Skip to main content

ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล


ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...มื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร


ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อให้ได้มาซึ่งกรอบการวิเคราะห์ที่สมบูรณ์


ประเภทของความรู้และความสามารถ ซึ่งถือว่าเป็นทักษะสำคัญในการโต้คลื่นฯ คือความรู้และความสามารถซึ่งทำให้แต่ละปัจเจกบุคคล ใช้ประโยชน์จากปริมาณข้อมูลรอบตัวที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้รับประโยชน์จากวิถีชีวิตใหม่ๆ อย่างเต็มที่ เนื่องจากทั้งสองปรากฎการณ์นี้ เป็นสองผลลัพธ์สำคัญ ซึ่ง ICT ได้ก่อให้เกิดขึ้นกับโลกของเรา


โดย...เมื่อมองไปที่ปรากฎการณ์ การเพิ่มปริมาณของข้อมูลรอบตัว ความรู้และความสามารถต่างๆ ที่จะช่วยให้แต่ละปัจเจกบุคคล สามารถใช้งานและได้รับประโยชน์ จากข้อมูลปริมาณมหาศาลดังกล่าวได้ มีดังนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีและเครื่องมือที่จำเป็นในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและค้นหาข้อมูลที่ต้องการ

2. ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและข้อมูลที่ตนต้องการ

3. ความรู้และความสามารถในการเลือกรับ กรอง และเรียงลำดับ ความสำคัญของข้อมูลและความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล

4. ความรู้และความสามารถในการยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายทางความคิด

5. ความสามารถในการใช้เหตุผลประกอบการพิจารณาและการให้เหตุผลรองรับการตัดสินใจ


ซึ่งข้าพเจ้าขอให้เหตุผลรองรับความสำคัญ ของความรู้และความสามารถข้างต้น ดังนี้


ความรู้ข้อที่ 1และ 2 เป็นความรู้ที่แต่ละบุคคลจำเป็นต้องมี เพื่อทำให้ตนเองสามารถเข้าถึงแหล่งเก็บข้อมูล และสามารถค้นหาข้อมูลที่ตนต้องการจากแหล่งข้อมูลนั้น อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากข้อมูลแต่ละแหล่งและข้อมูลแต่ละประเภท ต้องการความรู้เกี่ยวกับวิธีและเครื่องมือในการค้นหาที่แตกต่างกันไป นั่นจึงทำให้แต่ละบุคคลอาจต้องการความรู้ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลและประเภทข้อมูลที่ตนต้องการ


และเนื่องจากในปัจจุบัน กำแพงข้อจำกัดในการทำการสื่อสารมวลชน ได้ถูกทำลายลง จากผลของการขยายตัวของอินเตอร์เนต และราคาที่ต่ำลงของอุปกรณ์ดิจิตอล สองสิ่งซึ่งอนุญาตให้เกิดการสร้างและแพร่กระจายข้อมูล ทำให้ความรู้และความสามารถในข้อที่
3 มีความสำคัญ ในการช่วยให้แต่ละปัจเจกบุคคล สามารถเลือกบริโภคข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และถูกต้อง ตามลำดับความสำคัญของตัวแปรวิเคราะห์ที่ตนกำหนด ท่ามกลางสภาวะการถูกโถมกระหน่ำด้วยคลื่นแห่งข้อมูลข่าวสารปริมาณมหาศาล


ในขณะที่ความรู้และความสามารถในข้อที่ 1-3 จำเป็นต่อการผจญกับผลลัพธ์ทางตรงของภาวะการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของปริมาณข้อมูลข่าวสาร ความรู้และความสามารถในข้อที่ 4 และ 5 เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์รอดชีวิตจากผลลัพธ์ทางอ้อมของภาวะดังกล่าว


ผลลัพธ์ทางอ้อมที่ข้าพเจ้ากล่าวถึง คือสิ่งที่ข้าพเจ้าเคยกล่าวไว้ในบทความหลายๆบทก่อนหน้านี้ นั่นคือ การเกิดขึ้นของสังคมในแนวขนาน การท้าทายกระแสหลัก และผลลัพธ์ทางสังคมที่ย้อนแย้ง (บทความที่ 1, 4, และ 5) ซึ่ง ICT เป็นตัวการให้เกิดขึ้น


