Skip to main content

เรากำลังอยู่ในห้วงเวลาของการเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.49 หลายคนไม่ไปเลือกตั้งแน่นอนเพราะเป็นการเลือกตั้งที่เป็นผลพวงของการรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม เราหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะได้ยินเสียงประกาศนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ตั้งใจหาเสียงกันอย่างเข้มข้น โดยนโยบายที่มาแรงสุดๆ เป็นนโยบายเกี่ยวข้องกับสวัสดิการของประชาชน ซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็นนโยบายประชานิยม โดยมีน้ำเสียงดูแคลนและปรามาสว่าทำไม่ได้แน่นอนเพราะจำต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล โดยยกตัวอย่างว่านโยบายประชานิยมที่รัฐบาลชุดก่อนนำมาใช้และต้องใส่เงินลงไปจำนวนมากเช่น กองทุนหมู่บ้านที่ใช้งบไปมากกว่าเจ็ดหมื่นล้านบาท การพักหนี้เกษตรกร บ้านเอื้ออาทร แท็กซี่เอื้ออาทร หลักประกันสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งต่างใช้เงินไปหลายหมื่นล้านบาท ส่งผลให้ระบบการคลังต้องทำหน้าที่จัดหาเงินให้เพียงพอ การเก็บภาษีที่ละเอียดมากขึ้น เพื่อนำเม็ดเงินมาใช้กับนโยบายซื้อใจประชาชน

อย่างไรก็ตาม นโยบายต่างๆ ที่ถูกมองว่าเป็นประชานิยมนั้นมีความต่างกันอยู่พอสมควร ดังที่ดิฉันได้มีข้อมูลและพินิจพิเคราะห์ดู นั่นคือขอเปรียบเทียบระหว่างกองทุนหมู่บ้านกับระบบหลักประกันสุขภาพ  นโยบาย 30 บาท เป็นนโยบายที่ถูกมองว่าเป็นประชานิยมสุดสุด คือรักษาฟรีสำหรับทุกคนที่ไม่ใช่ข้าราชการกับแรงงานในประกันสังคม  นั่นคือประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้มีจำนวนกว่า 45 ล้านคน อีก 20 ล้านคนไม่ได้ใช้ระบบนี้เพราะรัฐจ่ายให้ในรูปแบบอื่นคือสวัสดิการข้าราชการที่รัฐจ่ายต่างหาก และรัฐร่วมจ่ายบางส่วนให้คนงานในประกันสังคมด้วย

กรณีนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เป็นนโยบายที่สร้างหลักประกันให้ประชาชนทุกคนได้รับการรักษาฟรีเมื่อเจ็บป่วย โดยใช้งบประมาณเริ่มแรกเมื่อปี 45 ปีละประมาณเจ็ดหมื่นล้านบาท ปีนี้ ปีงบประมาณ 51 ใช้งบรวมประมาณแสนล้านบาท งบที่กล่าวมานี้เป็นงบทั้งเงินเดือนหมอในกระทรวง  หมอในโรงพยาบาลเอกชน ค่าบุคลากร ค่ายา ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าซ่อมแซม ที่โรงพยาบาล สถานพยาบาล หน่วยบริการ ต้องใช้ในการดูแลรักษาคนป่วยทั้งแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน อุบัติเหตุ ฉุกเฉินต่างๆ โดยรัฐใช้วิธีเหมาจ่ายตามจำนวนรายหัวประชากรให้โรงพยาบาล ซึ่งเป็นระบบประกันคือเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข  คำนวณค่าใช้จ่ายให้ประชากรทุกคน แต่คนป่วยเท่านั้นที่ไปใช้บริการ คนไม่ป่วยก็ไม่ได้ใช้ค่าใช้จ่ายใดๆ  งบประมาณทั้งหมดจึงถัวเฉลี่ยทำให้โรงพยาบาลต่างๆ อยู่ได้  

