุด แสงอุทัย เรื่อง "อำนาจที่เป็นกลาง" (Pouvoir neutre) ของกษัตริย์ในการยุบสภาฯ ได้ตามอำเภอใจ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
 เกร็ดบางตอน - วิกฤติตุลาการ ๓๔ กับ การวิจารณ์กษัตริย์ในวงตุลาการ