Skip to main content

 

“เอ๊ะ! มีอีเมลอะไรส่งมาที่กล่องข้อความ”

       อีเมลฉบับนั้นมีใจความว่า “ยินดีด้วย คุณได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 21 ของโครงการ storytellers in journey”

        ผมยังจำความรู้สึกตอนนั้นได้ดี ความรู้สึกที่มันเต็มไปด้วยความดีใจอย่างออกนอกหน้า ผมแทบจะส่งเสียงออกมาดังๆ หน้าของพี่ปาล์มมี่ลอยขึ้นมาทันทีในความคิด พร้อมร้องเพลงท่อนสำคัญให้ฟังหนึ่งท่อน “อยากจะร้องดังดัง พูดให้ใครต่อใครได้รู้ทั่วกัน อยากจะร้องดังดัง พูดให้ใครได้ฟังว่าโครงการนี้เขารับแกแล้ว”

        ช่วงเวลานั้น ผมหยุดยิ้มไม่ได้จริงๆ ใครจะไปรู้ว่าเด็กเอกภาษาอังกฤษที่เคยเขียนกระทู้ขายฝันไปวัน ๆ จะมีคนมาสนใจงานเขียนของตนเอง

         "ผมอยากเป็นมังกร"

        งานเขียนที่ผมส่งไปเพื่อให้ทางโครงการพิจารณามีชื่อว่า “ผมอยากเป็นมังกร” เรื่องนี้ผมก็แค่เขียนตามจินตนาการของตนเอง ผมแค่นึกถึง “อิสระ” เมื่อพูดถึงสิ่งนี้ ทุกคนก็มักจะนึกถึงนก เพราะนกสามารถบินไปไหนก็ได้ แต่ผมคิดว่าการเป็นนกตัวหนึ่ง มันยังไม่แข็งแรงพอที่จะต้านทานอุปสรรคบนท้องฟ้าที่คาดเดาอะไรไม่ได้

          ถ้าผมจะบินทั้งที ขอบินได้แบบมังกรคงจะดีกว่า ต่อให้เจอพายุโหมกระหน่ำ  7 วัน 7 คืน มังกรก็ยังคงบินต่อไปได้อย่างไม่ท้อแท้ และถ้าผมบินได้แบบมังกรแล้ว ผมคงไม่มีวันหยุดเดินทางอย่างแน่นอน พ่นไฟใส่อุปสรรคให้เป็นลูกชิ้นปิ้งไปเลย

         "ตื่นเต้นจัง กะละมังก็ปิดไม่มิด"

         ในวันที่ผมมาค่าย ทุกคนในค่ายได้นั่งล้อมวงใหญ่เพื่อทำความรู้จัก และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ผมรู้สึกว่าแต่ละคนมีความเป็นตนเอง และมีแนวทางของตนเองที่ชัดเจน ทุกคนที่ผ่านการคัดเลือกนั้นรู้ว่าตนเองต้องการอะไรจากการเข้าร่วมในโครงการนี้ บางคนก็เดินทางมาไกล มาถึงตั้งแต่ก่อนวันเริ่มค่ายเสียอีก

         คำศัพท์ส่วนใหญ่ที่ทุกคนใช้พูดกันในวงคงไม่พ้นคำว่า “passion” และ “comfort zone” ที่ล่องลอยท่ามกลางบรรยากาศหนาวประดุจอยู่ในขั้วโลกจากเครื่องปรับอากาศห้องประชุม

         จากสิ่งที่ผมได้ยิน ผมขอเถียงใจขาดกับคำพูดที่ผู้ใหญ่ชอบพูดว่า “เด็กไทยขี้เกียจ ไม่ชอบศึกษาหาความรู้” เพราะสิ่งที่มันอยู่ตรงหน้าผมตอนนั้น ผมเห็น passion ของใครหลายคนที่มันเต็มเปี่ยม พร้อมที่จะก้าวออกจาก comfort zone ของตนเอง เพื่อไปแสวงหาความรู้ และบันทึกประสบการณ์ใหม่ๆไว้ในความทรงจำของตนเอง

          ฝากถึงผู้ใหญ่ที่ยังคิดแบบนี้อยู่นะครับ สมัยนี้ ยังมีเยาวชนอีกกลุ่มใหญ่ๆที่พร้อมจะพัฒนาตนเอง และแสวงหาโอกาส ประสบการณ์ ความรู้ใหม่ๆเข้าตัวเสมอครับ

          "ตาเราแล้วเหรอ"