ทั้งนี้ ในการจัดการงบประมาณ เป็นการจัดการใหม่คือใช้งบเดิมที่จัดสรรให้กระทรวงสาธารณสุขในแต่ละปีก่อนหน้านั้นอยู่แล้ว มาบริหารใหม่โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลได้รับงบเหมือนเดิม และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี แต่ไม่มีการสร้างโรงพยาบาลเพิ่ม สร้างตึกเพิ่ม หากต้องสร้างเพิ่มจะเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขในการตั้งงบประมาณในฐานะเป็นเจ้าของโรงพยาบาลของรัฐ  ในขณะที่ระบบหลักประกันสุขภาพใช้งบกระจายให้หน่วยบริการทั้งที่เป็นของเอกชนและของหน่วยงานรัฐอื่นเข้ามาร่วมให้บริการประชาชน ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้สะดวก ง่าย และทั่วถึงมากขึ้น ทั้งนี้มีการเพิ่มงบบางส่วนขึ้นในการรักษา การส่งเสริมป้องกันโรค และการบริหารจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ซึ่งต่างจากนโยบายกองทุนหมู่บ้าน ที่เดิมไม่ได้มีงบใดๆ อยู่เลย การดำเนินการคือต้องจัดงบขึ้นมาใหม่หมด จำนวนเท่ากับหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่อยู่ในประเทศ  ตัวเลขประมาณคือเจ็ดหมื่นกว่าหมู่บ้าน นโยบายให้เงินหมู่บ้านละหนึ่งล้านบาทต้องจัดหางบประมาณมากกว่าเจ็ดหมื่นล้านบาท และต้องพัฒนาระบบการจัดตั้งกองทุน การเตรียมการ การติดตามประเมินผลด้วยงบประมาณอีกจำนวนหนึ่ง โดยการได้รับประโยชน์ของประชาชนในหมู่บ้านนั้นๆ หากให้กู้ได้รายละไม่เกินสองหมื่นบาท มีคนได้กู้ปีละ 50 คน หากหมู่บ้านนั้นมีประชากร 500 คนได้กู้โดยไม่ซ้ำหน้ากันต้องใช้เวลา 10 ปี หรือน้อยกว่านั้นนิดหน่อยกรณีมีดอกเบี้ยเงินกู้จากผู้กู้รอบแรกๆ ซึ่งก็ไม่มากนัก ในระยะยาวต้องเพิ่มเงินเข้าไปในกองทุนอีกสักเท่าไรจึงจะทำให้ประชาชนที่จำเป็นต้องการเงินทุนจริงๆ ได้เข้าถึงและนำเงินกู้ไปเสริมสร้างความเข้มแข็งของตนเองและครอบครัวได้

ทั้งสองโครงการคือหลักประกันสุขภาพและกองทุนหมู่บ้าน ต่างถูกมองว่าเป็นโครงการประชานิยม แต่ความยั่งยืนจะอยู่ที่โครงการใดมากกว่ากัน และโครงการใดแสดงให้เห็นถึงการได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนมากกว่ากัน

การประเมินว่าระบบหลักประกันสุขภาพเป็นประชานิยมล้วนๆ เทียบเท่ากับโครงการอื่นๆ จึงเป็นการประเมินที่ต่ำเกินไป  เช่นเดียวกับที่มีข้อท้าทายทุกพรรคการเมืองที่ชูนโยบายเรียนฟรีจริงๆด้วยว่าคิดทำกันอย่างไร เพียงแค่หาเสียงหรือตั้งใจทำกันจริง เพราะเงินที่ให้กระทรวงศึกษาธิการปีๆ หนึ่งไม่น้อยกว่าสองแสนล้านอยู่แล้ว จะมีพรรคไหนกล้านำเงินก้อนนั้นออกมาจากมือกระทรวงศึกษาธิการ แล้วให้มีการจัดสรรการใช้เงินกันใหม่เพื่อสร้างระบบหลักประกันให้ประชาชนได้เรียนฟรีกันจริงๆ เพราะหากยังอยู่ในการบริหารของกระทรวงศึกษาธิการก็มองไม่เห็นว่าจะทำให้นโยบายนี้เป็นจริงได้เพราะงบกว่าสองแสนแปดหมื่นล้านนั้น ส่วนใหญ่เป็นงบเงินเดือนครูและบุคลากรต่างๆ และเป็นไปไม่ได้ว่ารัฐบาลจะหางบเพิ่มเติมมาเพื่อจัดการศึกษาฟรีได้อีกเพราะระบบการคลังก็มีเงินจำนวนไม่มากพอ สำหรับทุกโครงการทุกนโยบายของรัฐอยู่แล้ว

ดิฉันเองต้องการให้ประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากระบบหลักประกันสุขภาพไม่ถูกบิดเบือนข้อมูลว่าเป็นนโยบายประชานิยมล้วนๆ เพราะนี่เป็นสิทธิของประชาชนและสามารถได้มาด้วยการจัดการบริหารอย่างมีคุณภาพ  มากกว่าการโยนเงินเข้าสู่หมู่บ้านแบบเห็นๆ แต่ไม่สร้างความมั่นคงในการได้รับสิทธิในการมีงานทำ มีที่ทำกิน มีที่อยู่อาศัย หรือได้รับการดูแลเมื่อยามชรา พรรคการเมืองที่บอกว่าจะให้มีระบบหลักประกันการศึกษา ทุกคนได้เรียนฟรีต้องอธิบายเรื่องการบริหารจัดการเงินของกระทรวงศึกษาธิการได้ด้วยจึงจะรอดพ้นจากนโยบายประชานิยมล้วนๆ มาเป็นนโยบายเพื่อสิทธิประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และทำได้จริง พิสูจน์ได้จริงในแง่การใช้เงินงบประมาณและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

