Skip to main content

การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ


ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า


ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า

พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน


บนวาทะกรรมเช่นนี้ กรอบแนวคิดการพัฒนาบนคราบน้ำตาของคนชายขอบจึงเกิดขึ้น นอกจากแม่น้ำสาละวิน จะมีโครงการก่อสร้างเขื่อนแล้ว แม่น้ำสาขาหลายสายก็ถูกหมายปองเช่นกัน


ทำไมนักลงทุนที่มาในคราบนักสร้างเขื่อนจึงลงความเห็นว่า แม่น้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน หากเราได้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวิน ในด้านต่างๆ แล้ว เราจะพบว่า ในทางภูมิประเทศ และข้อมูลทางอุทกศาสตร์แล้ว แม่น้ำสาละวิน เป็นแม่น้ำที่มีความสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีพื้นที่รองรับน้ำกว้าง รวมทั้งสองฝั่งน้ำยังเป็นโตรกหินผา และแม่น้ำสาละวินก็มีความกว้างไม่มากนัก ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม แม่น้ำสาละวินจึงเอื้อต่อการก่อสร้างเขื่อน


หากลองนับไล่เลียงโครงการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนลุ่มน้ำสาละวินจะพบว่า บนแม่น้ำสายนี้ไม่ได้มีเพียงโครงการสร้างเขื่อนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีโครงการผันน้ำสาละวินรวมอยู่ด้วย


โดยโครงการผันน้ำมีแนวคิดหลักอยู่ที่การผันน้ำจากลุ่มน้ำสาละวิน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยโครงการนี้เกิดขึ้นในปี พ..๒๕๒๒ โดยผู้บริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


ซึ่งในรายละเอียดของโครงการมีทั้งการผันน้ำจากแม่น้ำโขงได้พัฒนามาเป็นโครงการผันน้ำกก-อิง-ยม-น่าน และกก-อิง-น่าน ส่วนโครงการผันน้ำบนลุ่มน้ำสาละวิน มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่น้ำสาขาของแม่น้ำสาละวินคือ น้ำปาย น้ำยวม น้ำเมย น้ำแม่ละเมา โดยเป้าหมายหลักของโครงการทั้งหมดคือ การนำน้ำจากลุ่มน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงลงไปเติมให้กับแม่น้ำเจ้าพระยา เหตุผลของการเกิดขึ้นของโครงการนี้ก็คือ น้ำในภาคกลางไม่พอใช้ในภาคส่วนต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรม และการเกษตร แต่แนวคิดเช่นนี้ก็ไดละเลยที่จะมองคนท้องถิ่นผู้อยู่ในพื้นที่ของโครงการ เพราะโครงการเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้น คนท้องถิ่นบางส่วนต้องเป็นผู้เสียสละที่ดิน เพื่อให้ท่อส่งน้ำผ่าน และที่สำคัญผลประโยชน์ที่เกิดจากโครงการนี้ ไม่ได้กลับมาถึงคนท้องถิ่นผู้อยู่ในพื้นที่ของโครงการ


นอกจากในลุ่มน้ำสาละวิน จะมีโครงการผันน้ำแล้ว ในลุ่มน้ำสาละวิน ตอนล่างยังมีโครงการเขื่อนจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ทั้งในน้ำสาขา และบนแม่น้ำสาละวิน จากข้อมูลที่บางส่วนได้รับการเปิดเผยจากเจ้าของโครงการพบว่า เขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ตอนล่างมีทั้งหมด ๔ เขื่อนคือ เขื่อนท่าซาง เขื่อนเว่ยจี เขื่อนดา-กวิน เขื่อนฮัตจี และมีอีก ๑ เขื่อนในแม่น้ำตะนาวศรี ส่วนแม่น้ำสาละวินตอนบนที่ประเทศจีนมีโครงการสร้างเขื่อนทั้งหมดอีก ๑๓


เมื่อเขื่อนทั้งหมดบนแม่น้ำสาละวิน ตอนล่างตามแผนที่วางไว้ก่อสร้างแล้วเสร็จ เขื่อนทั้งหมดจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าประมาณ ๑๕,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ หรือ คิดเป็น ๑๐ เท่าของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศพม่า ที่สำคัญกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะถูกส่งเข้ามาในประเทศไทย


โดยโครงการหลักของการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ตอนล่างนั้น สามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ โครงการเขื่อนในรัฐฉาน โครงการเขื่อนบนพรมแดนไทย-พม่าในรัฐกะเหรี่ยง


โครงการเขื่อนในรัฐฉานคือ การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ในเขตรัฐฉาน โครงการนี้มีมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ ๑๙๗๐ และในปลายปี ๒๕๔๑ ก็มีความคืบหน้าในดำเนินการก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินในเขตรัฐฉานมากขึ้น


เขื่อนในเขตรัฐฉานสามารถแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มย่อยคือ โครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้า ๒ แห่งที่ Baluchaung และโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปอน ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาสายหลักของแม่น้ำสาละวิน ในเขตรัฐฉาน ส่วนโครงการเขื่อนที่สำคัญในเขตรัฐฉานคือ โครงการเขื่อนท่าซาง ซึ่งเป็นเขื่อนที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฉานใกล้กับท่าเรือท่าซาง อ่างเก็บน้ำของเขื่อนมีระดับกักเก็บน้ำสูงสุดประมาณ ๓๒๐-๓๗๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางมีกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้งขนาดระหว่าง ๑,๕๐๐-,๐๐๐ เมกกะวัตต์ เขื่อนแห่งนี้ถือว่าเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดบนลุ่มน้ำสาละวิน สันเขื่อนมีด้วยความสูง ๒๒๘ เมตร ในช่วงปี ๒๕๓๙-๒๕๔๑


นอกจากจะมีเขื่อนท่าซางแล้ว ใต้เขื่อนท่าซางลงมายังมีเขื่อนลูก เพื่อควบคุมน้ำที่ถูกปล่อยออกมาจากเทอร์ไบน์ ๑๖ ชั่วโมงต่อวัน และ๖ วันต่อสัปดาห์ ในช่วงที่มีการศึกษาโครงการนั้น กองทัพพม่าได้บังคับอพยพประชาชนในพื้นที่การก่อสร้างเขื่อนถึง ๓ แสนคนให้ออกนอกพื้นที่


เขื่อนเว่ยจี หรือเขื่อนสาละวิน ชายแดนตอนบน พื้นของโครงการตั้งอยู่บริเวณวังน้ำวนขนาดใหญ่ของเมืองพะปูน รัฐกะเหรี่ยง ตรงข้ามกับอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้งขนาด ๔,๐๐-,๖๐๐ เมกกะวัตต์ ความสูงของเขื่อน ๒๒๐ เมตร ถึงแม้ว่าเขื่อนเว่ยจี จะอยู่ที่รัฐกะเหรี่ยง แต่น้ำในอ่างเก็บน้ำก็จะท่วมถึงรัฐคะเรนนี และที่สำคัญก็จะมีหมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่อยู่ทางฝั่งประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนนี้ด้วย


เขื่อนดา-กวิน หรือสาละวินชายแดนตอนล่างมีกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้งขนาด ๕๐๐-๙๐๐ เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ใกล้บ้านท่าตาฝั่ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน อ่างเก็บน้ำของเขื่อนแห่งนี้จะยาวไปจนจรดฐานของเขื่อนบน คือเขื่อนเว่ยจี


เขื่อนฮัตจี อยู่ในรัฐกะเหรี่ยง พื้นที่โครงการอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดตาก เขื่อนตั้งอยู่ท้ายน้ำจากชายแดนไทย-พม่าห่างจากบ้านสบเมย ตามลำน้ำลงไปในประเทศพม่าประมาณ ๔๐-๕๐ กิโลเมตร เขื่อนฮัตจี เป็นโครงการที่มีการผลักดันมากที่สุดในขณะนี้ โดย กฟผ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA)กับกรมไฟฟ้าพลังน้ำพม่า ในการร่วมทุน และล่าสุดได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับบริษัท Sinohydro รัฐวิสาหกิจของจีน เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๙ รายงานข่าวระบุว่า กฟผ. จะกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากประเทศจีนเพื่อลงทุนสร้างเขื่อนแห่งนี้ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว ๓,๘๐๐ ล้านบาท


เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ระดับเก็บกักน้ำของเขื่อนอยู่ที่ประมาณ ๔๘ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นข้อมูลที่คาดการณ์เท่านั้น ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน ทั้งนี้ กฟผ. ระบุว่า เขื่อนกักเก็บน้ำอยู่ที่ระดับ ๔๘ มรทก. น้ำจึงจะไม่ท่วมในประเทศไทย พื้นที่อ่างเก็บน้ำจะท่วมเฉพาะในเขตพม่า


ปัจจุบันโครงการเขื่อนแห่งอยู่ในระหว่างการทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จคาดว่าเขื่อนแห่งนี้จะกำลังในการผลิตไฟฟ้าอยู่ในระดับ ๖๐๐-,๒๐๐ เมกกะวัตต์


เมื่อย้อนกลับไปที่กระบวนการตัดสินใจดูเหมือนว่า กระบวนการตัดสินใจทั้งหมดดำเนินไปอย่างเร่งรีบและรวบรัด ในขณะที่สถานะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นบริษัทมหาชน เมื่อลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับกรมไฟฟ้าพลังน้ำของพม่า ในการสร้างเขื่อนฮัตจี แต่ต่อมาศาลปกครองได้มีคำพิพากษาให้ยกเลิกแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นบริษัทมหาชน จนถึงบัดนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวยังมีผลผูกพันหรือไม่อย่างไร แต่ กฟผ. ยังคงเดินหน้าโครงการโดยลงนามในบันทึกความเข้าใจกับบริษัทไซโนไฮโดร 


ในส่วนการพัฒนาแม่น้ำสาละวินตอนบน นั้นมีรายงานล่าสุดว่า มีบริษัท ๔ แห่งในจีนได้แก่ บริษัท China Huadian Corp. บริษัท Yunnan Development Investment Co. บริษัท Yunnan Electricity Group's Hydropower Consrtuction Co. และบริษัท Yunnan Nu River Electricity Group ได้ร่วมกันลงนามตั้งบริษัทใหม่ชื่อ Yunnan Huadian Nu River Hydropower Development Co. เพื่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำนู-แม่น้ำสาละวินตอนบน ในเขตประเทศจีน โดยมีนาย Qin Huadian-rong รองเลขาคณะกรรมการจังหวัดยูนานเข้าร่วมในพิธีลงนาม บริษัทที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้จะรับผิดชอบด้านการเงิน และการก่อสร้างเขื่อน เพื่อผลิตไฟฟ้าบนแม่น้ำสาละวินตอนบน ๑๑ แห่ง โดยสถานีผลิตไฟฟ้าแห่งแรกที่จะสร้างมีชื่อว่า Liuku มีกำลังผลิต ๑๘๐ เมกกะวัตต์


บริษัทร่วมที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ จะเร่งให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าบนแม่น้ำสาละวินตอนบน และเตรียมโครงการสร้างเขื่อน Luiku รวมถึงการออกแบบโครงการเขื่อนอื่นๆ ในชุดเดียวกันคือ Maji, Bijing, Abiluo และ Lushui อย่างน้อย ๒ แห่งในช่วงแผนพัฒนาแห่งชาติแผน ๑๑ในระยะ ๕ ปี ขณะนี้สถาบันสำรวจและออกแบบพลังงานน้ำคุนหมิง (Kunming Hydropower Surveying and Design Institute) ได้จัดทำรายงานการศึกษาเพิ่มเติมของการศึกษาเบื้องต้น สำหรับโครงการเขื่อน Luiku เสร็จแล้ว


และขั้นตอนต่อไปก็อยู่ในระหว่างทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับกำลังผลิตติดตั้ง คาดว่าโครงการเขื่อนทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน ๒๐ ปี โดยคาดว่าโครงการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวประหยัดต้นทุน และให้ผลตอบแทนสูง    


