Skip to main content

การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาเศรษฐกิจ ภาวะว่างงาน ตกงาน การไม่ได้รับการประกันรายได้ที่แน่นอนจากรัฐ ทำให้คนจน คนไม่มีงานทำ คนรับงานไปทำที่บ้าน คนไม่มีนายจ้าง และอยู่นอกระบบประกันสังคม คือคนกลุ่มใหญ่ของประเทศที่เป็นเหยื่อของภาวะปัญหาที่รุมเร้า หรือคนเหล่านี้ต้องโทษที่เกิดมาจน และถูกทำโทษต่อไปอีกว่าหากอยากมีบำนาญชราภาพ ก็ต้องมาจากการ ออมเงิน ด้วยตนเอง โดยรัฐจะร่วมจ่ายสมทบในอัตราจำกัด โดยอ้างตลอดเวลาว่าไม่มีเงินเพียงพอ ทั้งที่ยังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิรูประบบภาษีที่ก้าวหน้าและเป็นธรรม  การดำเนินการจัดสวัสดิการให้ประชาชนเพื่อลดช่องว่างทางรายได้ การเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขของคนมีมากกับคนมีน้อยหรือไม่มีเลย
\\/--break--\>

ดังนั้น การที่กระทรวงการคลัง มุ่งเน้นให้เกิดระบบบำนาญแห่งชาติด้วยการออมจากประชาชน โดยละเลยไม่พูดถึงการจัดสวัสดิการพื้นฐานยามชราภาพ จึงเป็นการดำเนินนโยบายที่ไม่เป็นธรรมกับคนจน การสร้างหลักประกันชราภาพขั้นพื้นฐานในจำนวนที่เหมาะสม จึงเป็นทิศทางที่จำเป็นต่อประชาชน และควรดำเนินการอย่างเป็นระบบมีกฎหมายรองรับ ไม่ใช่ให้เป็นนโยบายเป็นปีต่อปีของรัฐบาล นั่นคือ รัฐต้องจัดทำระบบบำนาญชราภาพพื้นฐาน ในรูปแบบระบบบำนาญประชาชน ในจำนวนที่มากกว่าเบี้ยยังชีพปัจจุบัน ไปพร้อมๆกับการดำเนินการกระตุ้นการออมเพื่อชราภาพของประชาชนให้เป็นทางเลือกในการออม ไม่ใช่ออกกฎหมายให้ทุกคนต้องออม

ยกระดับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นบำนาญประชาชนที่จ่ายมากกว่า ๕๐๐ บาทต่อเดือน ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่มีการกระจายรายได้ต่ำมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ในปีพ.ศ.๒๕๔๙ คนรวยที่สุด ๒๐เปอร์เซ็นต์ รายได้สูงกว่าคนจนที่สุด ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ๑๔.๗ เท่า1  การลดช่องว่าง ด้วยการกระจายรายได้ ควรดำเนินการในสองด้านคือ การจัดสวัสดิการให้กับประชาชนและการปฏิรูปการจัดเก็บภาษีและการบริหารจัดการการเงินการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้รัฐสามารถนำเงินมาจัดระบบสวัสดิการให้กับประชาชนในรูปแบบการจัดสวัสดิการแบบถ้วนหน้า (universal coverage) เป็นการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุทุกคนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม ไม่ต้องระบุความจน เนื่องจากเป็นไปตามสิทธิของผู้สูงอายุที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยสามารถแก้ปัญหาการคัดเลือกผู้สูงอายุที่ยากจน การเลือกพวกพ้องตนเอง การคัดเลือกที่ไม่โปร่งใส การขัดแย้งกันในชุมชน การใช้เบี้ยยังชีพเป็นการหาเสียงให้ตนเองทั้งการเมืองระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง

ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งยกระดับการจ่ายเบี้ยยังชีพ เป็น บำนาญประชาชน เพื่อลดช่องว่าง เพื่อกระจายรายได้ และคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของความชราภาพ ทุกคนเมื่ออายุเกิน ๖๐ ปีได้รับบำนาญทุกเดือนตลอดชีวิต ในอัตราไม่น้อยกว่าเส้นความยากจน เริ่มที่ ๑,๕๐๐ บาทต่อเดือน ไม่ใช่บังคับทุกคนตั้งแต่อายุ ๑๕ ปีขึ้นไปให้ออมเงิน เพราะรัฐยังไม่ได้แก้ปัญหาการกระจายรายได้ ไม่รับประกันรายได้ของแรงงานนอกประกันสังคม คนจนที่ไม่มีรายได้แน่นอน แต่จะบังคับให้ทุกคนออม เป็นเรื่องที่เอาเปรียบคนจน คนยากลำบากในสังคม


