Skip to main content

.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ


-
บทพูด-

-มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองลงมาจากแม่น้ำโขงเท่านั้น


ตลอดระยะการไหลของแม่น้ำสาละวินตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายน้ำ แม่น้ำสาละวินได้ไหลผ่านบริเวณพื้นที่ที่มีกลุ่มคนชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า ๑๓ ชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้อยู่รวมกันเป็นสังคมทั้งตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำสาละวินและตามที่ราบลุ่มของลำห้วยสาขาของแม่น้ำสาละวิน


หากเอ่ยคำว่า “แม่น้ำสาละวิน” บนพรมแดนไทย-พม่า หลายคนคงนึกถึงสงครามระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ กับรัฐบาลทหารพม่า แต่เรื่องราวเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินและผู้คนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งน้ำบนพรมแดนไทย-พม่ากลับเป็นเรื่องที่เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ยากเต็มที บ่อยครั้งที่โครงการพัฒนาต่างถา-โถมเข้ามา ชุมชนหรือแม้แต่ผู้คนในชุมชนที่กล่าวมาทั้งหมดกลับได้รับการมองข้าม และละเลยที่จะมีการกล่าวถึง บ่อยครั้งเช่นกันที่ผู้เป็นเจ้าของโครงการพัฒนาต่างๆ ได้บอกกับสังคมภายนอกว่าบริเวณพรมแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำสาละวินนั้นมีคนอยู่จำนวนน้อย แต่หากว่าในความเป็นจริงแล้วมันกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะตามริมน้ำสาละวินและตามลำห้วยสาขาลึกเข้าไปในผืนป่าสาละวินทั้งทางฝั่งไทยและพม่ามีคนอาศัยอยู่จำนวนไม่น้อย


การรวมกันอยู่ของชุมชนต่างๆ ตามริมฝั่งแม่น้ำสาละวินและตามลำห้วยสาขาได้ส่งผลให้คนในชุมชนเรียนรู้และมีความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินและลำห้วยสาขาเป็นอย่างดี และความรู้เหล่านี้ก็ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของงานวิจัยที่เรียกว่า “’งานวิจัยไทบ้าน:ภูมิปัญญาสาละวิน”


-
ภาพฉากที่ ๑ ถ่ายภาพแม่น้ำสาละวินในระยะไกล-ถ่ายภาพของคนขับเรือที่ท่าเรือแม่สามแลบ-ภาพวิถีชีวิตริมฝั่ง-ภาพคนหาปลา-ภาพคนทำการเกษตรริมฝั่ง-ภาพหมู่บ้าน


---------------- จบฉากที่ ๑ ----------------


-บทพูด-


งานวิจัยไทบ้าน: ภูมิปัญาสาละวินได้มีการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น ๗ ประเด็น โดยมีระเบียบวิธีวิจัยที่พัฒนามาจากงานวิจัยไทบ้านที่ปากมูน มีนักวิจัยจาก ๔๖ หมู่บ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน การทำวิจัยในเรื่องระบบนิเวศ นักวิจัยได้ศึกษาถึงระบบนิเวศที่สลับซับซ้อนของแม่น้ำสาละวินตลอดเส้นพรมแดน ๑๑๘ กิโลเมตร จากการศึกษาวิจัยพบว่า ระบบนิเวศในแม่น้ำสาละวินมีมากถึง ๑๗ ระบบและมีระบบนิเวศย่อยตามลำห้วยสาขาอีก ๑๑ ระบบ


ระบบนิเวศในแม่น้ำสาละวินนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างสูงไม่ได้ด้อยไปกว่าแม่น้ำสายใดในภูมิภาคนี้ จากงานวิจัยไทบ้าน:ภูมิปัญญาสาละวินยังพบอีกว่า ระบบนิเวศในแม่น้ำสาละวินนอกจากจะมีความสำคัญจนทางรัฐบาลไทยประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ แล้ว ระบบนิเวศอันสลับซับซ้อนเหล่านี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลานานาชนิดอีกด้วย