เมื่อปริมาณข้อมูลที่มนุษย์สามารถเลือกบริโภคมีมากขึ้น อีกทั้งข้อมูลจำนวนมหาศาลนั้นยังมีความหลากหลายมากขึ้นอีกด้วย ย่อมทำให้เกิดความแตกต่างและความหลากหลายทางความคิดมากขึ้น อีกทั้งการที่ ICT เปิดโอกาสให้มนุษย์ทุกคน สามารถคิดได้เสียงดังมากขึ้น หมายถึงสามารถแสดงออก แลกเปลี่ยน และสร้างอิทธิพลทางความคิด รวมทั้งเคลื่อนไหวทางสังคมได้ง่ายและเร็วขึ้น


เมื่อเป็นเช่นนี้ ความรู้และความสามารถในข้อที่ 4 ซึ่งได้แก่การยอมรับในความแตกต่างและความหลากหลายทางความคิด และในข้อที่ 5 ซึ่งก็คือความสามารถในการใช้เหตุผลประกอบการพิจารณาและรองรับการตัดสินใจต่างๆ ของสมาชิกทุกคนในสังคม จึงเป็นทักษะจำเป็นอย่างมากต่อการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน เพื่อให้การวิพากษ์วิจารณ์หรือการถกเถียงในสังคม เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ และเพื่อทำให้สังคมสามารถดำรงความสงบสุขได้ ในช่วงเวลาที่ความหลากหลายทางความคิดในสังคมเพิ่มปริมาณมากขึ้นในทุกขณะ


นอกจากความรู้และความสามารถ อันเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มปริมาณของข้อมูลรอบตัว ข้างต้น ยังมีความรู้และความสามารถอีกกลุ่มหนึ่ง ที่จำเป็นกับการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร นั่นคือความรู้และความสามารถเพื่อการรับประโยชน์จากวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลลัพธ์ ที่ ICT ก่อให้เกิดขึ้น


รูปแบบชีวิตใหม่ที่ข้าพเจ้าพูดถึงนี้ได้แก่ รูปแบบชีวิตที่มีอิสระในการจัดการงานและกิจกรรมต่างๆมากขึ้น โดยมีสาเหตุหลักจากการที่ข้อมูลและธุรกรรมต่างๆถูกนำมาให้บริการออนไลน์ อีกทั้งเทคโนโลยีเครือข่ายและอุปกรณ์ ICT ต่างๆ ได้เพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมต่อออนไลน์ได้จากทุกหนแห่งให้กับมนุษย์


โดยในทัศนะของข้าพเจ้า ความรู้และความสามารถเพื่อการรับประโยชน์จากวิถีชีวิตใหม่ข้างต้น มีรายละเอียดดังนี้


1. ความรู้และความสามารถในการใช้เครื่องมือช่วยจัดการข้อมูลออนไลน์ต่างๆ

2. ความรู้และความสามารถในการใช้งานโปรแกรมมาตรฐานเปิด (Open Source Software)

3. ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจใหม่ๆที่เกิดขึ้นโดย ICT

4. ความสามารถในการสร้างรายได้รูปแบบใหม่ๆ


และเหตุผลรองรับความจำเป็น ของความรู้และความสามารถข้างต้น มีดังต่อไปนี้


ความรู้ข้อที่ 1 เป็นความรู้สำคัญที่ช่วยให้ผู้ต้องการโต้คลื่นฯ ประหยัดเวลาในการบริหารจัดการข้อมูล ทำให้แต่ละบุคคลได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการในเวลารวดเร็ว และใช้ประโยชน์ข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของเครื่องมือต่างๆเหล่านี้ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี web feed และโปรแกรม aggregator เช่น RSS reader ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลสดใหม่จากเว็บที่อยู่ในความสนใจ ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปในทุกๆหน้าเว็บ ทุกครั้งที่ต้องการอัพเดทข้อมูล หรือการใช้ประโยชน์จากโปรแกรมช่วยบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เช่น Microsoft Outlook ซึ่งช่วยจัดการตารางและเตือนนัดหมาย ช่วยทำบันทึกช่วยจำ จัดระเบียบบริหารงานที่ได้รับมอบหมาย และบริหารจัดการอีเมล์จากที่อยู่อีเมลต่างๆที่แต่ละบุคคลมี


