Skip to main content

สาละวินบนนิยามของความหลากหลาย


สาละวิน บนเส้นทางงานวิจัยชาวบ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ตลอดแนวพรมแดนไทย
-พม่า โดยได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในประเด็นพันธุ์ปลา เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน การทำเกษตร พรรณพืชในป่า และสังคมวัฒนธรรมของชาวปกาะกญอ เพื่อนำมาอธิบายความสลับซับซ้อนของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในลุ่มน้ำสาละวิน และวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของชุมชนที่ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศดังกล่าว ตลอดจนพิธีกรรม และความเชื่อของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ


ผลการศึกษาพบว่า แม่น้ำสาละวิน ตลอดพรมแดนไทย-พม่า มีระบบนิเวศที่สลับซับซ้อน อาทิ แก่ง วังน้ำ หาดทราย และระบบนิเวศย่อยตามลำห้วยสาขาอีกมากมาย ความหลากหลายซับซ้อนทั้งหมดนี้ เป็นทั้งบ้านของปลา และแหล่งหาอยู่หากินของชาวบ้าน


การศึกษาพันธุ์ปลาในแม่น้ำสาละวิน และลำห้วยสาขาพบพันธุ์ปลา ๗๐ ชนิด โดยชาวบ้านใช้เครื่องมือหาปลาพื้นบ้านหลากหลายชนิด ซึ่งสอดคล้องกันกับระบบนิเวศที่สลับซับซ้อนและฤดูกาล เครื่องมือหาปลาบางชนิด มีไว้สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ เพราะผู้หญิงมีความสามารถในการใช้เครื่องมือได้ดีกว่า


วิธีการหาปลาบางชนิดแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคนในชุมชน และความเชื่อของคนต่อธรรมชาติ เช่น การตึกแค หรือกั้นแควของลำห้วยเพื่อจับปลา ชาวบ้านเชื่อว่าถ้ามีการกั้นแควลำห้วยเพื่อจับปลาแล้วไม่ปล่อยน้ำให้เป็นอิสระดังเดิม ต่อไปก็จะไม่มีปลากินอีก


วิชัย อำพรนภา นักวิจัยเรื่องปลาเล่า ถึงการทำวิจัยเรื่องพันธุ์ปลาในแม่น้ำสาละวิน ให้ฟังว่า

คนในลุ่มน้ำสาละวิน จะหาปลา ๒ ส่วนคือ หมู่บ้านตามริมห้วยสาขาก็จะหาปลาตามลำห้วย ใช้เครื่องมือหาปลาขนาดเล็ก เช่น เบ็ด มอง ไซ ส่วนมากก็จะได้ทั้งปลาตัวใหญ่และตัวเล็ก ปลาในลำห้วยเป็นปลาที่ขึ้นมาจากแม่น้ำสาละวินในช่วงหน้าฝน ปลามันจะเข้ามาวางไข่ตามลำห้วย ช่วงหน้าแล้งปลาก็จะอพยพลงไปในแม่น้ำสาละวิน บางช่วงของห้วยที่เป็นแก่งหินและน้ำลึกก็จะมีปลาหลงเหลือยู่ให้จับไปประกอบอาหารได้ ตอนนี้พอปลาลดน้อยลงที่บ้านโพซอก็มีการจัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา เพื่อจะได้มีปลากินอีกหลายๆ ปีในอนาคตข้างหน้า’


นอกจาก จะได้ทำงานวิจัยในประเด็นที่กล่าวมาแล้ว คณะนักวิจัยยังได้ร่วมกันทำงานวิจัยในประเด็นเรื่องการทำเกษตรของชาวปกากะญอ ในการวิจัยพบว่า ชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ในป่าสาละวิน มีวิถีการทำเกษตรที่แตกต่างกันตามลักษณะภูมินิเวศ โดยสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะภูมินิเวศคือ


การทำเกษตรริมฝั่งน้ำสาละวิน ทุกปีเมื่อแม่น้ำสาละวิน เริ่มลดระดับลงหลังฤดูฝนจะเกิดหาดทรายขาวยาวตลอดริมฝั่ง พื้นที่หาดทรายอันอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุที่สายน้ำพัดพามาเหล่า นี้คือแปลงเกษตรของชาวบ้านริมฝั่งน้ำ หลังจากน้ำลด ชาวบ้านจะทำการจับจองพื้นที่ในการปลูกพืชต่างๆ กว่า ๓๐ ชนิด เช่น ถั่ว แตงโม ยาสูบ เพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือนำไปแลกเปลี่ยนในชุมชน เกษตรริมน้ำสร้างความมั่นคงทางอาหารแก่ชุมชนริมฝั่งน้ำสาละวินตลอดฤดูแล้ง


การทำเกษตรแบบไร่หมุนเวียน ถือเป็นหัวใจของการผลิตของชุมชนสาละวิน ชาวบ้านทุกครอบครัวทำไร่หมุนเวียนบนดอย โดยมีวงรอบของการหมุนเวียนไปประมาณ ๕-๘ ปี ในไร่ของชาวบ้านสาละวิน มีพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองถึง ๕๒ ชนิด และพืชอาหารปลูกผสมกันไปอีกกว่า ๑๓๐ ชนิด


การทำนา ชุมชนริมห้วยสาขาในป่าสาละวิน จะทำนาบนที่ราบลุ่มริมฝั่งลำห้วย โดยมีการจัดการน้ำด้วยวิถีพื้นบ้านในระบบเหมืองฝาย เป็นการ ‘ขอยืมน้ำ’ จากลำห้วยให้ไหลผ่านนาขั้นบันได หล่อเลี้ยงต้นข้าวและไหลกลับคืนสู่ลำห้วยดังเดิม ทุกปี ชาวบ้านที่ใช้ฝายจะร่วมกันทำพิธีเลี้ยงผีฝาย เพื่อขอบคุณสรรพสิ่งที่มอบความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนา


ตลอดรอบปีของการเกษตรทั้งไร่หมุนเวียนและนา พบว่า ชาวบ้านมีพิธีกรรมจัดขึ้นในทุกช่วง เพื่อขออนุญาตผืนดิน แม่น้ำ และป่าในการทำการเกษตรเลี้ยงครอบครัว พิธีกรรมเหล่านี้เป็นการแสดงความเคารพต่อสรรพสิ่ง และธรรมชาติ ซึ่งแนวคิดที่เคารพในธรรมชาติถูกปลูกฝังอยู่ในทุกชีวิตแห่งป่าสาละวิน


พ่อหลวงธวัชชัย อมรไผ่ชนแดน หนึ่งในนักวิจัยเรื่องการทำเกษตรได้เล่าถึงผลการศึกษาว่า

คนอยู่ในป่าก็หากินกับป่า ทำไร่บนดอย บางคนก็ทำนา พันธุ์ข้าวในไร่มีเยอะ ปลูกข้าวไร่ทีก็ปลูกผักอย่างอื่นไปด้วย ไม่มีอดกิน แต่ถ้าต่อไปไม่ให้ชาวบ้านทำไร่หมุนเวียนแล้ว ชาวบ้านคงอดตายกันแน่ เพราะไม่รู้จะเอาข้าวที่ไหนมากินจะให้ไปรับจ้างก็คงไม่ไหว เพราะพวกเราไม่คุ้นเคย อยู่กับไร่นี่แหละสบายดี ทำไร่ปีหนึ่งมีข้าวกินก็พอแล้ว’


