Skip to main content

วันแรงงาน จัดขึ้นเพื่อ ให้แรงงานหยุดงานมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิต่อนายจ้าง และรัฐ
แต่สิ่งที่เห็น คือ มีคนต้องทำงานในวันนี้เต็มไปหมด

คนที่ไม่ได้ทำงาน ก็ถือเอาเวลานี้ไปโรงพยาบาลเพื่อซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอจากการทำงาน หรือพาครอบครัว/ตัวเองไปพักผ่อน

วันแรงงาน เพื่อผู้ใช้แรงงาน จึงพ่ายแพ้ต่อ การกิน เที่ยว และรักษาสุขภาพ ไปโดยปริยาย

 

คำถามสำคัญ ในวันแรงงาน แรงงานต้องการอะไร

ค่าจ้างเพิ่มขึ้นใช่ไหม?

คำตอบที่ได้ คือ ถ้าไม่ควบคุมราคาสินค้า ก็แย่เหมือนเดิม

ตายยิ่งกว่า ถ้ารัฐประกาศล่วงหน้าว่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพราะสินค้าขยับราคาขึ้นไปรอท่าแล้ว

 

388 บาทต่อวัน จึงจะพอหายใจพ้นน้ำ แต่ได้จริงแค่ 300 แล้วอยู่ได้อย่างไร?
ตอบง่ายๆ ก็ โอที ไง

โอที จึงเป็น อาวุธสำคัญที่นายจ้างใช้ควบคุมคนงาน ใครหืออือ ไม่ต้องไล่ ไม่ต้องแกล้ง แค่ไม่ให้ทำโอที ก็พอ

โอทีกินเวลาที่เหลือในชีวิตของแรงงานไปทั้งหมด การพบปะ พูดคุยกัน ทำกิจกรรม หรือหาทางรวมตัวเรียกร้องสวัสดิการและความปลอดภัยเพิ่มเติมจึงยาก
เลิกงานปุ๊ย ก็กลับบ้านหลับเป็นตาย แล้วรีบตื่นขึ้นมาสู้ชีวิตใหม่ในวันรุ่งขึ้น


ปัญหาของแรงงานทั้งหมดจึงถอดออกมาง่ายๆ ได้ 3 อย่าง คือ
1. เงินไม่พอ เพราะ
2. สินค้าราคาแพงขึ้น
3. ไม่มีเวลาไปคิด วิเคราะห์ รวมตัว จัดตั้ง เรียกร้องสิทธิกับรัฐ หรือนายจ้าง

ใครคือต้นเหตุของ 3 สาเหตุนั้น
1. ใครให้เงินไม่พอ
2. ใครทำให้สินค้าราคาแพง
3. ใครดูดเวลาในชีวิตแรงงานไป

พบคำตอบว่า
1. นายจ้าง/บรรษัทกดค่าแรงให้ต่ำสุด หากหืออือ ย้ายฐานการผลิต
2. นายจ้าง/บรรษัทผูกขาดตลาดและการผลิตสินค้า/บริการ
3. เมื่อไม่พอใช้ คนก็ยิ่งต้องทำงานหลายอย่าง หลายกะ ให้บรรษัท/นายจ้าง เวลาให้เพื่อนแรงงาน สังคม ครอบครัว และตัวเอง จึงหายไป
โดยมี "รัฐ" ยืนทำตาปริบๆ เห็นปัญหา แต่ไม่รู้ทำไมว่าไม่ยอมแก้ไข  แต่พร่ำพูดเสมอไปว่า จะแก้อะไร แค่ดึงดูดการลงทุนให้ได้ก็เหนื่อยแล้ว

หากคิดว่าปัญหาของแรงงานเป็นเรื่องใหญ่ เห็นจะไม่พ้น ต้องเข้าไปยึดอำนาจรัฐ เพื่อไปกำกับ "บรรษัท" ให้ได้

หวังจะให้ พรรคนายทุนเก่า นายทุนใหม่ มาแก้ให้คงจะไม่ไหวอีกแล้ว   มองหาเพื่อนแรงงานนอกที่ทำงานกันเถิด 

หรือ พรรคใด อยากจะชนะการเลือกตั้งครั้งต่อไป ควรมาขายนโยบายแก้ไขปัญหาแรงงานโดยตรงกันได้แล้ว หรือไม่กล้าเพราะว่ายังรับเงินอุดหนุนจากเจ้าสัวกันอยู่

อย่าลืมว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ คือ ผู้ใช้แรงงาน 
 

บล็อกของ ยาจกเร่ร่อน

ยาจกเร่ร่อน
ในสังคมไทยปัจจุบันการทำงานของคนเน้นไปที่การแข่งขันกันทำงานเพื่อสะสมเงินไว้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตัวเอง ตั้งแต่การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงปากท้องไปวันๆ การอดออมไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน รวมไปถึงเก็บหอมรอมริบไว้ทำทุนในอนาคต  หรือพูดง่ายๆก็คือ ทุกคนต้องสะสมทุกอย่างเพื่อตัวเอง   เพราะสังคมไทยไ
ยาจกเร่ร่อน
คนในโลกปัจจุบันเริ่มไม่รู้หน้า รู้หลัง ไม่รู้ว่าปัจจุบันกำลังทำอะไร เพื่ออะไร หรือควรจะทำอย่างไรต่อไปกับชีวิตเพราะคุณค่า ความหมาย ในหัวที่ถูกกดดัน บีบคั้น เพราะสิ่งที่ถูกสั่งสอนมา มันขัดแย้ง ยอกย้อนกันเอง มาตลอด
ยาจกเร่ร่อน
หลังๆ คงได้ยินคนบ่นว่า "เบื่อคนต่างด้าวที่เข้ามาแย่งงานคนไทย" หรือ "รำคาญนักท่องเที่ยวที่ทำอะไรตามใจตัวเอง" หรือที่เคยกระหึ่มเป็นพักๆ ก็คือ  "ต่อต้านบรรษัทข้ามชาติ"   เรื่องเหล่านี้ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ
ยาจกเร่ร่อน
หากจะลองค้นหาดูว่าในสังคมไทยเรารักเทิดทูนบูชาอะไร เป็นสิ่งสูงสุดในชีวิต อาจทำได้ด้วยการหาหลักฐานมาบอกว่าเราแสดงความรักกับอะไรมากที่สุด   มูลค่าและราคาของสิ่งที่เรารักจนยอมเสียเงินซื้อหามา น่าจะเป็น "ตัวชี้วัดที่ดี" ได้อย่างหนึ่ง  
ยาจกเร่ร่อน
สิ่งที่ยังยืนยันว่า คนจีนยังมีรากเหง้าอยู่ คือ พิธีไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษในช่วงตรุษจีน และเช็งเม้ง  แต่สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ ความทรงจำของคนจีน ที่ผ่านคำบอกเล่าของบรรพบุรุษที่อพยพมากจากเมืองจีน
ยาจกเร่ร่อน
การชุมนุม เป็นเครื่องมือของใคร?หากยึดตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายต่างๆ ประชาชนทุกคนย่อมมีสิทธิในการชุมนุมเพื่อแสดงออกได้อย่างเสมอภาคกัน
ยาจกเร่ร่อน
แด่ พ่อแม่พี่น้องและเพื่อนที่เสนอให้ Respect your Tax ขอพูดง่ายๆ นะครับ สาเหตุที่ต้องเอาการเมืองเรื่องสิทธิการเลือกตั้ง 1 คน 1 เสียง มาใช้ ก็เพื่อมาแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เพราะ  ต้นทุนในชีวิตของแต่ละคนในการเริ่มต้นมันไม่เท่า
ยาจกเร่ร่อน
แรงงานพลัดถิ่น คือใคร
ยาจกเร่ร่อน
ใคร คือ แรงงานอารมณ์?
ยาจกเร่ร่อน
แม่ครัว เด็กเสิร์ฟ หาบเร่แผงลอย ช่างนวด คนขับรถรับจ้าง แม่บ้าน คนทำความสะอาด ยาม เป็น "ตัวแทนสาขาอาชีพ" ได้ไหม?