-
ภาพฉากที่ ๒--ภาพเป็นภาพของการประชุมกลุ่มชาวบ้าน-ภาพระบบนิเวศแม่น้ำสาละวิน-ภาพระบบนิเวศในลำห้วย-แล้วก็มีการสัมภาษณ์หรือให้ชาวบ้านที่เป็นนักวิจัยพูดถึงเรื่องระบบนิเวศแม่น้ำหนึ่งคน....(ยังไม่ต้องมีภาพปลาขึ้นมาก็ได้ เพราะเอาไว้ไปใส่ในฉากต่อไป)


-
เพลงประกอบเป็นเพลงตอนเริ่มเรื่องใช้เสียงเตหน่า และเพลงสลับฉากเปลี่ยนไปบทที่ ๒ ใช้เสียง เตหน่าเหมือนเดิม


------------ จบฉากที่ ๒ ของบทที่ ๑ ----------


.พันธุ์ปลาลุ่มน้ำสาละวินและเครื่องมือหาปลา


-
บทพูด-

งานวิจัยไทบ้านเรื่องพันธุ์ปลานั้นได้ทำการศึกษาด้วยวิธีการระดมความรู้จากนักวิจัยหลายๆ หมู่บ้าน จากการระดมความรู้เรื่องปลา พบว่าพันธุ์ปลาในแม่น้ำสาละวินและลำห้วยสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวินมีประมาณ ๗๐ กว่าชนิด


นอกจากจะระดมความรู้เรื่องปลาแล้ว นักวิจัยยังได้ระดมความรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของปลา รวมถึงพื้นที่ที่ใช้เครื่องมือหาปลาพื้นบ้านชนิดต่างๆ ที่มีถึง ๑๓ ชนิด ซึ่งความรู้ในเรื่องปลาและการใช้เครื่องมือหาปลาก็สอดคล้องกันกับระบบนิเวศทั้ง ๑๑ ระบบ เครื่องมือหาปลาบางชนิดก็มีไว้สำหรับผู้หญิง เพราผู้หญิงมีความสามารถในการใช้เครื่องมือได้ดีกว่า


นอกจากนั้นการหาปลาด้วยวิธีการหาปลา เช่น การตึกแค ยังได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคนในชุมชนด้วย เพราะการตึกแคนั้นต้องใช้คน ๓-๔ คนถึงจะทำได้ดี และนอกจากจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนแล้ว การตึกแคยังได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนต่อธรรมชาติอีกด้วย


ชาวบ้านเชื่อว่าถ้ามีการตึกแคกั้นน้ำเอาปลาออกแล้วไม่ปล่อยน้ำให้เป็นอิสระดังเดิม ในปีต่อๆ ไปหรือในเดือนต่อไป ชาวบ้านก็จะไม่มีปลากินอีก


-
ภาพเป็นภาพการเก็บข้อมูลทำวิจัย-ภาพเวทีประชุมงานวิจัยเรื่องปลา-ภาพการใช้เครื่องมือหาปลา-ภาพนักวิจัยพูดถึงเรื่องปลาและการใช้เครื่องมือหาปลากับนักวิจัย ๑ คน (-หมายเหตุภาพปลา ถ้าไม่มีภาพเคลื่อนไหวให้ใช้ภาพถ่ายรูปปลาแทน-ส่วนภาพการใช้เครื่องมือหาปลานั้นอยากให้ใช้ภาพเคลื่อนไหว)


-
เพลงประกอบก่อนสลับฉากไปบทที่ ๓


------------- จบบทที่ ๒ -----------


.การทำเกษตรริมฝั่งน้ำสาละวินและการทำเกษตรบนพื้นที่สูง


-
บทพูด-

ชุมชนที่ตั้งอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำสาละวินนอกจากจะได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในการหา-ปลาแล้ว บางชุมชนยังมีการทำเกษตรบนฝั่งริมหาดทรายสาละวินอีกด้วย


การศึกษาเรื่องการทำการเกตษรในงานวิจัยไทบ้านนั้นได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๒ ส่วนคือ

.การทำเกษตรริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน

ชาวบ้านจะลงไปปลูกพืชผักจำพวกถั่วตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ ซึ่งในแต่ละปีหาดทรายที่ทำการเพาะปลูกก็จะแตกต่างกันออกไปตามทิศทางการพัดพาของกระแสน้ำพื้นที่ในการทำการเพาะปลูกพืชริมน้ำสาละวินนั้นถูกแบ่งออกเป็น ๓ ระดับคือ