ส่วนพะตีสิริพอ จตุพรเวียรสกุล นักวิจัยเรื่องสมุนไพรและอาหารจากป่ากล่าวว่า

ในป่าสาละวิน มีพืชสมุนไพรเยอะ ป่าสาละวิน อุดมสมบูรณ์มีพรรณพืชมากมายที่ชาวบ้านได้ใช้เป็นอาหารและยาสมุนไพรด้วยความรู้พื้นบ้านชาวบ้านสามารถเก็บพรรณพืชสมุนไพรได้กว่า ๑๓๐ ชนิดชาวบ้านก็จะไปเก็บเอามารักษาโรค เพราะกว่าจะเดินทางเข้าไปรักษาในโรงพยาบาลในเมืองมันก็นาน ในป่านี่สมุนไพรมีความจำเป็น คนอยู่ป่าก็อาศัยป่า รักษาป่า บางคนอายุมากแล้วไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยหนักๆ เลยเพราะกินแต่สมุนไพร เดี๋ยวนี้คนในเมืองป่วยกันเยอะ เพราะกินสารเคมีมาก คนในป่าบางทีเป็นมาลาเรียเอาใบไม้มาต้มกินก็หาย พรรณพืชเหล่านี้จึงเป็นความมั่นคงของชุมชนในผืนป่าสาละวินที่มิต้องซื้อหา’


สาละวิน ในชื่อของอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ป่าบริเวณริมแม่น้ำสาละวินเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนอันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยบริเวณยอดเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๒๐๐-,๑๐๐ เมตร มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง มีพรรณไม้สำคัญ เช่น ไม้สัก แดงประดู่ เป็นต้น


จากการสำรวจเบื้องต้นของกรมป่าไม้เมื่อปี ๒๕๓๒ พบว่า พื้นที่ป่าแม่ยวม ฝั่งขวา และป่าสาละวิน มีเนื้อที่ประมาณ ๑,๐๑๓ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๖๓๒,๑๒๕ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์สมควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงมีมติตามที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ ๑/๒๕๓๖ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ..๒๕๓๖ พิจารณาเห็นชอบในการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน


และได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินในเขตป่าแม่ยวมฝั่งขวา ป่าสาละวินในท้องที่ตำบลเสาหิน ตำบลบ้านกาศ ตำบลแม่คง ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง และตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแมฮ่องสอนให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ..๒๕๓๗ โดยใช้ชื่อว่า ‘อุทยานแห่งชาติสาละวิน’ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๑ ตอนที่ ๕๐ ก ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ..๒๕๓๗


สาละวิน บนเส้นทางประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม่น้ำสายใหญ่หลายสาย มักจะปรากฏหลักฐานการอาศัยอยู่ของมนุษย์มาแต่โบราณ ลุ่มน้ำสาละวิน ก็เป็นลุ่มน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะนักประวัติศาสตร์ระบุว่า การค้นพบแหล่งโบราณคดีเช่นถ้ำผี ซึ่งอยู่บนภูเขาสลับซับซ้อนทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวได้ว่า ถ้ำผีแห่งนี้เป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ในยุคที่เริ่มเปลี่ยนแปลงจากใช้ชีวิตแบบล่าสัตว์ และเก็บพืชเพื่อการยังชีพมาเป็นการก่อร่างสร้างสังคมแบบการทำเกษตร


การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในครั้งนั้น สามารถมาลบล้างความเชื่อเดิมของนักโบราณคดีได้ว่า

ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนนั้นยังล้าหลังต้องอาศัยวัฒนธรรมจากอินเดียและจีนมายกระดับความเจริญของบ้านเมือง’


เพราะจากการขุดค้นได้พบเครื่องมือกะเทาะหิน ซึ่งมีอายุ ๑๒,๐๐๐-,๐๐๐ ปีมาแล้ว และการขุดค้นต่อมาก็พบเครื่องปั้นดินเผา หลักฐานที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชนเผ่าดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาละวินได้ดีคือ กลุ่มคนในยุคก่อนมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าทำเครื่องปั้นดินเผา นอกจากนั้นยังมีการนำเส้นใยจากพืชมาทำเชือกและตาข่ายจับปลา


จากหลักฐานการค้นพบแหล่งโบราณคดีดังที่กล่าวมาแล้ว ล้วนแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า

ผู้คนอาศัยอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแห่งนี้มาหลายร้อยหลายพันปีแล้ว’


