Skip to main content

สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย


สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย
-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ


ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย และระบบนิเวศย่อยตามลำห้วยสาขาอีกมากมาย ความหลากหลายซับซ้อนทั้งหมดนี้ เป็นทั้งบ้านของปลา และแหล่งหาอยู่หากินของชาวบ้าน


การศึกษาพันธุ์ปลาในแม่น้ำสาละวิน และลำห้วยสาขาพบพันธุ์ปลา ๗๐ ชนิด โดยชาวบ้านใช้เครื่องมือหาปลาพื้นบ้านหลากหลายชนิด ซึ่งสอดคล้องกันกับระบบนิเวศที่สลับซับซ้อนและฤดูกาล เครื่องมือหาปลาบางชนิด มีไว้สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ เพราะผู้หญิงมีความสามารถในการใช้เครื่องมือได้ดีกว่า


วิธีการหาปลาบางชนิดแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคนในชุมชน และความเชื่อของคนต่อธรรมชาติ เช่น การตึกแค หรือกั้นแควของลำห้วยเพื่อจับปลา ชาวบ้านเชื่อว่าถ้ามีการกั้นแควลำห้วยเพื่อจับปลาแล้วไม่ปล่อยน้ำให้เป็นอิสระดังเดิม ต่อไปก็จะไม่มีปลากินอีก


วิชัย อำพรนภา นักวิจัยเรื่องปลาเล่า ถึงการทำวิจัยเรื่องพันธุ์ปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ฟังว่า

คนในลุ่มน้ำสาละวิน จะหาปลา ๒ ส่วนคือ หมู่บ้านตามริมห้วยสาขาก็จะหาปลาตามลำห้วย ใช้เครื่องมือหาปลาขนาดเล็ก เช่น เบ็ด มอง ไซ ส่วนมากก็จะได้ทั้งปลาตัวใหญ่และตัวเล็ก ปลาในลำห้วยเป็นปลาที่ขึ้นมาจากแม่น้ำสาละวินในช่วงหน้าฝน ปลามันจะเข้ามาวางไข่ตามลำห้วย ช่วงหน้าแล้งปลาก็จะอพยพลงไปในแม่น้ำสาละวิน บางช่วงของห้วยที่เป็นแก่งหินและน้ำลึกก็จะมีปลาหลงเหลือยู่ให้จับไปประกอบอาหารได้ ตอนนี้พอปลาลดน้อยลงที่บ้านโพซอก็มีการจัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา เพื่อจะได้มีปลากินอีกหลายๆ ปีในอนาคตข้างหน้า’


นอกจาก จะได้ทำงานวิจัยในประเด็นที่กล่าวมาแล้ว คณะนักวิจัยยังได้ร่วมกันทำงานวิจัยในประเด็นเรื่องการทำเกษตรของชาวปกากะญอ ในการวิจัยพบว่า ชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ในป่าสาละวิน มีวิถีการทำเกษตรที่แตกต่างกันตามลักษณะภูมินิเวศ โดยสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะภูมินิเวศคือ


การทำเกษตรริมฝั่งน้ำสาละวิน ทุกปีเมื่อแม่น้ำสาละวิน เริ่มลดระดับลงหลังฤดูฝนจะเกิดหาดทรายขาวยาวตลอดริมฝั่ง พื้นที่หาดทรายอันอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุที่สายน้ำพัดพามาเหล่า นี้คือแปลงเกษตรของชาวบ้านริมฝั่งน้ำ หลังจากน้ำลด ชาวบ้านจะทำการจับจองพื้นที่ในการปลูกพืชต่างๆ กว่า ๓๐ ชนิด เช่น ถั่ว แตงโม ยาสูบ เพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือนำไปแลกเปลี่ยนในชุมชน เกษตรริมน้ำสร้างความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชนริมฝั่งน้ำสาละวินตลอดฤดูแล้ง


การทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ถือเป็นหัวใจของการผลิตของชุมชนสาละวิน ชาวบ้านทุกครอบครัวทำไร่หมุนเวียนบนดอย โดยมีวงรอบของการหมุนเวียนไปประมาณ ๕-๘ ปี ในไร่ของชาวบ้านสาละวิน มีพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองถึง ๕๒ ชนิด และพืชอาหารปลูกผสมกันไปอีกกว่า ๑๓๐ ชนิด


การทำนา ชุมชนริมห้วยสาขาในป่าสาละวิน จะทำนาบนที่ราบลุ่มริมฝั่งลำห้วย โดยมีการจัดการน้ำด้วยวิถีพื้นบ้านในระบบเหมืองฝาย เป็นการ ‘ขอยืมน้ำ’ จากลำห้วยให้ไหลผ่านนาขั้นบันได หล่อเลี้ยงต้นข้าวและไหลกลับคืนสู่ลำห้วยดังเดิม ทุกปี ชาวบ้านที่ใช้ฝายจะร่วมกันทำพิธีเลี้ยงผีฝาย เพื่อขอบคุณสรรพสิ่งที่มอบความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา


ตลอดรอบปีของการเกษตรทั้งไร่หมุนเวียนและนา พบว่า ชาวบ้านมีพิธีกรรมจัดขึ้นในทุกช่วง เพื่อขออนุญาตผืนดิน แม่น้ำ และป่าในการทำการเกษตรเลี้ยงครอบครัว พิธีกรรมเหล่านี้เป็นการแสดงความเคารพต่อสรรพสิ่ง และธรรมชาติ ซึ่งแนวคิดที่เคารพในธรรมชาติถูกปลูกฝังอยู่ในทุกชีวิตแห่งป่าสาละวิน


พ่อหลวงธวัชชัย อมรไผ่ชนแดน หนึ่งในนักวิจัยเรื่องการทำเกษตรได้เล่าถึงผลการศึกษาว่า

คนอยู่ในป่าก็หากินกับป่า ทำไร่บนดอย บางคนก็ทำนา พันธุ์ข้าวในไร่มีเยอะ ปลูกข้าวไร่ทีก็ปลูกผักอย่างอื่นไปด้วย ไม่มีอดกิน แต่ถ้าต่อไปไม่ให้ชาวบ้านทำไร่หมุนเวียนแล้ว ชาวบ้านคงอดตายกันแน่ เพราะไม่รู้จะเอาข้าวที่ไหนมากินจะให้ไปรับจ้างก็คงไม่ไหว เพราะพวกเราไม่คุ้นเคย อยู่กับไร่นี่แหละสบายดี ทำไร่ปีหนึ่งมีข้าวกินก็พอแล้ว’


ส่วนพะตีสิริพอ จตุพรเวียรสกุล นักวิจัยเรื่องสมุนไพรและอาหารจากป่ากล่าวว่า

ในป่าสาละวิน มีพืชสมุนไพรเยอะ ป่าสาละวิน อุดมสมบูรณ์มีพรรณพืชมากมายที่ชาวบ้านได้ใช้เป็นอาหารและยาสมุนไพรด้วยความรู้พื้นบ้านชาวบ้านสามารถเก็บพรรณพืชสมุนไพรได้กว่า ๑๓๐ ชนิดชาวบ้านก็จะไปเก็บเอามารักษาโรค เพราะกว่าจะเดินทางเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลในเมืองมันก็นาน ในป่านี่สมุนไพรมีความจำเป็น คนอยู่ป่าก็อาศัยป่า รักษาป่า บางคนอายุมากแล้วไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยหนักๆ เลยเพราะกินแต่สมุนไพร เดี๋ยวนี้คนในเมืองป่วยกันเยอะ เพราะกินสารเคมีมาก คนในป่าบางทีเป็นมาลาเรียเอาใบไม้มาต้มกินก็หาย พรรณพืชเหล่านี้จึงเป็นความมั่นคงของชุมชนในผืนป่าสาละวินที่มิต้องซื้อหา’


