Skip to main content

ช่วงนี้เป็นช่วงสอบสำหรับมหาวิทยาลัยที่ผมทำงานอยู่ พฤติกรรมของนักศึกษาในห้องสอบอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสียงดังโดยนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาแต่รอพรรคพวกอยู่นอกห้องสอบ การที่เปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบ (ถึงแม้ว่าคณะกรรมการคุมสอบห้ามแล้วก็ตาม) การที่ไม่วางปากกาทั้งๆ ที่หมดเวลาสอบแล้ว ฯลฯ

         ก่อนหน้านี้ผมคิดว่า มันเกิดจากระดับวินัยชองนักศึกษาอันต่ำ ผมไม่ปฏิเสธว่า โดยภาพรวม วินัยของนักศึกษาไทย (รวมถึงนักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่เป็นที่ทำงานของผม) ก็ไม่อยู่ในระดับที่น่าชื่นชม และวินัยของนักศึกษาสมัยนี้ก็ตกต่ำกว่านักศึกษาประมาณ 15 ปีที่แล้ว เมื่อผมมาอยู่ที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก แต่หลังจากสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ ผมเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า นักศึกษาสมัยนี้เข้าใจถึงความสำคัญของสถานการณ์การสอบ (exam condition) หรือไม่

         การสอบเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสถาบันการศึกษาเพื่อวัดผลกาศึกษาของนักเรียนนักศึกษา ด้วยเหตุนี้ กฎระเบียบต่างๆ ก็จำเป็นต้องบังคับใช้อย่างเข้มงวดที่สุด อีกนัยหนึ่ง การรักษาสถานการณ์การสอบ (exam condition) เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อยึดถือหลักการของการศึกษาระบบใหม่ซึ่งเน้นความเท่าเทียมกันและความยุติธรรม

1. ทำไมส่งเสียงดังไม่ได้

ในสถานการณ์สอบ ฝ่ายผู้จัดสอบจำเป็นต้องให้แน่ใจว่า ผู้เข้าสอบสามารถทำข้อสอบในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ช่วงแรกๆ ของเวลาสอบ ทุกคนสามารถทำข้อสอบได้ในสถานการณ์ที่ไม่มีเสียงรบกวน แต่หลังจากนั้น นักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนหมดเวลาบางคน (จริงๆ แล้วส่วนใหญ่) ก็ไม่ยอมกลับหอ แต่อยู่สถานที่สอบต่อ อ้างว่ากำลังรอเพื่อนที่ยังทำข้อสอบไม่เสร็จ นักศึกษาหลายๆ คนส่งเสียงดังที่ทำลายสถานการณ์ข้อสอบ การกระทำนี้เป็นการละเมิดสิทธิของนักศึกษาที่ยังทำข้อสอบอยู่ ดังนั้น สถานการณ์สอบของนักศึกษาที่ส่งข้อสอบก่อนที่ทำข้อสอบโดยไม่มีเสียงรบกวนกับนักศึกษาที่ยังทำข้อสอบท่ามกลางเสียงรบกวนไม่เท่ากันแล้ว นักศึกษาที่กระทำเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นนักศึกษาที่ไม่เคารพสิทธิพื้นฐานของผู้อื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีฐานะเป็น “นักศึกษา”

2. ทำไมต้องส่งข้อสอบทันทีที่เวลาสอบหมด

การที่ให้ผู้เข้าสอบทำข้อสอบภายในช่วงเวลาเดียวกันก็มีสาเหตุมาจากหลักการความเท่าเทียมกันและความยุติธรรม นักศึกษาที่ไม่ยอมวางปากกาและส่งข้อสอบ ทั้งๆ ที่ผู้คุมสอบประกาศว่าหมดเวลาสอบแล้ว เป็นคนที่คิดว่า ตัวเองมีสิทธิเหนือกว่าผู้อื่น หรือไม่มีจิตสำนึกใดๆ ในเรื่องสิทธิ ขอเน้นหลักการที่สำคัญว่า ตราบใดที่คุณเป็นนักศึกษา คุณมีสิทธิเท่าเทียมกันกับผู้อื่น ดังนั้น คุณก็ไม่มีสิทธิใดๆ ที่จะขยายสิทธิของคุณเหนือกว่าผู้อื่น ไม่ว่ามีสาเหตุอย่างใดก็ตาม การที่คณะกรรมการคุมสอบไม่ให้นักศึกษาเปิดตัวข้อสอบก่อนเวลาสอบก็มาจากสาเหตุเดียวกัน คือ ต้องทำข้อสอบภายในช่วงเวลาเดียวกัน การขยายเวลาสอบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการสอบเป็นการกระทำขยายสิทธิของตัวเองโดยฝ่าฝืนกฎระเบียบเพื่อรักษาความเท่าเทียมกันและความยุติธรรม นักศึกษาแบบนี้ไม่ควรได้รับบัตรปริญญา เพราะไม่เข้าใจหลักการนี้

Exam condition ในประเทศไทย

ไม่ใช่นักศึกษาเท่านั้น เท่าที่ผมสังเกต ยังมีอาจารย์บางท่านที่ส่งเสียงดังหรือให้นักศึกษาทำข้อสอบแม้ว่าเวลาสอบหมดแล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า ในประเทศไทย เรื่องการรักษาสถานการณ์สอบไม่ได้รับความสำคัญและความเคารพ