สงครามที่เกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อในพม่า ส่งผลให้ชนชาติพันธุ์หลายล้านคนต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ และอีกจำนวนมากที่หลบหนีเข้ามาฝั่งไทย โดยมีมากกว่า ๑๔๐,๐๐๐ คน ที่พักอาศัยตามแหล่งพักพิงชั่วคราวตามแนวพรมแดนไทยพม่า ผู้ลี้ภัยจำนวนมากมาจากพื้นที่ที่มีการวางแผนสร้างเขื่อน นับตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา กองทัพพม่าดำเนินการกวาดล้างอย่างรุนแรงในรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นเขตที่จะมีการสร้างเขื่อน ๓ จาก ๕ เขื่อน มีรายงานว่าทหารพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ ทั้งเผาทำลายหมู่บ้าน บังคับอพยพ และสังหาร ส่งผลให้เกิดผู้พลัดถิ่นภายในประเทศแล้วอย่างน้อย ๑๖,๐๐๐ คน และชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากอพยพเข้าสู่ไทยในฐานะผู้หนีภัยความตาย


นอกจาก กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ ในฝั่งพม่าจะไดรับความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนและสงครามแล้ว พวกเขาก็ไม่เคยได้รับรู้รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลของโครงการที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่เลย ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ได้แตกต่างจากฝั่งไทยเท่าใดนัก เพราะสำหรับฝั่งไทย ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงอย่างน้อย ๕๐ ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะเป็นประชาชนกลุ่มแรกที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการก่อสร้างเขื่อน แต่ชาวบ้านเหล่านี้ยังไม่ได้รับข้อมูลโครงการแต่อย่างใด


แม้ในปัจจุบัน จะมีรายงานข่าว หรือแม้กระทั่งบทความเกี่ยวกับสาละวินอยู่จำนวนมาก ซึ่งในรายงานหลายๆ ชิ้นนั้นต่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อบอกกล่าวกับสังคมทั่วไปว่า ตามริมฝั่งน้ำสาละวิน มีชาวบ้านอาศัยอยู่จำนวนมาก และเมื่อมีเขื่อน ชาวบ้านเหล่านี้จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด


โดยเฉพาะในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง รัฐคะเรนนี ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยในทั้ง ๓ รัฐที่กล่าวมามีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศอาศัยหลบซ่อนอยู่ตามริมแม่น้ำสาละวิน จำนวนไม่น้อย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว พวกเขาเหล่านี้น่าจะไดรับทราบข้อมูลของโครงการทั้งหมด หรือแม้แต่การปรึกษาหารือว่าโครงการเหล่านี้จะส่งผลอะไรต่อชีวิตของชาวบ้านบ้าง ถ้าถามว่าคุ้มไหมที่รัฐบาลไทยจะเอาชื่อเสียงของประเทศไปเสี่ยงต่อการถูกรุมประณามจากนานาชาติในข้อหาร่วมมือกับรัฐบาลเผด็จทหารพม่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยในนามของการพัฒนา


พวกเราในสังคมส่วนใหญ่ถูกทำให้เชื่อตลอดมาว่า เขื่อนคือคำตอบสุดท้ายของทุกคำถามในการจัดการน้ำ และการกำเนิดพลังงานไฟฟ้า หรือแม้แต่เวลาน้ำท่วมหน่วยงานรัฐก็ทำให้ประชาชนคิดเพียงแค่ว่าเราต้องสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำในการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งไม่รู้ว่าการกักเก็บน้ำจากเขื่อนจะทำได้ดีแค่ไหน เพราะเมื่อน้ำมามากเขื่อน ก็จำเป็นต้องปล่อยน้ำออกมาอยู่ดี


อย่างเช่น ในกรณีของเขื่อนอุบลรัตน์ที่จังหวัดขอนแก่นก็เคยแตก เพราะปริมาณน้ำที่มากเกินความจุของเขื่อน แน่นอนว่าแม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีในการก่อสร้างเขื่อนจะพัฒนาไปไกลมาก แต่ก็ไม่มีใครรู้ข้อมูลที่เท็จจริงว่า เขื่อนหนึ่งเขื่อนมีอายุการใช้งานมากน้อยเพียงใด และหากพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้ว อภิมหาโครงการเขื่อนอย่างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากมาย และการใช้งบประมาณมหาศาลเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น คำตอบสุดท้ายอาจมิใช่การสร้างเขื่อน