        อ้าว! ถึงคราวที่ผมต้องพูดอะไรสักอย่างแล้วหรือนี่ ผมก็แนะนำตัวไปอย่างตะกุกตะกักด้วยความตื่นเต้น “สวัสดีครับ ชื่อแถ่นแทนแท้น…” การใช้ชื่อสามพยางค์สำหรับการเข้าค่ายของผมยังคงได้ผลเสมอ มันยังคงสร้างเสียงหัวเราะให้กับหลายๆคนได้ นั่นคือสิ่งที่ผมต้องการครับ ผมอยากมีความสุขกับการมาเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ และอยากสร้างรอยยิ้มให้กับคนรอบข้างกลับไปด้วย บางคนคงคิดในใจว่าทำไมพ่อแม่ตั้งชื่อพิสดารจัง ผมขอตอบตรงนี้ว่า “เปล่าหรอกครับ ผมตั้งของผมเอง”

        “มาสร้างเมืองแห่งการศึกษากันค่ะ!”

        กิจกรรมในโครงการนี้ไม่ทำให้ผมผิดหวังจริงๆ กิจกรรมที่ผมชอบมากคงต้องยกให้กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการศึกษา การมาค่ายครั้งนี้ไม่ได้แค่มาสร้างเรื่องเล่าในแบบฉบับของตนเอง แต่การมาในครั้งนี้ผมยังได้รับความคิดอะไรบางอย่างกลับไป ทั้งยังได้แลกเปลี่ยนกับคนที่มีความคิดคล้ายๆกันเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยว่าตอนนี้มันมีช่องโหว่ที่ตรงไหนบ้าง...

          ประโยคที่สะดุดใจผมอยู่ตลอด นั่นคือ “ครูถูกเสมอ” ประโยคนี้ทำให้ผมนึกย้อนความหลังไปจนถึงวัยนักเรียน ภาพที่ผมใส่ชุดนักเรียนปรากฏขึ้นทันทีในความคิด ภาพที่ผมต้องทำตามสิ่งที่ครูบางคนบอกอย่างไม่รู้เหตุผล ใครเถียงครูเท่ากับผิด บางครั้ง ครูมักจะขอความคิดเห็นจากนักเรียนว่าต้องการให้อะไรเป็นแบบไหน แต่จริงๆแล้ว ครูก็มีคำตอบอยู่ในใจของเขาอยู่แล้ว และปฏิเสธความคิดเห็นเหล่านั้นแบบอ้อมๆ ภาษาวัยรุ่นเขาเรียกกันว่า “แบบซอฟต์ ๆ” ในภาพความคิดนั้น พี่นิ่วจิ๋วก็ยืนถือไมค์เข้ามาในห้องเรียนแล้วร้องเพลงประกอบเอ็มวีในธีมครูถูกเสมอทันที “ถ้าไม่ฟังจะถามทำไม ไม่ไว้ใจจะถามทำไม” งงล่ะสิ ผมก็งงเหมือนกัน

     "การเดินทางกำลังจะเริ่มต้นแล้วครับท่านผู้ชม!"

      วันรุ่งขึ้น ทางโครงการให้ผมวางแผนการเดินทางไปต่างจังหวัด โดยมีศูนย์การเรียนรู้ทั้งหมด 20 แห่ง โอ้โห! มันมากมายไปหมด ผมเลือกไม่ถูกจริงๆว่าผมจะเดินทางไปที่ไหน และสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตก็คือ นี่เป็นการเดินทางไปต่างจังหวัดครั้งแรกในชีวิตที่ผมต้องวางแผนไปเองทั้งหมด

                   “จะ รอด ไหม เนี่ย”

"ก้าวที่ยากที่สุดในการเดินทาง คือ ก้าวแรกเนี่ยแหละ"

      ด้วยความที่ศูนย์การเรียนรู้มันมีมากมายเหลือเกิน ผมเลือกที่ไปไม่ถูก ตอนแรกก็มีความคิดอยากจะไปอุตรดิตถ์ แต่ก็กลัวความเด๋อด๋าบ้าบ๊องของตนเอง กลัวจะนั่งรถผิดสาย นั่งรถจากกรุงเทพไปโผล่เชียงใหม่อะไรแบบนี้ เพราะผมไม่เคยนั่งรถไปต่างจังหวัดเองแบบนี้มาก่อนเลย

       ตอนที่ทุกคนในโครงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ความคิดในหัวของผมก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เดี๋ยวก็อยากไปภาคใต้ เดี๋ยวก็อยากไปอีสาน เดี๋ยวก็อยากไปภาคเหนือ

นี่แหละครับ..

