Skip to main content

 

เมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2559 ก่อนวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย วันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสนำรายชื่อจากการรณรงค์ change.org ภายใต้ชื่อแคมเปญ 'คำขอสงวนสิทธิไม่ยอมรับ-นับผลประชามติ ที่ไม่แฟร์ ไม่ฟรี' ไปยื่นต่อยูเอ็น กรรมการสิทธิฯ และ กกต. (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : เดินสาย 'กสม.-กกต.-UN' แจ้งสงวนสิทธิไม่ยอมรับ-นับผลประชามติ ที่ไม่แฟร์ ไม่ฟรี)

จากนั้น คุณจอม เพชรประดับ ได้สัมภาษณ์ผม และเผยแพร่ทาง Thaivoicemedia เมื่อวันที 5 ส.ค.59 ซึ่งผมได้ยืนยันเหตุผลที่บอยคอตไม่ยอมรับและนับผลประชามติครั้งนี้ เนื่องจากเราเชื่อว่า 'วิธีการ' เป็นตัวกำหนดหรือหน่ออ่อนของ 'ผล/เป้าหมาย' ของมัน ดังนั้นเมื่อวิธีการหรือประชามติไม่แฟร์ไม่ฟรี ย่อมส่งผลที่มีปัญหาตามมา

เรายื่นยันว่าที่มา และกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งวิธีการการทำประชามติ ล้วนแล้วเป็นการกระทำที่ไม่เห็นหัวประชาชนมาโดยตลอด ซึ่งมีผู้ร่วมลงชื่อประมาณ 200 กว่าคนจึงขอใช้สิทธิ์ไม่ไปใช้สิทธิ์เพราะไม่ต้องการสร้างบรรทัดฐานใหม่ในสังคมไทย แต่ก็เคารพสิทธิ์ของประชาชนทุกคนทั้งการรับ และไม่รับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีหลายเป้าหมายในการออกเสียงประชามติในครั้งนี้

ผมยืนยันในจุดยืนนี้ตั้งแต่ร่างชุดบวรศักดิ์ เมื่อกลางปีที่แล้ว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : 5 เหตุผล ที่ไม่ควรหนุนให้มี ‘ประชามติ’ ต่อร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับผลไม้พิษ, 18 May, 2015) ซึ่งในครั้งนั้นจุดยืนที่ผมไม่เห็นด้วยกับการให้มีการทำประชามติที่ย่อมพอทราบได้ว่าเป็นกระบวนการภายใต้เผด็จการทหาร ย่อมไม่แฟร์ไม่ฟรี และสามารถประเมินผลมันได้ชัด เนื่องจากมองว่ากระบวนการทั้งหมดเป็นการเซตวาระของ คสช. ซึ่งไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร เป้าหมายของ คสช. โดยแท้จริงอยู่ที่การเซตวาระต่างๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างความชอบธรรมในการซื้อเวลาที่จะครองอำนาจไว้เท่านั้น

บล็อกของ เทวฤทธิ์ มณีฉาย

เทวฤทธิ์ มณีฉาย
อย่าเพิ่งไปกดประชาชนที่ถูกกดจนไม่ไปใช้สิทธิ ว่าเขา 'นอนหลับทับสิทธิ' อย่าเพิ่งไปสร้างความชอบธรรมให้ประชามติแบบเผด็จการของไทย โดยการยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบผมขออนุญาตทำ 'ความเห็นแย้ง' ท่านที่ยกเอาประชามติของอังกฤษมาเทียบกับไทย รวมทั้งยกวาทกรรม 'นอนหลับทับสิทธิ' มาลงโทษซ้ำประชาชนที่ 'เลือก' ไม่ไปใช้สิทธิ (เบื้องต้น) ดังนี้
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
จากโครงสร้างผลการตอบในนิด้าโพลเกี่ยวกับประชามติ พบ เป็นไปได้ที่คนเปลี่ยนใจจาก "ไปใช้สิทธิแต่ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งอยางชัดเจน" เป็น "ยังไม่ตัดสินใจ"  หลังสถานการณ์การปราบปรามผู้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชามติอย่างหนัก
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
"สื่อที่อิสระย่อมเป็นได้ทั้งสื่อที่ดีและสื่อที่เลว แต่ถ้าหากปราศจากเสรีภาพ สื่อ นั้นจะไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากการเป็นสื่อที่เลว"
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
รวมคำอธิบายอารมณ์-นิสัยตัวเองของ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า เป็นคนอารมณ์ดี เป็นคนตลก ใจร้อน ขี้โมโห น้อยใจ เสียใจ กล้าหาญ ตอบไปเรื่อย เป็นมนุษย์ปุตุชนธรรมดาคนหนึ่ง สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อม ฯลฯ 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถามนักข่าวปมดำเนินคดี 14 นักศึกษานักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ในศาลทหาร ว่า ทำผิดรัฐธรรมนูญตรงไหนไหม คำตอบคือ ผิด มาตรา 4 รัฐธรรมนูญ ชั่วคราว 2557 รัฐธรรมนูญที่คณะท่านเขียนมาเลยครับ #จบข่าว  
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ต้นไม้พิษย่อมให้ผลไม้พิษ และผลไม้พิษย่อมเป็นผลไม้พิษไม่ว่ามันจะเคลือบด้วย "ประชามติ" กี่ชั้น / ผู้มีบทบาทในการร่างส่วนมากโน้มเอียงไปทางฝั่งฝ่ายเดียว / เนื้อหาที่ร่างออกมามีหลายอย่างที่มีปัญหา / หากผ่านก็จะน้ำท่วมปาก / คสช.ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง มีแนวโน้มว่าจะทำและถ้าทำก็จะผ่าน แต่ไม่ผ่านก็เท่ากับต่ออายุ คสช. 
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
‘ซีพี-เซเว่นฯ’ ไม่ได้มีแค่เจ้าสัว แต่ยังมีคนงานและ SMEs รวมอยู่ด้วย หากการบอยคอตมีพลังคนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจเหล่านั้นก็จะซวยด้วย ปัญหาผูกขาดอยู่ที่ระบบไม่ใช่เจ้าสัวคนใดคนหนึ่ง เสนอ ผลักดัน กม.การแข่งขันทางการค้าให้ฟังก์ชั่น ตั้งสหภาพแรงงานและเก็บภาษีทรัพย์สินมากขึ้น ฯลฯ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
ขณะที่เรายังไม่มีเสรีภาพ แต่องค์กรสื่อรณรงค์ 'เสรีภาพบนความรับผิดชอบ' จะกลายกระบวนการเซ็นเซอร์สร้างสังคมที่ขาด ‘วิจารณญาณ’ หรือไม่? พร้อมสำรวจประเด็นการจำกัดเสรีภาพสื่อหลังรัฐประการ ประกาศ คสช. ฉบับที่ 97, 103 วิจารณ์ คสช.ก็ต้องโดยสุจริต การปิด PEACE TV และ ร่าง รธน. ฉบับใหม่
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
การนำพลเมืองขึ้นศาลทหาร ขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ของ คสช. เอง ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อน เหลือศาลเดียวไม่เปิดโอกาสให้แก้มือ และที่สำคัญเป็นการนำคู่กรณีมาเป็นคนตัดสิน ขาดความเป็นอิสระ ทำลายหลักประกันความยุติธรรม
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
10 ข้อโต้แย้งข้อเสนอบอนไซด้วยอคติสัดส่วนหญิงชาย 50:50 ในรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่ว่าหญิงจะปกป้องผู้หญิง และไม่ใช่ว่าชายจะไม่สนับสนุนความเสมอภาคทางเพศ