รัฐจ่ายได้จริงและควรจ่ายมากกว่าเบี้ยยังชีพ ๕๐๐ บาท
ในปัจจุบัน การสร้างเสาหลักพื้นฐานแห่งการให้แบบถ้วนหน้า2
(universal foundation pillar) ที่มอบบำนาญให้ผู้สูงอายุทุกคนเมื่อมีอายุตามเกณฑ์ที่กำหนด ส่งผลให้มีความเป็นไปได้สำหรับประเทศไทยที่จะให้หลักประกันที่มั่นคงปลอดภัยแก่ผู้ชราภาพของประเทศได้ จากการคำนวณการจ่ายบำนาญเดือนละ ๑,๔๔๓ บาท3 (เส้นความยากจน ปี ๒๕๕๐) ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ - ๒๕๖๘ รัฐจะใช้งบประมาณเพียงร้อยละ ๑.๕ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) เมื่อเทียบกับประเทศอื่นเช่น มอริเชียสร้อยละ ๑.๗ ประเทศนิวซีแลนด์ร้อยละ ๓ การคำนวณ GDP เป็นการคาดการณ์บนสมมุติฐานที่ว่าประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตของ GDP ต่อหัวปีละ ๓.๔๔ % ซึ่งเท่ากับทิศทางในการเติบโตของประเทศระหว่างปี ๑๙๙๘-๒๐๐๘ ในช่วงเวลานี้ประเทศไทยเผชิญกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและมีอัตราการเติบโตติดลบในปี ๑๙๙๗ และ ๑๙๙๘ รัฐคิดเพียงว่าจะจ่ายน้อยที่สุดให้กับประชาชนเมื่อยามชราภาพ โดยผลักภาระให้ประชาชนออมเอง หากอยากได้บำนาญ เป็นการกระทำที่ไม่รับผิดชอบต่อคนยากจน ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ


การดำริที่จะจัดเก็บภาษีทรัพย์สินตามมูลค่า ถือว่าเป็นความคิดที่ก้าวหน้าของรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่จะใช้ระบบภาษีเป็นการช่วยลดช่องว่างของการกระจายรายได้ ภาษีทรัพย์สิน(property tax)หมายถึงการจัดเก็บภาษีบนฐานทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้านและโรงเรือน หุ้น และหลักทรัพย์ทางการเงินฯลฯ ภาษีนี้จะทำให้เกิดการกระจายรายได้ คนจนไม่ได้รับผลกระทบแต่คนรวยต้องเสียภาษีให้รัฐ ทั้งนี้ ทรัพย์สินเหล่านี้ได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะของรัฐ เช่น การดูแลรักษาความสงบสุข การคุ้มครองดูแล การลงทุนสาธารณูปโภค แต่รัฐบาลนี้จะเริ่มที่ภาษีที่ดิน บ้านและโรงเรือน และให้เป็นผลประโยชน์ของท้องถิ่น อย่างไรก็ตามรัฐส่วนกลางควรมีการกำหนดให้ท้องถิ่นกันเงินรายได้จากภาษีเหล่านี้ไว้สำหรับการจัดสวัสดิการพื้นฐานคือบำนาญประชาชน สำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ของตนเอง จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ราว ๑ ใน ๕ ของผู้สูงอายุอาศัยอยู่คนเดียวหรืออยู่กับหลานโดยลำพัง ร้อยละ ๒๒ ของผู้สูงอายุยังมีหนี้สินและมีภาระต้องชดใช้หนี้สิน แหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุมาจากบุตร ร้อยละ ๕๒.๓ ดังนั้น การจัดบำนาญประชาชน ในจำนวนที่เหมาะสมจึงเป็นการช่วยเหลือผู้สูงอายุให้ดำรงชีวิตอย่างสมศักดิ์ศรี และมีคุณค่าต่อสังคมและลดภาระของครอบครัวในการเลี้ยงดู ทำให้คนวัยแรงงานที่มีรายได้ พอจะมีเงินเหลือออมเพื่อความชราภาพของตนต่อไป

 

1 http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=68085

เป็นเบี้ยบำนาญที่ให้ผู้สูงอายุทุกคนที่มีอายุเกินเกณฑ์ที่กำหนด ธนาคารโลกเรียกระบบที่ให้แบบไม่ต้องจ่ายสมทบนี้ว่าเสาหลักหมายเลขศูนย์ (Zero Pillar)

