Skip to main content

อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

สาเหตุที่ "กฎหมายลักษณะอาญา" ซึ่งเป็น "ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก" ฉบับแรกของสยาม ออกบังคับใช้ได้ล่าช้า (ในตำราประวัติศาสตร์ของไทยฉบับทางการ มักโจมตีนักกฎหมายชาวต่างชาติของรัฐบาลสยามว่า "อู้งาน" : กฎหมายลักษณะอาญา เริ่มร่างปี ค.ศ. ๑๘๙๙ เสร็จยุติเมื่อ ค.ศ.๑๙๐๗) การจัดทำประมวลกฎหมาย (Code) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายอาญา (หรือกฎหมายลักษณะอาญา) เป็นการสร้างระบบกฎหมายสยามขึ้นใหม่ ปลดเปลื้องความป่าเถื่อนของโทษ และสร้างความแน่นอนชัดเจนของกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ด้วยเหตุว่า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิดที่คลุมเคลือและการลงโทษผ่านกระบวนพิจารณาจารีตนครบาล (อันป่าเถื่อน) ตามกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งที่ทำให้ประเทศสยามต้องทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศว่าด้วยสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (ทางการศาล) กล่าวได้ว่า การที่ประเทศสยาม บังคับใช้ "Code" (สมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีคำแปล Code ว่า "ประมวล") ล่าช้าเพียงใด ก็จะยิ่งทอดระยะเวลาแห่งความล้าหลังไปเพียงนั้น

อะไรคืออุปสรรคในการร่างกฎหมายลักษณะอาญา?

จากการค้นคว้าจากเอกสารหอจดหมายกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่น บันทึกเกี่ยวกับ "อุปสรรคในการร่างกฎหมายลักษณะอาญา" ที่กำลังจะยุติอยู่แล้ว ให้ล่าช้าออกไป จากบันทึกทางการทูตในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ค.ศ.๑๘๙๙ นายอินากาอิ ราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสยาม ได้พบกับนาย Rolin Jacquemyns ที่ปรึกษากฎหมายรัฐบาลสยาม ชาวเบลเยียม ผู้ซึ่งเล่าว่า "พูดถึงกฎหมายลักษณะอาญาแล้ว ส่วนใหญ่ก็ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่มาตราที่ว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อพระมหากษัตริย์เท่านั้น"[๑]

จากสาเหตุของความล่าช้าที่สยามจะได้ใช้กฎหมายเยี่ยงอารยะประเทศดังบันทึกนั้น ชวนให้ผมนึกถึงบทความของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ขึ้นมาชิ้นหนึ่งคือ บทความ "เรื่องเห็นว่าจ้าวเปนลูกตุ้มถ่วงความเจริญ"[๒] สะดุดใจขึ้นมาในทันใด.
___________________

เชิงอรรถ

[๑] กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น, No. ๓-๘-๔-๑๖, จดหมายเหตุเกี่ยวกับเรื่อง เบ็ดเสร็จกฎหมายอาญาของประเทศต่างๆ, หน้า ๑๙-๒๑. อ้างใน จุงโซ อิอิดะ, การรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกในประเทศญี่ปุ่น : ศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทย, นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๐, หน้า ๑๓๙.

[๒] โดยดู บทความ "เรื่องเห็นว่าจ้าวเปนลูกตุ้มถ่วงความเจริญ" ใน รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓ (๒๕๔๘) หน้า ๒๑๕-๒๑๘.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง