Skip to main content


--------------------------------------------------------------------------

@ " แม้ถูกกดก็จักขืนขึ้นยืนหยัด
แม้อ่อนหัดก็จักสู้ดูสักหน
ถึงจะแพ้ก็ยังดีกว่าที่ทน
อยู่อย่างคนชาเย็นเช่นคนตาย "

" เ ดี ย ว นี้ น้อย ก็ยังรู้สึกว่า เป็นคนตาย เป็นคนตายที่ตายทั้งเป็น แต่ ถ้าเรา "ตายก่อนตาย" ได้นั่นแหละดีที่สุด ... รักษาสุขภาพนะค่ะอ้าย ธรรมคุ้มครอง บุญรักษาค่ะ "

- - - เป็นบทกวี และ จดหมาย on line ที่สหายน้องสาวผู้งดงามดีงามในจิตวิญญาณและหัวใจของอ้ายอีกคนหนึ่ง... " กัญญา ลีลาลัย " หรือ "น้อย" ที่ post มาถึงฉันใน face book เกี่ยวกับ" ความตาย "

. . . บทกวีที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นของพี่"น้อย" ที่เธอแต่งมานานแล้ว สมัยใกล้ยุค ๑๔ตุลาคม ๒๕๑๖ ที่นักเรียน นิสิตนักศึกษาประชาชน นักคิด นักเขียน กวี ศิลปิน ครูบาอาจารย์ ทั่วประเทศ ฯลฯ เคลื่อนไหวโค่นล้มเผด็จการทหาร จอมพลประภาส - ถนอม - ณรงค์ กิตติขจร และสมุนลิ่วล้อบริวาร ฯลฯ จนก่อเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ อันยิ่งใหญ่ ... (ใครจะว่าที่ทำสำเร็จได้ ก็เพราะมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์เก่า อันมีศักดินาอมาตยาฯ ข้าราชการ และ ขุนศึกทหาร พลเอก กฤษณ์ สีวราห์ ที่ขัดแย้งกับเผด็จถนอมฯลฯ ใครจักคิดอย่างไรก็แล้วแต่... ฉันคิดว่า ถ้านิสิตนักศึกษาฯลฯ ไม่จุดชนวนการลุกขึ้นสู้ก็ยังจะไม่เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ อย่างแน่นอน) ในขณะการชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(และทั่วทุกภาคของประเทศไทย) อันมี อาจารย์ "เสกสรรค์ ประเสริฐกุล"อดีตนักศึกษาโข่งคณะรัฐแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง มหาวิทยาลัยของประชาชนที่ตั้งขึ้นโดยท่าน" ปรีดี พนมยงค์ " ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรืและการเมือง(แต่ต่อมาในเผด็จการรุ่นหลัง เขาได้ตัดคำว่า "การเมือง " ออกไป ... มันจะขี้ขลาดตาขาวพรั่นกลัวทำห่าอะไรฟ่ะ ไอ่น้อง) ท่านทำให้เป็นมหาวิทยาลัยเปิด)ดั่งเช่นมหาวิทยาลัยรามคำแหงในปรัตยุบัน) ให้ประชาชนเข้าไปศึกษาได้ จึงทำให้มีคำขวัญอันลือเลื่องว่า...

" ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะ ธรรมศาสตร์ สอนให้ฉันรักประชาชน "

- - - ด ว ง ต ะ วั น สาดแสงแรงจ้า ฉันรจนาเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อสนทนาธรรมกับประชาชนชาวออนไลน์ และ ฯลฯ

. . . ๘๐ปี แห่งการปฏิวัติ -" อภิวัฒน์"ประชาธิปไตย (คำ"อภิวัฒน์" นี้ท่าน"ปรัดี พนมยงค์" เป็นผู้บัญญัติคำนี้) ในการโค่นล้มระบบอบเผด็จการศักดินาสมบูรณาญาสิทธิราช โดย"คณะราษฏร์" อันมีหัวขบวนคือท่าน"ปรีดี พนมยงค์" คนดีศรีอยุธยา"รัฐบุรุษอาวุโส" (ท่านกำเนิดที่อยุธยา) ... คำว่า"รัฐบุรุษอาวุโส"นี้ท่านได้รับการแต่งตั้งโดย King "อานันทมหิดล" พระเชษฐา ของ King "ภูมิพล" ... ที่กษัตริย์อานันทมหิดล สวรรคตอย่างมีเงื่อนงำ ที่ยังเปิดเผยไม่ได้ ... เมื่อไรจะเปิดเผยได้ เจ้า ? ไอ้หนุ่มจิ๊กโก๋ปากซอยที่ไม่เคยตีหัวใครเข้าบ้าน ... พึมพำบ่นออกมา ... 

และแล้วพวกจารีตนิยมก็ไปใส่ร้ายป้ายสีท่านปรีดีฯ ผู้มีคุณูปการต่อประเทศไทยสมมุติ (ไม่ใช่วลีของอ้าย "จุ้ย ... ศุ บุญเลี้ยง" เน้อที่ เขียนหนังสือชื่อ "ไม่ใส่ร้าย แต่ป้ายสี" คือเป็นศิลปินเอาสีปาดป้ายให้งดงาม) โดยให้ลิ่วล้อบริวารไปตะโกนในโรงหนังว่า" ปรีดีฯ ฆ่าในหลวง" แม้คำพูดที่สำรากออกมานี้ที่ฟังแล้วที่สุดแสนจะมหาริยำ ! เอ๊า บาปกรรมยังตามทันอยู่มาจนบัดนี้ ... พี่น้องเอ๊ย ลองเอาหัวแม่ตีนตรึกตรองดูว่า ใครเล่าจักกล้าเข้าไปในห้องบรรทมของพระองค์ท่านได้? ... " นายบุศว์ นายเฉลียว ฯลฯ (และอีกคนจำชื่อไม่ได้) ที่เป็นมหาดเล็กหน้าห้องต้องกลายเปนแพะรับบาป ถูกประหารชีวิต... บาปกรรม จิง จิง ฟ่ะ )

- - - จบเรื่องนี้ซักกะเด่วเพียงชั่วคราวก่อน เพราะที่พูดแลกเปลี่ยนก้อเพราะ มันใจ๋ขึ้น เจ้า ha ha...

. . . ผ่ า น มาแล้วแปดสิบปี ยี่สิบสี่มิถุนายน พอศอ สองสี่เจ็ดห้า อันเคยเป็นวันชาติไทย ที่รัฐบาลในขณะนั้นประกาศให้เป็น แต่ทว่า ปรัตยุบันนี้ ไม่ได้เป็นแล้ว ! ปุจฉา ... ว่า กะเด่วนี้ วันชาติไทย(สมมุติตรงกะวันอะไรเอ๋ย? ได้โปรด วิสัชนา...

- - - อ้อ มีการดูถูกประชาชนในสมัยนั้นจากพวกจารีตนิยมเผด็จการศักดินาทำนองว่า... ประชาชนยังไม่พร้อมที่จะเป็นประชาธิปไตยเขาคิดว่าประชาชนยัง โง่ อยู่ (มีแต่พวกกูที่ฉลาด) ... ป๊าด ธ่อ หว่ะ ... เจ้าพวกนักธุรกิจกินเมืองโกงเมือง นักเลือกตั้งทั้งหลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ที่พวกเอ็งที่ใส่สูทผูกไท้ นั่งหน้าสลอนในรัฐสภาหล่ะ พวกเอ็งได้เป็นมาก็มิใช่ด้วยคุณูปการบุญคุณของ"คณะราษฎร์" เหรอ ? เจ้าพวกเนรคุณ!... บรมโคตร เชี่ย จิง จิง ... ขอพระอภัยมณีท่านผู้อ่านด้วยที่ครานี้ ข้าพระพุทธเจ้า ดุ อิบอ๋าย ไปโหน่ย แต่ก้อเพราะ " มันสุดแสนที่จักทนทานได้" เจ้าพี่น้อง... พะ ยะ คะ คับ เจ้า ...

. . . อีฉัน ชอบใจในคำแถลงของคณะราษฏร์ หลังจากโค่นล้มระบบเผด็จการศักดินาอำมาตฯ ลงไปแล้ว ในส่วนของคำแถลงการณ์มีใจความว่าดังนี้...

" ถ้าเจ้าว่าประชาชนโง่ เจ้า ก็ โง่ " (โปรดสืบเสาะไปอ่านคำแถลงการณ์ที่สมบูรณ์ อ่านจนจบ! 

- - - เดือนมิถุนายนปีนี้ตรงกะวันที่พระคุณพ่อ พระคุณแม่ ให้กำเนิดฉันมา ฉันถือว่า เป็นวันพ่อ วันแม่แห่งฉันอย่างแท้จริง... ฉันชอบใจที่อ้าย"สุชาติ สวัสดิ์ศรี... สิงห์สนามหลวง" ที่ตอบในคอลัมน์จดหมายสิงห์สนามหลวง ในหนังสือพิมพ์ เนชั่นสุดสัปดาห์ที่มีแฟนอ้ายสิงห์ฯ ถามเรื่องวันพ่อ พี่สิงห์ฯตอบทำนองว่า..." ผมมีพ่อเพียงคนเดียว แต่บัดนี้ท่านได้ตายไปแล้ว!"

อ้ายสิงห์ตอบทำนองว่า ... พระคุณพ่อของท่านสิงห์ ได้กลับคืนสู่อ้อมอกอันอบอุ่นของแม่พระธรรมชาติไปแล้ว! ณ บัดนี้ไม่มีใครเป็นพ่อของอ้ายสิงห์ฯ ด๊อก... เข้าใจ๋ นะจ๊ะ

. . . วันเปลี่ยนแปลงการปกครองฯ มีพวกเผด็จการจารีตนิยม อยากให้ลืมเลือน รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยก็อยากให้ลืม... แต่ประวัติศาสตร์ที่เป็นจริงของประชาชน มิวันลืมเลือนไปจากหัวใจจิตวิญญาณของประชาชนไปได้! มีแต่จักจดจำเป็นนิรันดร์! เด็กๆ นักเรียนเราเรียนรู้จากหลักสูตรการสอน(ฉันเคยเป็นครูบ้านนอก แต่ฉันย้ำเตือนวันอันงดงามมีความหมายนี้ให้นักเรียนเสมอ) ของกระทรวงศึกษาธิการ(กระทรวงของใครหว่า? ไม่ต้องตอบก็ได้) เด็กๆเรียนรู้แค่เอาไปตอบข้อสอบท่าวววน้านนนน

" ประวัติศาสตร์ อาจมีในหลายด้าน แต่คนที่ทำทาง มิเคยจะเอ่ยออกนาม คนที่ลุยน้ำ ลุยโคลน คนที่สรรค์สร้าง จากป่าเป็นเมือง รุ่งเรืองดังเพียง เวียงวัง ด้วยเลือดด้วยเนื้อของคนทำทาง ฝังแรงฝังร่าง อยู่กลางป่าดง ฯลฯ (เพลงกวีบทนี้เขียนโดย "อ้ายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์" ที่วงดนตรีเจ้าพระยา และวงดนตรีต้นกล้าทำริทึ่มทำนองแล้วเอามาร้องหลังการปฏิวัติของประชาชนในเดือนตุลาคม ๒๕๑๔... 

- - - ฉัน ประทับอยู่ ณ บ้านป่าในเมือง ที่มีร่มไม้ร่มรื่น แสงแดดเริ่มแผดจ้า นกเขายังขัน คู คู ผีเสื้อ ยังปรบปีกพลิ้วโผโบยบินเริงรำร่อน ไปดูดดื่มความหอมหวานของดอกไม้ ณ ที่นั่น ที่นี่ ที่โน่น ฯลฯ ... เสียงเครื่อจักรในเมืองยังดังกระหึ่ม ตัดฉากกับธรรมชาติชีวิต! กลองในอกข้างซ้ายของฉันยังรัวเต้นแข่งกับเสียงดังกระหึ่มของเครื่องจักรกล!

... โปรดอย่าทดท้อถอยพี่น้อง...วันปฏิวัติ - อภิวัฒน์ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ "คำตอบนั้น มิได้อยู่ในสายลม" ดอก

- - - คำ ต อ บ นั้ น อยู่ที่ มื อ ตี น ใ จ ของ ม ว ล ม ห า ป ร ะ ช า ช น เอง !

" The SOUND of Silence " "เสียงเงียบ" ยัง ดังอึงอลในจิตวิญญาณและหัวใจของ ผองเพื่อนพี่น้องมนุษยชาติเป็นนิรันดร์!!!