3 สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม , สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ มิถุนายน ๒๕๕๑ http://www.poverty.nesdb.go.th/

 

บล็อกของ สุรีรัตน์ ตรีมรรคา

สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
   
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุณกุนย่า (Chikungunya) เกิดจากเชื้อไวรัส ที่มียุงลายสวนเป็นพาหะ ที่เน้นว่ายุงลายสวน เพราะจะเห็นระบาดมากในบริเวณจังหวัดภาคใต้ที่มีสวนยางจำนวนมากและวิถีชีวิตคือออกไปกรีดยางในสวนแต่เช้ามืดจึงโดนยุงกัดได้ แต่ปัจจุบันพบผู้ป่วยไปในทุกภาคของประเทศ ๕๕ จังหวัด
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาเศรษฐกิจ ภาวะว่างงาน ตกงาน การไม่ได้รับการประกันรายได้ที่แน่นอนจากรัฐ ทำให้คนจน คนไม่มีงานทำ คนรับงานไปทำที่บ้าน คนไม่มีนายจ้าง และอยู่นอกระบบประกันสังคม คือคนกลุ่มใหญ่ของประเทศที่เป็นเหยื่อของภาวะปัญหาที่รุมเร้า หรือคนเหล่านี้ต้องโทษที่เกิดมาจน และถูกทำโทษต่อไปอีกว่าหากอยากมีบำนาญชราภาพ ก็ต้องมาจากการ ออมเงิน ด้วยตนเอง โดยรัฐจะร่วมจ่ายสมทบในอัตราจำกัด โดยอ้างตลอดเวลาว่าไม่มีเงินเพียงพอ ทั้งที่ยังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิรูประบบภาษีที่ก้าวหน้าและเป็นธรรม  การดำเนินการจัดสวัสดิการให้ประชาชนเพื่อลดช่องว่างทางรายได้…
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
เมื่อราวกลางเดือนมกราคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา หลังจากเกิดเหตุไฟไหม้สถานบันเทิง “ซานติกาผับ” ได้สองสัปดาห์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีวาระพิจารณาพิเศษว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยค่ารักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บที่มีสิทธิบัตรทอง (ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่ใช่ประกันสังคม) จำนวน ๓๑ คนจากผู้บาดเจ็บทั้งหมด ๑๙๖ คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๕๒) เป็นจำนวนเงินประมาณ ๓.๔ ล้านบาท
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
ประเทศไทยมีระบบสวัสดิการพื้นฐานด้านสุขภาพสำหรับประชาชนทุกคนมาเป็นเวลา ๗ ปีแล้ว บัตรทอง รักษาโดยไม่ต้องจ่าย ณ จุดบริการ สามารถครอบคลุมคนกว่า ๔๗ ล้านคน เมื่อนับรวมกับสวัสดิการข้าราชการ ๖ ล้านคน ประกันสังคม ๑๐ ล้านคน จนถึงวันนี้มีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รับสวัสดิการรักษาใดใด ซึ่งคือคนไทยที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง คนไทยพลัดถิ่น คนไม่ได้แจ้งเกิด ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เป็นคนเร่ร่อนที่ไม่มีใครรับรองสถานภาพได้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถจัดการได้
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
อวัยวะที่แสดงเพศหญิงและส่งผลต่อความสามารถสืบทอดเผ่าพันธุ์คืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์  ทำให้ต้องมีการพูดถึงการอนามัย [1] เจริญพันธุ์ คือการไม่มีโรค มีสุขภาพดีของอวัยวะสืบพันธุ์  

