Skip to main content

อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

สาเหตุที่ "กฎหมายลักษณะอาญา" ซึ่งเป็น "ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก" ฉบับแรกของสยาม ออกบังคับใช้ได้ล่าช้า (ในตำราประวัติศาสตร์ของไทยฉบับทางการ มักโจมตีนักกฎหมายชาวต่างชาติของรัฐบาลสยามว่า "อู้งาน" : กฎหมายลักษณะอาญา เริ่มร่างปี ค.ศ. ๑๘๙๙ เสร็จยุติเมื่อ ค.ศ.๑๙๐๗) การจัดทำประมวลกฎหมาย (Code) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายอาญา (หรือกฎหมายลักษณะอาญา) เป็นการสร้างระบบกฎหมายสยามขึ้นใหม่ ปลดเปลื้องความป่าเถื่อนของโทษ และสร้างความแน่นอนชัดเจนของกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย ด้วยเหตุว่า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิดที่คลุมเคลือและการลงโทษผ่านกระบวนพิจารณาจารีตนครบาล (อันป่าเถื่อน) ตามกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งที่ทำให้ประเทศสยามต้องทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศว่าด้วยสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (ทางการศาล) กล่าวได้ว่า การที่ประเทศสยาม บังคับใช้ "Code" (สมัยรัชกาลที่ ๕ ยังไม่มีคำแปล Code ว่า "ประมวล") ล่าช้าเพียงใด ก็จะยิ่งทอดระยะเวลาแห่งความล้าหลังไปเพียงนั้น

อะไรคืออุปสรรคในการร่างกฎหมายลักษณะอาญา?

จากการค้นคว้าจากเอกสารหอจดหมายกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่น บันทึกเกี่ยวกับ "อุปสรรคในการร่างกฎหมายลักษณะอาญา" ที่กำลังจะยุติอยู่แล้ว ให้ล่าช้าออกไป จากบันทึกทางการทูตในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ค.ศ.๑๘๙๙ นายอินากาอิ ราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสยาม ได้พบกับนาย Rolin Jacquemyns ที่ปรึกษากฎหมายรัฐบาลสยาม ชาวเบลเยียม ผู้ซึ่งเล่าว่า "พูดถึงกฎหมายลักษณะอาญาแล้ว ส่วนใหญ่ก็ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่มาตราที่ว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อพระมหากษัตริย์เท่านั้น"[๑]

จากสาเหตุของความล่าช้าที่สยามจะได้ใช้กฎหมายเยี่ยงอารยะประเทศดังบันทึกนั้น ชวนให้ผมนึกถึงบทความของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ขึ้นมาชิ้นหนึ่งคือ บทความ "เรื่องเห็นว่าจ้าวเปนลูกตุ้มถ่วงความเจริญ"[๒] สะดุดใจขึ้นมาในทันใด.
___________________

เชิงอรรถ

[๑] กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น, No. ๓-๘-๔-๑๖, จดหมายเหตุเกี่ยวกับเรื่อง เบ็ดเสร็จกฎหมายอาญาของประเทศต่างๆ, หน้า ๑๙-๒๑. อ้างใน จุงโซ อิอิดะ, การรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกในประเทศญี่ปุ่น : ศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทย, นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๐, หน้า ๑๓๙.

[๒] โดยดู บทความ "เรื่องเห็นว่าจ้าวเปนลูกตุ้มถ่วงความเจริญ" ใน รัฐศาสตร์สาร, ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓ (๒๕๔๘) หน้า ๒๑๕-๒๑๘.

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กระบวนการสร้างมโนทัศน์ต่อความผิดฐานหมิ่นกษัตริย์ ว่าด้วยเหตุยกเว้นความผิดพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล๑. ข้อพิจารณาเบื้องต้น
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของ(ร่าง)หลักเกณฑ์การประมูลดิจิตอลทีวี : กรณีให้เปิดเผยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ลำดับที่ ๓ ขึ้นไปและทุกทอดตลอดสายนายพุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)๑ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้๒  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ข้อน่าพิจารณาบางประการ : กรณีศาลฎีกายกฟ้อง"คดีถาวร เสนเนียม ฟ้องอดีต กกต."(๒๕๔๙) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล มูลเหตุของคดีนี้เริ่มต้นเพื่อ "สนับสนุนให้รัฐประหาร ๑๙ ก.ย.๒๕๔๙" (เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง โจมตีการเลือกตั้ง) และเป็นชนวนในการสร้างสุญญากาศทางการเมือง  คดีนี้เริ่มต้น จะเห็นภาพพจน์ "ชัดแจ้งยิ่งขึ้น" เมื่อพิจารณาลำดับเหตุการณ์ก่อนพิเคราะห์รายละเอียดที่สำคัญของคดี เราจะเห็นได้ว่า "เหตุการณ์ ๒๕๔๙" นั้นเกิดขึ้นเป็นลูกระนาดเลย คร่าว ๆ ดังนี้[๑]
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : เรื่องบันทึกการขออภัยโทษคดีสวรรคต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
จอมพล ป. ในตำแหน่ง"ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และนายกรัฐมนตรี"โดยการทำรัฐประหาร พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้บวรศักดิ์ อุวรรณโณ : การนิรโทษกรรมของคณะราษฎร (๒๖ มิ.ย.๒๔๗๕) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อุปสรรคในการร่าง"ประมวลกฎหมายแบบตะวันตก"ฉบับแรกของสยาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
การใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญครั้งแรกของไทยเมื่อ ๒๔๗๖ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ชวนอ่าน "เรื่องเล่า" โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (๒๕๑๑) หมายเหตุ : บังเอิญผมได้อ่าน ข้อเขียนของ "ราชินี" (ดังที่จะคัดให้อ่านด้านล่าง) ในคราวเสด็จเยือนประเทศออสเตรเลียกับในหลวง พบว่าน่าสนใจ จึงคัดมาให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน - ข้อความด้านล่างนี้เป็นข้อเขียนของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ -------------------------------------------------------
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
บริบทของพระราชดำรัสสดวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘(อนุญาตให้วิจารณ์กษัตริย์?) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล หลายท่านที่คัดค้านการบังคับใช้ "ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๑๒" มักอ้างอิง (โดยขาดบริบท) พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในโอกาสนั้น "ในหลวง" ตรัสเกี่ยวกับ (ทรง)อนุญาตให้ประชาชนวิจารณ์พระองค์ได้ ขอให้สังเกตพระราชดำรัสดังกล่าวในความว่า :
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ดีเบตกรณีสวรรคต ร.๘ ระหว่าง จิตติ ติงศภัทิย์ vs หยุด แสงอุทัย พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗ (คดีสวรรคต ร.๘) กรณีนายเฉลียว จำเลย นั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า "ได้ช่วยปกปิดไม่เอาความนั้นไปร้องเรียนขึ้นจนมีเหตุบังเกิดการประทุษร้ายแด่พระองค์"