สาละวิน ในชื่อของอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ป่าบริเวณริมแม่น้ำสาละวินเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนอันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยบริเวณยอดเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๒๐๐-,๑๐๐ เมตร มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง มีพรรณไม้สำคัญ เช่น ไม้สัก แดงประดู่ เป็นต้น


จากการสำรวจเบื้องต้นของกรมป่าไม้เมื่อปี ๒๕๓๒ พบว่า พื้นที่ป่าแม่ยวม ฝั่งขวา และป่าสาละวิน มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๐๑๓ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๖๓๒,๑๒๕ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์สมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีมติตามที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ ๑/๒๕๓๖ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ..๒๕๓๖ พิจารณาเห็นชอบในการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน


และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินในเขตป่าแม่ยวมฝั่งขวา ป่าสาละวินในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาศ ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง และตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแมฮ่องสอนให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ..๒๕๓๗ โดยใช้ชื่อว่า ‘อุทยานแห่งชาติสาละวิน’ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๑ ตอนที่ ๕๐ ก ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ..๒๕๓๗


สาละวิน บนเส้นทางประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม่น้ำสายใหญ่หลายสาย มักจะปรากฏหลักฐานการอาศัยอยู่ของมนุษย์มาแต่โบราณ ลุ่มน้ำสาละวิน ก็เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะนักประวัติศาสตร์ระบุว่า การค้นพบแหล่งโบราณคดีเช่นถ้ำผี ซึ่งอยู่บนภูเขาสลับซับซ้อนทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวได้ว่า ถ้ำผีแห่งนี้เป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ในยุคที่เริ่มเปลี่ยนแปลงจากใช้ชีวิตแบบล่าสัตว์ และเก็บพืชเพื่อการยังชีพมาเป็นการก่อร่างสร้างสังคมแบบการทำเกษตร


การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในครั้งนั้น สามารถมาลบล้างความเชื่อเดิมของนักโบราณคดีได้ว่า

ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนนั้นยังล้าหลังต้องอาศัยวัฒนธรรมจากอินเดียและจีนมายกระดับความเจริญของบ้านเมือง’


เพราะจากการขุดค้นได้พบเครื่องมือกะเทาะหิน ซึ่งมีอายุ ๑๒,๐๐๐-,๐๐๐ ปีมาแล้ว และการขุดค้นต่อมาก็พบเครื่องปั้นดินเผา หลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชนเผ่าดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวินได้ดีคือ กลุ่มคนในยุคก่อนมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าทำเครื่องปั้นดินเผา นอกจากนั้นยังมีการนำเส้นใยจากพืชมาทำเชือกและตาข่ายจับปลา


จากหลักฐานการค้นพบแหล่งโบราณคดีดังที่กล่าวมาแล้ว ล้วนแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า

ผู้คนอาศัยอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแห่งนี้มาหลายร้อยหลายพันปีแล้ว’


หากไม่กล่าวเกินเลยไปนักก็คงต้องบอกว่า คนที่อยู่ตามริมฝั่งน้ำในปัจจุบันคือลูกหลานของคนยุคก่อนที่อาศัยอยู่ที่นี่มาเนิ่นนาน


แม่น้ำสาละวิน นอกจากจะมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนริมฝั่งน้ำแล้ว แม้น้ำสายนี้ยังมีคุณค่าทางวัฒนธรรมรวมอยู่ด้วย ชาวคะเรนนี บางส่วนเชื่อว่า เมื่อได้ดื่มกินน้ำสาละวิน จะหายจากการป่วยไข้


ในช่วงที่มีเทศกาลเกโตโบของทุกปี ผู้เฒ่าชาวคะเรนนี จะกล่าวอวยพรคนหนุ่มสาวด้วยคำว่า

บลา ตู บู ฮู เต เค-ขอให้เธอจงเติบโตเหมือนแม่น้ำสาละวินที่ทอดยาว’



บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…