.พื้นที่บนตลิ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง

.ที่ดินปนทรายริมน้ำ เป็นพื้นที่สูงถัดขึ้นไปถัดจากริมแม่น้ำเล็กน้อย

.หาดทรายที่น้ำท่วมถึง ลักษณะจะเป็นพื้นที่หาดทรายที่เกิดจากากรพัดพามาของน้ำ


การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ในแต่ละปีหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ของตัวเองเอาไว้เพื่อใช้เพาะปลูกในปีต่อไป


การเพาะปลูกพืชริมน้ำสาละวินระยะเวลาในการทำการเพาะปลูกจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี


-
ภาพเป็นภาพของการทำเกษตรริมหาดทรายสาละวิน-ภาพการเก็บใบยาสูบ-ภาพเก็บถั่วหรือภาพการเตรียมพื้นที่ในการทำการเพาะปลูกหรือรูปอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการทำการเกษตรริมหาดทรายสาละวิน

-บทพูด-


.การทำการเกษตรบนพื้นที่สูง

.เรารู้จักกันในนามการ ”ทำไร่หมุนเวียน” ชาวบ้านจะทำการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองถึงกว่า ๔๐ ชนิด และปลูกพืชอาหารในไร่ ๒๕๐ ชนิด ผสมผสานไปกับข้าวไร่ ด้วยพันธุข้าวที่มีอยู่ในไร่มากถึง 40 กว่าชนิดถือได้ว่าการทำไร่หมุนเวียนนั้นได้รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรรมเป็นอย่างดี


ก่อนการลงมือทำการเพาะปลูก ชาวบ้านจะมีการถางไร่-เผาไร่ในช่วงหน้าแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนมีการเผาไร่หลังจากเลือกพื้นที่ในการทำไร่ได้แล้ว ก็จะมีการเสี่ยงทายกระดูกไก่ดูว่าพื้นที่ที่จะทำการเพาะปลูกนั้นเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกข้าวให้พอบริโภคในครัวเรือน หลังจากนั้นในเดือนมีนาคม ก็จะมีการถางไร่ ตัดพุ่มไม้ออกทิ้งตากแดดไว้ให้แห้ง พอถึงเดือนเมษายนก็จะมีการเอาซากพุ่มไม้มาเผาและเอาซากที่เผาแล้วออกทิ้ง เพื่อเตรียมพื้นที่ในการหว่านเมล็ดพันธุ์ พอถึงเดือนพฤษภาคมก็จะเริ่มลงมือทำการหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว และเมล็ดพันธุ์ของพืชผักชนิดอื่นๆ การทำไร่จะสิ้นสุดลงเมื่อผ่านพ้นฤดุหนาวของทุกปีไปแล้ว


ทุกๆ เดือนตั้งแต่การเริ่มลงมือเลือกพื้นที่ในการทำการเพาะปลูก ชาวบ้านจะทำการเลี้ยงผีเป็นช่วงๆ เช่นช่วงที่เริ่มมีการหาพื้นที่ก็จะมีการเลี้ยงผีเพื่อเสี่ยงทายพื้นที่ในการทำการเพาะปลูก พอเพาะปลูกเสร็จ หลังจากข้าวออกดอกในเดือนสิงหาคมก็จะมีการเลี้ยงผีอีกครั้งหนึ่ง และในช่วงนี้ถ้าไร่ไหนมีการเลี้ยงผีจะมีการห้ามไม่ให้เจ้าของไร่เข้าไปในไร่เป็นเวลา 3 วัน และหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะมีการขนข้าวกลับบ้านก็จะมีการเลี้ยงผีอีก 1 ครั้ง


การเพาะปลูกใน ๒ พื้นดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ส่วนมากชาวบ้านจะปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น บางส่วน เช่น พืชผักที่ปลูกตามริมฝั่งแม่น้ำสาละวินที่เหลือจากการบริโภคก็ค่อยขายหรือแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่นภายในชุมชนหรือแลกเปลี่ยนกับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกัน


-
ภาพเป็นภาพของการทำไร่-ภาพของการเลี้ยงผีฝายเพื่อให้เห็นมิติทางสังคมและวัฒนธรรมในการจัดการน้ำและการทำไร่-ภาพของการเลือกพันธุ์ข้าว-ภาพผู้ช่วยนักวิจัยคุยกับนักวิจัยเลือกเอาคำพูดที่เป็นไฮไลต์ที่กล่าวถึงการทำไร่-ภาพการประชุมกลุ่มนักวิจัยเรื่องพันธุ์ข้าว--

-เพลงที่มีจังหวะดนตรีสนุกสนาน-เพื่อเข้ากับภาพประกอบของการทำไร่


----------- จบบทที่ ๓---------


.สัตว์ป่ากับความเชื่อเรื่องโป่ง


-
บทพูด-

เพราะความที่บนพื้นที่ในการทำการวิจัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า นักวิจัยและประเด็นการวิจัยเรื่องสัตว์ป่าจึงเกิดขึ้น ในการวิจัยเรื่องสัตว์ป่านั้น ไม่ได้หมายเอาถึงการสำรวจถ่ายภาพของสัตว์ป่าในป่าสาละวิน แต่การวิจัยเรื่องสัตว์ป่านั้นได้ทำการศึกษาถึงบริเวณที่อยู่-ที่หากิน-ความเชื่อของชุมชนที่มีต่อพื้นที่ที่สัตว์ป่าลงมาหากิน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “โป่ง”


การวิจัยในเรื่องสัตว์ป่านั้นมีการระดมความรู้ทั้งในเรื่องชื่อของสัตว์ป่าที่มีอยู่ในปัจจุบันและสูญพันธุ์ไปแล้ว นอกจากจะมีการระดมรายชื่อสัตว์ป่าแล้วนักวิจัยยังได้มีการระดมเรื่องชื่อโป่ง และความเชื่อเกี่ยวกับโป่งแต่ละแห่งอีกด้วย ในด้านสัตว์ป่านั้นมีสัตว์บางชนิดที่ชาวบ้านไม่ให้ยิงและมีกฎเกณฑ์ในการห้ามล่า-ห้ามฆ่าอย่างชัดเจน สัตว์ป่าบางชนิดก็มีความเชื่อที่เล่าสืบกันมาด้วย


ชุมชนในป่ามีความเชื่อที่เป็นกลอุบายในการรักษาทรัพยากร และพร่ำสอนลูกหลานให้จำสืบต่อๆกันมาว่า “ทุกสิ่งล้วนมีเจ้าของ เรากินเราใช้แค่พอประทังชีวิต ไม่ทำลาย เพื่อให้ลูกหลานได้มีกินสืบไป กินเขียดต้องรักษาผา”


-
ภาพเป็นภาพโป่ง-ภาพป่า-ภาพการประชุมระดมความรู้ของนักวิจัย


-----------------จบบทที่ ๔ --------------


.พืชสมุนไพรและอาหารจากป่า


-
บทพูด-

นอกจากงานวิจัยจะได้ศึกษาเรื่องสัตว์ป่าแล้ว กลุ่มนักวิจัยยังได้มีการศึกษาเรื่องพรรณพืชสมุนไพรในป่าสาละวิน และอาหารจากป่าเพิ่มเข้ามาอีกประเด็นหนึ่งด้วย การศึกษาวิจัยเรื่องพรรณพืชสมุนไพรและอาหารจากป่ามุ่งรวบรวมและบันทึกความรู้ของชุมชนเกี่ยวกับพรรณพืชสมุนไพรธรรมชาติต่างๆ ที่ชุมชนใช้เป็นอาหาร,ยารักษาโรค,


จากงานวิจัยพบว่า พรรณพืชที่เป็นพืชสมุนไพรในผืนป่าสาละวินมีมากถึง ๑๐๔ ชนิด ส่วนพืชที่เป็นอาหารนั้นมีมากถึง ๑๗๔ ชนิด


นักวิจัยบ่งลักษณะของการเกิดพรรณพืชออกเป็น ๔ ลักษณะตามระบบนิเวศที่มีการใช้ประโยชน์คือ

.พรรณพืชที่เกิดตามริมห้วยจะใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้งคือเดือนมกราคม-เมษายน

.พรรณพืชที่เกิดตามขุนห้วยซึงเป็นแหล่งต้นน้ำมีความชุ่มชื้นสูง มีพรรณพืชหลายชนิดเกิดขึ้น เช่น หวาย

.เชิงดอยและไหล่ดอยมักจะมีพรรณพืชที่ใช้ประโยชน์เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน

.ยอดดอยเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากพรรณพืชมากที่สุดและพรรณพืชที่เกิดขึ้นบนยอดดอยสามารถนำมาใช้ได้ตลอดทั้งปี พรรณพืชและสมุนไพรที่มีอยู่จึงมีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของผู้คนตามริมน้ำสาละวินและในผืนป่าสาละวินเป็นอย่างยิ่ง


-
ภาพเป็นภาพการประชุมกลุ่มนักวิจัย-ภาพชาวบ้านกำลังเก็บสมุนไพร-ภาพการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร-ภาพชาวบ้านเก็บผักริมตามริมลำห้วย-ภาพสมุนไพรที่ชาวบ้านเก็บมาใช้ประโยชน์


-
เพลงเสียงเตหน่าคลอเบาๆ เพื่อสลับกับเสียงพูดของนักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย

----------จบบทที่ ๕ --------------


.สังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอแห่งลุ่มน้ำสาละวิน


-
บทพูด-

ชุมชนหลายชุมชนในผืนป่าสาละวินได้เกี่ยวเนื่องถึงกันโดยมิติสายสัมพันธ์ของความเป็นเครือญาติ จึงไม่เป็นที่แปลกใจเลยว่า เมื่อชุมชนมีพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นในหมู่บ้าน เช่น การเลี้ยงผีฝาย ชาวบ้านในหมู่บ้านก็จะมาร่วมพิธีกัน ซึ่งการเข้ามาร่วมในพิธีกรรมของชาวบ้านนั้นได้ก่อให้เกิดความเข้าใจกันของคนในชุมชนมากขึ้น และทำให้ระบบความสัมพันธ์ของระบบเครือญาติภายในชุมชนแน่นแฟ้นเพิ่มขึ้นด้วย


งานวิจัยไทบ้าน : ภูมิปัญญาสาละวิน ได้ศึกษาถึงเรื่องสังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอแห่งลุ่มน้ำสาละวิน และพบว่า สังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอแห่งลุ่มน้ำสาละวินมีความหลากหลาย และมีความเชื่อมโยงถึงกันเองภายในชุมชนและเชื่อมโยงกับชุมชนภายนอกอีกด้วย


สังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอส่วนมากจะอยู่ในงานพิธีกรรมต่างๆ และอยู่ในวิถีชีวิตที่คนในชุมชนได้กระทำสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน สังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอชุมชนในผืนป่าแห่งลุ่มน้ำสาละวินจึงสืบทอดยาวไกลเป็นคำสอนและการปฏิบัติให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ระลึกถึงอยู่เสมอ สายธารแห่งวัฒนธรรมจึงยาวไกลเหมือนกับการไหลของแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสายสำคัญสายนี้


-
ภาพ เป็นภาพพิธีกรรมการเลี้ยงผี-ภาพการบวชป่า-ภาพงานพิธีกรรมอื่นๆ

-เพลง เพลงประกอบเป็นเสียงเตหน่าเพลงชิ สุวิชาน ที่พูดถึงคำสอนของผู้เฒ่าผู้แก่ปกากะญอ


-
ภาพปิด เป็นภาพของแม่น้ำสาละวินค่อยๆ ค่ำลงและความืดโรยตัวลงมาโอบคลุมผืนน้ำ

เสียงเตหน่าเบาๆ แล้วขึ้นตัวหนังสือ

-งานวิจัยไทบ้าน : ภูมิปัญญาสาละวินสำเร็จสิ้นลงด้วยความร่วมมือของ

-เครือข่ายนักวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสาละวิน

-องค์กรชาวบ้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำยวม-เงา-เมย-สาละวิน

-ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน

-เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Searin)

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…