หากไม่กล่าวเกินเลยไปนักก็คงต้องบอกว่า คนที่อยู่ตามริมฝั่งน้ำในปัจจุบันคือลูกหลานของคนยุคก่อนที่อาศัยอยู่ที่นี่มาเนิ่นนาน


แม่น้ำสาละวิน นอกจากจะมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนริมฝั่งน้ำแล้ว แม้น้ำสายนี้ยังมีคุณค่าทางวัฒนธรรมรวมอยู่ด้วย ชาวคะเรนนี บางส่วนเชื่อว่า เมื่อได้ดื่มกินน้ำสาละวิน จะหายจากการป่วยไข้


ในช่วงที่มีเทศกาลเกโตโบของทุกปี ผู้เฒ่าชาวคะเรนนี จะกล่าวอวยพรคนหนุ่มสาวด้วยคำว่า

บลา ตู บู ฮู เต เค-ขอให้เธอจงเติบโตเหมือนแม่น้ำสาละวินที่ทอดยาว’



บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
  ผมได้รู้ข่าวว่าไฟฟ้าที่บ้านดับก็ตอนอยู่บนดอยบ้านห้วยคุ ข่าวสารที่ส่งมาบอกเพียงว่า หลังจากผมและเธอออกจากบ้านมาได้ ๒ วันหลอดไฟที่อยู่ข้างนอกก็ดับลง ทั้งที่มันเพิ่งได้รับการติดตั้ง คนส่งสารยังบอกอีกว่า เขาได้ไปดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านแล้วปรากฏว่า สายไฟที่ต่อกับมิเตอร์ถูกดึงออกด้วยมือนิรนาม เมื่อสนทนากันอยู่นานสองนาน คนส่งสารผู้ใจดีก็บอกหมายเลขโทรศัพท์ของการไฟฟ้า หลังผู้แจ้งสารหมดสิ้นหน้าที่ ต่อไปจากนี้คงเป็นหน้าที่ของผมที่ต้องดำเนินการต่อ ผมและเธอเรามองหน้ากัน ต่างคนต่างตั้งคำถามในใจ เกิดอะไรขึ้นกับบ้านที่เราเช่าอยู่มาเกือบครึ่งปี? ผมถามเธอก่อนหลังความเงียบมาเยือนเราสองคนได้ไม่นาน"นั่นสิ…
สุมาตร ภูลายยาว
บนเทือกเขาสูงอันไกลโพ้นในดินแดนที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหลังคาโลก บนเทือกเขาสูงกว่า ๕,๐๐๐ ฟุตจากระดับน้ำทะเลถูกปกคลุมด้วยหิมะเย็นจัด หลังการปกคลุมของหิมะ หลายร้อยหลายพันปี เมื่อความร้อนชื้นของอากาศมาเยือน หิมะจึงถูกหลอมละลายจนก่อเกิดเป็นต้นธารของแม่น้ำอันยิ่งใหญ่สายหนึ่งของโลก ในตอนบน แม่น้ำสีเขียวมรกตอันเกิดจากการละลายของหิมะสายนี้อุดมไปด้วยความหนาวเย็น แม่น้ำได้ไหลจากต้นกำเนิดบนที่สูงลงสู่ด้านต่ำตามกฏแรงโน้นถ่วงของโลกผ่านซอกหุบเขาอันสลับซับซ้อน ผ่านผืนแผ่นดินอันอุดมไปด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และลัทธิการเมืองการปกครอง ทุกพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่าน…
สุมาตร ภูลายยาว