         ในตรงกันข้าม ในประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่ที่ยึดหลักการวิชาการซึ่งมีความเท่าเทียมกันและความยุติธรรมเป็นพื้นฐาน สถานการณ์ข้อสอบได้รับการปกป้องอย่างเข้มงวง เช่นเดียวกันกับระบบข้อสอบระหว่างประเทศ (เช่น IELTS หรือ TOEFL) ก็รักษาเรื่องนี้อย่างเข้มงวดที่สุด การที่ปล่อยนักเรียนนักศึกษา (รวมถึงอาจารย์บางส่วน) ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อระดับการศึกษาของประเทศอย่างแรง เพราะคนเหล่านี้ไม่เข้าใจหลักการสำคัญของวิชาการ

          ผมได้สัมผัสความเข้มงวดของสถานการณ์สอบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น และทราบว่ามาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานสากลเมื่อผมนั่งสอบภาษาอังกฤษ IELTS ซึ่งใช้มาตรฐานที่เข้มงวดลักษณะเดียวกัน

         ตราบใดที่นักเรียนนักศึกษา (ไม่ต้องพูดถึงครูบาอาจารย์) ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์สอบ ระดับการศึกษาของประเทศไทยก็คงจะอยู่กับที่ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อาจจะพัฒนาอีกต่อไป เพราะศักดิ์ศรีของสถานการณ์สอบเป็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนสำหรับระดับการศึกษาของประเทศ ตอนนี้ผมเข้าใจว่า ทำไมระดับการศึกษาของประเทศไทยอยู่ในระดับปัจจุบัน

         การที่ทำให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาเข้าใจถึงความสำคัญของสถานการณ์สอบ ซึ่งมีหลักการวิชาการที่ยึดมั่นในความเท่าเทียมกันและความยุติธรรม มีความสำคัญมากกว่าการที่เผยแพร่คุณค่าบางอย่างหรือทำพาสปอร์ตบางชนิดที่อ้างว่าจะส่งเสริมความดีงาม ความดีงามที่ไม่ยึดถือความเท่าเทียมกันและความยุติธรรมก็แค่ความดีงามผิวพื้นที่ไม่อาจพัฒนาการศึกษาของประเทศหนึ่ง

บล็อกของ Shintaro Hara

Shintaro Hara
มหาวิทยาลัยเคอีโอ วิทยาเขตฟูจีซาวะ (慶応大学湘南藤沢キャンパス) ซึ่งเป็นที่เรียนของผมสำหรับระดับปริญญาตรี ตั้งอยู่ในจังหวัดคานางาวะ (神奈川県) ส่วนบ้านผมอยู่ในโตเกียว ดังนั้น ผมต้องใช้เวลาการเดินทางประมาณสองชั่วมองครึ่งสำหรับขาไปอย่างเดียว เพราะฉะนั้น วันใดที่มีคาบเรียน ผมก็ต้องใช้เวลาเกือบห้าชั่วโมงสำหรับการเดิน
Shintaro Hara
ณ ปัจจุบันนี้ สังคมไทยกับสังคมญี่ปุ่นก็ตกอยู
Shintaro Hara
ตั้งแต่มีหนังสือพิมพ์ ชาวอังกฤษแสดงความเห็นกันว่า ภาษาอังกฤษอยู่ในภาวะ “วิกฤต” โดยอ้างว่า ผู้ใช้ภาษาอังกฤษมีการออกเสียงไม่ถูกต้อง หรือมีการสะกดผิดมากมาย แนวคิดแบบนี้มีอยู่ในเกือบทุกภาษา ผู้ใช้ของภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยเฉพาะบรรดาเจ้าของภาษาที่หวังดีกับภาษาของตน เป็นห่วงกับ “คุณภาพการใช้ภาษา” ในสังคม ซ
Shintaro Hara
Shintaro Hara
คนในแอเชีย โดยเฉพาะแอเชียตะวันออก เช่น คนญี่ปุ่น คนเกาหลีหรือคนจีน มักจะประเมิณว่า โค้ชที่ใช้ความรุนแรงกับลูก
Shintaro Hara
ตามพจนานุกรม Cambridge Advanced Learner's Dictionary & Thesaurus (http://dictionary.cambridge.org/dictionary/british/potential_2) ให้คำจำกัดความต่อคำว่า potential (คำนาม) ดังต่อไปนี้: someone's or something's ability to develop , achieve , or succeed ความสามารถของคนใดคนหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่
Shintaro Hara
สมาคมผู้ปกครองและครู ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า PTA (พี.ที.เอ.) ซึ่งเป็นคำย่อของทัพศัพท์ Parents and Teachers Association สมาคมนี้มีอยู่ในทุกโรงเรียน โดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าบรรดาผู้ปกครองก็ให้ความรวมมือต่อฝ่ายโรงเรียนโดยสมัครเป็นสมาชิกของ PTA วิสัยทัศน์การจัดตั้งสมาคมดังกล่าวคือเพื่อให้เป็นเวทีการเรียน
Shintaro Hara
หลังจาก นาย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) ได้ครองตำแหน่งประธรานาธิบดีเป็นเวลาสองสมัย ในสุดท้าย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ จะมีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่สำหรับประเทศอินโดนีเซีย
Shintaro Hara
ผมเองก็ไม่ทราบครับ ว่า ทำไมคนญี่ปุ่นเข้าคิวทุกครั้ง และแทบจะไม่มีใครกล้าแซงคิว มันเป็นหัวข้อที่น่าสนใจสำหรังงานวิ
Shintaro Hara
ในคำปราศรัยโดยหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ท่าน ผบ.ทบ.