Skip to main content

คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัยพระเจ้าท้ายสระ

คดี Oia Sennerat v. Alexander Hamilton (ค.ศ. ๑๗๑๙)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

นาย Alexander Hamilton ได้เขียนบันทึกการเดินทางของเขาไว้ดังนี้*

รัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา ต้นเรื่องมีอยู่ว่า มีชาวเปอร์เซียคนหนึ่งนามว่า Collet (เขาคนนี้มีเส้นสายกับบุคคลในกระบวนการยุติธรรมสยาม - ซึ่งจะเป็นโจทก์ฟ้องคดี) พยายามกีดกันการค้าของนาย Hamilton (ชาวอังกฤษ) เนื่องจากนาย Hamilton ไม่ยอมขอหนังสือในคุ้มครองของนาย Collet (Collet's Letters of Protection) - ทำนองมาเฟีย - เนื่องจากสหราชอาณาจักรเคยทำสนธิสัญญาค้าขายกับรัฐบาลสยามไว้อยู่ก่อนแล้ว นาย Hamilton จึงไม่ยอมจะทำตามอำนาจบาดใหญ่ของชาวเปอร์เซียผู้นี้

ประมาณ ๑ สัปดาห์ต่อมา นาย Hamilton ได้รับ "หมายเรียก" ให้ไปให้การต่อศาลในข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Indictment of speaking Treason of the King) นาย Hamilton รู้ว่าตนบริสุทธิ์จึงไปศาลตามนัดประมาณ ๘ โมงเช้า แต่ "ตุลาการ" (อายุประมาณ ๕๐ ปี ดูสุภาพเรียบร้อย เคร่งขรึม) พร้อมบริวารประมาณ ๑,๐๐๐ คน เดินทางมาถึงศาลประมาณ ๙ โมงเช้า (มาช้า ๑ ชั่วโมงโดยประมาณ)

ตุลาการเข้านั่งประจำที่และให้พนักงานอ่านคำฟ้องจนเสร็จประมาณครึ่งชั่วโมง จากนั้นตุลาการให้ล่ามแปลให้นาย Hamilton ฟังถึงข้อความซึ่งถูกกล่าวหาว่า นาย Hamilton พูดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ด้วยประโยคว่าที่เขากล่าวว่า "That the King had been imposed upon."

นาย Hamilton ให้การปฏิเสธว่าพูดเช่นนั้น โดยโยนให้เป็นภาระนำสืบของฝ่ายโจทก์ว่าเขากล่าวเช่นนั้นจริงหรือไม่

ตุลาการจึงตั้งทนายความให้ฝ่ายละ ๒ คน โต้เถียงเป็นเวลา ๓-๔ ชั่วโมง ในประเด็นดังนี้

๑. ชาวต่างชาติไม่รู้กฎหมายสยามต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายสยามหรือไม่ (ในห้องพิจารณาเห็นว่า ต้องอยู่ในบังคับกฎหมายสยาม)

๒. พยานประเภทใดเบิกความได้ และไม่ได้

๒.๑ ฝ่ายโจทก์จะเบิก "คนรับใช้ของโจทก์" มาให้การในศาล แต่ถูกทนายฝ่ายจำเลยโต้แย้งว่า ตามกฎหมายตราสามดวง ไม่รับฟังคำให้การของ "คนรับใช้" ไม่ว่าจะเป็นคนใช้ของจำเลยเองหรือไม่ก็ตาม

๒.๒ พยานฝ่ายโจทก์ นำนาย Collinson (สมุนของนาย Collet) มาเบิกให้การเป็นพยาน

ตุลาการ ซักถามนาย Collinson (พยาน) ผ่านล่ามว่า พยานอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ จำเลย พูดคุยกับโจทก์ใช่หรือไม่

นาย Collinson (พยาน) ตอบว่า ใช่ โดยพยาน ยืนกรานว่า ตนได้ยินนาย Hamilton กล่าวถ้อยคำตามคำฟ้องจริงเช่นนั้น

ตุลาการ ซักถามนาย Hamilton (จำเลย) ว่า "มีอะไรจะหักล้างคำพูดพยานไหม"

นาย Hamilton (จำเลย) ถามนาย Collinson (พยาน) โดยถามผ่าน ตุลาการว่า "ภาษาที่ใช้ในการสนทนากับโจทก์ในขณะนั้นคือภาษาอะไร" ซึ่งตุลาการก็ถามให้