ถัดมาคือ ความรู้และความสามารถในข้อที่ 2 ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาโปรแกรม ที่มีประโยชน์กับการดำเนินชีวิต และมีความจำเป็นต่อการทำงาน ในยุคปัจจุบัน ได้อย่างมากมาย เนื่องจากคุณลักษณะหลักของโปรแกรมมาตรฐานเปิด ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยเสรี และไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ อีกทั้งโปรแกรมในมาตรฐานนี้ ยังไม่ปิดกั้นการนำ source code ไปใช้เพื่อการพัฒนาต่อยอดได้ต่อไป หากแต่มีข้อแม้ว่า สิ่งที่พัฒนาต่อยอดนั้น ต้องเปิดให้ผู้อื่นนำไปใช้ หรือนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป ภายใต้มาตรฐานเดียวกันด้วยเช่นกัน


ในขณะที่ความรู้และความสามารถในข้อที่ 1 และ 2 เป็นสิ่งที่ช่วยให้การใช้ทรัพยากรอันมีค่าสำคัญสองประการนั่นคือ “เวลา” และ “รายได้” (ประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่าย ตามลำดับ) ความรู้และความสามารถในข้อที่ 3 และ 4 กลับสร้างประโยชน์ให้ผู้โต้คลื่นฯ ในลักษณะของการเปิดช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ๆ


รูปแบบธุรกิจใหม่ๆที่เกิดขึ้น ซึ่งมี ICT เป็นตัวผลักดัน ได้แก่ การทำธุรกิจออนไลน์ต่างๆ อันได้แก่ การค้าขายออนไลน์ การโฆษณาออนไลน์ และการพัฒนาสังคมออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจออนไลน์ อันได้แก่ การทำธุรกิจให้เช่าพื้นที่เก็บรักษาเว็บและอุปกรณ์เกี่ยวข้องต่างๆ และระบบการรับจ่ายเงินออนไลน์เช่น Paypal เป็นต้น


รูปแบบธุรกิจข้างต้นนี้ เป็นตัวอย่างเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ ICT เปิดช่องทางการสร้างรายได้ใหม่ๆ ยังมีช่องทางธุรกิจอีกหลายรูปแบบ ที่รอให้แต่ละปัจเจกบุคคลเข้ามาค้นหา และสร้างรายได้ของตน หากแต่บุคคลผู้นั้น ต้องมีวิสัยทัศน์ที่จะมองเห็นธุรกิจ และต้องมีความรู้และความสามารถ เพื่อทำให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้


ทั้งหมดที่กล่าวมาในวันนี้คือ ความรู้และความสามารถ ที่ถือได้ว่าเป็นทักษะที่มีความจำเป็นต่อการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งข้าพเจ้าอยากให้ทุกท่านได้ตระหนักและมีติดตัวไว้ เพื่อให้ทุกท่านสามารถใช้กระดานโต้คลื่นฯ ที่ได้เลือกสรรอย่างดี ตามคำแนะนำของข้าพเจ้าในบทความที่แล้ว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลังจากที่ทุกท่านมีกระดานโต้คลื่นฯ พร้อมทักษะสำคัญในการโต้คลื่นฯแล้ว ทุกท่านจะใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเอาตัวรอดจากความวุ่นวายและสับสนของข้อมูลรอบตัว เพื่อเลือกนำข้อมูลรอบตัวมาใช้ประโยชน์อย่างมีสติ และเพื่อให้ทุกท่านสามารถใช้เวลาและรายได้ ที่ทุกท่านมีอยู่อย่างจำกัด ได้อย่างคุ้มค่า