ปัจจุบันทางเลือกของการนำพลังงานต่างๆ มาใช้มิได้ถูกหยิบยกมาพิจารณา เพื่อเปรียบเทียบกับการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ และระบบพลังงานรวมศูนย์ ทั้งที่การผลิตพลังงานทางเลือกแบบไม่รวมศูนย์ ซึ่งมีทั้งพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือน้ำตกขนาดเล็ก ทางเลือกเหล่านี้มีต้นทุนถูกกว่า ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า คุ้มทุนกว่าในระยะยาว และที่สำคัญที่สุดคือสามารถจัดการได้โดยชุมชน


หากแผงโซล่าร์เซลล์ ๑ ชุดสำหรับ ๑ หมู่บ้าน มีราคา ๑ ล้านบาท งบประมาณของเขื่อนบนลำน้ำสาละวิน ที่อยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ก็จะสามารถนำมาซื้อโซล่าร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านต่างๆ ได้ถึง ๒ แสนหมู่บ้าน โดยไม่ต้องมีใครถูกอพยพหนีน้ำท่วม และไม่มีใครได้รับความเดือนร้อน


ทางเลือกเหล่านี้ ก็น่าจะนำมาพิจารณามิใช่หรือ ?


ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงินทุนจากการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินตอนล่างเกินครึ่งหนึ่ง และการขายไฟฟ้าส่วนหนึ่งของรัฐบาลทหารพม่าจะถูกนำไปใช้ในการทำสงคราม เพื่อกดขี่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลทหารพม่าก็ใช้กำลังทหารโจมตีชนกลุ่มน้อยอย่างต่อเนื่อง การให้ความสนับสนุนทั้งทางการเมือง และการเงินต่อการสร้างเขื่อนในเขตที่มีการสู้รบ จึงเปรียบได้กับการสนับสนุนให้รัฐบาลเผด็จการพม่ากดขี่ชนกลุ่มน้อยนั่นเอง



บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
  ผมได้รู้ข่าวว่าไฟฟ้าที่บ้านดับก็ตอนอยู่บนดอยบ้านห้วยคุ ข่าวสารที่ส่งมาบอกเพียงว่า หลังจากผมและเธอออกจากบ้านมาได้ ๒ วันหลอดไฟที่อยู่ข้างนอกก็ดับลง ทั้งที่มันเพิ่งได้รับการติดตั้ง คนส่งสารยังบอกอีกว่า เขาได้ไปดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านแล้วปรากฏว่า สายไฟที่ต่อกับมิเตอร์ถูกดึงออกด้วยมือนิรนาม เมื่อสนทนากันอยู่นานสองนาน คนส่งสารผู้ใจดีก็บอกหมายเลขโทรศัพท์ของการไฟฟ้า หลังผู้แจ้งสารหมดสิ้นหน้าที่ ต่อไปจากนี้คงเป็นหน้าที่ของผมที่ต้องดำเนินการต่อ ผมและเธอเรามองหน้ากัน ต่างคนต่างตั้งคำถามในใจ เกิดอะไรขึ้นกับบ้านที่เราเช่าอยู่มาเกือบครึ่งปี? ผมถามเธอก่อนหลังความเงียบมาเยือนเราสองคนได้ไม่นาน"นั่นสิ…
สุมาตร ภูลายยาว
บนเทือกเขาสูงอันไกลโพ้นในดินแดนที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหลังคาโลก บนเทือกเขาสูงกว่า ๕,๐๐๐ ฟุตจากระดับน้ำทะเลถูกปกคลุมด้วยหิมะเย็นจัด หลังการปกคลุมของหิมะ หลายร้อยหลายพันปี เมื่อความร้อนชื้นของอากาศมาเยือน หิมะจึงถูกหลอมละลายจนก่อเกิดเป็นต้นธารของแม่น้ำอันยิ่งใหญ่สายหนึ่งของโลก ในตอนบน แม่น้ำสีเขียวมรกตอันเกิดจากการละลายของหิมะสายนี้อุดมไปด้วยความหนาวเย็น แม่น้ำได้ไหลจากต้นกำเนิดบนที่สูงลงสู่ด้านต่ำตามกฏแรงโน้นถ่วงของโลกผ่านซอกหุบเขาอันสลับซับซ้อน ผ่านผืนแผ่นดินอันอุดมไปด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม และลัทธิการเมืองการปกครอง ทุกพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่าน…
สุมาตร ภูลายยาว
[๑]เมษายน ๒๕๔๗...แสงแดดใกล้ลับขอบฟ้า คนหาปลาบางกลุ่มกำลังเตรียมตัวเอาเรือเข้าฝั่ง เพื่อกลับคืนสู่บ้านผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการหาปลามาตลอดทั้งวัน การหาปลาเป็นกิจวัตรปกติของคนริมฝั่งแม่น้ำโขงมาเนิ่นนาน แต่ในยามเย็นวันนี้ไม่เป็นเหมือนยามเย็นของวันอื่นๆ ที่ผ่านมา ช่วงนี้ริมฝั่งแม่น้ำโขงคึกคักเป็นพิเศษ เพราะข่าวการเดินทางมาของปลาบึก ปลาใหญ่ที่คนหาปลาขนานนามให้ว่า ‘ปลาเทพเจ้าแห่งลำน้ำโขง’ พี่รงค์ จินะราช คนหาปลาบ้านหาดไคร้ได้เอาเรือออกไปไหลมองในแม่น้ำโขงบริเวณดอนแวงตามปกติ มองที่ไหลไปตามกระแสน้ำเป็นมองขนาดเล็ก พอมองไหลไปปะทะกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ชั่วพริบตานั้นฟองอากาศขนาดใหญ่ก็เกิดขึ้นบนผิวน้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงผู้คนส่งเสียงเชียร์เรือยาวในแม่น้ำดังไปทั่วริมฝั่ง งานแข่งเรือเริ่มขึ้นในวันสาขารล่อง--ประมาณวันที่ ๑๔ เมษายน เบื้องล่างเหนือสายน้ำ เรือ ๒ ลำกำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก ไม่นานนักเรือที่มีฝีพายใส่เสื้อสีแดงก็ทะยานเข้าเส้นชัยหลังเรือลำนั้นเข้าเส้นชัยแล้ว การแข่งเรือรอบคัดเลือกจึงสิ้นสุดลง พรุ่งนี้จะเป็นวันตัดสินว่า เรือของคุ้มบ้านไหน จะได้ลอยลำเฉิดฉายเข้าเส้นชัย เสียงเพลงเฉลิมฉลองทั้งปราชัย และมีชัยดังมาเป็นระยะ เมื่อผู้คนเริ่มทยอยกลับบ้าน ชายชราก็ลุกจากเสื่อที่ปูนั่ง และเดินออกมาจากริมน้ำคืนสู่บ้าน ก่อนจะเดินมาถึงบันไดทางขึ้นวัด ชายชราก็ก็หยุดคุยกับใครบางคนตรงเชิงบันได“เด็กบ้านเรามันไม่สู้…
สุมาตร ภูลายยาว
ตะวันสายแดดส่องฟ้า เรือหาปลากับชายชรากำลังเดินทางออกจากท่า เพื่อหาปลาอีกครั้ง ในแสงแดดยามสาย ชายชรากำลังสลัดคราบไคร้ที่เกาะติดเบ็ดออก เพื่อทำความสะอาดให้มันกลับมาพร้อมใช้งานอีกครั้งสายน้ำลดระดับลงอีกครั้งหลังโถมถั่งในหน้าฝน สายน้ำเชี่ยวกรากกลับกลายเป็นแผ่วเบา และลดความเกรี้ยวกราดลง วันนี้ไม่แตกต่างจากหลายวันในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาว ชายชรายังคงดำเนินชีวิตไปตามปกติในครรลองของคนกับเรือเหนือสายน้ำอันกล่าวได้ว่าคือสายชีวิตของชายชราด้วยสายลมแห่งเดือนมกราคมพัดมาเยือกเย็น ริมฝั่งน้ำตรงกระท่อมหาปลา ชายชรานั่งเงียบงันอยู่ข้างกองไฟ ๒ วันมาแล้วยังหาปลาไม่ได้ ช่วงนี้จึงมีเพียงกุ้งติดฟดริมฝั่งน้ำเท่านั้น…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังจากวันแรกจนถึงวันนี้ ผมลองนับเดือน นับปีดูแล้ว ผมมาอยู่เมืองชายแดนริมแม่น้ำแห่งนี้ ล่วงเข้าไป ๕ ปีแล้ว ใน ๕ ปีของการใช้ชีวิต แน่ล่ะย่อมแตกต่างจาก ๗๖ ปีของชายชราอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งที่ผมได้เห็นไม่ต่างกับชายชราเลยแม้แต่น้อยแม้จะนานกี่ชั่วอายุคน ผู้คนริมฝั่งน้ำยังคงพึ่งพาแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ อยู่เช่นเดิม คนหาปลายังคงหาปลา แม้ว่าจะได้ปลาน้อยลงก็ตามที คนขับเรือรับจ้างก็ยังคงขับเรืออยู่เช่นเดิม แม้ว่าจะมีข่าวการเกิดขึ้นของสะพานข้ามแม่น้ำก็ตามที คนแบกของตรงท่าเรือก็ยังคงทำหน้าที่แข็งขันกว่าเดิม แม้จะแบกของได้น้อยลง…
สุมาตร ภูลายยาว
ในยามเย็น หลังแสงตะเกียงสว่างขึ้น ความสว่างของแสงไฟตะเกียงก็ตัดกับท้องฟ้ามืดครึ้มไร้ดวงดาวแต้มขอบฟ้า ดูเหมือนว่ายามนี้สายฝนต้นฤดูมาถึงแล้ว ในที่ไกลออกไปฟ้าแลบแปลบปลาบ ทุกครั้งที่ฟ้าแลบ ความสว่างที่เกิดขึ้นเพียงสั้นๆ ทำให้ฟ้าสีดำดูน่ากลัว ไม่นานนักหลังฟ้าร้องเข้ามาใกล้ สายฝนปานฟ้ารั่วก็โถมถั่งลงมายามนี้ปลาหลายชนิดอพยพขึ้นเหนือ เพื่อวางไข่ จะเหลือเพียงปลาบางชนิดเท่านั้นอพยพขึ้นมาช่วงน้ำลด ในช่วงนี้ คนหาปลาไหลมองก็จะเริ่มยุติการหาปลาลง เพราะน้ำในแม่น้ำเป็นน้ำใหญ่หาปลาลำบาก ช่วงน้ำใหญ่นี่เองถือว่าธรรมชาติได้จัดการมนุษย์…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังกลับมาถึงบ้าน ผมหวนคิดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่แกเล่าให้ฟัง ห้วงอารมณ์นั้น ผมคิดถึงหนังสือเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้เล่าถึงการรอนแรมออกทะเล เพื่อตกปลาของชายแก่คนหนึ่ง การเดินทางออกทะเลของชายชราในหนังสืออาจแตกต่างกับการเดินทางออกสู่แม่น้ำของชายชราแห่งโลกของความจริงอยู่บ้าง แต่ในวิถีของชายเฒ่าทั้งสองคน มีเรื่องราวทั้งเหมือน ทั้งแตกต่างรวมอยู่ด้วยกัน การเดินทางไปสู่วิถีของการเป็นนักล่าของชายทั้งสองอาจจะไม่ต่างกันมากนักในการกระทำ แต่เป้าหมายในการออกเรือ เพื่อเป็นนักล่าของชายทั้งสองอาจแตกต่างกัน คนหนึ่งออกเรือไปล่าเพื่อความสุขตามคิดความเชื่อของตัวเอง แต่อีกคนหนึ่ง…