WE LOVE YOU !!! @

ส่วนบนของฟอร์ม

บล็อกของ แสงดาว ศรัทธามั่น

แสงดาว ศรัทธามั่น
  VERSION 1 :::  RATE  R @ ก่อนอื่นขอ question mark ?  (ตั้งคำถาม) ท่านผู้อ่านก่อนว่า คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” นั้น ผู้ได๋เป็นผู้บัญญัติศัพท์ขึ้นมา เมื่อใด ?
แสงดาว ศรัทธามั่น
(กลบทกาพย์กลอน ตี๋บ่าลูกกุยล่องโต้ง)   @ ลูกป้อจาย เมื่อว้ายลงโต้ง มือ หมัด ต้องมั่นคง พร้อมลุยเหล่าอันธพาลอันมิใช่นักเลง
แสงดาว ศรัทธามั่น
( ๑ ) _ วันชื่นคืนสุข : ๑๗ มกราคม ๒๕๕๓     @ ตั้งใจ เต็มที่ไปงานกิจกรรม “มกราคม อำลา…รงค์ วงษ์สวรรค์“ ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เพื่อนพ้องน้องพี่ ร่วมจัดตั้งแต่ ๙ มกราคม ถึง ๓๑ มกราคม ๒๕๕๓
แสงดาว ศรัทธามั่น
  (โคลงอิสรา)   @ ฯ ครา คนเรียนรู้โลก แจ่มชัด โลก ย่อมรักรึงรัด มนุษย์จ้อย โลกธรรมชาติชีวิต วางจัด แจ่มแจ้ง แล้วเนอ เพียงแต่มวลมนุษย์น้อย จักตรัสรู้ ฉันใด ? ฯ @
แสงดาว ศรัทธามั่น
@ “ไอ้เหี้ย … ไอ้ห่า… ไอ้ควาย ไอ้ ชาติหมา ฯลฯ” เสียงคำด่านี้ เราได้ยินมานมนาน จากอารมณ์ และ ปาก ของสัตว์มนุษย์ที่เรียกว่า… ค น
แสงดาว ศรัทธามั่น
  @ * " หะหาย กระต่ายเต้น ชมจันทร์ มันบ่เจียมตัวมัน ต่ำต้อย นกยูงหากกระสันต์ ถึงเมฆ มันบ่เจียมตัวน้อย ต่ำต้อย เดียรฉาน ฯ"
แสงดาว ศรัทธามั่น
  สา ย ล ม บ่า ย แห่งฤดูหนาวโชยพลิ้ว ณ บ้านชายทุ่งที่ ฉั น พำนักอยู่ ฉั นนั่งเขียนหนังสือท่ามกลางทุ่งฟ้ากว้าง แมลงปอสีน้ำตาลตัวเล็กพริ้มปีกบางหาอาหาร นกแซงแซวหางบ่วงสีดำบินผ่านหน้าฉั นไป ดีใจเพราะไม่ได้เห็นเธอนานแล้ว นับตั้งแต่บ้านดินของฉั นถูกแลกเปลี่ยนไปเป็นการสร้างสนามกอล์ฟแทน เมื่อก่อนนี้ที่บ้านดินขง ฉั น มีนกแซงแซวมาก มีมาเป็น คู่ คู่
แสงดาว ศรัทธามั่น
  @ แสงเสียงแสร้งสาดซ้ำ หลงเสียวคายคาคมหญ้าเรียว สั่นสร้านคานขื่อคายยวยเหนียว สะทกอยู่เยี่ยมเหมันต์โฉบบ้าน หวั่นแสร้งแสลงเสียว ฯ 
แสงดาว ศรัทธามั่น
  ( ๑ ) ตะ วั น รุ่ ง @ เช้า ต รู่ ตื่นขึ้นมา พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมาทักทายมนุษยชาติ ... วันนี้ ฉั น ตั้งใจนั่งทอดหุ่ยที่ชานบ้านไม้ชายทุ่ง ยลชมแสงตะวัน และ นกกาพริ้วปีกโบยบินออกหากิน ทางทิศตะวันออก  
แสงดาว ศรัทธามั่น
  * ( 1 ) ปุ จ ฉ า ปากกานี้สีอะไร ? ปากกา แ ด ง   -   สี เ ห ลื อ ง สีนอก หรือ สีใน ? ไว้เน้นคำที่ แ ต ก ต่า ง ... ความคิดนี้ สีอะไร ? ดวงใจตอบ ... ขาว      เทา      ดำ  
แสงดาว ศรัทธามั่น
( 1 ) โ อ บ ก อ ด แ ม่ @ ริ น ริ น ล่ อ ง ไ ห ล ข อ ง -โ ข ง แ ม่ยิ่งใหญ่ ง ด งา ม นั ก แ ม่ แ ห่ ง ลูก - แ ม่ แ ห่ ง โ ลก ... ประจักษ์ แ ม่ รั ก ลู ก เกื้อชีพ เสมอมา - - -