Skip to main content
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้

แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม


แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีน

แม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร แม่น้ำโขงตอนกลางได้รับน้ำจากปริมาณน้ำฝน และแม่น้ำสาขาขนาดใหญ่เป็นหลัก ในส่วนของประเทศไทยนั้น พื้นที่ลุ่มน้ำโขงส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งจัดว่ามีขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของประเทศ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนกลางครอบคลุม ๓ ประเทศคือ พรมแดนพม่า-ลาว พื้นที่บางส่วนในภาคของลาว และพรมแดนลาว-ไทย

แม่น้ำโขงตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง และมีเกาะดอนเป็นจำนวนมาก พื้นที่ที่สำคัญของแม่น้ำโขงตอนล่างคือ สี่พันดอน ทะเลสาปเขมร และปากน้ำเวียดนาม โดยเฉพาะทะเลสาปเขมรนั้นถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่สำคัญที่สุดในแม่น้ำโขงตอนล่าง พื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่างครอบคุลมพื้นที่ของลาวตอนใต้ พรมแดนลาว-กัมพูชา และเวียดนาม

การพัฒนาแม่น้ำโขงเพื่อตอบสนองด้านพลังงานไฟฟ้า และการเดินเรือพาณิชย์

โครงการพัฒนาแม่น้ำโขงเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงานไฟฟ้ามีมาตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยคณะกรรมการแม่น้ำโขงในขณะนั้น ได้นำเสนอแผนพัฒนาแม่น้ำโขง ภายใต้โครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการชลประทานบนแม่น้ำโขง ในทศวรรษที่ ๑๙๖๐ โครงการเขื่อนที่ถูกนำเสนอโดยคณะกรรมการแม่น้ำโขง และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายคือโครงการเขื่อนผามองที่มีกำลังผลิตติดตั้ง ๔,๘๐๐ เมกะวัตต์ มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำ ๓,๗๐๐ ตารางกิโลเมตร และต้องอพยพผู้คนที่จะได้รับผลกระทบมากถึง ๒๕๐,๐๐๐ คน แต่แผนการก่อสร้างก็ชะงักงันลง เพราะภูมิภาคอินโดจีนอยู่ในภาวะของสงคราม

ในขณะเดียวกันเมื่อเมื่อภาวะสงครามสิ้นสุดลงโครงการเขื่อนต่างๆ ที่ถูกนำเสนอก็เงียบหายไป แต่ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงก็ได้พัฒนาข้อเสนอการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงใหม่อีกครั้ง ขณะเดียวกันที่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงได้พัฒนาข้อเสนอการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงครั้งใหม่ แต่ในปี ๒๕๓๖ เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงที่ชื่อว่า เขื่อนม่านวานก็ได้มีการดำเนินการก่อสร้าง โดยตัวเขื่อนมีความสูง ๑๒๖ เมตร มีกำลังผลิตติดตั้ง ๑,๕๐๐ เมกะวัตต์ เริ่มเปิดใช้งานในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เขื่อนแห่งนี้ตั้งอยู่ในมลฑลยูนาน

หลังจากจีนได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงสำเร็จ โครงการพัฒนาต่างๆ จากประเทศที่ได้ชื่อว่าแผ่นดินใหญ่ก็ถาโถมลงมาสู่แม่น้ำโขง ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ โครงการระเบิดแก่งและปรับปรุงร่องน้ำเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้างจึงเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากรัฐบาลของทั้ง ๔ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย และในปี ๒๕๔๕ การระเบิดเกาะ แก่ง บนแม่น้ำในตอนบนจึงเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อการระเบิดแก่งในระยะแรกสิ้นสุดลงชาวบ้านสองฝั่งโขงตั้งแต่เมืองกวนเหลยลงมาจนถึงอำเภอเชียงแสนจึงได้เห็นเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำโขงแทบทุกวัน

ภายหลังที่เขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงถูกสร้างขึ้นมาสำเร็จ จีนก็ได้ออกแบบและทำการศึกษาการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนอีกหลายเขื่อน โดยเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้วคือเขื่อนต้าเฉาชาน เขื่อนจิงฮง ส่วนเขื่อนที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างและเตรียมการก่อสร้างคือเขื่อนเชี่ยวหวาน เขื่อนกงก่อเฉี่ยว เขื่อนนัวชาตู้ เขื่อนเมซอง

เมื่อหลายประเทศได้เห็นการพัฒนาที่ชื่อว่าเขื่อนบนแม่น้ำโขงมีความเป็นไปได้ และมีการทำจนสำเร็จ นักสร้างเขื่อนจากหลายประเทศจึงพากันกรีฑาทัพเข้าสู่สนามรบแห่งการพัฒนานี้ด้วย

ภายใต้วาทะกรรมที่ว่า จีนสร้างเขื่อนได้เราก็สร้างได้ และแม่น้ำไหลผ่านไปหาได้ให้ประโยชน์อะไรไม่ เราสร้างเขื่อนจากน้ำที่ไหลเรายังได้ใช้ไฟฟ้า หลายประเทศจึงส่งผ่านความคิดเหล่านี้สู่แม่น้ำโขง และโครงการก่อสร้างเขื่อนบนพื้นที่แม่น้ำโขงตอนกลาง ตอนล่างจึงเกิดขึ้น โดยเขื่อนๆ ต่างที่จะเกิดขึ้นบนแม่น้ำโขงมีรายชื่อดังนี้ เขื่อนปากแบ่ง เขื่อนหลวงพระบาง เขื่อนไซยะบุรี เขื่อนปากลาย เขื่อนสานะคาม เขื่อนปากชม เขื่อนบ้านกุ่ม เขื่อนลาดเสือ เขื่อนดอนสะฮอง เขื่อนซำบอ

ผลกระทบข้ามพรมแดนจากการพัฒนาแม่น้ำโขงด้วยการสร้างเขื่อนและการระเบิดแก่งเพื่อเดินเรือพาณิชย์

ในขณะเดียวกันโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นมาก่อน เช่น การสร้างเขื่อนในจีน และการระเบิดแก่งเพื่อการเดินเริอพาณิชย์ได้สร้างผลกระทบมากมาย แต่นักสร้างเขื่อนผู้อุปโลกตัวเองว่าเป็นนักพัฒนาก็หาได้สนใจกับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ส่งผลต่อชาวบ้านในประเทศท้ายน้ำที่หลากหลายอาชีพ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถสรุปได้ดังนี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการไหลของน้ำ น้ำในแม่น้ำโขงเร็วเร็ว และแรงขึ้นกว่าเดิม ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงของการขึ้น-ลงของระดับน้ำ ระดับน้ำมีการขึ้น-ลงไม่เป้นปกติ เช่น ๓ วันขึ้น ๒ วันลง และนอกจากนั้นยังส่งผลเกิดอุทกภัยทั้งที่ปริมาณน้ำฝนมีไม่มากพอ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการพังทะลายของตลิ่ง จากการไปลเร็วและแรงของน้ำส่งให้ติล่งริมฝั่งแม่น้ำที่เป้นดินร่วนปนทรายได้เกิดการพังทลายลง นอกจากนั้นประการสำคัญการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของการขึ้นลงของระดับน้ำยังส่งผลให้เกิดการลดลงของพันธุ์ปลา และจำนวนของปลาอีกด้วย  ผลกระทบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นผลพวงมาจากโครงการพัฒนาที่เกิดขึ้นบนแม่น้ำโขงทั้งสิ้น 