[๑]เมษายน ๒๕๔๗...แสงแดดใกล้ลับขอบฟ้า คนหาปลาบางกลุ่มกำลังเตรียมตัวเอาเรือเข้าฝั่ง เพื่อกลับคืนสู่บ้านผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการหาปลามาตลอดทั้งวัน การหาปลาเป็นกิจวัตรปกติของคนริมฝั่งแม่น้ำโขงมาเนิ่นนาน แต่ในยามเย็นวันนี้ไม่เป็นเหมือนยามเย็นของวันอื่นๆ ที่ผ่านมา ช่วงนี้ริมฝั่งแม่น้ำโขงคึกคักเป็นพิเศษ เพราะข่าวการเดินทางมาของปลาบึก ปลาใหญ่ที่คนหาปลาขนานนามให้ว่า ‘ปลาเทพเจ้าแห่งลำน้ำโขง’ พี่รงค์ จินะราช คนหาปลาบ้านหาดไคร้ได้เอาเรือออกไปไหลมองในแม่น้ำโขงบริเวณดอนแวงตามปกติ มองที่ไหลไปตามกระแสน้ำเป็นมองขนาดเล็ก พอมองไหลไปปะทะกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ชั่วพริบตานั้นฟองอากาศขนาดใหญ่ก็เกิดขึ้นบนผิวน้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงผู้คนส่งเสียงเชียร์เรือยาวในแม่น้ำดังไปทั่วริมฝั่ง งานแข่งเรือเริ่มขึ้นในวันสาขารล่อง--ประมาณวันที่ ๑๔ เมษายน เบื้องล่างเหนือสายน้ำ เรือ ๒ ลำกำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก ไม่นานนักเรือที่มีฝีพายใส่เสื้อสีแดงก็ทะยานเข้าเส้นชัยหลังเรือลำนั้นเข้าเส้นชัยแล้ว การแข่งเรือรอบคัดเลือกจึงสิ้นสุดลง พรุ่งนี้จะเป็นวันตัดสินว่า เรือของคุ้มบ้านไหน จะได้ลอยลำเฉิดฉายเข้าเส้นชัย เสียงเพลงเฉลิมฉลองทั้งปราชัย และมีชัยดังมาเป็นระยะ เมื่อผู้คนเริ่มทยอยกลับบ้าน ชายชราก็ลุกจากเสื่อที่ปูนั่ง และเดินออกมาจากริมน้ำคืนสู่บ้าน ก่อนจะเดินมาถึงบันไดทางขึ้นวัด ชายชราก็ก็หยุดคุยกับใครบางคนตรงเชิงบันได“เด็กบ้านเรามันไม่สู้…
สุมาตร ภูลายยาว
ตะวันสายแดดส่องฟ้า เรือหาปลากับชายชรากำลังเดินทางออกจากท่า เพื่อหาปลาอีกครั้ง ในแสงแดดยามสาย ชายชรากำลังสลัดคราบไคร้ที่เกาะติดเบ็ดออก เพื่อทำความสะอาดให้มันกลับมาพร้อมใช้งานอีกครั้งสายน้ำลดระดับลงอีกครั้งหลังโถมถั่งในหน้าฝน สายน้ำเชี่ยวกรากกลับกลายเป็นแผ่วเบา และลดความเกรี้ยวกราดลง วันนี้ไม่แตกต่างจากหลายวันในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาว ชายชรายังคงดำเนินชีวิตไปตามปกติในครรลองของคนกับเรือเหนือสายน้ำอันกล่าวได้ว่าคือสายชีวิตของชายชราด้วยสายลมแห่งเดือนมกราคมพัดมาเยือกเย็น ริมฝั่งน้ำตรงกระท่อมหาปลา ชายชรานั่งเงียบงันอยู่ข้างกองไฟ ๒ วันมาแล้วยังหาปลาไม่ได้ ช่วงนี้จึงมีเพียงกุ้งติดฟดริมฝั่งน้ำเท่านั้น…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังจากวันแรกจนถึงวันนี้ ผมลองนับเดือน นับปีดูแล้ว ผมมาอยู่เมืองชายแดนริมแม่น้ำแห่งนี้ ล่วงเข้าไป ๕ ปีแล้ว ใน ๕ ปีของการใช้ชีวิต