ขออวยพรให้ทุกท่าน สามารถขึ้นไปยืนอยู่บนยอดคลื่นได้อย่างสง่าผ่าเผย มุ่งไปสู่การมีชีวิตที่ดี และอนาคตที่สดใส


...
แล้วไปเจอกันบนยอดคลื่นนะ

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
น้ำมาถึงไหนแล้วหว่า...บ้านฉันน้ำจะท่วมมั้ยเนี่ย...จะหาข้อมูลที่จำเป็นได้จากที่ไหนบ้างหว่า...เวลาเดือดร้อนจะต้องแจ้งใคร...ทำไมโทรไป 1111 กด 5 แล้วถามอะไรไปก็ตอบไม่ได้... ........ใครก็ได้ช่วยบอกทีเหอะว่าฉันกับครอบครัวต้องทำยังไงบ้าง.......ข้อมูลประกอบการตัดสินใจอะไรๆก็ไม่มี ที่มีก็ไม่รู้จะเชื่อได้มากขนาดไหน เชื่อได้รึเปล่า.........
SenseMaker
ขอสวัสดีปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงอวยพรให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจมีเงินทองใช้ไม่ขาดมือ และมีสติในการดำเนินชีวิตอยู่เสมอ
SenseMaker
  จากที่สัญญาว่าในบทความนี้ ข้าพเจ้าจะมาต่อยอดบทความจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “ความร่ำรวยข้อมูล” ด้วยการวิเคราะห์ความจำเป็น ที่เราจักต้องพัฒนาทั้ง 3 ส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ ความอุดมทางด้านข้อมูล ความยากง่ายในการเข้าถึงข้อมูล และมุมมองที่มีในการวางแผนโครงสร้างข้อมูลบนเว็บ ไปพร้อมๆกัน เพื่อทำให้ทุกท่านเข้าใจประเด็นดังกล่าวนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
SenseMaker
เป็นอีกครั้งที่ข้าพเจ้าไม่สามารถส่งบทความเข้ามาได้ตามกำหนด โดยคราวนี้ทิ้งระยะไปนานมาก จนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผิดต่อผู้อ่านและผู้บริหาร blogazine เป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
SenseMaker
ต่อเนื่องจากบทความที่แล้วในหัวข้อ ความเป็นส่วนตัวของคุณราคาเท่าไหร่ ข้าพเจ้าอยากชวนท่านผู้อ่านคิดต่อไปอีกนิดว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ที่ท่านเปิดเผยไว้บนพื้นที่ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network sites) ต่างๆ เช่น Facebook และ MySpace จะไม่ทำให้ท่านสูญเสียอะไร หรือเสียใจในอนาคต
SenseMaker
จากบทความที่แล้วในหัวข้อ การจัดระเบียบโลกใหม่ การเมืองไทย และICT ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่า เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ICT ในปัจจุบัน ทำให้ความสามารถของมนุษย์ ในการจัดการและจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหากอาศัยเพียงประสาทสัมผัสของมนุษย์ จะไม่สามารถเข้าถึงและจัดการได้ และความด้วยความก้าวหน้านี้ ทำให้มนุษย์สามารถเห็นและรับรู้ ในข้อมูลที่เคยยากที่จะเห็นและรับรู้ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจในสิ่งที่เคยยากต่อการวิเคราะห์
SenseMaker
ความก้าวหน้าทาง ICT ในปัจจุบัน ช่วยให้เราๆท่านๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งยากที่จะเข้าถึงในอดีต ได้ง่ายขึ้น เช่น ข้อมูลของบุคคลหรือข้อมูลขององค์กรที่เราสนใจ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศใดประเทศหนึ่ง รวมถึงองค์ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นต้น
SenseMaker