แม้ว่าในวันนี้โครงการการสร้างเขื่อนในหลายพื้นที่ยังไม่มีความคืบหน้า แต่เราในฐานะผู้คนที่อาศัยอยู่ในประเทศท้ายน้ำได้แต่หวังว่า โครงการพัฒนาใดๆ ก็ตามที่จะเกิดขึ้นบนแม่น้ำโขง และส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนท้ายน้ำ ขอให้ประชาชนผู้ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่า เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับโครงการพัฒนาที่กำลังจะเกิด และที่สำคัญของให้ผู้เดินทางเข้ามาในนามของนักสร้างเขื่อนโปรดรับรู้ไว้ด้วยว่า ความจริงจากคนท้ายน้ำที่ได้นำเสนอมานั้นเป็นความจริงที่เจ็บปวดของคนผู้ได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้มาหลายชั่วอายุคน

หากวันใดวันหนึ่งที่แม่น้ำโขงทั้งสายหยุดไหล ความทุกข์ครั้งใหญ่จะอยู่กับผู้ใดถ้าไม่ใช่ผู้คนในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแห่งนี้...

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
หากท่วงทำนองของสายน้ำในฤดูฝนคือท่วงทำนองของเพลงร๊อคที่โหมกระหน่ำดุเดือดด้วยเสียงกระเดื่องกลองสลับกับเสียงเบสหนักๆ ปนกับเสียงร้องอันแหลมคม และสูงปรี้ดของนักร้อง สำหรับท่วงทำนองของสายน้ำในหน้าแล้งที่อยู่ในฤดูหนาว ท่วงทำนองของสายน้ำอันปกคลุมไปด้วยหมอกหนาวคงเป็นเสียงเพลงบูลล์หม่นเศร้า และในช่วงหน้าแล้ง ท่วงทำนองของสายน้ำคงเป็นท่วงทำนองของเพลงแคนอันเศร้าสร้อยอ้อยอิ่ง ชวนให้คิดถึงบรรยากาศของท้องทุ่ง และดินแตกระแหงของผืนดินอีสาน ฤดูแต่ละฤดูที่ผ่านไป หากแม่น้ำพูดได้ น้ำคงอยากบอกอะไรกับมนุษย์ผู้ได้ชื่อว่าใช้ประโยชน์จากแม่น้ำมากที่สุด อย่างน้อยคนที่ผิดหวังพลาดหวัง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในชีวิตผมถือว่า สองปีที่ผ่านมา ผมโชคดีไม่น้อยที่มีโอกาสได้ไปยังสถานที่ที่ตัวเองไม่คาดคิดว่าจะได้ไป สถานที่ที่ว่านั่นคือ ‘สันเขื่อน’ และจุดสำรวจที่จะมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงในตอนล่าง ไล่ตั้งแต่ปากแบ่ง หลวงพระบาง ไซยะบุรี ปากลาย ปากชม และบ้านกุ่ม จำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมดแถบทุกพื้นที่ได้มีการสำรวจศึกษาความเป็นไปได้ของพื้นที่ในการก่อสร้างเขื่อนหมดแล้วการไปในแต่ละครั้ง บางทีก็ต้องทำตัวให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยการปลอมตัวเป็นนักท่องเที่ยวผู้อยากรู้อยากเห็น และที่สำคัญต้องตีสนิทกับคนท้องถิ่น เพื่อจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายง่ายขึ้น ในจำนวนพื้นที่ที่กล่าวมาทั้งหมด หากไม่นับรวมปากชมแล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
-ห้องพัก ๒๐๑, เฮือนพักเพียงจัน,หลวงพระบาง- สายฝนที่โปรยสายลงมาอย่างหนักตั้งแต่ตอนกลางคืนหายไปเมื่อตอนเช้าตรู่ ฟ้ากลับมาเป็นสีฟ้าใสอีกครั้ง หลังจากผู้คนของเมืองตื่นจากหลับใหลในอ้อมกอดของบ้านพักอบอุ่น ความเคลื่อนไหวจึงปรากฏ ถนนแต่ละสายผู้คนเริ่มพลุกพล่านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นตลาด หลายครั้งที่มาถึงเมืองนี้ในการดำรงอยู่ของเมืองยังคงมีเรื่องราวให้น่าค้นหาในมุมมองอันหลากหลายมากขึ้น การมาถึงเมืองนี้ในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกันย่อมมีเรื่องเล่าแตกต่างกันออกไปด้วย การมาหลวงพระบางในครั้งนี้ก็เช่นกัน เรามาถึงในตอนเกือบ ๓ ทุ่ม สายฝนยังตกลงมา…