สุมาตร ภูลายยาว
แสงแดดยามบ่ายคลี่ม่านกระจายโอบไล้ยอดไม้ แรงลมพัดยอดไม้เอนไหว ดอกไม้ป่าสีขาวของฤดูฝนกำลังร่วงหล่นลงพื้นดิน แม้ว่าดอกไม้จะจากไป แต่ธรรมชาติก็ได้มอบความเขียวชะอุ่มของผืนป่ามาทดแทนเช่นกันยามบ่ายขณะหลายคนยังวุ่นอยู่กับงาน ผมเดินเตร็ดเตร่ตามถนนมาถึงหน้าบ้านหลังหนึ่ง หลังอ่านป้ายก็รู้ว่าบ้านหลังนี้เป็นบ้านของชายชรา ผมมองหาเจ้าของบ้านอยู่นอกรั้วในใจยังหวั่นอยู่ว่าจะได้พบเจ้าของบ้านหรือเปล่า เมื่อมองดูอยู่ครู่หนึ่ง ผมก็เห็นชายชราผู้เป็นเจ้าของบ้านกำลังก้มๆ เงยๆ อยู่กับกองไม้ไผ่ข้างห้องครัวผมร้องเรียกชายชราอยู่นอกรั้ว เมื่อได้ยินเสียงเรียก แกก็เงยหน้าขึ้นมาดู และเรียกผมเข้ามาในบ้าน…
สุมาตร ภูลายยาว
หลังกลับมาจากเมืองริมแม่น้ำในครั้งนั้น ไม่นานผมก็เดินทางมาเมืองริมแม่น้ำอีกครั้งพร้อมกับความทรงจำเมื่อ ๒ เดือนก่อน...ความทรงจำเมื่อ ๒ เดือนก่อนเกิดขึ้นบนแม่น้ำสายนี้ ผมจำได้ว่าช่วงนั้นเป็นฤดูฝน น้ำปริ่มฝั่งหมุนวนน่ากลัว ผมได้พบชายชราอีกครั้งหลังจากไม่ได้พบกันนาน ชายชรานั่งอยู่บนเรืออีกลำหนึ่ง ซึ่งวิ่งสวนทางกับเรือที่ผมโดยสารมา เมือเรือวิ่งสวนทางก็ได้ยินเสียงทักทายของคนขับเรือทั้งสอง แม้ว่าจะฟังสำเนียงการสนทนาไม่รู้เรื่องทั้งหมด แต่ก็พอจับใจความได้ว่าคนขับเรือทั้งสองคุยกันเรื่องอะไร บนนาวาชีวิตกลางสายน้ำของชะตากรรม…
สุมาตร ภูลายยาว
สายโขงยังตัดไม่ขาด สายสวาทตัดขาดอย่างไรตัดบัวก็ยังไว้ใย ตัดน้ำใจยังมีเมตตาค่อยอิง ค่อยอาศัยกัน เอาไว้รักกันในวันข้างหน้ามาเถิด มาเถิดแก้วตา รำวงดีกว่าร่าเริงหัวใจ รำวงดีว่าร่าเริงหัวใจ....เสียงเพลงแหบพร่าลอยตามสายลมไกลออกไป จนเงียบหายไปกับโค้งขอบฟ้ากลางคืน นานครั้งชายชราจะร้องเพลง แต่บทเพลงที่ชอบร้องสม่ำเสมอคือเพลงนี้ ค่ำคืนนี้อากาศหนาวเย็นลง ชายชราจึงก่อกองไฟ เพื่อผ่อนเบาความหนาว เนิ่นนานที่กองไฟสว่างไสว แต่เมื่อฟืนที่กองสุมไว้ในตอนเย็นใกล้หมด แสงไฟก็สลัวลง เปลวไฟมีอยู่น้อยนิดเหมือนจะมอดดับลงทุกครั้งยามสายลมพัดเข้ามา พอสายลมพัดผ่านไป แสงไฟก็สว่างขึ้นมา หลังแสงไฟสว่าง…
สุมาตร ภูลายยาว
ภาพของชายชราวัย ๗๕ ปี กำลังก้มๆ เงยๆ อยู่บริเวณระเบียงกระท่อมแจ่มชัดขึ้นเมื่อเข้าไปใกล้ กุ้งสีชมพูขนาดนิ้วก้อยหลายสิบตัวนอนนิ่งอยู่ในจานเบื้องหน้าของชายชรา ถัดจากจานกุ้งไปเป็นถ้วยน้ำพริกปลาร้าที่กินเหลือจากเมื่อวานรายการอาหารที่กล่าวมาทั้งหมดคืออาหารมื้อเย็นสำหรับชายชรา     ลูกแมวสองตัว ตัวหนึ่งสีน้ำตาล ตัวหนึ่งสีขาว หมอบคลอเคลียอยู่ด้านข้าง นานครั้งมันจะเดินมาหยอกล้อเล่นกัน พอหยอกล้อกันจนหนำใจมันก็กลับไปนอนนิ่งอยู่ที่เดิม บนท้องฟ้าอาทิตย์อัสดงลงไปไม่นานนัก ท้องฟ้าที่เคยกระจ่างเป็นสีฟ้าเริ่มกลายเป็นสีดำหลังจากอิ่มหนำสำราญ…