บล็อกของ สุรีรัตน์ ตรีมรรคา

สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
   
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ชิคุณกุนย่า (Chikungunya) เกิดจากเชื้อไวรัส ที่มียุงลายสวนเป็นพาหะ ที่เน้นว่ายุงลายสวน เพราะจะเห็นระบาดมากในบริเวณจังหวัดภาคใต้ที่มีสวนยางจำนวนมากและวิถีชีวิตคือออกไปกรีดยางในสวนแต่เช้ามืดจึงโดนยุงกัดได้ แต่ปัจจุบันพบผู้ป่วยไปในทุกภาคของประเทศ ๕๕ จังหวัด
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาเศรษฐกิจ ภาวะว่างงาน ตกงาน การไม่ได้รับการประกันรายได้ที่แน่นอนจากรัฐ ทำให้คนจน คนไม่มีงานทำ คนรับงานไปทำที่บ้าน คนไม่มีนายจ้าง และอยู่นอกระบบประกันสังคม คือคนกลุ่มใหญ่ของประเทศที่เป็นเหยื่อของภาวะปัญหาที่รุมเร้า หรือคนเหล่านี้ต้องโทษที่เกิดมาจน และถูกทำโทษต่อไปอีกว่าหากอยากมีบำนาญชราภาพ ก็ต้องมาจากการ ออมเงิน ด้วยตนเอง โดยรัฐจะร่วมจ่ายสมทบในอัตราจำกัด โดยอ้างตลอดเวลาว่าไม่มีเงินเพียงพอ ทั้งที่ยังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิรูประบบภาษีที่ก้าวหน้าและเป็นธรรม  การดำเนินการจัดสวัสดิการให้ประชาชนเพื่อลดช่องว่างทางรายได้…
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
เมื่อราวกลางเดือนมกราคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา หลังจากเกิดเหตุไฟไหม้สถานบันเทิง “ซานติกาผับ” ได้สองสัปดาห์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีวาระพิจารณาพิเศษว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยค่ารักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บที่มีสิทธิบัตรทอง (ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่ใช่ประกันสังคม) จำนวน ๓๑ คนจากผู้บาดเจ็บทั้งหมด ๑๙๖ คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ ๙ ม.ค.๕๒) เป็นจำนวนเงินประมาณ ๓.๔ ล้านบาท
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
ประเทศไทยมีระบบสวัสดิการพื้นฐานด้านสุขภาพสำหรับประชาชนทุกคนมาเป็นเวลา ๗ ปีแล้ว บัตรทอง รักษาโดยไม่ต้องจ่าย ณ จุดบริการ สามารถครอบคลุมคนกว่า ๔๗ ล้านคน เมื่อนับรวมกับสวัสดิการข้าราชการ ๖ ล้านคน ประกันสังคม ๑๐ ล้านคน จนถึงวันนี้มีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รับสวัสดิการรักษาใดใด ซึ่งคือคนไทยที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง คนไทยพลัดถิ่น คนไม่ได้แจ้งเกิด ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เป็นคนเร่ร่อนที่ไม่มีใครรับรองสถานภาพได้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถจัดการได้
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
อวัยวะที่แสดงเพศหญิงและส่งผลต่อความสามารถสืบทอดเผ่าพันธุ์คืออวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์  ทำให้ต้องมีการพูดถึงการอนามัย [1] เจริญพันธุ์ คือการไม่มีโรค มีสุขภาพดีของอวัยวะสืบพันธุ์  