       ความโลเลของผมผสมกับความคิดคนที่มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตลอดเวลา แต่สุดท้ายก็มาหยุดที่ความคิดหนึ่งในหัว 

"จะไปทั้งที ก็ไปให้สุดเลยแล้วกัน"

       สุดท้ายผมก็เลือกที่จะไป "ม่อนแสงดาว จ.เชียงราย"

จังหวัดที่ได้รับสมญานามว่าเป็นจังหวัดที่เหนือสุดแดนสยาม     ถึงผมจะไปไม่ถึงดินแดนแม่สายที่เหนือสุดจริงๆ

แต่การเอาชนะใจตนเองของผมเนี่ย มันรู้สึกดีสุดๆไปเลยล่ะ!

        พร้อมกับหงายการ์ดป้องกัน เปิด small comfort zone ด้วยการไปกับเพื่อน แก๊งสเตอร์ผู้ร่วมเดินทางไปทริปเชียงรายในครั้งนี้ ได้แก่ แทนทาดาแดนแทนแถ่น แถ่นแทนแท้น...

"หมายเลข 1 นางสาว เดี๊ยว! ไม่ได้ประกวดนางงาม"

เพื่อนร่วมเดินทางในครั้งนี้ ได้แก่ ฟิตรี พี่โบนัส จริงจัง พี่วริศ และผมเองครับ

 

#CHUBBYINCHIANGRAI

#MIDL2018

#INCLUSIVECITIES

#STORYTELLERSINJOURNEY

#สาธารณะศึกษา

#พื้นที่เรียนรู้สาธารณะ

 

บรรณวิชญ์  สมบุญ

   แถ่นแทนแท้น

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา
Storytellers
หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
Storytellers
“Raising and caring for children is more like tending a garden :it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”
Storytellers
หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้
Storytellers
- ฉันเริ่มการสรุป สาธยาย เพ้อเจ้อ และพรรณา ณ วันที่12 ธันวาคม 2561 (12/12) เวลา 18.36 -
Storytellers
คำเตือนการพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมากอ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า .Pre-ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561
Storytellers
ตอน : การจัดการที่อยู่
Storytellers
การนำเสนอ ตั้งใจว่าจะทำเป็น จดหมาย 3 ฉบับที่เขียนในสเนพ่อง เพราะว่าในสเนพ่อง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ท จึงทำให้การพูดคุยสื่อสารกันด้วยจดหมายน่าจะเข้ากับการนำเสนอการเดินทางในครั้งนี้มากที่สุดค่ะ มีจดหมายฉบับที่ส้มโอเขียนให้ครูเฟริ์นและได้มอบให้ครูเฟริ์นจริงในวันสุดท้ายก่อนออกจากสเนพ่
Storytellers
หลังจากที่นอนคิดเกือบทั้งคืนว่าเราจะเก็บกระเป๋าไปพื้นที่เรียนรู้ที่ไหนดี(จากยี่สิบกว่าตัวเลือกที่ทางโครงการ storytellers in journey มีให้) เราก็ได้คำตอบสุดท้ายแล้ว พรุ่งนี้โมจะไปเสน่พ่อง!
Storytellers
           คุณเคยเห็นเวลาที่รถติดหล่มไหม มันคงใช้เวลาอยู่นานเลยนะกว่าจะหลุดพ้นจากหล่มนั้นมาได้ คงต้องใช้ทั้งเวลาทั้งแรงและปัจจัยอีกหลายๆอย่างมากมายในการหลุดออกมา การจากลาจากใครสักคนก็เหมือนกัน ความรู้สึกของการจากลามันก็เหมือนรถที่ติดหล่มที่เมื่อติดลงไปแล้วก็ทำให้ความ
Storytellers
          พบเพื่อลา มาเพื่อจาก ผมลุกจากที่นอนออกมาทำธุระส่วนตัวก็เห็นน้องๆกำลังแต่งตัวถือหนังสือเตรียมตัวกันมาเรียน มันคงเป็นการตื่นมาเรียนที่แต่ละคนดูสดชื่นไม่เหมือนกับตัวเองสมัยเด็กๆที่โรงเรียนไม่ต่างอะไรจากกรงขังที่ตีกรอบสี่เหลี่ยมให้กับเราแต่สำหรับที่นี่โรงเรียนเหมือน