พยาน ตอบว่า "ผมไม่รู้จักภาษานี้ดีนัก แต่เข้าใจว่ามันคือภาษา Industan"

จำเลยจึงให้ตุลาการถามพยานว่า "พยานเข้าใจภาษา Industan หรือเปล่า"

พยานหยุดนิ่งไปชั่วครู่แล้วตอบว่า "เปล่า"

ตุลาการจึงถามพยานเองว่า "พยานมาเบิกความในคำกล่าวที่พูดในภาษาที่ตนไม่เข้าใจได้อย่างไร"

พยานตอบว่า "ผมคิดว่าจำเลยน่าจะพูดอย่างนั้น"

ตุลาการ จึงพิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิด และให้ปล่อยตัวจำเลยไป.

_________________________

*ดู Alexander Hamilton, A new Account of the East Indies, vol. 2, John Mofman, 1727, p. 183-187.
http://books.google.co.th/books/about/A_new_account_of_the_East_Indies.html?id=2YCoCwtJd1gC&redir_esc=y 

บล็อกของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ จิตติ ติงศภัทิย์ เรื่อง "ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท" ตามกฎหมายอาญา พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล อ.จิตติ ติงศภัทิย์ เป็นปรมาจารย์ทางกฎหมายอาญาของไทย และเป็นนักนิติศาสตร์ผู้หนึ่งซึ่งสนับสนุน  "คำพิพากษาประหารจำเลย(แพะ)ในคดีสวรรคตรัชกาลที่ ๘" [ดู หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๔๔/๒๔๙๗]  ภายหลังท่านดำรงตำแหน่งเป็นองคมนตรี ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ถาม-ตอบ ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสถานะของกฎหมายมณเฑียรบาล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ลำดับชั้นในทางกฎหมายของ "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
กษัตริย์และคณะรัฐประหารของไทยผ่านคำอธิบายเรื่องพระราชนิยมของวิษณุ เครืองาม พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [บันทึกความจำ] หมายเหตุ : ขอให้ท่านใคร่ครวญค่อย ๆ อ่านดี ๆ นะครับ คำอธิบายของ "วิษณุ เครืองาม" เช่นนี้ เป็นผลดีต่อกษัตริย์หรือไม่ อย่างไร
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฯ : ว่าด้วยการจัดการองค์กรของรัฐสู่"ระบอบใหม่" พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คำว่า"ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด" ในทรรศนะนายอุดม เฟื่องฟุ้ง ผู้บรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาและอดีตกรรมการ คตส. (ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ ๓๐) : พร้อมข้อสังเกต พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
คดีคณะโต้อภิวัฒน์ (๒๔๗๘) ขับไล่รัชกาลที่ ๘-สังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วจะอัญเชิญรัชกาลที่ ๗ ครองราชย์อีกครั้ง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
โต้ธงทองฯ กรณีเทียบเคียงมาตรา ๑๑๒ กับกรณีหมิ่นประมุขต่างประเทศ, เจ้าพนักงานและศาล* พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ตุลาการที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ :คติกฎหมายไทยโบราณ พร้อมบทวิจารณ์ปรีดี พนมยงค์โดยสังเขป พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล "เมื่อใดกษัตริย์ใช้อำนาจนั้นโดยมิชอบก็มีสิทธิ์เป็นเปรตได้เช่นกันตามคติของอัคคัญสูตรและพระธรรมสาสตร"
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
ร.๕ "ประกาศเลิกทาส" ภายหลังจากระบบไพร่ทาสได้พังพินาศไปเรียบร้อยแล้วในทางข้อเท็จจริง
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
รัชกาลที่๕ ตั้ง"เคาน์ซิลออฟสเตด"เพื่อกำจัดศัตรูทางการเมือง มิใช่จะตั้งศาลปกครอง/กฤษฎีกาแต่อย่างใด พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล 
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล
อำนาจบาทใหญ่ของคณะเจ้ารัชกาลที่ ๗ ช่วงก่อน ๒๔๗๕ : เจ้าทะเลาะกับราษฎร (กรณีนายจงใจภักดิ์) พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล, ค้นคว้า-เรียบเรียง