แน่ล่ะย่อมแตกต่างจาก ๗๖ ปีของชายชราอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งที่ผมได้เห็นไม่ต่างกับชายชราเลยแม้แต่น้อยแม้จะนานกี่ชั่วอายุคน ผู้คนริมฝั่งน้ำยังคงพึ่งพาแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ อยู่เช่นเดิม คนหาปลายังคงหาปลา แม้ว่าจะได้ปลาน้อยลงก็ตามที คนขับเรือรับจ้างก็ยังคงขับเรืออยู่เช่นเดิม แม้ว่าจะมีข่าวการเกิดขึ้นของสะพานข้ามแม่น้ำก็ตามที คนแบกของตรงท่าเรือก็ยังคงทำหน้าที่แข็งขันกว่าเดิม แม้จะแบกของได้น้อยลง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในยามเย็น หลังแสงตะเกียงสว่างขึ้น ความสว่างของแสงไฟตะเกียงก็ตัดกับท้องฟ้ามืดครึ้มไร้ดวงดาวแต้มขอบฟ้า ดูเหมือนว่ายามนี้สายฝนต้นฤดูมาถึงแล้ว ในที่ไกลออกไปฟ้าแลบแปลบปลาบ ทุกครั้งที่ฟ้าแลบ ความสว่างที่เกิดขึ้นเพียงสั้นๆ ทำให้ฟ้าสีดำดูน่ากลัว ไม่นานนักหลังฟ้าร้องเข้ามาใกล้ สายฝนปานฟ้ารั่วก็โถมถั่งลงมายามนี้ปลาหลายชนิดอพยพขึ้นเหนือ เพื่อวางไข่ จะเหลือเพียงปลาบางชนิดเท่านั้นอพยพขึ้นมาช่วงน้ำลด ในช่วงนี้ คนหาปลาไหลมองก็จะเริ่มยุติการหาปลาลง เพราะน้ำในแม่น้ำเป็นน้ำใหญ่หาปลาลำบาก ช่วงน้ำใหญ่นี่เองถือว่าธรรมชาติได้จัดการมนุษย์…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังกลับมาถึงบ้าน ผมหวนคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่แกเล่าให้ฟัง ห้วงอารมณ์นั้น ผมคิดถึงหนังสือเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้เล่าถึงการรอนแรมออกทะเล เพื่อตกปลาของชายแก่คนหนึ่ง การเดินทางออกทะเลของชายชราในหนังสืออาจแตกต่างกับการเดินทางออกสู่แม่น้ำของชายชราแห่งโลกของความจริงอยู่บ้าง แต่ในวิถีของชายเฒ่าทั้งสองคน มีเรื่องราวทั้งเหมือน ทั้งแตกต่างรวมอยู่ด้วยกัน การเดินทางไปสู่วิถีของการเป็นนักล่าของชายทั้งสองอาจจะไม่ต่างกันมากนักในการกระทำ แต่เป้าหมายในการออกเรือ เพื่อเป็นนักล่าของชายทั้งสองอาจแตกต่างกัน คนหนึ่งออกเรือไปล่าเพื่อความสุขตามคิดความเชื่อของตัวเอง แต่อีกคนหนึ่ง…
สุมาตร ภูลายยาว