หลังจากบทความที่เรียกได้ว่า บทบรรณาธิการแรก ได้ชี้แจงเป้าหมายการดำรงอยู่ ของพื้นที่ทางความคิดแห่งนี้ บัดนี้เวลาล่วงเลยมาครึ่งปี โอกาสแห่งการพูดคุย กับท่านผู้อ่านอีกครั้ง ก็มาถึงทุกๆ12 บทความ ที่ได้ทำหน้าที่ของมันผ่านพ้นไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่ผู้เขียนกับผู้อ่านจะได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นประโยชน์กับทุกๆคน อย่างแท้จริงในทัศนะของข้าพเจ้าแล้ว ICT เข้ามามีบทบาท ต่อชีวิตของเราทุกคน ในทุกวันนี้มากขึ้นทุกที แต่ละคนได้รับประโยชน์ ผลกระทบ และผลลัพธ์ ที่แตกต่างกันไป จากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ซึ่งมี ICT เป็นปัจจัยต้นเหตุ
SenseMaker
Peer Review อาจไม่ใช่คำในภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมคุ้นเคย แต่เป็นคำคุ้นเคยเป็นอย่างดีในสังคมนักวิชาการ อาจารย์ หรือ นักวิจัย เนื่องจากสังคมดังกล่าว มีวัฒนธรรมและกิจกรรมหลัก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ผ่านการพัฒนาผลงานวิจัยใหม่ ซึ่งการยอมรับจากสมาชิกในสังคมเดียวกัน มีความสำคัญกับผลงานวิจัยแต่ละชิ้นมาก เนื่องจากไม่ว่าผลงานดังกล่าว จะมีคุณภาพในสายตาผู้พัฒนาเพียงใด แต่หากไม่ได้รับการตอบรับจากสมาชิกในสังคม ผลงานนั้นก็ถือได้ว่า ไม่ได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมมากนัก
SenseMaker
ในอดีต การเกิดขึ้นของสังคม มักจะถูกจำกัดด้วยเส้นขอบเขตของเวลาและสถานที่ การเป็นส่วนหนึ่งในสังคม เกิดจากการมีส่วนร่วมอยู่ในเวลาและสถานที่เดียวกัน เช่น การอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน การไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาเดียวกัน การทำงานในบริษัทหรือสถานที่ทำงานเดียวกัน หรือ การอยู่ในกลุ่มทำกิจกรรมเดียวกัน เป็นต้นแต่ด้วยความก้าวหน้าของ ICT และการขยายตัวของอินเตอร์เนต ทำให้ในปัจจุบัน การมีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ของเราแต่ละคน ไม่ถูกจำกัดโดยสองข้อจำกัดข้างต้น อีกต่อไป และทำให้ในปัจจุบันนั้น เราแต่ละคน มีและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ถูกสร้างขึ้นบนอินเตอร์เนต เพิ่มมากขึ้นๆทุกที
SenseMaker
  หลังจากหลายบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่นับวันดูเหมือนว่า "เป็นการยากสำหรับประชาชน ที่จะทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างเท่าทัน" บทความวันนี้ จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับกลไกทางสังคม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพื่อทำหน้าที่คุ้มกันและช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือถูกกระทำ จากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหล่านี้ โดยไม่อาจป้องกันตนเองได้อย่างเท่าทัน หากขาดไปซึ่งกลไกทางสังคมที่จะขอกล่าวถึงในวันนี้เรามาเริ่มทบทวนกันก่อนว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งถูกกล่าวถึงในคอลัมน์แห่งนี้…
SenseMaker
สุขสันต์ปีใหม่แด่ทุกท่าน ผู้ซึ่งให้เกียรติแวะเวียนเข้ามาอ่านบทความในคอลัมน์แห่งนี้ ทั้งขาประจำและขาจร ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงอำนวยอวยพรให้ทุกท่านมีความสุขกาย สบายใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีสติ (และมีสตางค์ใช้อย่างพอเพียง) ข้าพเจ้าขอเริ่มต้นปีใหม่ ด้วยอีกหนึ่งงานเขียนที่มุ่งสื่อสารให้ผู้คนในวงกว้าง ตระหนักถึงผลกระทบที่ ICT มีต่อการดำเนินชีวิตในทุกระดับ เพื่อให้ทุกท่านสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อย่างเท่าทัน อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้มันอย่างมีประโยชน์