ในเพศหญิงมีมากกว่าหนึ่งอวัยวะ นั่นคือตั้งแต่ปากช่องคลอด ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก รังไข่ ปีกรังไข่ เต้านม  รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนเพศ การมีประจำเดือน การเจริญพันธุ์จะเกิดได้ก็เมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่เพศสัมพันธ์ไม่ได้มีไว้เพื่อการเจริญพันธุ์ล้วนๆ  มีเพศสัมพันธุ์เพื่อความรัก เพื่อครอบครัว เพื่อความรื่นรมย์ เพื่อเศรษฐกิจ เพื่อแสดงอำนาจ เพื่อการควบคุม และอื่นๆ …
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
เมื่อวันที่ 22 ม.ค.51 ที่ผ่านมา คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีมติอนุมัติงบประมาณร้อยล้านบาทกว่า เพื่อจัดหาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับประชากรสูงอายุจำนวนกว่าสามแสนเก้าหมื่นคน ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปและมีโรคเรื้อรัง (อายุ 65 ปีขึ้นไปและป่วยด้วยโรคเช่น หอบหืด ปอดอุดกลั้นเรื้อรัง ไตวาย หัวใจ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด) เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงต่อการป่วยและเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่และภาวะแทรกซ้อน และเพื่อลดอัตราเสี่ยงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่เชื่อมโยงกับไข้หวัดนกที่ยังพบการระบาดอยู่ในประเทศไทย …
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
คำว่าประกันสังคม เมื่อได้ยินแล้วน่าจะมีความหมายว่า การประกันให้คนมีสวัสดิการทางสังคมทุกคนอย่างทั่วถึง เช่น ประกันว่าได้รับการศึกษาแน่นอน ประกันว่าได้รับการรักษาแน่นอนเมื่อป่วย  ประกันว่ามีที่อยู่อาศัยแน่นอน  ประกันว่ามีค่าใช้จ่ายเพื่อยังชีพกรณีไม่มีงานทำ หรือมีงานทำแต่รายได้น้อย รวมถึงประกันว่าได้รับการช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตรกรณีมีรายได้ต่ำหรือต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพังโดยไม่ได้รับค่าเลี้ยงดูจากพ่อหรือแม่ที่หย่าร้างกัน ทั้งนี้โดยตั้งอยู่บนฐานว่า “รัฐ” คือผู้จัดการให้เกิดระบบประกันสังคมสำหรับประชาชนทุกคนสำหรับประเทศไทย ไม่ได้เป็นเช่นนั้น คำว่า  “ประกันสังคม” …
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
  หลังจากนัดคุยกันระหว่างตัวแทนองค์กรเอกชนในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ม.ค.51 เราต่างแยกย้ายกันราวๆ บ่ายสามโมงกว่า ขณะที่แต่ละคนกำลังเดินทางยังไม่ถึงที่หมายต่างก็ได้รับแจ้งเรื่องการจากไปอย่างสงบของคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คนแรกของประเทศไทย คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ หรือคุณหมอใจดีในสายตาภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับบริการสาธารณสุขเพราะหมอสละเวลาบ่อยมากที่จะรับฟังความทุกข์ ความคับข้องใจ และความสูญเสียที่ประชาชนได้รับจากความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพของไทย…
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
เรากำลังอยู่ในห้วงเวลาของการเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.49 หลายคนไม่ไปเลือกตั้งแน่นอนเพราะเป็นการเลือกตั้งที่เป็นผลพวงของการรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม เราหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะได้ยินเสียงประกาศนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ตั้งใจหาเสียงกันอย่างเข้มข้น โดยนโยบายที่มาแรงสุดๆ เป็นนโยบายเกี่ยวข้องกับสวัสดิการของประชาชน ซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็นนโยบายประชานิยม โดยมีน้ำเสียงดูแคลนและปรามาสว่าทำไม่ได้แน่นอนเพราะจำต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล โดยยกตัวอย่างว่านโยบายประชานิยมที่รัฐบาลชุดก่อนนำมาใช้และต้องใส่เงินลงไปจำนวนมากเช่น กองทุนหมู่บ้านที่ใช้งบไปมากกว่าเจ็ดหมื่นล้านบาท…
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
บรรยากาศเทศกาลลอยกระทงที่ผ่านมาปลายเดือนพฤศจิกายนปี 50 นี้ ดิฉันอยู่ท่ามกลางการโฆษณาชวนเชื่อว่างานลอยกระทงที่ไหนยิ่งใหญ่กว่ากัน ขณะเดียวกันก็ได้ยินการรณรงค์อยู่สองเรื่องใหญ่ๆ ที่เกี่ยวกับการลอยกระทง นั่นคือสปอตวิทยุเรื่องอย่ามีเพศสัมพันธ์กันในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง มีการสัมภาษณ์ตำรวจว่าจะไปตั้งด่านสกัดคู่วัยรุ่นที่จะไปใช้บริการโรงแรมม่านรูดอย่างไร นี่เป็นการสื่อสารเรื่องหนึ่งที่กำลังจะกลายเป็นประเพณีคู่ไปกับวันลอยกระทง รวมวันอื่นๆ ด้วย อาทิ วันวาเลนไทน์ วันสงกรานต์ …