แสงแดดยามบ่ายคลี่ม่านกระจายโอบไล้ยอดไม้ แรงลมพัดยอดไม้เอนไหว ดอกไม้ป่าสีขาวของฤดูฝนกำลังร่วงหล่นลงพื้นดิน แม้ว่าดอกไม้จะจากไป แต่ธรรมชาติก็ได้มอบความเขียวชะอุ่มของผืนป่ามาทดแทนเช่นกันยามบ่ายขณะหลายคนยังวุ่นอยู่กับงาน ผมเดินเตร็ดเตร่ตามถนนมาถึงหน้าบ้านหลังหนึ่ง หลังอ่านป้ายก็รู้ว่าบ้านหลังนี้เป็นบ้านของชายชรา ผมมองหาเจ้าของบ้านอยู่นอกรั้วในใจยังหวั่นอยู่ว่าจะได้พบเจ้าของบ้านหรือเปล่า เมื่อมองดูอยู่ครู่หนึ่ง ผมก็เห็นชายชราผู้เป็นเจ้าของบ้านกำลังก้มๆ เงยๆ อยู่กับกองไม้ไผ่ข้างห้องครัวผมร้องเรียกชายชราอยู่นอกรั้ว เมื่อได้ยินเสียงเรียก แกก็เงยหน้าขึ้นมาดู และเรียกผมเข้ามาในบ้าน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังกลับมาจากเมืองริมแม่น้ำในครั้งนั้น ไม่นานผมก็เดินทางมาเมืองริมแม่น้ำอีกครั้งพร้อมกับความทรงจำเมื่อ ๒ เดือนก่อน...ความทรงจำเมื่อ ๒ เดือนก่อนเกิดขึ้นบนแม่น้ำสายนี้ ผมจำได้ว่าช่วงนั้นเป็นฤดูฝน น้ำปริ่มฝั่งหมุนวนน่ากลัว ผมได้พบชายชราอีกครั้งหลังจากไม่ได้พบกันนาน ชายชรานั่งอยู่บนเรืออีกลำหนึ่ง ซึ่งวิ่งสวนทางกับเรือที่ผมโดยสารมา เมือเรือวิ่งสวนทางก็ได้ยินเสียงทักทายของคนขับเรือทั้งสอง แม้ว่าจะฟังสำเนียงการสนทนาไม่รู้เรื่องทั้งหมด แต่ก็พอจับใจความได้ว่าคนขับเรือทั้งสองคุยกันเรื่องอะไร บนนาวาชีวิตกลางสายน้ำของชะตากรรม…
สุมาตร ภูลายยาว
สายโขงยังตัดไม่ขาด สายสวาทตัดขาดอย่างไรตัดบัวก็ยังไว้ใย ตัดน้ำใจยังมีเมตตาค่อยอิง ค่อยอาศัยกัน เอาไว้รักกันในวันข้างหน้ามาเถิด มาเถิดแก้วตา รำวงดีกว่าร่าเริงหัวใจ รำวงดีว่าร่าเริงหัวใจ....เสียงเพลงแหบพร่าลอยตามสายลมไกลออกไป จนเงียบหายไปกับโค้งขอบฟ้ากลางคืน นานครั้งชายชราจะร้องเพลง แต่บทเพลงที่ชอบร้องสม่ำเสมอคือเพลงนี้ ค่ำคืนนี้อากาศหนาวเย็นลง ชายชราจึงก่อกองไฟ เพื่อผ่อนเบาความหนาว เนิ่นนานที่กองไฟสว่างไสว แต่เมื่อฟืนที่กองสุมไว้ในตอนเย็นใกล้หมด แสงไฟก็สลัวลง เปลวไฟมีอยู่น้อยนิดเหมือนจะมอดดับลงทุกครั้งยามสายลมพัดเข้ามา พอสายลมพัดผ่านไป แสงไฟก็สว่างขึ้นมา หลังแสงไฟสว่าง…
สุมาตร ภูลายยาว
ภาพของชายชราวัย ๗๕ ปี กำลังก้มๆ เงยๆ อยู่บริเวณระเบียงกระท่อมแจ่มชัดขึ้นเมื่อเข้าไปใกล้ กุ้งสีชมพูขนาดนิ้วก้อยหลายสิบตัวนอนนิ่งอยู่ในจานเบื้องหน้าของชายชรา ถัดจากจานกุ้งไปเป็นถ้วยน้ำพริกปลาร้าที่กินเหลือจากเมื่อวานรายการอาหารที่กล่าวมาทั้งหมดคืออาหารมื้อเย็นสำหรับชายชรา     ลูกแมวสองตัว ตัวหนึ่งสีน้ำตาล ตัวหนึ่งสีขาว หมอบคลอเคลียอยู่ด้านข้าง นานครั้งมันจะเดินมาหยอกล้อเล่นกัน พอหยอกล้อกันจนหนำใจมันก็กลับไปนอนนิ่งอยู่ที่เดิม บนท้องฟ้าอาทิตย์อัสดงลงไปไม่นานนัก ท้องฟ้าที่เคยกระจ่างเป็นสีฟ้าเริ่มกลายเป็นสีดำหลังจากอิ่มหนำสำราญ…