ในเพศหญิงมีมากกว่าหนึ่งอวัยวะ นั่นคือตั้งแต่ปากช่องคลอด ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก รังไข่ ปีกรังไข่ เต้านม  รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนเพศ การมีประจำเดือน การเจริญพันธุ์จะเกิดได้ก็เมื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่เพศสัมพันธ์ไม่ได้มีไว้เพื่อการเจริญพันธุ์ล้วนๆ  มีเพศสัมพันธุ์เพื่อความรัก เพื่อครอบครัว เพื่อความรื่นรมย์ เพื่อเศรษฐกิจ เพื่อแสดงอำนาจ เพื่อการควบคุม และอื่นๆ …
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
เมื่อวันที่ 22 ม.ค.51 ที่ผ่านมา คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีมติอนุมัติงบประมาณร้อยล้านบาทกว่า เพื่อจัดหาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับประชากรสูงอายุจำนวนกว่าสามแสนเก้าหมื่นคน ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปและมีโรคเรื้อรัง (อายุ 65 ปีขึ้นไปและป่วยด้วยโรคเช่น หอบหืด ปอดอุดกลั้นเรื้อรัง ไตวาย หัวใจ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด) เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงต่อการป่วยและเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่และภาวะแทรกซ้อน และเพื่อลดอัตราเสี่ยงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่เชื่อมโยงกับไข้หวัดนกที่ยังพบการระบาดอยู่ในประเทศไทย …
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
คำว่าประกันสังคม เมื่อได้ยินแล้วน่าจะมีความหมายว่า การประกันให้คนมีสวัสดิการทางสังคมทุกคนอย่างทั่วถึง เช่น ประกันว่าได้รับการศึกษาแน่นอน ประกันว่าได้รับการรักษาแน่นอนเมื่อป่วย  ประกันว่ามีที่อยู่อาศัยแน่นอน  ประกันว่ามีค่าใช้จ่ายเพื่อยังชีพกรณีไม่มีงานทำ หรือมีงานทำแต่รายได้น้อย รวมถึงประกันว่าได้รับการช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตรกรณีมีรายได้ต่ำหรือต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพังโดยไม่ได้รับค่าเลี้ยงดูจากพ่อหรือแม่ที่หย่าร้างกัน ทั้งนี้โดยตั้งอยู่บนฐานว่า “รัฐ” คือผู้จัดการให้เกิดระบบประกันสังคมสำหรับประชาชนทุกคนสำหรับประเทศไทย ไม่ได้เป็นเช่นนั้น คำว่า  “ประกันสังคม” …
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
  หลังจากนัดคุยกันระหว่างตัวแทนองค์กรเอกชนในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ม.ค.51 เราต่างแยกย้ายกันราวๆ บ่ายสามโมงกว่า ขณะที่แต่ละคนกำลังเดินทางยังไม่ถึงที่หมายต่างก็ได้รับแจ้งเรื่องการจากไปอย่างสงบของคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คนแรกของประเทศไทย คุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ หรือคุณหมอใจดีในสายตาภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้รับบริการสาธารณสุขเพราะหมอสละเวลาบ่อยมากที่จะรับฟังความทุกข์ ความคับข้องใจ และความสูญเสียที่ประชาชนได้รับจากความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพของไทย…
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
เรากำลังอยู่ในห้วงเวลาของการเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.49 หลายคนไม่ไปเลือกตั้งแน่นอนเพราะเป็นการเลือกตั้งที่เป็นผลพวงของการรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม เราหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะได้ยินเสียงประกาศนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ตั้งใจหาเสียงกันอย่างเข้มข้น โดยนโยบายที่มาแรงสุดๆ เป็นนโยบายเกี่ยวข้องกับสวัสดิการของประชาชน ซึ่งมักจะถูกมองว่าเป็นนโยบายประชานิยม โดยมีน้ำเสียงดูแคลนและปรามาสว่าทำไม่ได้แน่นอนเพราะจำต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล โดยยกตัวอย่างว่านโยบายประชานิยมที่รัฐบาลชุดก่อนนำมาใช้และต้องใส่เงินลงไปจำนวนมากเช่น กองทุนหมู่บ้านที่ใช้งบไปมากกว่าเจ็ดหมื่นล้านบาท…
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา
บรรยากาศเทศกาลลอยกระทงที่ผ่านมาปลายเดือนพฤศจิกายนปี 50 นี้ ดิฉันอยู่ท่ามกลางการโฆษณาชวนเชื่อว่างานลอยกระทงที่ไหนยิ่งใหญ่กว่ากัน ขณะเดียวกันก็ได้ยินการรณรงค์อยู่สองเรื่องใหญ่ๆ ที่เกี่ยวกับการลอยกระทง นั่นคือสปอตวิทยุเรื่องอย่ามีเพศสัมพันธ์กันในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง มีการสัมภาษณ์ตำรวจว่าจะไปตั้งด่านสกัดคู่วัยรุ่นที่จะไปใช้บริการโรงแรมม่านรูดอย่างไร นี่เป็นการสื่อสารเรื่องหนึ่งที่กำลังจะกลายเป็นประเพณีคู่ไปกับวันลอยกระทง รวมวันอื่นๆ ด้วย อาทิ วันวาเลนไทน์ วันสงกรานต์ …