สุมาตร ภูลายยาว
ลมหนาวพัดข้ามยอดเขามา ตอซังข้าวลู่ลงแนบพื้นดิน น้ำในแม่น้ำหมันแห้งขอดลงตามฤดูกาล ถัดจากแม่น้ำขึ้นไปเป็นภูเขา แม่น้ำหมันมีต้นกำเนิดจากภูโลมโลอันเป็นเทือกเขาของเทืือกเขาเพชรบูรณ์ สายน้ำเล็กๆ ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนอำเภอด่านซ้ายไหลเอื่อยช้าคล้ายคนเพิ่งหายจากการป่วยไข้ แม่น้ำหมันช่วงที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้ายไปจนถึงบ้านปากหมัน ตรงที่แม่น้ำหมันเดินทางไปบรรจบกับแม่น้ำเหืองมีความยาวทั้งสิ้น ๖๖ กิโลเมตร ตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำจะมีต้นไผ่จำนวนมากขึ้นอยู่เป็นระยะ ต้นไผ่-แม่น้ำหมัน-คนริมฝั่งน้ำมีความสำคัญต่อกันจนแยกขาดจากกันไม่ได้
สุมาตร ภูลายยาว
หลังได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินภาพวาดของเด็กๆ ที่ประกอบไปด้วยเด็กจากช่วงชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ของโรงเรียนบ้านคกเว้า ตำบลหาดคำภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ข้าพเจ้าเองแบ่งรับแบ่งสู้ในตอนแรก เพราะโดยส่วนตัวแล้วการเป็นกรรมการประเภทนี้มีเงื่อนไขหลายอย่าง สำคัญกรรมการควรมีความรู้ทางศิลปะมาบ้าง เพื่อให้ผลการตัดสินออกมาดูน่าเชื่อถือ แต่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ทางศิลปะเอาเสียเลย อย่างมากก็พอรู้ว่ารูปไหนสวยไม่สวย ซ้ำร้ายเรื่องของทฤษฏีสีแล้ว ข้าพเจ้าไม่รู้เอาเสียเลย แม้จะเคยลองวาดรูปอยู่บ้าง แต่ก็งูๆ ปลาๆ…
สุมาตร ภูลายยาว
โศกนาฏกรรมสองฝั่งน้ำ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสายน้ำเรื่องหนึ่งที่ผู้เฒ่าปกากะญอ มักเล่าให้ลูกหลานฟังอยู่เสมอ เรื่องเล่าเรื่องนี้มีอยู่ว่า ‘นานมาแล้วมีเจ้าเมืององค์หนึ่งจะตึกแค-กั้นน้ำ เพื่อจับปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ลูกที่อยากกิน ปลาตัวนี้ใหญ่มาก ส่วนหัวของปลาอยู่โจโหละกุย-วังน้ำใหญ่อยู่ในเขตสาละวินตอนกลาง ลำตัวของปลายาวลงไปตามลำน้ำ ส่วนหางอยู่ที่แจแปนทีลอซู แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านชาวเมืองตกอกตกใจ เพราะหากว่าเลือดหรือน้ำมันจากปลาตัวนี้ไหลลงพื้นดินเมื่อใด แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ เมื่อชาวบ้านทราบข่าวก็เกิดความกังวลว่า เมื่อน้ำท่วมบ้านแล้วไม่รู้ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน…
สุมาตร ภูลายยาว
การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า ‘พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน’
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้คนแห่งสาละวิน  สาละวิน ถือเป็นสายน้ำแห่งกลุ่มชาติพันธุ์อย่างแท้จริง เพราะสองฟากฝั่งลุ่มน้ำสาละวิน ตั้งแต่เทือกเขาหิมาลัยลงมาจนถึงอ่าวเมาะตะมะ ในเขตหุบเขาอันไกลโพ้นในประเทศจีนก็มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ไม่น้อยกว่า ๑๔ กลุ่ม โดยส่วนใหญ่เป็นชาวนู ลีซู และตู๋หลง เมื่อล่องตามน้ำลงมาจนถึงพรมแดนพม่า-จีน พม่า-ไทยก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่มากมายไม่ต่ำกว่า ๑๖ กลุ่ม เช่น นู ลีซู ไทยใหญ่ กะยา กะยัน กะเหรี่ยง และมอญ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ล้วนมีภาษา ตัวอักษร วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของตนเอง ในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่หลากหลายบนลุ่มน้ำแห่งนี้ กลุ่มยินตาเล…
สุมาตร ภูลายยาว
สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย…
สุมาตร ภูลายยาว
ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ระบบนิเวศลุ่มน้ำสาละวิน ถือว่า มีความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายสุดท้ายในภูมิภาคนี้ที่ยังไม่ได้ถูกล่ามโซ่ด้วยเขื่อน นักนิเวศวิทยาได้จัดให้แม่น้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางของการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก พื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีระบบนิเวศสลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่อเนื่องระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีนกับพื้นที่ต่อเนื่องจากชีวภูมิศาสตร์สิโนหิมาลายันหรือเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินเดีย แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา การศึกษาระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำสาละวิน มีอยู่น้อยมาก…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหราชอาณาจักรได้คืนอิสรภาพให้กับพม่า ภายหลังพม่าได้รับอิสรภาพ ในปี ๒๔๙๐ นายพลอู่อองซาน ผู้นำพม่าในขณะนั้นก็ถูกสังหารเสียชีวิต การล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงของสัญญาปางโหลง จึงเกิดขึ้น เมื่อคำมั่นในสัญญาปางโหลงไม่เป็นผล ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ จึงได้จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อแยกตัวเป็นรัฐอิสระและปกครองตนเอง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสาละวิน จึงเกิดกองกำลังปลดปล่อยขึ้นหลายกลุ่ม เขตรอยต่อพรมแดนไทย-พม่าริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน ด้านตะวันตก เป็นดินแดนที่กล่าวได้ว่า กฎหมายอาจไม่มีความสำคัญ ทุกชีวิตที่ยังมีลมหายใจ จึงอยู่ภายใต้กฎของปืน และความเหลื่อมล้ำในการดำเนินชีวิต…
สุมาตร ภูลายยาว
พ่อตู้เริญได้เล่านิทานเรื่องนี้ให้ผมฟังขณะเรานั่งหย่อนอารมณ์ในบ้านของแก เพื่อรอฝนหายจากฟ้า เดือนตุลาคมแล้ว ฝนยังมิจากจางเลย ลมหนาวมิมีทีท่าว่าจะพัดมา สายฝนเทลงมาจั่กๆ พ่อตู้เริญต้องเล่านิทานเรื่องนี้ด้วยเสียงดัง เพื่อจะให้ผมได้ยินถนัด ผมกดเครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงการเล่านิทานของพ่อตู้เอาไว้ เพราะคิดว่าจะเก็บเอามาเล่าต่อให้คนอื่นได้ฟังด้วย พ่อตู้เริญเล่าว่า... นานมาแล้ว ยุคสมัยก่อนการเกิดขึ้นของพุทธศาสนา องค์อินทร์ผู้เป็นนายของทุกสิ่ง และทรงสร้างทุกสิ่งในจักรวาลได้นั่งตรวจยามสามตา เพื่อตรวจดูทุกสรรพสัตว์ใตอานัติของตนเอง แล้วในญาณนั้นก็ปรากฏการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา…